ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้ามเข้า ห้องเก็บรายงาน

    ลำดับตอนที่ #1 : เอลนิโญ

    • อัปเดตล่าสุด 1 มี.ค. 53


    ปรากฏการณ์เอลนิโญ ( El Nino Phenomena )
          เอลนิโญ เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ เกิดจากอิทธิพลของลมสินค้าตะวันออกเฉียงเหนือ พัดจากด้านล่างของทวีปอเมริกาใต้เลียบชายฝั่งทะเล ขณะที่กระแสน้ำเย็นซึ่งพัดขนานเส้นศูนย์สูตรไปยังทวีปออสเตรเลียเกิดการย้อนกลับ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพดินฟ้าอากาศ เกิดความแห้งแล้งในทวีปอเมริกาใต้และทวีปออสเตรเลีย รวมทั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะพื้นที่ทางตอนใต้ของโลก เช่นประเทศอินโดนีเซีย
          เอลนีโญ มาจากภาษาสเปน แปลว่า “ บุตรของพระคริสต์ ” ชาวประมงเปรู และเอกวาดอร์ ใช้คำนี้ในความหมายถึง กระแสน้ำอุ่นบริเวณชายฝั่ง ซึ่งจะเกิดขึ้นมาในช่วงคริสต์มาสเกือบทุกปี และได้กลายมาเป็นคำที่ใช้เรียกกระแสน้ำอุ่นที่เกิดขึ้นอย่างผิดปกติ ซึ่งโดยเฉลี่ยจะเกิดขึ้น 2 – 3 ครั้ง ในทุก ๆ 10 ปี
    การเกิดปรากฏการณ์เอลนิโญ
          โดยปกติพื้นที่ทางตอนใต้ของโลกซึ่งอยู่ระหว่างเส้นศูนย์สูตรกับเส้นละติจูด 30 องศาใต้ จะได้รับอิทธิพลจากลมสินค้า
    ตะวันออกเฉียงใต้ พัดผ่านพื้นที่ชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้ กระแสลมนี้พัดเอากระแสน้ำเย็นจากทางตอนใต้ของทวีปตามแนวชายฝั่งมายัง พื้นที่ใกล้เส้นศูนย์สูตรติดกับประเทศเปรูและเอกวาดอร์ กระแสน้ำนี้มีอุณหภูมิที่ผิวน้ำต่ำกว่ากระแสน้ำที่ไกลจากฝั่ง อิทธิพลจาก ลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้กับการหมุนตัวของโลก ทำให้เกิดกระแสน้ำเย็นไหลไปทางซีกตะวันตกเข้าสู่มหาสมุทรแปซิฟิก โดยผ่านทางตอนเหนือของทวีปออสเตรเลียและประเทศอินโดนีเซีย กระแสน้ำเย็นนี้จะรวมตัวกับกระแสน้ำอุ่นบริเวณตอนกลาง และตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศขึ้นในบางปีลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้อ่อนตัว หรือพัดกลับทาง ทำให้กระแสน้ำเย็นไหลไปไม่ถึงแนวชายฝั่งด้านตะวันตกของทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้บริเวณเขตศูนย์สูตร น้ำบริเวณชายฝั่งประเทศเปรู เอกวาดอร์ และตอนเหนือของประเทศชิลีมีความอุ่นกว่าปกติ กระแสน้ำอุ่นนี้อาจเกิดตลอดแนวกว้าง ของมหาสมุทรแปซิฟิกจากประเทศอินโดนีอเซียถึงทวีปอเมริกากลาง เหตุการณ์นี้มีการบันทึกเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2110 โดยชาวประมงเปรู ซึ่งเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “ ปรากฏการณ์เอลนิโญ ” ในศตวรรษที่ 20 ปรากฏการณ์เอลนิโญ ได้เกิดขึ้น 23 ครั้ง มีช่วงเวลาห่างกันระหว่าง2-10 ปี โดยมีความรุนแรงต่าง ๆ กัน ในช่วงปี พ.ศ. 2540-2541 มีความรุนแรงมากกว่าปกติจนได้ชื่อว่าเป็น มารดาของวิกฤติการณ์เอลนิโญทั้งปวง
    ประโยชน์และโทษของเอลนิโญ
          นักวิทยาศาสตร์แห่งศูนย์วิจัยบรรยากาศแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา วิจัยพบว่าปรากฏการณ์เอลนิโญอันเกิดจากกระแสน้ำใน มหาสมุทรแปซิฟิกแปรปรวน นั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย เช่น ปรากฏการณ์เอลนิโญที่เกิดขึ้นส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตทางทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิก และมีอิทธิพลต่อสภาพดินฟ้าอากาศทั่วโลกในรูปแบบซึ่งยังไม่สามารถเข้าใจกันได้อย่างชัดแจ้ง ผลที่เกิดขึ้นนั้นมักจะเป็นความแปรปรวน ของภูมิอากาศและการเกิดฝนตกมากกว่าปกติทางฝั่งตะวันตกของแถบศูนย์สูตรของทวีปอเมริกาใต้ เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในด้านตะวันออก ของทวีป จากประเทศบราซิลตอนใต้ ถึงตอนกลางของประเทศอาร์เจนตินา ในทางตรงกันข้าม ตอนเหนือของบราซิลซึ่งเป็นบริเวณ กว้างสุดของทวีปจะมีสภาพแห้งแล้ง จะมีพายุและปริมาณฝนหนาแน่นทางชายฝั่งภาคตะวันออกของอ่าวเม็กซิโกไปจนถึงฟลอริดา ตลอดจนชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงใต้ของอเมริกา อุณหภูมิจะสูงขึ้นและฝนน้อยลงจนถึงแห้งแล้ง ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย ส่วนทวีปแอฟริกาก็มักจะเกิดสภาพแห้งแล้งเช่นเดียวกัน นอกจากความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นแล้ว ยังทำให้เกิดพายุหิมะเฮอริเคน ฤดูกาลต่าง ๆ ผิดไปจากปกติ แต่ส่งวนดีก็ยังมีอยู่มาก เช่น ช่วยลดมลพิษสิ่งแวดลอมเนื่องจาก อุณหภูมิของโลกที่ร้อนขึ้นเนื่องจากเอลนิโญจะทำให้พืชพรรณบนโลกเจริญงอกงามอย่างรวดเร็ว ทั้งป่าไม้ ทุ่งหญ้า ส่งผลให้พืชพรรณ ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้
          ส่วนในประเทศไทย จากการเปิดเผยของหัวหน้าศูนย์ควบคุมไฟป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี บอกให้ทราบว่าสถานการณ์ของไฟป่า ในปี 2544 มาเร็วกว่าทุก ๆ ปี อาจเนื่องมาจากปรากฏการณ์เอลนิโญ ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของแมกมาในประเทศอินโดนีเซีย ไปประเทศเปร ูโดยพัดเอาความชุ่มชื้นไปด้วย เป็นเหตุให้อุณหภูมิต่างกัน 3 องศาเซลเซียส ก่อให้เกิดความแห้งแล้งแล้วส่งผลกระทบ ต่อประเทศไทยในที่สุด สถานการณ์ทั่วไปของเขตรักษาพันธุสัตว์ป่าห้วยขาแข้งในช่วงต้นปี 2544จึงตกอยู่ในความ แห้งแล้งทำให้สัตว์ป่า ขาดแคลน น้ำและเกิดไฟป่าขึ้นเมื่อพิจารณาข้อดีและข้อเสียแล้ว พบว่า เอลนิโญทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แพร่สู่บรรยากาศมากขึ้น เนื่องมาจากการเน่าเปื่อยผุพังของซากพืชที่เกิดได้เร็วขึ้น แต่หลังจากนั้นราว2 ปี มันจะทำให้พืชพรรณแพร่ขยายและเติบโตอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้พืชดูดซับ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างรวดเร็วตามไปด้วย
     
     
     
    ปรากฏการณ์ลานิญา ( La Nina Phenomena )
          ลานิญา เป็นปรากฏการณ์ที่เชื่อมโยงกับปรากฏการณ์เอลนิโญ แต่จะมีกระบวนการที่ตรงกันข้ามกัน กล่าวคือ อุณหภูมิของน้ำทะเล ในเขตศูนย์สูตรของแปซิฟิกด้านตะวันออกจะเย็นกว่าปกติ ทำให้เกิดพายุเฮอริเคนในมหาสมุทรแอตแลนติก เกิดฝนตกหนักใน ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก รวมถึงด้านเหนือของภาคตะวันตก เมื่อลานิญาอ่อนกำลังลงจะทำให้อากาศเกิดความ ชุ่มชื้น เกิดฝนตกและอาจทำให้เกิดน้ำท่วมในฤดูฝน ลานิญานี้จะเกิด 3-5 ปีต่อครั้ง โดยจะเว้นช่วงระยะการเกิดประมาณ 1-2 ปี จะไม่เกิดต่อเนื่องกัน โดยทั่วไปปรากฏการณ์ลานิญาจะเกิดน้อยกว่าปรากฏการณ์ เอลนิโญ ในศตวรรษที่แล้วมีการเกิด ปรากฏการณ์ลานิญา ขึ้น 15 ครั้ง โดยมีช่วงเวลาการเกิดระหว่าง 2-13 ปี
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
                         
     
     
     
    ปรากฏการณ์เอลนิโน ( El Nino )
    El Nino
    และ La Nina ความจริง
    ทั้งสองคำนี้มาจากภาษาสเปนคือ El Niñ o และ La Niñ a หากจะเขียนคำอ่านตามภาษาสเปนแล้ว El Niñ o ต้องอ่านว่า
    เอล นินโญและ La Niñ a ก็ต้องอ่านว่า ลา นินญาใช้ตามหลักการเขียนคำออกเสียงให้แตกต่างไปจาก ซึ่ง
    เป็นเสียงของ ‘Y’ หรืออีกรีเอกาในภาษาสเปน แต่สื่อมวลชนทั่วไปถ้าไม่เขียน เอลนิโนแล้ว ก็จะเขียนเอลนิโย
    หมายเหตุ ภาษาสเปนพอเอามาลงในกระทู้แล้วจะอ่านออกหรือไม่ไม่รู้นะครับ เอาเป็นว่า พอรู้ๆๆก็แล้วกันอิอิ
    เด็กคริสเตียนที่เกิดใกล้วันคริสต์มาสถ้าเป็นเพศชายจะมีชื่อเล่นตามประเพณีโดยอัตโนมัติว่า El Niñ o ถ้าเป็นเพศหญิงจะเรียกว่า La Niñ a ผู้อ่านคงสงสัยว่าแล้วมันเกี่ยวอะไรกับสภาพดินฟ้าอากาศล่ะ เรื่องนี้มีประวัติครับ ย้อนหลังไปประมาณ 1500 ปีชาวเปรูที่อาศัยอยู่ริมทะเลฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศได้สังเกตุเห็นว่าในบางปีจะมีกระแสน้ำอุ่นไหลมาตามแนวชายฝั่ง พร้อมกันนั้นสภาพภูมิอากาศจะผิดปรกติไปเช่นฝนไม่ตกในบริเวณที่เคยตกประจำแต่กลับไปตกในพื้นที่ที่แห้งแล้งกันดารซึ่งไม่ค่อยมีฝนตกทำให้เกษตรกรเดือดร้อนไปตาม ๆ กันปลาที่เคยมีให้ชาวประมงจับมากมายกลับมีจำนวนน้อยลง เมื่อปลาในทะเลมีน้อยลงนกซึ่งกินปลาเป็นอาหารก็พากันอพยบไปหากินถิ่นอื่นส่งผลให้มูลนกมีปริมาณน้อยและมีคุณค่าทางปุ๋ยต่ำลง คนเก็บมูลนกขายก็เดือดร้อนไปด้วย
    สรุปแล้วมีผลกระทบกับชาวบ้านทั้งด้านการประมงและการเกษตรเรื่องนี้จึงอยู่ในใจของชาวเปรูที่อาศัยอยู่แถบนั้นมาตลอด ประมาณปี พ.ศ. 2433 พวกเขาก็ขนานนามกระแสน้ำอุ่นนี้ว่า El Niñ o เนื่องจากเห็นว่าถ้ามีกระแสน้ำอุ่นมา ก็จะมาในช่วงใกล้กับวันคริสต์มาสเสมอ
    ต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้ยืมชื่อเอลนิโนมาใช้โดยใช้ในความหมายที่กว้างขึ้นและโยงใยไปถึงสภาพอากาศทั่วโลกจากนั้นยังมีการตั้งชื่อ ลานินาขึ้นมาสำหรับเรียกปรากฏการณ์ที่กลับกันกับเอลนิโนเราทราบแล้วว่า เอลนิโนเป็นชื่อเรียกปรากฏการณ์เกี่ยวกับกระแสน้ำอุ่นลานินาจึงเป็นชื่อเรียกปรากฏการณ์เกี่ยวกับกระแสน้ำเย็น
    เอลนิโนคืออะไร
    พื้นโลกรับความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้ไม่เท่ากันบริเวณเส้นศูนย์สูตรจะรับความร้อนมากกว่าขั้วโลกเหนือและใต้
    มากมายน้ำทะเลและอากาศจะเป็นตัวพาความร้อนออกจากเส้นศูนย์สูตรไปยังขั้วโลกทั้งสอง
    วงจรถ่ายเทความร้อนนี้ฝรั่งเรียกว่า CONVECTION CELL
    ความร้อนเป็นพลังงานที่ทำให้เกิด CONVECTION CELL โดยน้ำทะเลที่ผิวมหาสมุทรจะร้อนขึ้นจนระเหยกลายเป็นไอขึ้นไปน้ำอุ่นข้างล่างผิวน้ำและใกล้เคียงจะเข้ามาและกลายเป็นไออีกเป็นเหตุให้มีการไหลทดแทนของน้ำและอากาศจากที่เย็นกว่าไปสู่ที่อุ่นกว่าเกิดเป็นวงจรระบายความร้อนและความชื้นออกไปจากโซนร้อนอย่างต่อเนื่อง ในภาวะปรกติโซนร้อนที่กล่าวถึงนี้คือบริเวณแนวเส้นศูนย์สูตรทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกได้แก่บริเวณหมู่เกาะอินโดนีเซียและออสเตรเลีย
    ลักษณะนี้ทำให้มีลมพัดจากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิกมาหาแนวเส้นศูนย์สูตรทางแปซิฟิกตะวันตกคนเดินเรือใบในอดีตรู้จักลมนี้ดี โดยเฉพาะชาวจีนเพราะได้อาศัยลมนี้ในการเดินทางมาค้าขายหรือหอบเสื่อผืนหมอนใบมายังเอเชียใต้ลมนี้คือลมสินค้านั่นเองลมสินค้าได้พัดน้ำให้ไหลตามมาด้วยจากการสำรวจทางดาวเทียมพบว่าน้ำทะเลแถวอินโดนีเซียมีระดับสูงกว่าทางฝั่งเปรูประมาณครึ่งเมตรซึ่งทางฝั่งเปรูนั้น เมื่อน้ำทะเลชั้นบนที่ร้อนได้ไหลมาทางตะวันตกตามแรงลมแล้วน้ำทะเลด้านล่างซึ่งเย็นกว่าก็จะลอยขึ้นมาแทนที่หอบเอาแพลง

    ตอนซึ่งเป็นอาหารปลาลอยขึ้นมาด้วย ทำให้ท้องทะเลย่านนี้มีปลาเล็กปลาใหญ่ชุกชุม เมื่อมีปลาชุกชุมก็ทำให้มีนกซึ่งกินปลาเป็นอาหารชุกชุมไปด้วย เกิดอาชีพเก็บมูลนกขายอย่างเป็นล่ำเป็นสันขึ้นมา
    ส่วนทางแปซิฟิกตะวันตกนั้น เมื่อมีนำอุ่นที่ถูกลมพัดพามาสะสมไว้จนเป็นแอ่งใหญ่ จึงมีเมฆมากฝนตกชุก อากาศบริเวณนี้จึงร้อนชื้น
    ที่บอกว่าน้ำทะเลร้อนและเย็นนั้น ตามปรกติก็จะร้อนและเย็นประมาณ 30 และ 22 องศาเซลเซียส ตามลำดับเมื่อเกิดเอลนิโน ลมสินค้าจะมีกำลังอ่อนลงทำให้ไม่สามารถพยุงน้ำทะเลทางแปซิฟิกตะวันตกให้อยู่ในระดับสูงกว่าอย่าง
    เดิมได้ น้ำอุ่นจึงไหลย้อนมาทางตะวันออก แอ่งน้ำอุ่นซึ่งเปรียบได้กับน้ำร้อนในกระทะใบใหญ่ซึ่งเคยอยู่ชิดขอบ
    ตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกจึงเคลื่อนไปทางทิศตะวันออก การลอยตัวของน้ำเย็นจากก้นทะเลจึงมีน้อย มีผลทำให้น้ำด้านแปซิฟิกตะวันออกอุ่นขึ้น ทีนี้ก็เกิดวงจรแบบงูกินหางขึ้น คือ น้ำทะเลยิ่งร้อน ลมสินค้าก็ยิ่งอ่อนลมสินค้ายิ่งอ่อนน้ำทะเลก็ยิ่งร้อน นี่เป็นปัจจัยให้แต่ละครั้งที่เกิดเอลนิโน แอ่งนำอุ่นจะขยายใหญ่ขึ้นและใหญ่ขึ้นทุกครั้งไป แอ่งนำอุ่นเฉพาะส่วนที่เป็นใจกลางของเอลนิโนที่เกิดขึ้นระหว่างปีก่อนกับปีนี้นั้นมีขนาดใหญ่กว่าประเทศอเมริกาเสียอีก อุณหภูมที่ใจกลางก็สูงขึ้นเรื่อย ๆ ตอนนี้สูงกว่าอุณหภูมิปกติเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 5 องศาแล้ว
    เอลนิโน คือ การไหลย้อนกลับของผิวน้ำทะเลที่อุ่นในช่วงเวลาหนึ่งจากบริเวณเส้นศูนย์สูตรทางมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกไปแทนที่กระแสน้ำเย็นที่ไหลอยู่เดิมตามบริเวณเส้นศูนย์สูตรทางมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกและบริเวณชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ อุณหภูมิผิวน้ำทะเลได้แผ่ขยายกว้าง ส่งผลกระทบต่อการหมุนเวียนของบรรยากาศแผ่ขยายกว้างออกไป นอกเหนือจากบริเวณน่านน้ำมหาสมุทรแปซิฟิกปรากฏการณ์เอลนิโนมีความเชื่อมโยงด้านปรากฏการณ์ความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ ซึ่งทั้งสองสิ่งได้เชื่อมโยงกัน เรียกว่าปรากฏการณ์ "เอนโซ" (ENSO : El Nino-Southern Oscillation) เอนโซถูกระบุว่าเป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการแปรปรวนทางภูมิศาสตร์ปีต่อปีบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของอเมริกาเหนือ เป็นต้น

    "
    เอลนิโน" มีคุณอนันต์ นักวิทยาศาสตร์แห่งศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐได้เปิดเผยผลการวิจัย ชิ้นใหม่ว่าปรากฏการณ์เอลนิโนอันเกิดจากอุณหภูมิกระแสน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกแปรปรวนซึ่งถูกโทษว่าทำให้โลกทุกข์มาก เช่น ทำให้เกิดภาวะแห้งแล้ง พายุหิมะเฮอริเคน และอื่น ๆ ผิดฤดูกาล แต่ก็มีส่วนดีอยู่มาก เพราะมันช่วยลดมลพิษที่ทำให้เกิดอุณหภูมิโลก ร้อนขึ้นผลการวิจัยระบุว่าปรากฏการณ์เอลนิโนจะทำให้พืชพันธุ์ดูดซับเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) ต้นเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกซึ่งทำให้โลกร้อนขึ้นได้ปริมาณมากขึ้นจากการตรวจวัดทางดาวเทียมพบว่าในขั้นแรกปรากฏการณ์ที่ทำให้ โลกร้อนขึ้น เช่น เอลนิโนทำให้ Co2 แพร่ขึ้นสู่บรรยากาศมากขึ้น ซึ่งอาจเนื่องาจากผลของการเน่าเปื่อยผุพังของซากพืชให้เร็วขึ้น แต่หลังจากนั้นประมาณอีก 2 ปี มันจะทำให้พืชพันธุ์แพร่ขยายและเติบโตอย่างรวดเร็วส่งผลให้พืชดูดซับ Co2 อย่างรวดเร็ว ตามไปด้วย อย่างไรก็ตามยังไม่ทราบว่าผลระยะยาวจะยังคงเป็นเช่นนี้หรือไม่
    ดังนั้นคำว่า เอลนิโน ที่นักวิทยาศาสตร์ยืมจากชาวเปรูมาใช้จึงมีความหมายขยายวงครอบคลุมบริเวณน้ำอุ่นทั้งหมดในมหาสมุทรแปซิฟิก มิใช้เฉพาะที่ชายทะเลของเปรู ปรากฏการณ์นี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า ‘Warm Event’ แต่ชื่อนี้ไม่ติดตลาดเท่าเอลนิโน
    ปรากฏการณ์ที่น้ำทะเลร้อนขึ้นผิดปรกตินี้มีขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงความดันบรรยากาศระดับผิวน้ำทะเลที่บริเวณด้านตะวันออกกับด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ในทศวรรษต้น ๆ ของศรรตวรรษที่ 20 (ค.ศ.) เซอร์กิลเบอร์ต วอล์คเกอรพบว่า ค่าของความดันบรรยากาศที่ระดับผิวน้ำทะเล ณ เมืองดาร์วินซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลียจะสลับสูงต่ำกับค่าความดันที่ตาฮิติ เมื่อความดันที่ตาฮิติสูง ความดันที่ดาร์วินก็จะต่ำ และถ้าความดันที่ตาฮิติต่ำ ความดันที่ดาร์วินก็จะสูง กลับกันแบบนี้ ปรากฏการณ์นี้มีชื่อว่า Sothern Oscillation หรือ ENSO (เอ็นโซ) ดังนั้น จึงมีนัก
    วิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งเรียกปรากฏการณ์นี้ ว่า เอ็นโซแทนที่จะเรียกเอลนิโน แต่ชื่อนี้ก็ไม่ติดตลาดเช่นกัน และก็ม
    ีนักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มนำคำทั้งสองมารวมกัน เรียกเป็น ‘El Nino-Southern Oscillation’ ไปเสียเลย อย่างไรก็ตาม

    ชื่อนี้แม้จะให้ความหมายชัดเจน แต่ก็รุ่มร่าม คำว่า เอลนิโน หรือ เอลนิลโย จึงเป็นชื่อที่ได้รับความนิยมใช้กันทั่วไปยังไม่มีไครตอบได้ว่าเอลนิโนเกิดขึ้นจากอะไร ทราบแต่เพียงว่า เมื่อเอลนิโนเกิดขึ้นแล้ว มีอะไรเกิดขึ้นตามมาบ้าง
    เอลนิโยสลายตัวไปได้อย่างไร และนักวิทยาศาสตร์ก็กำลังสงสัยอยู่ว่าเอลนิโนมีความสัมพันธ์กับ ‘Global Warming’และปรากฏการณ์เรือนกระจกหรือไม่
    ฉบับก่อนร่ายยาวเรื่องอายุ, การสลายตัวของเอลนิโน, ความถี่ในการเกิดปรากฏการณ์ และลานินาคืออะไรมาแล้ว ฉบับนี้ก็ถึงคราวเรื่องผลกระทบจากเอลนิโนและลานินา ก่อนจะเข้าเรื่องของผลกระทบ ผมขอย้อนไปกล่าวถึงเรื่องสาเหตุที่ทำให้เกิดเอลนิโนก่อน เพราะมีแนวคิดประการหนึ่งที่ผมเห็นว่าต้องนำเสนอ ได้แก่แนวคิดเรื่องปริมาณความร้อนที่ทำให้เกิดเอลนิโนได้ และที่มาของความร้อนดังกล่าวการที่จะทำให้น้ำทะเลในโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นตามปรากฏการณ์เอลนิโนที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2540-2541 นี้ นักวิทยาศาสตร์ที่ห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมทางทะเลภาคพื้นแปซิฟิคของสหรัฐอเมริกาได้คำนวณว่าจะต้องใช้พลังงานถึง 35,000 ล้านล้านล้านจูล หรือเทียบได้กับพลังงานจากระเบิดนิวเคลียร์แบบระเบิดไฮโดรเจนที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่มนุษย์สร้างได้ถึง 400,000 ลูก ถึงถ้าจะใช้พลังงานไฟฟ้า ก็ต้องมีโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดถึง 1,500,000 โรง ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ว่ากิจกรรมของมนุษย์จะเป็นสาเหตุอย่างฉับพลันของเอลนิโน เมื่อเป็นเช่นนี้การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ของฝรั่งเศษจำนวน 6 ครั้งระหว่างกันยายน 2538 ถึงมกราคม 2539 ที่หมู่เกาะโพลีนีเชียซึ่งเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศษและอยู่ในทะเลจีนใต้ ใกล้ๆ กับเกาะฟิจิ คงไม่เป็นสาเหตุให้เอลนิโนปี 2540/2541 เป็นเอลนิโนที่ร้อนที่สุดไปได้เคยมีแนวคิดว่าเอลนิโนอาจจะมีความสัมพันธ์กับการระเบิดของภูเขาไฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระเบิดของภูเขาไฟ Chichon ในเม็กซิโกในปีพ.ศ. 2525 และภูเขาไฟปินาตูโบในฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นปีที่มีเอลนิโนด้วย แต่จากการศึกษาอย่างละเอียด รวมทั้งนำเอาข้อมูลการระเบิดของภูเขาไฟอื่น ๆ มาร่วมวิเคราะห์ด้วย ทำให้พบว่าความสอดคล้องที่เห็นใน 2 ปีนี้เป็นเพียงความบังเอิญเท่านั้นอย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์ที่เกิดเป็นครั้งคราวย่อมไม่ใช่สาเหตุอันแท้จริงเพราะเอลนิโนมีประวัติมายาวนานเกินร้อยปีแล้ว ในปี 2516 มีการศึกษาบริเวณความดันอากาศสูงเหนือระดับน้ำทะเล และพบว่าในมหาสมุทรแปซิฟิกแถบซีกโลกใต้ใกล้ชายฝั่งทะเลของทวีปอเมริกาใต้มีการระเหยน้ำมากที่สุด เมื่อทำเป็นแผนที่แล้วนำมาซ้อนทับกับแผนที่แสดงอุณหภูมิของน้ำทะเลระดับลึกในมหาสมุทรแปซิฟิก พบว่าบริเวณสันเขากลางมหาสมุทร (Oceanic Ridge) เป็นบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณอื่น ๆ ซึ่งน่าจะเป็นแหล่งระบายความร้อนจากใต้พื้นผิวโลกสู่มหาสมุทรและความร้อนปริมาณมหาศาลเหล่านี้เองอาจเป็นตัวการสำคัญทำให้อุณหภูมิของผิวน้ำทะเลบริเวณเส้นศูนย์สูตรของมหาสมุทรแปซิฟิกแตกต่างกันมาก ถ้าข้อสันนิษฐานนี้เป็นจริงก็น่าจะมีคำถามต่อไปว่า เพราะเหตุใดจึงต้องมีการระบายความร้อนออกมาจากใต้เปลือกโลกที่บริเวณกลางมหาสมุทรด้วย เรื่องนี้นักวิทยาศาสตร์ชื่อ Howell กล่าวว่า เนื่องจากเปลือกโลกบริเวณมหาสมุทรมีความหนาแน่นประมาณ 3 ตันต่อลูกบาศก์เมตร และเปลือกโลกภาคพื้นทวีปมีความหนาแน่นประมาณ 2.7 ตันต่อลูกบาศก์เมตร การที่เปลือกโลกจะลอยตัวอย่างสมดุลบนหินหนืด(isostacy) ได้นั้นจะต้องมีความหนาและบางแตกต่างกัน กล่าวคือเปลือกโลกที่มีความหนาแน่นมากจะต้องบางและไม่หยั่งรากลึกลงไปในหินหนืด แต่เปลือกโลกภาคพื้นทวีปมีความหนาแน่นน้อยกว่า จึงต้องหยั่งรากลึกลงไปในหินหนืดมากกว่าตามหลักการสมดุลของการลอยตัวบนหินหนืด ดังนั้นเปลือกโลกบริเวณมหาสมุทรจึงบางและเป็นจุดเดียวที่จะเกิดการพาความร้อนจากใต้เปลือกโลกขึ้นมาระบายออกสู่น้ำในมหาสมุทรซึ่งมีความจุความร้อนจำเพาะสูงมากพอที่จะรับการระบายความร้อนเหล่านั้น ถ้าข้อสันนิษฐานนี้ เป็นความจริงก็น่าจะมีคำถามต่อไปว่า เพราะเหตุใดจึงต้องมีการระบายความร้อนออกมามากจนเป็นสาเหตุของอุณหภูมิแตกต่างกันอย่างมากในช่วงเวลาทุก 4-5 ปี ในเรื่องนี้Hamblin and Christiansen (1995), Howell (1995) กล่าวถึงธรณีแปรสัณฐานของแผ่นเปลือกโลก (Plate Tectonic) ว่าการระเบิดของหินละลายใต้เปลือกโลกบริเวณสันเขากลางมหาสมุทรซึ่งสืบเนื่องมาจากการที่แก่นในของโลกซึ่งเป็นของแข็งหมุนรอบตัวเองคลาดตำแหน่งจากศูนย์กลางเดิมที่เคยหมุนรอบอยู่เป็นประจำ เนื่องจากแก่นในของโลกเป็นของแข็งและแก่นนอกของโลกเป็นของเหลว เมื่อโลกหมุนรอบตัวเองการหมุนรอบตัวเองของเปลือกโลกและแก่นโลกจะไม่สอดคล้องกันตลอดเวลาเพราะโลกมิได้เป็นของแข็งทั้งก้อน จึงก่อให้เกิดการคลาดตำแหน่งจากศูนย์กลาง และเกิดการผลักดันหินละลายให้ปะทุขึ้นในบริเวณที่สามารถปะทุขึ้นมาได้ซึ่งบริเวณนั้นควรเปราะบางที่สุดและรับการระบายความร้อนได้มากที่สุด เช่น บริเวณสันเขากลางมหาสมุทร และสิ่งนี้อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกแตกต่างกันถึง 6 องศาเซลเซียส จนเป็นปัจจัยเสริมกับความผันผวนของอากาศในซีกโลกใต้และผนวกกับการอ่อนกำลังลงของลมสินค้าทำให้เกิดปรากฏการณ์เอลนิโนอย่างรุนแรงถ้าข้อสันนิษฐานนี้เป็นจริง ก็ชวนให้สงสัยอีกว่ามีกลไกอะไรที่ถ่ายเทความร้อนออกไปจากน้ำทะเลจนเป็นเหตุให้เกิดลานินา แต่ลานินาก็อาจจะเกิดจากการไหลของน้ำเย็นมาทดแทนน้ำอุ่นซึ่งมีการระเหยขึ้นไปมากตามวัฏจักรปรกติก็ได้ผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนิโนผลกระทบที่เด่นชัดจากปรากฏการณ์เอลนิโนคือ ความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและยาวนานเริ่มตั้งแต่บางส่วนของทวีปแอฟริกา เอเชีย ออสเตรเลีย ไปจนถึงฮาวาย และความชุ่มชื้นอย่างผิดปกติ เช่นมีพายุเฮอริเคนพัดเข้าสู่ชายฝั่งของทวีปอเมริกาเหนือตอนใต้จนถึงอเมริกาใต้มากกว่าปรกติ จนเป็นสาเหตุของการเกิดอุทกภัย จึงอาจจะกล่าวได้ว่าผลกระทบโดยตรงของเอลนิโนในเชิงลบคือภัยแล้ง อุทกภัย และวาตะภัย จากภัยทั้งสามนี้ยังแตกลูกแตกหน่อออกไปอีกหลายภัยขอยกฮาวายเป็นตัวอย่าง ปกติที่ฮาวายนั้นมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูงถึง 3.2 เมตรต่อปี และโดยทั่วไปก็ไม่ต่ำกว่า 15 นิ้วต่อปี แต่จนถึงเดือนเมษายนปีนี้มีฝนตกยังไม่ถึงครึ่งนิ้ว ทางรัฐต้องออกคำสั่งให้ประชาชนช่วยกันประหยัดน้ำลง 10% ประชาชนในบางพื้นที่ต้องปันน้ำกันใช้ เกษตรกรเดือดร้อนหนักเพราะไม่มีน้ำรดต้นไม้ เจ้าหน้าที่ของรัฐกล่าวว่าถ้าสภาวะเป็นเช่นนี้ไปอีก 2 เดือน ฮาวายจะตกอยู่ในภาวะฉุกเฉินร้ายแรง นอกจากนี้ฮาวายยังประสบปัญหาไฟไหม้ป่าอีก ซึ่งเผาผลาญป่าไปกว่า 6 พันไร่ ประชาชนเดือดร้อนกว่า3 พันครัวเรือนประเทศไทยประสบปัญหาเช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลีย คือประสบปัญหาภัยแล้งและอากาศร้อน เกษตรกรในออสเตรเลียเคยประสบปัญหากับความแห้งแล้งเพราะเอลนิโนมาแล้วหลายครั้ง จึงมีการเตรียมตัวรับมือกับเอลนิโนปี 2540/2541 ได้ดี โดยการลดพื้นที่เพาะปลูกลง เปลี่ยนชนิดของพืชที่เพาะปลูก และขายสัตว์เลี้ยงไปเพื่อลดความสูญเสียให้เหลือน้อยที่สุด หากเกษตรกรของไทยไม่ติดตามข่าวเรื่องสภาพภูมิอากาศหรือประมาทไม่เตรียมการล่วงหน้า ก็จะประสบปัญหาขาดทุนหนักเมื่อต้นข้าวหรือพืชที่ปลูกไว้แล้งตายคานาคาไร่ทวีปเอเชียโดยส่วนใหญ่ประสบกับความแห้งแล้งและอากาศร้อนอบอ้าว เอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบกับความแห้งแล้งที่สุดในรอบ 50ปี ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย อินเดีย ได้รับผลกระทบทำให้ผลิตข้าวได้น้อย สำหรับประเทศไทย ความแห้งแล้งมีผลกระทบกับข้าวโพดมากกว่าข้าว ความ แห้งแล้งที่เกิดขึ้นอย่างยาวนานทำให้ป่าติดไฟได้ง่าย เมื่อมีไฟไหม้ป่าจึงดับได้ยากมาก ซึ่งไฟที่ไหม้ป่าส่วนใหญ่แล้วต้นกำเนิดไฟไม่ได้เกิดเองจากธรรมชาติ มักจะเป็นด้วยน้ำมือคนเสียทั้งสิ้น ทั้งด้วยความเผลอเรอและตั้งใจ ดังไฟป่าที่อุทยานแห่งชาติห้วยขาแข้ง เขาใหญ่ และพลุโต๊ะแดง รวม ๆ แล้วปีนี้ไทยเสียพื้นที่ป่าไปเพราะไฟไหม้ประมาณสองสามหมื่นไร่วิธีการเดียวที่ประเทศเรานำมาใช้ดับไฟป่าคือถางป่าที่ยังไม่ไหม้ให้เป็นพื้นที่กันชน ไม่มีสารดับเพลิงสำหรับใช้ดับไฟป่าโดยเฉพาะไม่มีเครื่องบินโปรยสารดับเพลิงหรือบรรทุกระเบิดน้ำ มีแต่มีด จอบ และเสียม เวลาของบประมาณแผ่นดินคงไม่มีใครเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ เครื่องมือดับไฟของเราจึงมีแต่ของโบราณ ๆเฉพาะไฟป่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมแล้วก็หลายร้อยแห่ง ไฟป่าในอินโดนีเซียเป็นไฟป่าที่มีอายุการเผาผลาญยาวนานหลายเดือน เกิดควันไฟแพร่กระจายไปปกคลุมหลายประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน ไทย และฟิลิปปินส์ มีผู้ป่วยและเสียชีวิตเนื่องจากควันไฟหลายรายประเทศไต้หวันและจีนรับพายุเฮอริเคนลินดาไปเต็ม ๆ ความรุนแรงอยู่ในระดับ

    เกิน F5 แบบที่เห็นในหนังเรื่องทวิสเตอร์ลินดามีความเร็วลมที่ศูนย์กลาง 220 ไมล์ต่อชั่วโมงนักอุตุนิยมวิทยายังเห็นว่าพายุนี้รุนแรงเกินระดับ F5 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดที่ได้ตั้งไว้จึงมีการเสนอให้ตั้งระดับใหม่ F6 ขึ้นมาลินดาเป็นพายุไต้ฝุ่นที่รุนแรงที่สุดของเอเชียตะวันออกมีผู้เสียชีวิตทั้งในจีนและไต้หวันรวม43 คนพม่าก็ถูกพายุฝนกระหน่ำเช่นกันจนน้ำท่วมหนักที่สุดในรอบ 30 ปี ประชาชนพม่ากว่า 5 แสนคนกลายเป็นคนไร้ที่อยู่อาศัยจีนก็ใช่ว่าจะพบแต่พายุเท่านั้นจีนยังพบกับความแห้งแล้งในระหว่างเดือนสิงหาคมถึงกันยายนปีที่แล้วด้วยแม่น้ำแยงซีของจีนถึงกับแห้งขาดตอนไปจนเรือขนส่งแล่นไม่ได้ 137 แห่งแต่ก็ยังนับว่าโชคดีที่ระยะเวลาที่ประสบกับความแห้งแล้งมีไม่นานนักยุโรปโชคดีไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงส่วนทวีปอเมริกาทั้งเหนือและใต้ต้องพบกับภาวะสุดโต่ง 2 ด้านคือขาดน้ำกับมีน้ำมากไปในสหรัฐอเมริกา รัฐแคลิฟอเนียร์เจอพายุหนักสุด ฝนตกชั่วโมงละ 1 นิ้วตามด้วยโคลนถล่ม คนแคลิฟอร์เนียเดือดร้อนกันทั่วหน้าในขณะที่คนชิคาโกยิ้มแย้มแจ่มใสนิยมไปปิคนิคและเดินชอปปิ้งกันมากขึ้นเพราะอากาศอบอุ่น ท้องฟ้าแจ่มใสไม่หนาวจนเก็บคนไว้ในบ้านแบบช่วงเดียวกันของปีก่อน ๆส่วนในอเมริกาใต้เปรูกับเอกวาดอร์เจอพายุไม่แพ้แคลิฟอร์เนีย น้ำท่วมหนัก ถนนและสะพานขาดนับแต่ธันวาคมปีที่แล้วมีคนตายไปกว่า 300 คน ต้องอพยพโยกย้ายถิ่นฐานกว่า 250,000 คนที่ชิมโบเตซึ่งเป็นศูนย์กลางการประมงของเปรูมีรายงานว่าปกติเปรูเคยจับปลาพวกแองโชวีน้ำเย็น (cold-water anchovy) ได้วันละ 25 ล้านตันแต่ตอนนี้เหลือเพียงวันละ 5 ล้านตันเพราะน้ำอุ่นจากเอลนิโนเข้ามาทำให้ฝูงปลาแองโชวีน้ำเย็นอพยพหนีไปนับว่าเปรูสูญเสียรายได้ไปจำนวนมหาศาล เมื่อปลาไม่มี นกกินปลาก็ไม่มาจึงทำให้เปรูขาดรายได้จากการขายปุ๋ยฟอสเฟตจากมูลนกทะเลซ้ำอีกเป็นมูลค่ามหาศาลเช่นกัน
    เหตุการณ์เช่นนี้มีผลกระทบต่อการผลิตอาหารเลี้ยงประชากรโลกทั้งโดยตรงและโดยอ้อมเนื่องจากปลาเป็นอาหารโดยตรงและปลาป่นเป็นอาหารสัตว์ที่เป็นแหล่งโปรตีนสำคัญของโลกเอกวาดอพบกับปัญหาโคลนถล่มโชคร้ายหนักขึ้นไปอีกที่โคลนถล่มนั้นเกิดขึ้นในบริเวณท่อส่งน้ำมันสายใหญ่สุดของประเทศทำให้เกิดการระเบิด เผาน้ำมันไปเปล่าๆ 80 บาเรล และไหลลงสู่แม่น้ำอีก 8,000 บาเรลเกิดปัญหามลพิษตามมาอีกไม่รู้เท่าไร
    รัฐบาลเอกวาดอคาดว่าจะต้องใช้เงินถึง 8 หมื่นล้านบาทมาซ่อมแซมหายนะครั้งนี้ในขณะที่เปรูกับเอกวาดอร์เจอพายุหนัก ทางบราซิลเวเนซูเอลา และโคลัมเบียกลับประสบภาวะแห้งแล้งทั้งๆ ที่ประเทศก็อยู่ติดๆกันนั่นเองโคลัมเบียก็เจอปัญหาไฟไหม้ป่าหลายแห่ง น้ำไม่พอสำหรับการเกษตรคาดว่าผลผลิตจากการเกษตรปีนี้จะลดลง 7%เวเนซูเอลามีน้ำไม่พอผลิตกระแสไฟฟ้าบราซิลพบกับความแห้งแล้งที่สุดในรอบ 25 ปีเกิดไฟไหม้ป่าลุกลามเข้าไปถึงเขตป่าดึกดำบรรพ์ในลุ่มน้ำอเมซอนซึ่งปรกติเป็นเขตป่าฝนทำให้พื้นที่ป่าเสียหายไปกว่า 5 แสนตารางกิโลเมตรจากพื้นที่ป่าทั้งหมด 5.2 ล้านตารางกิโลเมตรและที่ชิลีก็พบปัญหาปลาน้ำเย็นอพยพหนีน้ำอุ่นเช่นเดียวกับเปรูดังนั้นเมื่อเกิดปรากฏการ์เอลนิโน ข้อควรระวังหลัก ๆ ก็ได้แก่ พายุ น้ำท่วม ความแห้งแล้งสำหรับประเทศไทยควรเตรียมตัวรับมือกับประการหลังมากที่สุด
    แต่ถ้าเกิดลานินาก็ต้องระวังเรื่องพายุและน้ำท่วมเพราะจะเกิดพายุไต้ฝุ่นจากมหาสมุทรอินเดียมาเข้าไทยบ่อยมากมีหลายประการที่หน่วยงานของรัฐบาลต้องเป็นผู้ดำเนินการ ได้แก่ประกาศเตือนประชาชนแต่เนิ่น ๆ ให้ทราบว่าจะมีปรากฏการณ์เอลนิโนหรือลานินาเกิดขึ้นทำโครงการกักเก็บน้ำให้พอเพียงแก่การเกษตรและผลิตกระแสไฟฟ้าทำโครงการประหยัดพลังงาน จัดอบรมเกษตรกรเพื่อรับมือกับภัยแล้งเตรียมการป้องกันไฟป่าและจัดเตรียมอุปกรณ์ดับไฟป่าให้มีผลพร้อมที่จะดับไฟได้อย่างน้อย 10% ของพื้นที่ป่าทั้งหมด ร่างกฎหมายประกันภัยน้ำท่วมเป็นต้นความจริงเอลนิโนไม่ได้ทำให้อากาศร้อนอย่างเดียวยังทำให้บางพื้นที่ในประเทศทางซีกโลกเหนือมีความหนาวเย็นและมีหิมะตกหนักกว่าปรกติด้วยเช่นที่ประเทศเกาหลีเหนือนอกจากภัยที่กล่าวมาแล้วยังมีภัยทางอ้อมต่าง ๆ อีกซึ่งเป็นผลมาจากน้ำและอากาศมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น หรือไม่ก็เพราะแล้งไปหรือชื้นไปพอจะรวบรวมได้ดังนี้

    1.
    สัตว์ทะเลมีโอกาสสูญพันธุ์สูงมากเมื่อเกิดภาวะเอลนิโนการไหลของกระแสน้ำอุ่นผิดทิศทางไป ซึ่งกระทบกระเทือนต่อการขยายพันธุ์ของปลาและแหล่งอาหารมาก เราคงได้ยินข่าวฝูงปลาวาฬว่ายไปเกยตื้นบ่อยๆเพราะหลงทิศทางน้ำ ต้นปีนี้ปลาวาฬ เกยตื้นที่ไอร์แลนด์หลายครั้งชาวไอร์แลนด์ก็ดีใจหาย ได้ตั้งหน่วยอาสาสมัครช่วยกันจูงปลาวาฬกลับเข้าไปในทะเล

    2.
    นกต่าง ๆ ที่อาศัยปลาเป็นอาหารก็กำลังมีจำนวนน้อยลง เช่น นกเพนกวิน

    3.
    สัตว์ป่าต้องพบกับภาวะแห้งแล้งเช่นกัน หาอาหารได้ยากขึ้นและล้มตายมากมายด้วยไฟป่า

    4.
    เกิดเชื้อโรคสายพันธุ์ใหม่ความจริงนักวิทยาศาสตร์ไม่แน่ใจนักแต่ก็มีโอกาสเป็นไปได้สูงที่เชื้อโรคสายพันธุ์ใหม่จะเกิดขึ้นเพราะอากาสร้อนกว่าปรกติอย่างยาวนานที่ไต้หวันมีผู้เสียชีวิตจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัสในลำไส้ไปแล้ว 30 คนไวรัสตัวนี้ถูกเรียกว่าเป็นไวรัสลึกลับในขั้นต้นพบว่ามักแพร่ระบาดในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ทางการไต้หวันต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคระบาดของสหรัฐอเมริกามาช่วยตรวจหาสาเหตุการแพร่ระบาดต้นเดือนมิถุนายนนี้แพทย์ไต้หวันรายงานว่ามีเด็กทารกทั่วไต้หวันติดเชื้อไวรัสดังกล่าวนี้ไม่น้อยกว่า 200,000 คนแล้ว รัฐบาลสิงคโปร์ประกาศเตือนประชาชนให้ระวังว่าจะติดโรคนี้มาจากไต้หวัน

    5.
    แมลงและสัตว์ขนาดเล็กซึ่งเป็นพาหะของโรคต่าง ๆ ทวีจำนวนมากขึ้น พบว่ามีโรคเก่า ๆที่คิดว่าปราบราบคาบ ไปแล้วกลับคืนชีพมาอีกอย่างน่าประหลาดใจ เช่นอาเยนตินาและปากีสถานพบกับการกลับมาอีกครั้งของโรคมาลาเรีย อินเดียก็พบกับอหิวาตกโรค ในไทยเราก็พบว่ามีผู้เป็นโรคทั้งสองเหมือนกันตามแนวชายแดนโรคที่ควรระวังนอกจากนี้คือ ไทฟอย กาฬโรค และโรคอื่น ๆ ที่มีแมลงเป็นพาหะ

    6.
    แมลงศัตรูพืชเพิ่มจำนวนขึ้น ที่เนวาดาพบว่ามีตั๊กแตนยั้วเยี้ยไปหมดเพราะสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการขยายพันธุ์

    7.
    ที่แคลิฟอเนีย์พบว่ามีสปอร์เชื้อราแพร่กระจายในอากาศมากเนื่องจากอากาศเย็นและชื้นมีผลทำให้คนที่เป็นโรคภูมิแพ้มีอาการ กำเริบขึ้นและทรมาน
    8. เครื่องบินตกเรื่องนี้นักวิทยาศาสตร์ไม่ยืนยัน แต่คาดว่ามีโอกาศเป็นไปได้สูงเพราะความร้อนทำให้อากาศเบาบาง และเกิดหลุมอากาศได้และระยะนี้ก็มีเครื่องบินตกบ่อยโดยไม่ทราบสาเหตุเอลนิโนใช่ว่าจะให้แต่โทษเพราะในบางพื้นที่ที่ไม่เคยได้รับฝนก็อาจจะได้รับฝนเพราะอิทธิพลของเอลนิโน
    นอกจากนี้ยังทำให้อากาศหนาวเย็นในบางพื้นที่อบอุ่นขึ้นพายุเฮอริเคนที่เคยเกิดขึ้นประจำในมหาสมุทรแอตแลนติกพัดไปถล่มอเมริกานั้นในปีนี้ก็ดูสงบเสงี่ยมลงไปมากแต่ว่าได้ไม่เท่าเสีย โดยเฉพาะกับประเทศไทยทางสหรัฐอเมริการัฐบาลเขามีการประชุมแก้เกมหาผลประโยชน์จากเอลนิโนกันบ่อย ๆ เช่นเมื่อมีเอลนิโนขึ้นต้องไปจับปลาที่บริติชโคลัมเบีย ลดการจับปลาแถบแปซิฟิกลงและก็เริ่มมองหาลู่ทางที่จะเพาะปลูกพืชผักเมืองร้อนในโอกาสที่เอลนิโนอำนวยเสียเลยอเมริกายังเน้นความสำคัญของการพยากรณ์อากาศมากโดยเฉพาะการพยากร์เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับเอลนิโนใลานินาจะให้ผลบวกกับประเทศไทยมากกว่าจะให้ผลลบเช่นฝนชุก บังคลาเทศและพม่าอาจจะโดนพายุฝนหนักหน่อยพอมาถึงไทยก็อ่อนกำลังลงกลายเป็นพายุดีเพรสชั่นทำให้มีฝนตกทุกวันและน้ำท่าอุดมสมบูรณ์และหากน้ำทะเลในอ่าวไทยกลายเป็นน้ำเย็นเราก็คงได้ทำการประมงน้ำเย็นกันบ้างก็จะมีปลาป่นใช้เลี้ยงสัตว์ในประเทศได้อย่างเหลือเฟือ
    แถมส่งออกขายต่างประเทศได้อีก คงได้แต่ฝันเหตุการณอาจจะเป็นตรงข้ามก็ได้ปรากฏการณ์ธรรมชาติเอลนิโน ได้ส่อแววว่าจะหวนกลับมาอีกครั้งหลังจากที่ได้นำปัญหาความแห้งแล้งไปยังหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียรวมถึงประเทศไทยเมื่อราว 3 ปีก่อน โดยรายงานข่าวแจ้งว่าประเทศออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกาได้แจ้งเตือนมายังกรมอุตุนิยมวิทยาของไทยหลายครั้งว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นอีกในปีนี้โดยพื้นที่ความเสี่ยงได้แก่ ชายฝั่งมหาสมุทรอเมริกาใต้ และเขตแปซิฟิกใต้ซึ่งอาจทำให้ฝนน้อยกว่าปกติหรือเกิดน้ำท่วมเมื่อฝนมากกว่าปกติเอลนิโนเป็นปรากฏการณ์ที่ไหลย้อนกลับของผิวน้ำทะเลที่อุ่นจากบริเวณเส้นศูนย์สูตรทางมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกไปยังบริเวณเส้นศูนย์สูตรของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวัยออกและชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในช่วงปลายเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์
    และปัญหาของปรากฏการณ์นี้อยู่ที่การเกิดติดต่อกันเป็นเวลาหลายปีจะทำให้มีความผันผวนของระบบภูมิอากาศในซีกโลกใต้แต่ด้วยการวิเคราะห์ดรรชนีเปอร์เซ็นต์ของนักวิชาการไทยเชื่อว่าไม่มีผลกระทบอย่างรุนแรงภายในประเทศไทยแต่ในขณะเดียวกันพบว่ามันได้ผลกระทบต่อระะบบวงจรชีวิตที่ต้องพึ่งพากันในทะเลให้เปลี่ยนไปในทางลบทำให้สัตว์ทะเลลดจำนวนลง กระทบถึงการประมงและอุตสาหกรรมอาหารได้
    จากข้อมูลของยานอวกาศที่ศึกษาบรรยากาศโลก ทั้งของนาซ่า และของ National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) ที่ปรากฏมา แสดงให้เห็นว่า รูโอโซน มีขนาดและความหนาในชั้นบรรยากาศพอกัน ซึ่งผิดไปจากแนวทางเดิม ที่ลดลงเรื่อยมาทุกปีตั้งแต่เรามีการสำรวจโอโซนในอวกาศเป็นต้นมาตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ ๑๙๗๐
    การที่ขนาดของรูโอโซนเริ่มปรากฏว่ามีความคงที่เป็นครั้งแรก ก็แสดงให้เห็นว่า มาตรการลดการผลิต
    Chlorofluorocarbon(CFC) เริ่มปรากฏผลในทางที่ดีให้เห็นได้เป็นครั้งแรก เนื่องจาก CFC สามารถทนอยู่ในบรรยากาศได้เป็นเวลานานมาก แม้เราตัดการผลิตทั้งหมดบนโลกอย่างปุปปับวันนี้ กว่าจะเห็นผลที่แท้จริงก็ต้องเป็นอวลาอย่างน้อยๆเป็นสิบปีขึ้นไป
    หากเราสามารถรักษามาตรการลดการผลิต
    CFC ไปเรื่อยๆแล้ว ขนาดของรูโอโซนคงจะเริ่มหดตัวลงในไม่ช้านี้เป็นแน่ หากไม่มีเหตุการณ์สุดวิสัยทางธรรมชาติ เช่นการระเบิดภูเขาไฟ ที่พ่นละอองของเหล็วเล็กๆ ที่เรียกว่า aerosol ขึ้นไปในบรรยากาศเป็นจำนวนมาก จนไปช่วยเพิ่มอัตราการทำงานโอโซนในธรรมชาติ เราก็คงจะได้เห็นการฟื้นตัวของโอโซนอีก
    **รูโหว่โอโซนนี้มีส่วนเกี่ยวพันกับโลกร้อนหรือไม่
    เกี่ยวข้องแน่นอน เพราะมีรายงานว่ามีการตรวจสอบสภาวะเรือนกระจกที่ขั้วโลกเหนือเมื่อเดือนกันยายนปี 2006 ที่ผ่านมา พบว่า
    กลุ่มโอโซนเป็นช่องโหว่(ภาษาสวีดิชใช้คำว่า)"รูโอโซน" ขยายตัวเป็นวงกว้างถึง 27.4 ล้านตารางกิโลเมตร เปรียบเทียบให้ดูง่ายๆคือคงจะใหญ่กว่าประเทศไทยถึง60เท่า
    โลกของเรามีก๊าซต่าง ๆ ในชั้นบรรยากาศห่อหุ้มอยู่โดยรอบ ทำหน้าที่คล้ายเรือนกระจกหรือกรีนเฮาส์เป็นเกราะกำบังกรองความร้อนที่จะผ่านลงมายังพื้นผิวโลกและเก็บกักความร้อนบางส่วนเอาไว้ ทำให้โลกมีอุณหภูมิพอเหมาะสำหรับการดำรงชีวิต
    แต่ในปัจจุบัน มนุษย์กำลังเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลกอย่างร้ายแรงโดยการก่อและใช้สารเคมีบางชนิดในกิจกรรมต่าง ๆ ที่สามารถทำลายเกราะป้องกันของโลกทำให้เกิดก๊าซบางชนิดเช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (
    CO2) ก๊าซมีเทน (CH4)
    ก๊าซคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (
    CFC8) และก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) เป็นต้น
    และก๊าซเหล่านี้บางยังก่อให้เกิดปรากฎการณ์เรือนกระจก
    GREENHOUSEEFFECT
    โดยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศจนหนาแน่นขึ้นทำให้เก็บกักความร้อนได้มากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิอากาศของโลกสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ต่าง ๆ และมหาสมุทรจะขยายตัวจนเกิดน้ำท่วมได้ในอนาคต
    การปล่อยก๊าซเรือนกระจก(
    GREENHOUSE EFFECT ) เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ
    ก่อมลพิษทางอากาศ
    ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนซึ่งปกป้องผิวโลก
    ก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อนอันเนื่องมาจากอุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกสูงขึ้น
    และการทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนนี่เองที่มีการตรวจพบล่าสุดว่า เกิดรูโหว่ของชั้นบรรยากาศโอโซน ที่เรียกว่า"รูโอโซน" ขยายตัวเป็นวงกว้าง
    ถึง 27.4 ล้านตารางกิโลเมตรเปรียบเทียบให้ดูง่ายๆคือคงจะใหญ่กว่าประเทศไทยถึง60เท่า
    สารประกอบคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (
    CFC)
    สารประกอบคลอโรฟลูออโรคาร์บอนเรียกสั้นๆ ว่า
    สาร CFC” หรืออีกชื่อหนึ่ง ฟรีออน” (Freon) เป็นสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ มิได้เกิดเองตามธรรมชาติ หากแต่มีแหล่งกำเนิดจากโรงงานอุตสาหกรรม และอุปกรณ์เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ และสเปรย์ สาร CFC มีองค์ประกอบเป็น คลอรีน ฟลูออไรด์ และโบรมีน ซึ่งมีความสามารถในการทำลายโอโซน ตามปกติสาร CFC ในบริเวณพื้นผิวโลกจะทำปฏิกิริยากับสารอื่น แต่เมื่อมันดูดกลืนรังสีอุลตราไวโอเล็ตในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ โมเลกุลจะแตกตัวให้คลอรีนอะตอมเดี่ยว และทำปฏิกิริยากับก๊าซโอโซน เกิดก๊าซคลอรีนโมโนออกไซด์ (ClO) และก๊าซออกซิเจน
    ถ้าหากคลอรีนจำนวน 1 อะตอมทำลายก๊าซโอโซน 1 โมเลกุล ได้เพียงครั้งเดียวก็คงไม่เป็นปัญหา แต่ทว่าคลอรีน 1 อะตอม สามารถทำลายก๊าซโอโซน 1 โมเลกุลได้นับพันครั้ง เนื่องจากเมื่อคลอรีนโมโนออกไซด์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนอะตอมเดี่ยว แล้วเกิดคลอรีนอะตอมเดี่ยวขึ้นอีกครั้ง ปฏิกิริยาลูกโซ่เช่นนี้จึงเป็นการทำลายโอโซนอย่างต่อเนื่อง
    การลดลงของโอโซน
    นักวิทยาศาสตร์ได้ตรวจพบรูโหว่ขนาดใหญ่ของชั้นโอโซนเหนือทวีปแอนตาร์คติก บริเวณขั้วโลกใต้ เกิดขึ้นจากกระแสลมพัดคลอรีนเข้ามาสะสมในก้อนเมฆในชั้นสตราโตสเฟียร์ ในช่วงฤดูหนาวเดือนพฤษภาคม
    กันยายน (ขั้วโลกเหนือไม่มีเมฆในชั้นสตราโตสเฟียร์ เนื่องจากอุณหภูมิไม่ต่ำพอที่จะทำให้เกิดการควบแน่นของไอน้ำในอากาศ) เมื่อถึงเดือนตุลาคม ซึ่งแสงอาทิตย์กระทบเข้ากับก้อนเมฆ ทำให้คลอรีนอะตอมอิสระแยกตัวออกและทำปฏิกิริยากับก๊าซโอโซน ทำให้เกิดรูโหว่ขนาดใหญ่ของชั้นโอโซน ซึ่งเรียกว่า รูโอโซน” (Ozonehole)

    ***รูโหว่โอโซน มีส่วนทำให้น้ำในโลกระเหยออกไปนอกอวกาศหรือเปล่า
    ?

    รูโหว่โอโซนไม่ได้ทำให้น้ำในโลกระเหยออกไป แต่โอโซนทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้รังสีที่เป็นอันตรายจากดวงอาทิตย์ตกมาถึงโลกมากเกินไป ทำหน้าที่กรองรังสีอุลตราไวโอเล็ตจากดวงอาทิตย์ออกไป 99% ก่อนถึงพื้นโลก ถ้ามีรูโหว่แสงอาทิตย์ก็จะส่องลงมายังพื้นโลกได้มากขึ้น หากร่างกายมนุษย์ได้รับรังสีนี้มากเกินไป จะทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ส่วนจุลินทรีย์ขนาดเล็ก เช่น แบคทีเรีย จะถูกฆ่าตาย
    ที่เราเรียกว่า รูโอโซน คือระดับที่ต่ำของปริมาตรโอโซน ในบรรยากาศการสูญเสียโอโซนในบรรยากาศระดับสูง เป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง
    เพราะว่า โอโซน ช่วยดูดซับรังสียูวีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก จะทำให้ผิวหนังของมนุษย์มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง สูงขึ้น
    รูรั่วของโอโซนมีผมต่อจุลินทร์ชีพ ถ้าจุลินทรีตาย ก็เรื่องใหญ่มาก ห่วงโซ่อาหารขาดสะบั้น
    มนุษย์คงจะมีปัญหาในการดำรงชีพแน่นอน

    จากรายงานการประเมินโอโซนในปี ค.ศ. 1991 พบค่าโอโซนต่ำลงในฤดูร้อนด้วย
    และเมื่อผู้คนอยู่กลางแจ้งจะได้รับแสงอัลตราไวโอเลตสูงสุดในฤดูร้อนเนื่องจากโอโซนสูญเสียไปในเวลาเดียวกัน และในปีหลังๆ พบว่ามีปัญหาสุขภาพมากขึ้น หากมีรังสียูวีเล็ดรอดลงมาบนโลกได้มากขึ้นจะมีผลกระทบมากมายในทางเศรษฐกิจของทั้งโลกได้
    ที่มา:
     
     
     
     
     
     
     
     
     
    เอล นิโญ และลานิโญ
        เอล นิโญ และลานิโญ  ทั้ง 2 คำนี้เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่เป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างการหมุนเวียนของกระแสอากาศและกระแสน้ำในมหาสมุทรทั้งบนผิวพื้นและใต้มหาสมุทร  แต่เกิดจากภาวะโลกร้อน  ทำให้เกิดความผกผันของกระแสอากาศโลกบริเวณเส้นศูนย์สูตรเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก

    เอล นิโญ (EI Nino)
    เอล นิโญ เป็นคำภาษาสเปน (ภาษาอังกฤษออกเสียงเป็น “เอล นิโน”)  แปลว่า  “บุตรพระคริสต์”  หรือ  “พระเยซู”  เป็นชื่อของกระแสน้ำอุ่นที่ไหลเลียบชายฝั่งทะเลของประเทศเปรูลงไปทางใต้ทุก ๆ 2 – 3 ปี  โดยเริ่มประมาณช่วงเทศกาลคริสต์มาส  กระแสน้ำอุ่นนี้จะไหลเข้าแทนที่กระแสน้ำเย็นที่อยู่ตามชายฝั่งเปรูนานประมาณ 2 – 3 เดือน  และบางครั้งอาจจะยาวนานข้ามปีถัดไป  เป็นคาบเวลาที่ไม่แน่นอน  และมีผลกระทบทางระบบนิเวศและห่วงลูกโซ่อาหาร  ปริมาณน้อย  นกกินปลาขาดอาหาร  ชาวประมงขาดรายได้  รวมทั้งเกิดฝนตกและดินถล่มอย่างรุนแรงในประเทศเปรูและเอกวาดอร์

    เอล นิโญ  มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “El Nino – Southern Oscillation”  หรือเรียกอย่างสั้น ๆ ว่า “ENSO”  หมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบริเวณมหาสมุทราแปซิฟิกตอนใต้

    โดยปกติบริเวณเส้นศูนย์สูตรโลกเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก  ลมสินค้าตะวันออก (Easterly Trade Winks)  จะพัดจากประเทศเปรู  บริเวณชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้ไปทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกแล้วยกตัวขึ้นบริเวณเหนือประเทศอินโดจีน  ทำให้ฝนตกมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  และทวีปออสเตรเลียตอนเหนือ  กระแสลมสินค้าพัดให้กระแสน้ำอุ่นบนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกไปกองรวมกันทางตะวันตกจนมีระดับสูงกว่าระดับน้ำทะเลปกติประมาณ 60, 70 เซนติเมตร  แล้วตมตัวลงกระแสน้ำเย็นใต้มหาสมุทรขึ้นมาทำให้ปลาชุกชุม  เป็นประโยชน์ต่อนกทะเล  และการทำประมงชายฝั่งของประเทศเปรู

    เมื่อเกิดปรากฏการณ์เอล นิโญ  กระแสลมสินค้าตะวันออกอ่อนกำลัง  กระแสลมพื้นผิวเปลี่ยนทิศทางพัดจากประเทศอินโดนีเซียและออสเตรเลียตอนเหนือไปทางตะวันออก  แล้วยกตัวขึ้นเหนือชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้  ก่อให้เกิดฝนตกหนักและแผ่นดินถล่มในประเทศเปรูและเอกวาดอร์  กระแสลมพัดกระแสน้ำอุ่นบนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกไปกองรวมกันบริเวณชายฝั่ง  ประเทศเปรู  ทำให้กระแสน้ำเย็นใต้มหาสมุทรไม่สามารถลอยตัวขึ้นมาได้  ทำให้บริเวณชายฝั่งขาดธาตุอาหารสำหรับปลาและนกทะเล  ชาวประมงจึงขาดรายได้  ปรากฏการณ์เอล นิโญ  ทำให้ฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้  แต่ก่อให้เกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียเหนือ  การที่เกิดไฟไหม้ป่าอย่างรุนแรงในประเทศอินโดนีเซียก็เป็นเพราะปรากฏการณ์เอล นิโญ  นั่นเอง

    ลา นิโญ (La Nino)
    เป็นคำภาษาสเปน (ภาษาอังกฤษออกเสียงเป็น “ลา นิโน”)  แปลว่า  “บุตรธิดา”  เป็นปรากฏการณ์ที่มีลักษณะตรงข้ามกับเอล นิโญ  คือ  มีลักษณะคล้ายคลึงกับสภาวะปกติ  แต่ทว่ารุนแรงกว่า  กล่าวคือกระแสลมสินค้าตะวันออกมีกำลังแรง  ทำให้ระดับน้ำทะเลบริเวณทางซีกตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกสูงกว่าสภาวะปกติ  ลมสินค้ายกตัวเหนือประเทศอินโดนีเซีย  ทำให้เกิดฝนตกอย่างหนัก  น้ำเย็นใต้มหาสมุทรยกตัวขึ้นแทนที่กระแสน้ำอุ่นพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกทางซีกตะวันตก  ก่อให้เกิดธาตุอาหาร  ฝูงปลาชุกชุมตามบริเวณชายฝั่งประเทศเปรู

    กล่าวง่าย ๆ ก็คือ  “เอล นิโญ”  ทำให้เกิดฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้  และเกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ในทางกลับกัน “ลา นิโญ”  ทำให้เกิดความแห้งแล้งทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้  และเกิดฝนตกหนักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    ทั้ง 2 ปรากฏการณ์นี้  เกิดจากความผกผันของกระแสอากาศโลกบริเวณเส้นศูนย์สูตรเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก  ซึ่งนักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ว่าเกิดจากภาวะโลกร้อน
     
     
     
    เอลนีโญคืออะไร?
    เอลนีโญ”
    เป็นคำที่ใช้เรียกปรากฏการณ์ธรรมชาติทางสมุทรศาสตร์ หรือการ เคลื่อนตัวของกระแสน้ำในโลกค่ะ ซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าจริงๆ แล้วเอลนีโญได้เกิดขึ้น นานนับพันปีมาแล้ว แม้แต่เอลนีโญที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2525 – 2526 ซึ่งรุนแรง มากก็ยังไม่ได้ถูกกล่าวขานว่าเป็นเอลนีโญ จนกระทั่งปรากการณ์นี้ได้เกิดขึ้นแล้วหลายเดือนครับ เนื่องจากปรากฏ การณ์นี้เป็นต้นเหตุให้เกิดผลกระทบต่อภูมิอากาศของโลกอย่างรุนแรง เช่น อเมริกาเหนือประสบกับสภาพอากาศที่ผิดปกติอย่างมากตลอดปี 2526 ออสเตรเลียกลับประสบกับสภาวะความแห้งแล้งมากและ เกิดไฟป่า เผาผลาญประเทศใกล้ๆ ทะเลทรายสะฮาราประสบกับความแห้งแล้ง ที่เลวร้ายมากที่สุดช่วงหนึ่ง และลมมรสุมในมหาสมุทรอินเดียอ่อนกำลังลงมาก
                ประมาณว่าความเสียหายที่เกิดขึ้น ทั้งหมดอยู่ระหว่าง 8 - 13 พันล้านเหรียญ สหรัฐและสูญเสียชีวิตประมาณ 2,000 คนนี่แหล่ะ พอมีความเสียหายมากๆเข้า นักวิทยาศาสตร์ถึงมานั่งวิเคราะห์คำว่า “เอลนีโญ” ถึงค่อยๆเป็นที่ รู้จักกันมากขึ้น.ดังนั้นในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา จึงได้มีการลงทุนจำนวนมากในการตรวจวัดอากาศ และการวิจัยเพื่อเพิ่มพูนขีดความ สามารถในการพยากรณ์ ปรากฏการณ์นี้ จนกระทั่ง 10 ปีที่ผ่านมาจึงได้มีความเข้าใจถึงการเกิด และการคงอยู่ของ เอลนีโญจนสามารถทำนายการเกิดเอลนีโญได้
    elniyo.jpg
    จริงๆแล้วคำว่า เอลนีโญ” นั้นมีความหมายแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มบุคคล ในภาษาสเปนคำว่าเอลนีโญหมายถึง เด็กชายเล็กๆ แต่หากเขียนนำด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ “เอลนีโญ จะหมายถึง ทารกพระเยซูคริสต์” แต่สำหรับ ชาวเปรู คำนี้จะมีความหมายเพิ่มเติมคือ หมายถึงกระแสน้ำอุ่นที่ ไหลเลียบชายฝั่งเปรูลงไปทางใต้ทุก ๆ 2 – 3 ปี หรือกว่านั้น และได้ตั้งชื่อกระแสน้ำอุ่นนี้ว่าเอลนีโญ ก่อนเริ่มศตวรรษที่ 20 โดยเริ่มรู้จักและ สังเกตุเห็น ครั้งแรก ประมาณปี ค.ศ. 1892 การที่ตั้งชื่อว่า เอลนีโญ เนื่องจากจะมีน้ำอุ่นปรากฏอยู่ตามชายฝั่งเปรูเป็นฤดูๆ โดยเริ่ม ประมาณช่วงคริสต์มาส (ช่วงฤดูร้อนของซีกโลกใต้ซึ่งตรงกับช่วงฤดูหนาวของซีกโลกเหนือ) น้ำอุ่นนี้จะไหล เข้า แทนที่น้ำเย็นที่อยู่ตามชายฝั่งเปรูนานประ มาณ 2 – 3 เดือน
    nomalcon.jpg
    บางครั้งน้ำอุ่นที่ปรากฏเป็นระยะๆตามชายฝั่งประเทศเปรูและเอกวาดอร์ อาจจะอยู่นานเกินกว่า 2 – 3 เดือน ซึ่งบางครั้งอาจจะยาวนานข้ามไป ปีถัดไปทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยา ชายฝั่งซึ่งเกี่ยวข้องกับปลา นกที่กินปลาเป็นอาหาร และกิจกรรมที่เกี่ยวกับการประมงและ เกษตรกรรม ฝนที่ตกหนักเนื่องจากเอลนีโญทาง เอกวาดอร์ใต้และเปรูเหนือบางครั้งทำให้เกิดความเสียหายในหลายๆเมือง จนประมาณปลายทศวรรษ 1990 จึงมีหลายสิบคำจำกัดความของเอลนีโญตั้งแต่ง่ายๆ จนถึงซับซ้อนปรากฏอยู่ในบทความและหนังสือด้านวิทยาศาสตร์ทั่วไปดังตัวอย่างของคำจำกัดความว่าเอลนีโญ คือ ช่วง 12 ถึง 18 เดือนที่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลทางครึ่งซีก ด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนอุ่นกว่าปกติเป็นต้น เอลนีโญที่มีขนาดปานกลางหรือรุนแรงจะเกิดขึ้น ไม่สม่ำเสมอ เฉลี่ยประมาณ 5 – 6 ปีต่อครั้ง

    แม้ว่าที่ผ่านมาเอลนีโญจะมีความหมายมากมายแต่ปัจจุบัน คำๆนี้จะมีความหมายว่า  “การอุ่นขึ้นอย่างผิดปกติ ของน้ำทะเลบริเวณตอน กลางและตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนซึ่งเกิดจากการอ่อน กำลังลงของลมค้า (trade wind)”คำจำกัดความ ของเอลนีโญแม้จะมีมากมายแต่เราก็สามารถสรุปลักษณะ บางอย่างซึ่งเป็นลักษณะปกติของเอลนีโญได้ดังนี้ครับ
    ลักษณะของเอลนีโญ
    การอุ่นขึ้นผิดปกติของผิวน้ำทะเล กระแสน้ำอุ่นที่ไหลลงทางใต้ตามชายฝั่งประเทศเปรู และเกี่ยวข้องกับอุณหภูมิผิว น้ำทะเลที่สูงขึ้นทางด้านตะวันออกและตอนกลางของแปซิฟิกเขตศูนย์สูตร ปรากฏตามชายฝั่งประเทศเอกวาดอร์และ เปรูเหนือ(บางครั้งประเทศชิลี) และเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเล มักเกิดร่วม กับการอ่อนกำลังลงของลมค้าที่พัดไปทางทิศตะวันตก บริเวณแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรและจะเวียนเกิดซ้ำแต่ช่วงเวลา ไม่สม่ำเสมอ อาจเกิดแต่ละครั้งนาน 12 – 18 เดือน
    การเกิดเอลนีโญ
    ตามปกติเหนือน่านน้ำมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อน หรือมหาสมุทรแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรจะมีลมค้าตะวันออกพัดปก คลุมเป็นประจำ ลมนี้จะพัดพาผิวหน้าน้ำทะเลที่อุ่นจากทางตะวันออก (บริเวณชายฝั่งประเทศเอกวาดอร์ เปรู และชิลีตอนเหนือ) ไปสะสมอยู่ทางตะวันตก (ชายฝั่งอินโดนีเซีย และออสเตรเลีย) ทำให้บรรยากาศเหนือบริเวณ แปซิฟิกตะวันตกมีความชื้นเนื่องจากขบวนการระเหยและมีการก่อตัวของเมฆและฝนบริเวณ ตะวันออกและตะวันออก เฉียงใต้ของเอเชียรวมทั้งประเทศต่างๆที่เป็นเกาะอยู่ในแปซิฟิกตะวันตก ขณะที่ทางตะวันออกของแปซิฟิกเขต ศูนย์สูตรมีการไหลขึ้นของน้ำเย็นระดับล่างขึ้นไปยังผิวน้ำและทำให้เกิดความแห้งแล้งบริเวณชายฝั่งอเมริกาใต้ แต่ เมื่อลมค้าตะวันออกมีกำลังอ่อนกว่าปกติ ลมที่พัดปกคลุมบริเวณด้านตะวันออกของปาปัวนิวกินี จะเปลี่ยนทิศทางจาก ตะวันออกเป็นตะวันตกทำให้เกิดคลื่นใต้ผิวน้ำพัดพาเอามวลน้ำอุ่นที่ สะสมอยู่บริเวณแปซิฟิกตะวันตกไปแทนที่ น้ำเย็นทางแปซิฟิกตะวันออก เมื่อมวลน้ำอุ่นได้ถูกพัดพาไปถึงแปซิฟิกตะวันออก (บริเวณชายฝั่ง ประเทศเอกวาดอร์) ก็จะรวมเข้ากับผิวน้ำทำให้ผิวหน้าน้ำทะเลบริเวณนี้อุ่นขึ้นกว่าปกติ และน้ำอุ่นนี้จะค่อยๆแผ่ขยายพื้นที่ไปทางตะวัน ตกถึงตอนกลางของมหาสมุทร ส่งผลให้บริเวณที่มีการก่อตัวของเมฆและฝนซึ่งปกติจะอยู่ทางตะวันตกของ มหาสมุทรเปลี่ยนแปลงไปอยู่ที่บริเวณตอนกลางและตะวันออกบริเวณดังกล่าวจึงมีฝนตกมากกว่าปกติ ในขณะที่ แปซิฟิกตะวันตกซึ่งเคยมีฝนมากจะมีฝนน้อยและเกิดความแห้งแล้ง
    ขนาดของเอลนีโญ
    นักวิทยาศาสตร์ได้แบ่งขนาดของเอลนีโญออกเป็น อ่อนมาก อ่อน ปานกลาง รุนแรง หรือรุนแรงมาก จากการ ศึกษาของ Quinn et al. กล่าวไว้ว่า “ปรากฏการณ์ยิ่งมีความรุนแรงมากเท่าไร ปริมาณความเสียหาย การถูกทำลาย และมูลค่าความเสียหายยิ่งสูงมากเท่านั้น” พวกเขาได้อธิบายถึงความรุนแรงโดยผนวกเอาการเปลี่ยนแปลงทางกาย ภาพของมหาสมุทรกับผลกระทบที่เกิดขึ้น บนพื้นทวีปเข้าด้วยกันดังนี้
    ขนาดรุนแรงมาก – ปริมาณฝนสูงมากที่สุด มีน้ำท่วม และเกิดความเสียหายในประเทศเปรู มีบางเดือนในช่วงฤดู ร้อนและฤดูใบไม้ร่วงของซีกโลกใต้ที่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งสูงกว่า ปกติมากกว่า 7 o
    ซ.
    ขนาดรุนแรง – ปริมาณฝนสูงมาก มีน้ำท่วมตามบริเวณชายฝั่ง มีรายงานความเสียหายในประเทศเปรู มีหลายเดือน ในช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วงของซีกโลกใต้ที่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณ ชายฝั่งสูงกว่าปกติ 3 – 5 o
    ซ.
    ขนาดปานกลาง – ปริมาณฝนสูงกว่าปกติ มีน้ำท่วมตามบริเวณชายฝั่ง ความเสียหายที่เกิดขึ้นในประเทศเปรูอยู่ใน ระดับต่ำ โดยทั่ว ๆ ไปอุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งในช่วงฤดูร้อนและฤดู ใบไม้ร่วงในซีกโลกใต้จะสูงกว่าปกติ 2 – 3 o
    ซ.
    นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่นำมาใช้กำหนดขนาดของเอลนีโญซึ่งรวมถึงตำแหน่งของแอ่งน้ำอุ่น (warm pool)
    ในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตศูนย์สูตร บริเวณพื้นผิวมหาสมุทรซึ่งปกคลุมด้วยแอ่งน้ำอุ่นที่ผิดปกติ หรือความลึก (ปริมาตร)ของแอ่งน้ำอุ่นนั้น ยิ่งแอ่งน้ำอุ่นมีอาณาบริเวณกว้างและมีปริมาตรมากปรากฏการณ์จะยิ่งมีความรุนแรง เพราะจะมีความร้อนมหาศาลซึ่งจะมีผลต่อ บรรยากาศเหนือบริเวณนั้น ในกรณีที่เอลนีโญมีกำลังอ่อนบริเวณน้ำอุ่นมัก จะจำกัดวงแคบอยู่เพียงแค่ชายฝั่งตะวันตกของอเมริกาใต้ แต่กรณีเอลนีโญขนาดรุนแรงบริเวณที่มีน้ำอุ่นผิดปกติจะ แผ่กว้างปกคลุมทั่วทั้งตอนกลางและตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกเขตศูนย์สูตร
    ผลกระทบของเอลนีโญต่อปริมาณฝนและอุณหภูมิในประเทศไทย

    จากการศึกษาสภาวะฝนและอุณหภูมิของประเทศไทยในปีที่เกิดเอลนีโญ ไม่สามารถหาข้อสรุปเกี่ยวกับสภาวะฝน ในปีเอลนีโญได้ชัดเจน นั่นคือปริมาณฝนของประเทศไทยมีโอกาสเป็นไปได้ทั้งสูงกว่าปกติและต่ำกว่าปกติหรือ อาจกล่าวได้ว่าช่วงกลางและปลายฤดูฝนเป็นระยะที่เอลนีโญ มีผลกระทบต่อปริมาณฝนของประเทศไทยไม่ชัดเจน
    จากผลการศึกษาพอสรุปได้กว้างๆ ว่าหากเกิดเอลนีโญ ปริมาณฝนของประเทศไทยมีแนวโน้มว่าจะต่ำกว่าปกติ โดย เฉพาะฤดูร้อนและต้นฤดูฝน ในขณะที่อุณหภูมิของอากาศจะสูงกว่าปกติ เฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เอลนีโญมีขนาด รุนแรงผลกระทบดังกล่าวจะชัดเจนมากขึ้น
    เฮ้อ..อ่านแล้วเหนื่อยไหมครับ ดูรูปเอาจะเข้าใจง่ายกว่านะผมว่า..ปรากฎการณ์ที่เราได้ยินกันมากช่วงนี้ไม่ใช่เอลนีโญ ครับ แต่เป็นลานีญา แต่ต้องเอาเรื่องของเอลนีโญมาให้อ่านปูความเข้าใจกันก่อน
    อะไรคือลานีญาล??
    ความหมายของลานีญา มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันหลายชื่อ เช่น น้องของเอลนีโญ, สภาวะตรงข้ามเอลนีโญ, สภาวะที่ไม่ใช่เอลนีโญ และฤดูกาลที่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลเย็น เป็นต้น แต่ทั้งหมดไม่ว่าชื่อใดจะมีความหมายเดียวกัน คือ ปรากฏการณ์ที่กลับ กันกับเอลนีโญ กล่าวคืออุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณตอนกลางและตะวันออกของแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรมีค่าต่ำกว่าปกติ เนื่องจากลมค้าตะวันออกเฉียงใต้มีกำลังแรงมากกว่าปกติ จึงพัดพาผิวน้ำทะเลที่อุ่นจากตะวันออกไปสะสมอยู่ทาง ตะวันตกมากยิ่งขึ้น ทำให้บริเวณดังกล่าวซึ่งเดิมมีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลและระดับน้ำทะเลสูงกว่าทางตะวันออกอยู่แล้ว ยิ่งมีอุณหภูมิและระดับน้ำทะเลสูงขึ้นไปอีก ปรากฏการณ์ลานีญาเกิดขึ้นได้ทุก 2 – 3 ปี และปกติจะเกิดขึ้นนานประ มาณ 9 – 12 เดือน แต่บางครั้งอาจปรากฏอยู่ได้นานถึง 2 ปี
    การเกิดลานีญา– 2532 อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณดังกล่าวต่ำกว่าปกติประมาณ 4 oซ.

    ปกติลมค้าตะวันออกเฉียงใต้ในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนหรือแปซิฟิก เขตศูนย์สูตรจะพัดพาน้ำอุ่นจากทางตะวัน ออกของมหาสมุทรไปสะสมอยู่ทางตะวันตก ซึ่งทำให้มีการก่อตัวของเมฆและฝนบริเวณด้านตะวันตกของแปซิฟิก เขตร้อนส่วนแปซิฟิกตะวันออกหรือบริเวณชายฝั่งประเทศเอกวาดอร์และเปรูมีการไหลขึ้นของน้ำเย็นระดับล่าง ขึ้นไป ยังผิวน้ำซึ่งทำให้บริเวณดังกล่าวแห้งแล้ง สถานการณ์เช่นนี้เป็นลักษณะปกติเราจึงเรียกว่าสภาวะปกติหรือสภาวะ ที่ไม่ใช่เอลนีโญ แต่มีบ่อยครั้งที่สถานการณ์เช่นนี้ถูกมองว่าเป็นได้ทั้งสภาวะปกติและลานีญา อย่างไรก็ตามเมื่อ พิจารณารูปแบบของสภาวะลานีญาจะเห็นได้ว่าปรากฏการณ์ลานีญามีความแตกต่างจากสภาวะปกติ นั่นคือลมค้า ตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนมีกำลังแรง มากกว่าปกติและพัดพาผิวน้ำทะเลที่อุ่น จากตะวันออกไปสะสมอยู่ทางตะวันตกมากยิ่งขึ้น ทำให้บริเวณแปซิฟิกตะวันตก รวมทั้งบริเวณตะวันออก และตะวัน ออกเฉียงใต้ของเอเชีย ซึ่งเดิมมีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงกว่าทางตะวันออกอยู่แล้วยิ่งมีอุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นไปอีก อุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่สูงขึ้นส่งผลให้อากาศเหนือบริเวณดังกล่าวมีการลอยตัวขึ้นและกลั่นตัวเป็นเมฆและฝน ส่วน แปซิฟิกตะวันออกนอกฝั่งประเทศเปรูและเอกวาดอร์นั้นขบวนการไหลขึ้นของน้ำเย็นระดับล่าง ไปสู่ผิวน้ำจะเป็นไป อย่างต่อเนื่องและรุนแรง อุณหภูมิที่ผิวน้ำทะเลจึงลดลงต่ำกว่าปกติ เช่น ลานีญาที่เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2531

    “ลานีญา
    laniya.jpg
    ผลกระทบของลานีญา
    จากการที่ปรากฏการณ์ลานีญาเป็นสภาวะตรงข้ามของเอลนีโญ ดังนั้นผลกระทบของลานีญาจึงตรงข้ามกับเอลนีโญ ซึ่งก็คือ ปรากฏการณ์ลานีญา ทำให้ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์์มีแนวโน้มที่จะมีฝนมากและมีน้ำท่วม ขณะที่บริเวณแปซิฟิกเขตร้อนตะวันออกมีฝนน้อยและแห้งแล้ง นอกจากพื้นที่ในบริเวณเขตร้อนจะได้รับผลกระทบ แล้วปรากฏว่าลานีญายังมีอิทธิพลไปยัง พื้นที่ซึ่งอยู่ห่างไกลออกไปด้วย โดยพบว่าแอฟริกาใต้มีแนวโน้มที่จะมีฝนมาก กว่าปกติและมีความเสี่ยงต่ออุทกภัยมากขึ้น ขณะที่บริเวณตะวันออกของแอฟริกาและตอนใต้ของอเมริกาใต้มีฝนน้อย และเสี่ยงต่อการเกิดความแห้งแล้ง และในสหรัฐอเมริกาช่วงที่เกิดปรากฏการณ์ลานีญา จะแห้งแล้งกว่าปกติทาง ตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงปลายฤดูร้อนต่อเนื่องถึงฤดูหนาว บริเวณที่ราบตอนกลางของประเทศในช่วงฤดูใบไม้ร่วง และทางตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงฤดูหนาว แต่บางพื้นที่ทางตอนเหนือและตะวันออกมีฝนมากกว่าปกติในช่วง ฤดูหนาว ส่วนผลกระทบของลานีญาที่มีต่อรูปแบบ ของอุณหภูมิปรากฏว่าในช่วงลานีญาอุณหภูมิผิวพื้น บริเวณเขต ร้อนโดยเฉลี่ยจะลดลงและมีแนวโน้มต่ำกว่าปกติ ในช่วงฤดูหนาวของซีกโลกเหนือทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหา สมุทรแปซิฟิก บริเวณประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ ขณะที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทร รวมถึงพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลียมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ ส่วนทางตอนเหนือของสหรัฐอเมริกา ต่อเนื่องถึงตอนใต้ของแคนาดามีอากาศหนาวเย็นกว่าปกติ เห็นไหมคะว่ากระทบกันแทบทั้งโลกเลยทีเดียว
    ผลกระทบของลานีญาต่อปริมาณฝนและอุณหภูมิในประเทศไทย
    จากการศึกษาสภาวะฝนและอุณหภูมิของประเทศไทยในปีเอลนีโญ ในปีลานีญาปริมาณฝนของประเทศไทยส่วน ใหญ่สูงกว่าปกติ ปีนี้ก็เหมือนกัน.. โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อน และต้นฤดูฝนเป็นระยะที่ ลานีญามีผลกระทบต่อสภาวะฝน ของประเทศไทยชัดเจนกว่าช่วงอื่น และพบว่าในช่วงกลาง และปลายฤดูฝนลานีญามีผลกระทบต่อสภาวะ ฝนของประเทศไทยไม่ชัดเจน สำหรับอุณหภูมิปรากฏว่าลานีญามีผล กระทบต่ออุณหภูมิในประเทศไทยชัดเจนกว่าฝน โดยทุกภาคของ ประเทศไทยมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติทุกฤดู และพบว่าลานีญาที่มีขนาด ปานกลางถึงรุนแรงส่งผลให้ ปริมาณฝนของประเทศไทยสูงกว่าปกติ มากขึ้น ขณะที่อุณหภูมิต่ำกว่าปกติมากขึ้น
    เอาเป็นว่าปีนี้ประเทศคงจ้องเตรียมตัวรับมือกับปริมาณน้ำฝนที่มากเป็นพิเศษกันล่ะครับ รวมถึงน้ำท่วม..รถติดด้วย  ปรากฏการณ์ทั้ง 2 อย่างนี้เป็น การเปลี่ยนแปลงของโลกที่เราไม่อาจสรุปได้ว่ามีผลมาจากการดำรงค์ชีวิต ของเราต่อโลกนี้หรือเปล่า หรือเป็นสิ่งที่ธรรมชาติพยายามร้องบอกเราว่ามนุษย์นั้นใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้น เปลืองเกินไปแล้ว
    ลา นีญา
            ลา นีญา ความหมายเดียวกัน คือ ปรากฏการณ์ที่กลับกันกับ เอล นิโญ กล่าวคือ อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณตอนกลางและตะวันออกของแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรมีค่าต่ำกว่าปกติ เนื่องจากลมค้าตะวันออกเฉียงใต้มีกำลังแรงมากกว่าปกติ จึงพัดพาผิวน้ำทะเลที่อุ่นจากตะวันออกไปสะสมอยู่ทางตะวันตกมากยิ่งขึ้น ทำให้บริเวณดังกล่าวซึ่งเดิมมีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลและระดับน้ำทะเลสูงกว่าทางตะวันออกอยู่แล้วยิ่งมีอุณหภูมิและระดับน้ำทะเลสูงขึ้นไปอีก ปรากฏการณ์ ลา นีญา เกิดขึ้นได้ทุก 2 – 3 ปี และปกติจะเกิดขึ้นนานประมาณ 9 – 12 เดือน แต่บางครั้งอาจปรากฏอยู่ได้นานถึง 2 ปี
    การเกิด ลา นีญา
            ปกติลมค้าตะวันออกเฉียงใต้ในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนหรือแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรจะพัดพาน้ำอุ่นจากทางตะวันออกของมหาสมุทรไปสะสมอยู่ทางตะวันตก ซึ่งทำให้มีการก่อตัวของเมฆและฝนบริเวณด้านตะวันตกของแปซิฟิกเขตร้อน ส่วนแปซิฟิกตะวันออกหรือบริเวณชายฝั่งประเทศเอกวาดอร์และเปรูมีการไหลขึ้นของน้ำเย็นระดับล่างขึ้นไปยังผิวน้ำซึ่งทำให้บริเวณดังกล่าวแห้งแล้ง สถานการณ์เช่นนี้เป็นลักษณะปกติเราจึงเรียกว่าสภาวะปกติหรือสภาวะที่ไม่ใช่เอลนีโญ (รูปที่ 1) แต่มีบ่อยครั้งที่สถานการณ์เช่นนี้ถูกมองว่าเป็นได้ทั้งสภาวะปกติและลานีญา อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณารูปแบบของสภาวะลา นีญา จะเห็นได้ว่าปรากฏการณ์ ลา นีญา มีความ
            แตกต่างจากสภาวะปกติ (Glantz, 2001) นั่นคือ ลมค้าตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนมีกำลังแรงมากกว่าปกติและพัดพาผิวน้ำทะเลที่อุ่นจากตะวันออกไปสะสมอยู่ทางตะวันตกมากยิ่งขึ้น ทำให้บริเวณแปซิฟิกตะวันตก รวมทั้งบริเวณตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของเอเชีย ซึ่งเดิมมีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงกว่าทางตะวันออกอยู่แล้วยิ่งมีอุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นไปอีก อุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่สูงขึ้นส่งผลให้อากาศเหนือบริเวณดังกล่าวมีการลอยตัวขึ้นและกลั่นตัวเป็นเมฆและฝน ส่วนแปซิฟิกตะวันออกนอกฝั่งประเทศเปรูและเอกวาดอร์นั้นขบวนการไหลขึ้นของน้ำเย็นระดับล่างไปสู่ผิวน้ำ (upwelling) จะเป็นไปอย่างต่อเนื่องและรุนแรง อุณหภูมิที่ผิวน้ำทะเลจึงลดลงต่ำกว่าปกติ เช่น ลา นีญาที่เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2531 – 2532 อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณดังกล่าวต่ำกว่าปกติประมาณ 4 oซ
     
    ภาพ:N20060410Mon114913.jpg
     
    [แก้ไข] ผลกระทบของ ลา นีญา
            จากการที่ปรากฏการณ์ ลา นีญา เป็นสภาวะตรงข้ามของเอลนีโญ ดังนั้นผลกระทบของ ลา นีญา จึงตรงข้ามกับเอลนีโญ กล่าวคือ ผลจากการที่อากาศลอยขึ้นและกลั่นตัวเป็นเมฆและฝนบริเวณแปซิฟิกตะวันตกเขตร้อนในช่วงปรากฏการณ์ ลา นีญา ทำให้ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์มีแนวโน้มที่จะมีฝนมากและมีน้ำท่วม ขณะที่บริเวณแปซิฟิกเขตร้อนตะวันออกมีฝนน้อยและแห้งแล้ง นอกจากพื้นที่ในบริเวณเขตร้อนจะได้รับผลกระทบแล้ว ปรากฏว่า ลา นีญายังมีอิทธิพลไปยังพื้นที่ซึ่งอยู่ห่างไกลออกไปด้วย โดยพบว่าแอฟริกาใต้มีแนวโน้มที่จะมีฝนมากกว่าปกติและมีความเสี่ยงต่ออุทกภัยมากขึ้น
            ขณะที่บริเวณตะวันออกของแอฟริกาและตอนใต้ของอเมริกาใต้มีฝนน้อยและเสี่ยงต่อการเกิดความแห้งแล้ง และในสหรัฐอเมริกาช่วงที่เกิดปรากฏการณ์ลานีญาจะแห้งแล้งกว่าปกติทางตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงปลายฤดูร้อนต่อเนื่องถึงฤดูหนาว บริเวณที่ราบตอนกลางของประเทศในช่วงฤดูใบไม้ร่วง และทางตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงฤดูหนาว แต่บางพื้นที่ทางตอนเหนือและตะวันออกมีฝนมากกว่าปกติในช่วงฤดูหนาว ส่วนผลกระทบของลานีญาที่มีต่อรูปแบบของอุณหภูมิปรากฏว่าในช่วง ลา นีญา อุณหภูมิผิวพื้นบริเวณเขตร้อนโดยเฉลี่ยจะลดลง และมีแนวโน้มต่ำกว่าปกติ ในช่วงฤดูหนาวของซีกโลกเหนือทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ ขณะที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรรวมถึงพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลียมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ ส่วนทางตอนเหนือของสหรัฐอเมริกาต่อเนื่องถึงตอนใต้ของแคนาดามีอากาศหนาวเย็นกว่าปกติ แสดงให้เห็นผลกระทบจากปรากฏการณ์ ลา นีญา ในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อนของซีกโลกเหนือ
     
    ภาพ:SHOWER.jpg
     
    [แก้ไข] ผลกระทบของ ลา นีญา ต่อปริมาณฝนและอุณหภูมิในประเทศไทย
            จากการศึกษาสภาวะฝนและอุณหภูมิของประเทศไทยในปี เอล นีโญ โดยใช้วิธีวิเคราะห์ค่า composite percentile ของปริมาณฝน และ composite standardized ของอุณหภูมิในปี เอล นีโญ จากข้อมูลปริมาณฝนและอุณหภูมิรายเดือน ในช่วงเวลา 50 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2494 ถึง 2543 พบว่า ในปี ลา นีญา ปริมาณฝนของประเทศไทยส่วนใหญ่สูงกว่าปกติ โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อนและต้นฤดูฝนเป็นระยะที่ ลา นีญา มีผลกระทบต่อสภาวะฝนของประเทศไทยชัดเจนกว่าช่วงอื่น และพบว่าในช่วงกลางและปลายฤดูฝน ลา นีญา มีผลกระทบต่อสภาวะฝนของประเทศไทยไม่ชัดเจน สำหรับอุณหภูมิปรากฏว่า ลา นีญา มีผลกระทบต่ออุณหภูมิในประเทศไทยชัดเจนกว่าฝน โดยทุกภาคของประเทศไทยมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติทุกฤดู และพบว่า ลา นีญาที่มีขนาดปานกลางถึงรุนแรงส่งผลให้ปริมาณฝนของประเทศไทยสูงกว่าปกติมากขึ้น ขณะที่อุณหภูมิต่ำกว่าปกติมากขึ้น
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×