โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องสมุนไพรไล่ยุง - โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องสมุนไพรไล่ยุง นิยาย โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องสมุนไพรไล่ยุง : Dek-D.com - Writer

    โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องสมุนไพรไล่ยุง

    โดย an'pethcy

    ผู้เข้าชมรวม

    158,651

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    44

    ผู้เข้าชมรวม


    158.65K

    ความคิดเห็น


    30

    คนติดตาม


    15
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  21 ก.พ. 54 / 13:01 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    โครงงาน
    เรื่องสมุนไพรไล่ยุง
    วิชา กิจกรรมสร้างสรรค์ประโยชน์(Creativity Action Service)
    จัดทำโดย
    นายอนุสรณ์ เปาะสะเกษ เลขที่ 39
    นางสาวสุวนันท์ ไสยาสน์ เลขที่ 48
    นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ /2
     
    เสนอ
    นางสาวปราณปรียา  คุณประทุม
    โรงเรียนแก้งคร้อวิทยา
    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ เขต 30
    อำเภอแก้งคร้อ  จังหวัดชัยภูมิ
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      บทคัดย่อ
       
                          การเปรียบเทียบผลของกลิ่นตะไคร้หอม(cymbopogon citratus (DC)Staph ) ขมิ้น (Curcuma longa linnaeus) เปลือกส้ม(Citrus senesis L. Osbeck) เปลือกมะกรูด(Citrus x hystrix L.) และใบเตย(Pandanus tectorius)ต่อยุง
         การเปรียบเทียบผลของกลิ่น ตะไคร้หอม ขมิ้น เปลือกส้ม เปลือกมะกรูดและใบเตยที่มีผลต่อยุงโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติกลิ่นของตะไคร้หอม ขมิ้น เปลือกส้ม เปลือกมะกรูดและใบเตยเพื่อเปรียบเทียบกลิ่นที่มีต่อยุงนำไปกับบ้าน 3 หลังหลังละ 2ห้องในชุมชนโดยนำสมุนไพรแต่ละชนิดนำไปล้างน้ำทำความสะอาดแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆต่อจากนั้นก็นำไปตากแห้งหลังจากนั้นนำสมุนไพรไปนึ่งประมาณ 20 นาทีพอนึ่งเสร็จ ก็นำไปผึ่งแดดให้แห้งเพื่อไล่ความชื้นออก จากนั้นทำการเปิดหน้าต่างห้องเพื่อให้ยุงเข้าไปยู่เป็นเวลา 1 วันทุกห้องหลังจากนั้นนำสมุนไพรแต่ละชนิดมาห่อใส่ถุงตาข่ายที่จะทำการทดลองแล้วมัดจุกแล้วเอาไปทิ้งไว้แต่ละห้องจำนวนห้องละ 10 จุก ทำการสังเกตทุกๆ 30 นาที จนครบ 2ชั่วโมง หาจำนวนปริมาณยุงที่ตายในแต่ละห้องที่ใช้สมุนไพร 5 ชนิดคือ ตะไคร้หอม ขมิ้น เปลือกส้ม เปลือกมะกรูดและใบเตยได้ผลดังนี้คือ กลิ่นที่มีฤทธิ์ในการไล่ยุงได้ดีที่สุดคือตะไคร้หอมจำนวนยุงที่ตายคือ 20 ตัว ขมิ้นยุงตาย 14 ตัว เปลือกส้มยุงตาย 12 ตัว ส่วนกลิ่นที่มีฤทธิ์ไล่ยุงน้อยที่สุดคือ ใบเตยและเปลือกมะกรูด คือยุงตาย 4 ตัว
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
      กิตติกรรมประกาศ
       
      ขอขอบพระคุณอาจารย์ปราณปรียา คุณประทุม ครูที่ปรึกษาโครงงานวิจัย ที่กรุณาให้ความเชื่อเหลือและให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหาจนโครงงานเสร็จสมบรูณ์
      ขอขอบพระคุณ นายไพรรมณ์ โสดาวรรณ และนางรัชณีพรรณ โสดาวรรณที่ช่วยเหลือด้านสถานที่ทำการทดลองโครงงานวิจัยฉบับนี้
      ขอขอบคุณเพื่อนๆทุกคนที่คอยติชมผลงานและนำไปสู่การแก้ไขเพื่อให้ผลงานมีคุณภาพที่ดี
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
      บทที่ 1
      บทนำ
      ที่มาและความสำคัญ
       
      ยุง (MOSQUITOES) ยุงเป็นแมลงที่พบได้ทั่วโลกแต่พบมากในเขตร้อนและเขตอบอุ่น จากหลักฐานทางฟอสซิลสามารถสันนิษฐานได้ว่า ยุงได้ถือกำเนิดขึ้นในโลกตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์เมื่อประมาณ 38-54 ล้านปีมาแล้ว ปัจจุบันพบว่าในโลกนี้มียุงประมาณ 3,450 ชนิด ส่วนในประเทศไทยพบว่ามียุงอย่างน้อย 412 ชนิด มีชื่อเรียกตามภาษาไทยแบบง่าย ๆ คือ ยุงลาย ( Aedes ) ยุงรำคาญ ( Culex ) ยุงก้นปล่อง ( Anopheles ) ยุงเสือหรือยุงลายเสือ ( Mansonia ) และ ยุงยักษ์หรือยุงช้าง ( Toxorhynchites ) ซึ่งไม่ครอบคลุมสกุลของยุงทั้งหมดที่มีอยู่ ส่วน “ ยุงด า ” ที่ปรากฏในต ารางเรียนของกระทรวงศึกษานั้นไม่สามารถระบุได้ว่าหมายถึงยุงอะไรจึงควรตัดออก ยุงเป็นแมลงที่มีขนาดเล็กโดยทั่วไปมีขนาดลำตัวยาว 4-6 มม . บางชนิดมีขนาดเล็กมาก 2-3 มม . และบางชนิดอาจยาวมากกว่า 10 มม . ยุงมีส่วนหัว อก และท้อง มองเห็นได้อย่างชัดเจนและสามารถแยกออกจากแมลงชนิดอื่น ได้อย่างง่ายๆ โดยสังเกตจากรูปพรรณสัณฐาน ดังต่อไปนี้คือ มีปากคล้ายงวง ยื่นยาวออกไปข้างหน้า และมีปีกสำหรับบิน 1 คู่ ยุงมีวงจรชีวิตแบบสมบูรณ์ (holometabolous) ซึ่งประกอบด้วย ไข่ (egg) ลูกน้ำ (larva; พหูพจน์ =larvae) ตัวโม่ง (pupa; พหูพจน์ =pupae) และยุงตัวแก่ (adult) ยุงเมื่อลอกคราบออกจากระยะตัวโม่งได้ไม่กี่นาทีก็สามารถออกบินได้เลย อาหารที่ใช้ในระยะนี้ของทั้งตัวผู้และตัวเมียเป็นน้ำหวานจากดอกไม้หรือต้นไม้ การผสมพันธุ์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในอากาศ บางชนิดการผสมพันธุ์เกิดขึ้นในขณะที่ยุงตัวผู้มีการบินวนเป็นกลุ่ม (swarming) โดยเฉพาะเวลาหัวค่ำและใกล้รุ่ง ตามพุ่มไม้ บนศีรษะ ทุ่งโล่ง หรือบริเวณใกล้กับเหยื่อ เป็นต้น และตัวเมียจะบินเข้าไปเพื่อผสมพันธุ์ ยุงตัวเมียส่วนใหญ่ผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียวโดยที่เชื้ออสุจิจากตัวผู้จะถูกกักเก็บในถุงเก็บน้ำเชื้อ ซึ่งสามารถใช้ไปได้ตลอดชีวิตของมัน ส่วนยุงตัวผู้สามารถผสมพันธุ์ได้หลายครั้ง ยุงตัวเมียที่จับได้ตามธรรมชาติมักมีเชื้ออสุจิอยู่ในถุงเก็บน้ำเชื้อเสมอ ยุงตัวเมียเมื่อมีอายุได้ 2-3 วันจึงเริ่มออกหากินเลือดคนหรือสัตว์เพื่อนำเอาโปรตีนและแร่ธาตุไปใช้สำหรับการเจริญเติบโตของไข่ในรังไข่ แต่มียุงบางชนิดที่ไม่จำเป็นต้องกินเลือดก็สามารถสร้างไข่ในรังไข่ได้ เช่น ยุงยักษ์ เลือดที่กินเข้าไปถูกย่อยหมดไปในเวลา 2-4 วัน แต่ถ้าอากาศเย็นลงการย่อยจะใช้เวลานานออกไป เมื่อไข่สุกเต็มที่ยุงตัวเมียจะหาแหล่งน้ำที่เหมาะสมในการวางไข่ หลังจากวางไข่แล้วยุงตัวเมียก็ออกดูดเลือดใหม่และวางไข่ได้อีก บางชนิดที่มีอายุยืนมากอาจไข่ได้ร่วม 10 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันประมาณ 4-5 วัน แต่อาจเร็วกว่าหรือนานกว่า ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและชนิดของยุง ส่วนยุงตัวผู้ตลอดอายุขัยจะกินอาหารจากแหล่งน้ำหวานของดอกไม้หรือพืชที่ผลิตน้ำตาลในธรรมชาติ ในภูมิประเทศเขตร้อนตัวโม่งจะใช้เวลา 2-4 วัน ยุงตัวเต็มวัยลอกคราบออกมาไม่กี่นาทีก็สามารถบินได้ ยุงตัวเมียบางชนิดชอบกัดกินเลือดคน philic) บางชนิดชอบกินเลือดสัตว์ (zoophilic) บางชนิดกัดดูดเลือดโดยไม่เลือก ยุงสามารถเสาะพบเหยื่อได้โดยอาศัยปัจจัยหลายประการ เช่น กลิ่นตัว คาร์บอนไดออกไซด์ ( ที่ออกมาจากลมหายใจ ) หรืออุณหภูมิของร่างกาย นิสัยการกินเลือดของยุงมีความสำคัญในด้านการแพร่เชื้อโรคหรือปรสิตต่าง ๆ ยุงส่วนมากจะบินกระจายจากแหล่งเพาะพันธุ์ไปได้ไกลออกไปในรัศมีประมาณ 1-2 กิโลเมตร โดยบินทวนลมตามกลิ่นเหยื่อไป กระแสลมที่แรงอาจทำให้ยุงบางชนิดแพร่ออกจากแหล่งเพาะพันธุ์ไปได้ไกลยิ่งขึ้น ในปัจจุบันยุงสามารถแพร่ไปจากประเทศหนึ่งไปสู่ประเทศหนึ่งหรือทวีปหนึ่งไปยังอีกทวีปหนึ่ง โดยอาศัยเครื่องบิน เรือหรือรถยนต์โดยสาร
      ในประเทศเขตร้อน ยุงตัวเมียส่วนใหญ่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ 2-3 สัปดาห์ หรือถ้าอุณหภูมิ ความชื้นและแสงสว่างเหมาะสมก็อาจนานถึง 4-6 สัปดาห์ หรือนานกว่านี้ ส่วนยุงตัวผู้โดยทั่วไปมีอายุประมาณ 1 สัปดาห์ ยุงก้นปล่องมีความสำคัญในทางการแพทย์โดยเฉพาะเป็นพาหนะโรคมาลาเรีย ในประเทศไทยเท่าที่พบในปัจจุบันมียุงก้นปล่องอย่างน้อย 73 ชนิด แต่มีเพียง 3 ชนิดที่เป็นพาหนะสำคัญ สังเกตยุงชนิดนี้ได้ง่ายเวลามันเกาะพัก จะยกก้นชี้เป็นปล่อง ยุงลายที่พบตามบ้านเรือนหรือชนบท ( Aedes. aegypti, และ Aedes albopictus ) เป็นพาหนะสำคัญของโรคไข้เลือดออก ส่วนยุงลายป่าเป็นพาหะโรคเท้าช้าง ยุงลายชนิด Ae. aegyptiหรือ ยุงลายบ้าน พบบ่อยเป็นประจำในเขตเมือง มีขนาดค่อนข้างเล็ก บินได้ว่องไว บน scutum มีลายสีขาวรูปเคียว 2 อันอยู่ด้านข้าง มีขาลายชัดเจน ยุงชนิดนี้เพาะพันธุ์ในภาชนะที่มีน้ำขังทุกขนาดทั้งในและนอกบ้าน ชอบกัดกินเลือดคนมากกว่ากินเลือดสัตว์ มักหากินเวลากลางวันช่วงสายและบ่าย ยุงลายชอบเข้ากัดคนทางด้านมืดหรือที่มีเงาโดยเฉพาะบริเวณขาและแขน ขณะที่กัดมักไม่ค่อยรู้สึกเจ็บ คนถูกกัดจึงไม่รู้สึกตัว ยุง Ae. aegyptiกัดทั้งในบ้านและนอกบ้าน และเกาะพักตามมุมมืดในห้อง โอ่ง ไห หรือตามพุ่มไม้ที่เย็นชื้น ยุงลายอีกชนิดหนึ่ง คือ Ae. albopictusพบได้ทั่วไปในเขตชานเมือง ชนบทและในป่า มีลวดลายที่ scutum แตกต่างจาก Ae. aegypti คือมีแถบยาวสีขาวพาดผ่านตรงกลางไปตามความยาวของลำตัว เพาะพันธุ์ในภาชนะที่มีน้ำขัง กระบอกไม้ โพรงไม้ กะลามะพร้าว ใบไม้ ฯลฯ ยุงชนิดนี้มีอุปนิสัยคล้าย ๆ กับ Ae. aegyptiแต่มีความว่องไวน้อยกว่ายุงรำคาญมีหลายชนิดที่ไม่ใช่ก่อความรำคาญเพียงอย่างเดียว แต่เป็นพาหะที่สำคัญของทั้งไวรัสไข้สมองอักเสบและโรคเท้าช้าง ลูกน้ำยุงรำคาญมักอาศัยอยู่ในน้ำไม่ว่าจะเป็นน้ำนิ่งหรือน้ำไหล ที่ค่อนข้างสกปรกที่มีไนโตรเจนสูงหรือมีการหมักเน่าของพืช ยุงรำคาญ ที่พบบ่อยในเขตเมือง ได้แก่ Culex quinquefasciatusเป็นยุงสีน้ำตาลอ่อน เพาะพันธุ์ในน้ำเสีย ตามร่องระบายน้ำ คูและหลุมบ่อต่าง ๆ ยุงรำคาญพบบ่อยในชนบท ได้แก่ Cx. tritaeniorhynchusและ Cx. vishnu, เนื่องจากมีท้องนาเป็นแหล่งเพาะพันธุ์หลัก โดยเฉพาะช่วงที่ไถนา และบริเวณหญ้าแฉะรกร้าง จึงมีมากในฤดูฝน ยุงชนิดนี้ชอบกัดสัตว์ พวกวัว ควายและหมูมากกว่าคน นอกจากก่อความรำคาญแล้วยังเป็นพาหนะนำโรคไข้สมองอักเสบ ยุงที่ก่อความรำคาญอีกสกุลหนึ่งที่มักกัดในเวลาพลบค่ำ มีขนาดใหญ่บินช้าๆ และกัดเจ็บ คือ ยุง Armigeres ไม่มีชื่อภาษาไทย ยุงลายเสือหรือยุงเสือ ลำตัวและขามีลวดลายค่อนข้างสวยงาม บางชนิดมีสีเหลืองขาวสลับดำคล้ายลายของเสือโคร่ง เช่น Ma. uniformis บางชนิดมีลายออกเขียว คล้ายตุ๊กแก เช่น Ma. annulifera ยุงเหล่านี้ชอบเพาะพันธุ์ในบริเวณที่เป็นหนอง คลอง บึง สระ ที่มีพืชน้ำพวก จอกและ ผักตบชวา อยู่ ยุงลายเสือหลายชนิดเป็นพาหะของโรคเท้าช้างในภาคใต้ของประเทศไทย บางชนิดเป็นพาหะบริเวณชายแดนไทย - พม่า
      ในประเทศไทยมียุงเป็นพาหนะนำโรคอยู่มากเนื่องจากสภาพแวดล้อมเหมาะกับการเจริญเติบโตของยุง ทำให้มีผู้ป่วยและเสียชีวิตมาก กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงธารณสุขจึงไดจัดทำโครงการควบคุมยุงในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2493 จนถึงปัจจุบัน จากการติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2551ในรอบ10สัปดาห์ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงวันที่ 8 มีนาคม ทั่วประเทศมีรายงานผู้ป่วยแล้ว 5,836 ราย เสียชีวิต 7 รายจำนวนผู้ป่วยสูงกว่าช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 77 พบในภาคกลางมากที่สุด 3,669 ราย เสียชีวิต 6 รายรองลงมาคือภาคใต้ป่วย 1,015 ราย เสียชีวิต 1 ราย ภาคเหนือป่วย 655ราย และภาคตะวันออกเฉียงเหนือป่วย 498 ราย ส่วน
      ใน กทม. พบป่วย 1,037 ราย ยังไม่มีรายงานการเสียชีวิต การป้องกันและควบคุมยุงในปัจจุบันนี้จึงต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของมนุษย์ สิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆและสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก สำหรับประเทศไทยนั้น เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ประเทศของเรามีพืชพรรณไม้ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือนำมาเพาะปลูกได้ไม่น้อยกว่า 20,000ชนิด ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 8 ของพืชพรรณไม้ที่มีอยู่ในโลกนี้ และมีพืชพรรณไม้ไม่น้อยกว่า 500 ชนิด ที่บรรพบุรุษของเราไดคัดเลือกมาอย่างชาญฉลาด เพื่อนำมาใช้เป็นอาหารและสมุนไพรพื้นบ้านที่ใช้ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้ถือเป็นบรรพบุรุษของการวิจัย ที่ชี้และเน้นให้เห็นของขุมทรัพย์อันมีค่าของพืชสมุนไพรที่คนยุคใหม่อย่างพวกเราสามารถนำมาศึกษาวิจัยต่อยอด หรือนำมาเพื่อประยุกต์ใช้ในด้านอื่นๆได้อีกมากมายสมุนไพรหรือพืชพื้นบ้านหลายชนิดที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น ตะไคร้หอม เปลือกส้ม เปลือกมะกรูด เตย และ ขมิ้น ซึ่งมีสารเคมีที่สามารถใช้ในการกำจัดลูกน้ำได้ จากการสังเกตเห็นว่า ตะไคร้หอมมีฤทธิ์ในการไล่ยุงได้ดี ตะไคร้หอมมีประสิทธิภาพสูงในการไล่ยุงซึ่งเป็นพาหนะสำคัญในการน าโรคไข้เลือดออก โรคไข้มาลาเลีย และโรคอื่นๆในประเทศไทยและต่างประเทศ ข้อดีของตะไคร้หอมอีกอย่างหนึ่งคือมีกลิ่นหอมไม่ก่อให้เกิดมลภาวะมีความคงตัวทางชีวภาพสูงเก็บรักษาไว้ได้นานโดยที่การออกฤทธิ์ไล่ยุงยังมีประสิทธิภาพดี ดังนั้นการทดลองครั้งนี้ได้ศึกษาสมุนไพรที่สามารถไล่ยุงได้ เพื่อช่วยในการไล่ยุงไม่ให้ยุงกัดและแพร่เชื้อ ซึ่งจะนำมาสู่โรคต่างๆได้ การป้องกันยุงกัดเป็นวิธีที่สามารถลดความรำคาญที่เกิดจากยุงและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อที่มียุงเป็นพาหะ

      บทที่ 2
       บทตรวจเอกสาร
       
       ยุงเป็นแมลงที่มีการแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก มีรายงานพบเกือบทุกพื้นที่ทั้งในเขตร้อน เขตอบอุ่น เขตหนาว ยุงมีความสำคัญทางการแพทย์ในแง่เป็นพาหะแพร่เชื้อโรคหรือปรสิตต่างๆ ผ่านทางการกินเลือด ซึ่งการกัดของยุงนอกจากจะก่อให้เกิดความรำคาญ สูญเสียเลือด หรือในบางรายอาจมีอาการแพ้โปรตีนในน้ำลายยุงอย่างรุนแรง ทำให้เกิดตุ่มหรือแผลพุพองบริเวณผิวหนัง การกัดกินเลือดของยุงหลายชนิดสามารถนำโรคติดต่อร้ายแรงมาสู่มนุษย์ได้อีกด้วย ดังนั้นการควบคุมโรคตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจึงเน้นไปที่การควบคุมยุงพาหะเป็นสำคัญ ซึ่งสามารถทำได้หลากหลายวิธีและมีวิวัฒนาการมาเรื่อยๆ โดยวิธีที่ให้ผลดีที่สุดในการกำจัดยุงพาหะ คือ การใช้สารเคมีสังเคราะห์หรือสารฆ่าแมลง ซึ่งสารเคมีที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีมากมายหลายชนิด เช่น Abate, Fenthion, Fenitrothion, 2-hydroxy-methyl-cyclohexyl acetic acid lactone (CIC-4), Permethrin, และ Dieldrin อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่าสารเคมีเหล่านี้แม้จะใช้ได้ผลดี มีประสิทธิภาพสูง แต่จะมีอันตรายหรือมีผลข้างเคียงต่อคนและสัตว์เลี้ยง รวมไปถึงแมลงอื่นๆ เป็นต้นโดยประโยชน์ทางเกษตรกรรม นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกได้พยายามหาวิธีการต่างๆ มาใช้ในการควบคุมยุงพาหะทดแทนการใช้สารเคมี อาทิ การใช้สารสกัดจากธรรมชาติ (Natural chemicals) การใช้สิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติมาควบคุมกันเอง (Biological control) การจัดการทางสภาพแวดล้อม (Environmental management) การใช้เครื่องมือในการกำจัดแมลง (Mechanical control) และการใช้วิธีควบคุมหลายๆ วิธีมาประกอบกัน (Integrated control) เพื่อให้สามารถควบคุมยุงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
       
       
      กลุ่มนักเรียนเจ้าของโครงงานเรื่อง ศึกษาผลของสารจากใบในการกำจัดยุงก้นปล่องและยุงลาย ประกอบด้วย นางสาวสุวนันท์ ไสยาสน์, นายอนุสรณ์ เปาะสะเกษ โดยเรามีความเห็นว่า การใช้สารสังเคราะห์ทางเคมี ในการฆ่าลูกน้ำยุงป้องกันการวางไข่ของยุงและไล่ยุงนั้น ก่อให้เกิดโทษต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม พวกเธอและเขาจึงมีแนวคิดว่าน่าจะทดลองสกัดสารจากพืชบางชนิด เพื่อนำมาใช้ในการกำจัดยุงแทน โดยได้ศึกษาหาสารสกัดจากพืช ที่มีผลต่อยุงร้าย 2 ชนิด คือ ยุงก้นปล่องและยุงลาย
       
      โครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มนี้ นับเป็นโครงงานที่น่าสนใจโครงงานหนึ่งในการหาวิธีการกำจัดยุง ด้วยสารที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม
       
       
       
       
       

       

      บทที่ 3
      วิธีการดำเนินงาน
      3.1 วีธีการทดลอง
       
       การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบเชิงทดลอง เพื่อศึกษากลิ่นของตะไคร้หอมเปลือกมะกรูด เตย และขมิ้นที่ที่สามารถไล่ยุงได้ซึ่งกลิ่นสมุนไพรแต่ละชนิด ที่ใชัในการทดลองได้จากการศึกษา หนังสือวรรณกรรมภูมิปัญญา และทดลองแล้วนำกลิ่นสมุนไพรแต่ละชนิดมาทดลองในบ้านที่มีลักษณะบริเวณที่ปลูกใกล้เคียงกัน
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
      ขั้นตอนการศึกษา
       
       
      ยุง
      สถานที่
      สมุนไพร
       เรานำลูกน้ำที่ยู่ตามที่ต่างๆมาเพาะเลี้ยงจนได้ตัวยุงรวมทั้งยุงในธรรมชาติก็คือเราจะเลือกบ้านที่ใช้ในการทดลองคือบริเวณชุมชนศรีสง่าโดยการเปิดหน้าต่างห้องนอนไว้เป็นเวลา 1 วัน
      ให้ยุงเข้ามาอยู่ในห้อง
      เราเลือกบ้านจำนวน 3 หลังที่อยู่ใกล้เคียงกันบริเวณหมู่บ้านศรีสง่า ซึ่งมีต้นไม้จำนวนมาก
      นำสมุนไพรคือ ตะไคร้หอม ใบเตย เปลือกมะกรูด เปลือกส้ม และขมิ้น มาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปตากแห้งในที่ร่มแล้วนำมานึ่งประมาณ 20 นาทีหลังจากนั้นนำไปผึ่งเพื่อไล่ความชื้นพอเสร็จแล้วนำบรรจุตาข่ายอย่างละ 10 ก้อนเพื่อทำการทดลองประสิทธิภาพโดยนำไปทิ้งไว้ในห้อง
       
       
       
       
       
       
       
                 
       
       
       
       3.2 สถานที่ทำการทดลอง
       
      ภาคสนาม
      บ้านศรีสง่า  จังหวัดชัยภูมิ บริเวณที่มียุงชุกชุม เป็นแหล่งที่มีการศึกษาและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับยุง
                               
                              3.3 วัสดุและอุปกรณ์ที่ไว้ในการทดลอง
                               
                             
      1.ยุง                                                                                                                 
      2.เปลือกมะกรูด
      2.เปลือกส้ม
      3.ใบเตย
      4.ตะไคร้
      5.ขมิ้น
      6.เขียง
      7.มีด
      8.ภาชนะสำหรับนึ่ง
      9.กระด้ง
      10.ผ้าขาวบาง
       
                               
                               
                               
                               
                              3.4 วิธีการทดลอง
       
      1.การเก็บตัวอย่างสัตว์ทดลอง สำรวจแหล่งชุมชนบริเวณ หมู่บ้านศรีสง่าจังหวัดชัยภูมิ เพื่อหาดูบริเวณที่มีน้ำขังและยุงชุกชุม และหลังจากนั้นเก็บตัวอย่างใส่ในขวดเก็บตัวอย่าง แล้วนำลูกน้ำที่ได้ทั้งหมดมารวมกันเพาะเอาตัวยูงเพื่อให้ได้ขนาดเท่ากัน
      2.การเก็บตัวอย่างพืชสมุนไพร นำตะไคร้หอม เปลือกมะกรูด เปลือกส้ม ใบเตยและขมิ้น ล้างน้ำให้สะอาดแล้วน าสมุนไพรทั้ง 5 ชนิดผึ่งให้แห้ง
       
       
      ขั้นตอนการทำถุงหอมไล่ยุง
      -น าสมุนไพรทั้ง 5 ชนิด มาหั่นให้มีขนาดเล็กลง แล้วนำไปผึ่งแดด 1 วัน
       -น าสมุนไพรแต่ละ ชนิดมานึ่งโดยใช้เวลา 30 นาที
       -นำสมุนแต่ละชนิดไปทดลองกับยุงโดยนำสมุนไพรในปริมาณ1 ช้อนโต๊ะห่อใส่ผ้าตาข่ายแล้วนำไปอุดไว้ที่ภาชนะเพาะยุง
      -เมื่อทราบผลการทดลองแล้วน าสมุนไพรมาผสมกันชนิดละ 1ช้อนโต๊ะ
      -บรรจุสมุนไพรที่ผสมกันแล้วใส่ถุงตาข่ายถุงละ 1ช้อนโต๊ะ และตกแต่งให้สวยงาม
       
       
       
       
       
       
       
       
       
      บทที่ 4
      ผลการวิเคราะห์ข้อมูลและการอภิปรายผล
       
      ศึกษากลิ่นของ ตะไคร้หอม(Cymbopogon citratus (DC.) Staph) เปลือกมะกรูด(Citrus x hystrix L.) (Curcuma longa Linnaeus)ต่อยุง ในรูปร่างลักษณะที่ใกล้เคียงกันจำนวน 20 ตัว โดยทำการเปรียบเทียบกลิ่นของ ตะไคร้หอม เปลือกมะกรูด เปลือกส้ม ใบเตย และขมิ้น โดยการตากแห้งแล้วนำไปนึ่งในเวลา 20 นาที ได้กลิ่นสมุนไพรจากพืช 5 ชนิด ดังนี้ ตะไคร้หอม 10 ห่อ เปลือกมะกรูด 10 ห่อ เปลือกส้ม 10 ห่อ ใบเตย 10 ห่อ และขมิ้น 10 ห่อ แล้วนำกลิ่นของสมุนไพรที่ได้ไปทดลองประสิทธิภาพ ที่มีต่ออัตราการตายในกลิ่นของสมุนไพรแต่ละชนิด จากการทดลองในทุก 30 นาที นำผลการทดลองจำนวนยุงทำเป็นตารางแสดงผลเพื่อหาความสัมพันธ์ ระหว่างความเข้มข้นของ ตะไคร้หอม เปลือกมะกรูด เปลือกส้ม ใบเตยและขมิ้นกับอัตราการตายของยุง
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
      ตารางแสดงการตายของยุง
       
      สถานที่(ห้อง)
      สมุนไพร
      เวลา(นาที)
      30
      60
      90
      120
      ห้องที่1
      ตะไคร้หอม
      8
      13
      18
      20
      ห้องที่2
      ขมิ้น
      3
      6
      11
      14
      ห้องที่3
      เปลือกส้ม
      5
      7
      10
      12
      ห้องที่4
      เปลือกมะกรูด
      -
      2
      3
      5
      ห้องที่5
      ใบเตย
      -
      -
      1
      4
      ห้องที่6
      สมุนไพร 5 ชนิดรวมกัน
      7
         16
       23
       28
       
       
                     จากการทดลองพบว่าจำนวนการตายของยุงในแต่ละ 30 นาที มีความแตกต่างกันในแต่ละชนิดและกลิ่นของสมุนไพร โดยกลิ่นของตะไคร้หอมใน 30 นาที มีประสิทธิภาพในการไล่ยุงดีที่สุด ยุงตายจำนวน 8ตัว รองลงมาคือขมิ้นที่เวลา 1 ชั่วโมงแรก ยุงตายจำนวน 6  ตัว และเปลือกส้มที่เวลา 30 นาที ยุงตาย 5ตัว และเปลือกมะกรูดใบเตยในเวลา 1ชั่วโมง มีประสิทธิภาพน้อยในการไล่ยุงและเมื่อนำสมุนไพร 5 ชนิดมารวมกันทดลองในเวลา 30 นาที มีประสิทธิภาพในการไล่ยุงมากที่สุด ในช่วงเวลา 30นาทีแรก ยุงตายจำนวน 28 ตัว
       
       
       
       
      บทที่ 5
      บทสรุป
       5.1 สรุปผลการทดลอง
      1. การทดลองเปรียบเทียบกลิ่นของสมุนไพรที่มีผลต่อไล่ยุงภายใน 2 ชั่วโมง จากการนำ ตะไคร้หอม ขมิ้น เปลือกส้ม เปลือกมะกรูดและใบเตยมานึ่งในเวลา 20 นาทีสามารถทำให้กลิ่นของสมุนไพรทั้ง 5 ชนิดมีกลิ่นหอมมาก แล้วน าสมุนไพรที่นึ่งเสร็จแล้วไปผึงแดดในเวลา 1 นาที เพื่อที่จะได้ให้ไอน้ำละเหยออกซึ่งสมุนไพรจะไม่อับและมีกลิ่นหอมมีประสิทธิภาพในการไล่ยุงทำให้ยุงบินหรือตายได้ภายในเวลา 2 ชั่วโมง โดยเรานับช่วงเวลาเป็นช่วง 30 - 60 - 90 – 90 โดยเรานำสมุนไพรทุกชนิดมาใส่ในถุงหอมอย่างละ 1 กิโลกรัม พบว่ากลิ่นของสมุนไพร ตะไคร้หอม ขมิ้น เปลือกส้ม เปลือกมะกรูด และใบเตยมีประสิทธิภาพในการไล่ยุงได้มากที่สุดที่มีปริมาณ 1 กิโลกรัมเท่าๆกัน ในถุงหอมขนาด 8x8 นิ้ว
       2. กลิ่นของสมุนไพรแต่ละชนิดมีประสิทธิภาพในการไล่ยุงได้ดีต่อยุง กลิ่นของตระไคร้หอมและขมิ้นมีประสิทธิภาพในการไล่ยุงดีที่สุด กลิ่นที่สามารถไล่ยุงได้ดีที่สุดคือตะไคร้หอมลองลงมาคือขมิ้น และเปลือกส้มรวมถึงสมุนไพรแต่ละชนิดมีสรรพคุณรักษาโรคได้อีก
       
      5.2 การประยุกต์ผลการทดลอง
       การศึกษานี้นำไปประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติได้ เช่น มุมห้องภายในบ้าน หน้ารถ ในห้องน้ำ ห้องครัวและในตู้เสื้อผ้านำถุงหอมสมุนไพรแขวนไว้ ณ บริเวณนั้น ซึ่งจากการทดลองพบว่ากลิ่นของสมุนไพรทั้ง 5 ชนิด รวมกันอย่างละ1 กิโลกรัม มีประสิทธิภาพในการไล่ยุงที่ดีที่สุด ถ้ากลิ่นของสมุนไพรอ่อนกลิ่นลงเราก็สามารถนำไปนึ่งใหม่ได้อีก ทำให้ช่วยประหยัดด้วยซึ่งถือได้ว่ากลิ่นของสมุนไพรค่อนข้างมีผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและยังเป็นพืชสมุนไพรที่ใช้ในการประกอบอาหาร จึงไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
       
      5.3 ข้อเสนอแนะในการทดลอง
      1. ควรทำการศึกษาความเป็นพิษของ ตะไคร้หอม ขมิ้น เปลือกส้ม เปลือกมะกรูดและใบเตยที่มีต่อยุงโดยสามารถนำไปประยุกต์เป็นสารสกัดหรือสเปรย์ ที่สามารถใช้ได้สะดวกสบาย และเป็นการใช้ต้นทุนค่ำและนำไปใช้ในภาคสนามเพื่อประเมินค่าใช้จ่ายและทัศนคติการยอมรับของประชาชนเพื่อนำไปประเมินความคุ้มค่าในการนำไปใช้ในแผนงานโครงการแก้ปัญหาทางสาธารณสุขในการควบคุมจำนวนยุงและป้องกันโรคต่างๆที่เกิดจากยุง
      2. ตะไคร้หอม ขมิ้น เปลือกส้ม เปลือกมะกรูดและใบเตย เป็นพืชที่มีกลิ่นหอมเฉพาะ บางชนิดอาจมีกลิ่นแรง จึงทำให้ประชาชนบางคนไม่ชอบไม่อยากใช้ดังนั้นควรที่จะนำผลิตภัณฑ์ที่ได้จาก ตะไคร้หอม ขมิ้น เปลือกส้ม เปลือกมะกรูดและใบเตยไปไว้ ณ บริเวณนั้นที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อจะได้กลิ่นสมุนไพรอ่อนและหอมสูดดมสดชื่นและยังไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายหรือผู้ใช้
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
           
       
       
       
       
       
       
       
       

       

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×