ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความรู้!

    ลำดับตอนที่ #236 : >>สงคราม

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 309
      0
      18 มี.ค. 52

    สงครามครูเสด (อังกฤษ: The Crusades; อาหรับ: الحروب الصليبية ; อัลฮุรูบ อัศศอลีบียะหฺ/ หรือ الحملات الصليبية /อัลฮัมลาต อัศศอลีบียะหฺ‎ แปลว่า สงครามไม้กางเขน) คือ สงครามระหว่างศาสนา ซึ่งอาจหมายถึงสงครามระหว่างชาวคริสต์ต่างนิกายด้วยกันเอง หรือชาวคริสต์กับผู้นับถือศาสนาอื่นก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่มักหมายถึงสงครามครั้งใหญ่ระหว่างชาวมุสลิมและชาวคริสต์ ในช่วงศตวรรษที่ 11 ถึง 13

    สงครามครูเสด เป็นสงครามศาสนาระหว่างชาวคริสต์จากยุโรป และ ชาวมุสลิม เนื่องจากชาวคริสต์ต้องการยึดครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์ และ เมืองคอนสแตนติโนเปิลหรือเมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกีในปัจจุบัน

    ในตอนเริ่มสงครามนั้นชาวมุสลิมปกครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์อยู่ ดินแดนแห่งนี้เป็นสถานที่สำคัญของสามศาสนาได้แก่ อิสลาม ยูได และ คริสต์ ในปัจจุบันดินแดนแห่งนี้คือ ประเทศอิสราเอล

    ชาวมุสลิมครอบครอง เมืองนาซาเรธ เบธเลเฮม และเมืองสำคัญทางศาสนาอีกหลายเมือง ในยุคของคอลีฟะหฺอุมัร (634-44) ซึ่งเป็นผู้นำทางศาสนาและการเมืองของอาณาจักรอิสลามในยุคนั้น

    บทสรุปของสงครามในครั้งนั้นคือกองทัพมุสลิมสามารถยึดดินแดนศักดิ์สิทธิ์คืนจากชาวคริสต์ได้ และขับไล่ผู้รุกรานต่างดินแดนออกไป ซึ่งยังคงดำรงชาติมุสลิมสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้
    สงครามครูเสดแต่ละครั้ง

    มีสงครามครูเสดเกิดขึ้นหลายครั้ง แต่ครั้งที่สำคัญที่ใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นระหว่างศตวรรษที่ 11 ถึง 13 ซึ่งมีสงครามใหญ่ๆเกิดขึ้นถึง 9 ครั้งในมหาสงครามครั้งนี้และยังมีสงครามย่อยๆเกิดอีกหลายครั้งในระหว่างนั้น สงครามบางครั้งก็เกิดขึ้นภายในยุโรปเอง เช่น ที่สเปน และมีสงครามย่อยๆเกิดขึ้นตลอดศตวรรษที่ 16 จนถึงยุค Renaissance และเกิด Reformation

    [แก้] สงครามครูเสดครั้งที่ 1 พ.ศ. 1638-1644 (ค.ศ. 1095-1101)

    สมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 ในสภาแห่งเคลียมอนท์ประกาศให้แย่งชิงแดนศักดิสิทธิ์คืน

    เริ่มต้นเมื่อปี 1095 โดยสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 (Urban II) แห่งกรุงโรม รวบรวมกองทัพชาวคริสต์ไปยังกรุงเยรูซาเลม ช่วงแรกกองทัพของปีเตอร์มหาฤๅษี(Peter the Hermit) นำล่วงหน้ากองทัพใหญ่ไปก่อน ส่วนกองทัพหลักมีประมาณ 50,000 คนซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศฝรั่งเศส นำโดย โรเบิร์ต เคอร์โทส ดยุคแห่งนอร์มังดีโอรสของสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ

    ในที่สุดเมื่อปี 1099 กองทัพก็เดินทางจากแอนติออคมาถึงกำแพงเมือง และยึดฐานที่มั่นใกล้กำแพงเข้าปิดล้อมเยรูซาเล็มไว้ กองกำลังมุสลิมที่ได้รับการขนานนามว่า ซาระเซ็น ได้ต่อสู้ด้วยความเข้มแข็ง ทว่าท้ายที่สุดนักรบครูเสดก็บุกฝ่าเข้าไป และฆ่าล้างทุกคนที่ไม่ใช่ชาวคริสต์กระทั่งชาวมุสลิมในเมืองหรือชาวยิวในสถานที่ทางศาสนาก็ล้วนถูกฆ่าจนหมด เหลือเพียงผู้ปกครองเดิมในขณะนั้นซึ่งได้รับอนุญาตให้ออกไปได้ แต่ทว่าข่าวการรบนั้นไม่อาจไปถึงพระสันตะปาปา เนื่องจากพระองค์สิ้นพระชนม์ในอีกไม่กี่วันถัดมา

    ผู้นำเหล่านักรบศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับเลือกคือ ก็อดฟรีย์ แห่ง บูวียอง ซึ่งอยู่ในตำแหน่งนานหนึ่งปีจึงเสียชีวิต เดือนกรกฎาคมปี 1100 บอลด์วินจากเอเดสซาจึงขึ้นสืบเป็นกษัตริย์ พระองค์อภิเษกกับเจ้าหญิงอาร์เมเนีย แต่ไร้รัชทายาท พระองค์สวรรคตในปี 1118 ผู้เป็นราชนัดดานามบอลด์วินจึงครองราชย์เป็นกษัตริย์บอลด์วินที่ 2 แห่งอาณาจักรศักดิ์สิทธิ์ มีราชธิดา 3 พระองค์ และที่น่าสนใจคือครั้งนี้บัลลังก์สืบทอดทางธิดาองค์โตหรือมเหสี และพระสวามีจะครองราชย์แทนกษัตริย์องค์ก่อน

    สงครามครูเสดมีสาเหตุหลักมาจากความแตกต่างทางความเชื่อในศาสนาแต่ละศาสนา จนทำให้ไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน ถึงขั้นต้องทำสงครามเพื่อแย่งกันครอบครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์ คือ กรุงเยรูซาเล็ม นอกจากนั้นเหตุผลทางการเมืองก็เป็นอีกสาเหตุของสงครามด้วย สงครามครูเสดได้คร่าชีวิตและทรัพย์สินของมนุษยชาติอย่างมากมายมหาศาลและบางส่วนของความขัดแย้งเหล่านั้นยังคงหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน

    ผลของสงครามครูเสดนั้น ทำให้ยุโรปเกิดความเปลี่ยนแปลงไปมากมาย ทำให้เกิดการติดต่อระหว่าง โลกตะวันตกและตะวันออก ในรูปแบบการทำการค้า ซึ่งเรียกว่า ยุคปฏิรูปการค้า และ ทำให้เกิดยุค ฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ ขึ้นมาด้วย

    [แก้] สงครามครูเสดครั้งที่ 2 (1147–1149)

    ลัทธิศักดินา(Feudalism)ที่พวกครูเสดนำมาใช้ในเอเชียน้อย(Asia Minor)นี้ได้ระบาดในหมู่พวกมุสลิมเช่นกัน พวกมุสลิมชนชาติต่าง ๆ ในตะวันออกกลางต่างก็แก่งแย่งถืออำนาจกัน แตกออกเป็นหลายนคร

    อิมาดุดดีน ซังกี (Imaduddin Zangi) ผู้เป็นบุตรคนหนึ่งของ อัก สุนกูร อัลฮาญิบ ซึ่งเป็นเจ้าเมืองฮะลับ หรืองอเลปโป(ภาษาละติน: Aleppo) ภายใต้อาณาจักรของ มะลิกซาห์ ใน ค.ศ. 1127 ได้เป็นอะตาเบก (เจ้านคร) แห่งโมสุล และต่อมา 1128 ก็ได้รวบรวมอเลปโปเข้าอยู่ใต้อำนาจของตน โดยเข้าข้างกษัตริย์แห่งสัลญูก ซึ่งกำลังแย่งชิงเขตแดนต่าง ๆ ของอาณาจักรอับบาสียะหฺ ในปี ค.ศ. 1135 เขาพยายามตีนครดามัสคัส เมื่อรวบรวมให้อยู่ใต้อำนาจ แต่ก็ไม่สำเร็จ ระหว่างทางที่ถอยทัพกลับไปอเลปโป ก็ได้เข้าตีนครฮิมสฺ เพื่อยึดมาเป็นของตน แต่ตีไม่สำเร็จ สองปีต่อมา ซังกีย้อนกลับมาตีนครฮิมสฺอีกครั้ง แต่ก็ไม่สำเร็จอีกเช่นกัน ทางนครดามัสคัสเมื่อกลัวว่าซังกีจะยกทัพมาประชิตเมืองอีกครั้ง ก็ได้ผูกสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรเยรูซาเล็มของพวกครูเสด

    ซังกียกทัพไปตีพวกครูเสด จนเกิดปะทะกันที่บารีน ฟูล์ก เจ้าราชอาณาจักรเยรูซาเล็มพ่ายแพ้ พากองทัพที่รอดตายหนีออกจากนครเยรูซาเล็ม ซังกีได้ผูกสัมพันธไมตรีกับนครดามัสคัส เมื่อเห็นว่าตนไม่มีความสามารถที่จะเอาชนะได้ ประกอบกับได้ข่าวว่า จักรพรรดิยอห์น คอมเนนุส (John Comnenus) ได้ยึดเอานครอันติออก ที่พวกครูเสดปกครองอยู่นั้น เข้ามาอยู่ในอาณาจักรไบแซนไทน์ และได้ส่งกองทัพมาประชิตเมืองอเลปโปของตน

    พวกครูเสดที่ส่งมาโดยจักรพรรดิยอห์น คอมเนนุส (John Comnenus) พวกนี้ยึดเมืองบุซาอะ (Buzaa) ได้ฆ่าพวกผู้ชายทั้งหมดแล้วกวาดต้อนผู้หญิงและเด็กไปเป็นทาส

    แม้ซังกีจะวางแผนการเพื่อยึดนครดามัสคัสอีกในเวลาต่อมา ถึงขั้นกับสมรสกับนางซุมุรรุด มารดาเจ้านคร ด้วยการยกเมืองฮิมสฺเป็นสินสอด และต่อมาเจ้านครก็ถูกลอบสังหาร ซังกีก็ไม่อาจจะยึดเอานครดามัสคัสเป็นของตนได้ เวลาต่อมา นครดามัสคัสก็กลับไปรื้อฟื้นความสัมพันธ์กับพวกครูเสดอีกครั้ง และได้ร่วมกันโจมตีกองทัพของซังกีที่บานิยาส

    ซังกีได้ยกทัพเข้าตีนครเอเดสสาที่อยู่ภายใต้พวกครูเสดแตกเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 1114 จุดนี้เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามครูเสดครั้งที่ 2

    ซังงีถูกทาสรับใช้ของตน ซึ่งเป็นชาวแฟรงก์ ลอบสังหารเมื่อวันที่ 5 เราะบีอุษษานีย์ 541 ตรงกับวันที่ 14 กันยายน 1146 ซังงีมีบุตร 4 คน ล้วนเป็นคนมีความสามารถทั้งสิ้น ในระหว่างความยุ่งยากนี้พวกคริสต์ในเมืองเอเดสสา คิดกบฏฆ่าทหารมุสลิมที่รักษาเมืองและได้รับความช่วยเหลือจากพวกแฟรงก์ ภายใต้การนำของโยสเซลิน (Joscellin) ยึดเมืองเอเดสสาได้ แต่บุตรสองคนของซังงี ชื่อ นูรุดดีน มะฮฺมูด (ฝรั่งเรียก Noradius) ตีเมืองเอเดสสากลับคืนมาได้ พวกที่ก่อกบฏและทหารแฟรงก์ถูกฆ่า พวกอาร์มิเนียนที่เป็นต้นคิดกบฏถูกเนรเทศ และนูรุดดีนสั่งให้รื้อกำแพงเมือง ผู้คนต่างหนีออกจากเมืองจนเมืองเอเดสสากลายเป็นเมืองร้าง

    การสูญเสียเมืองเอเดสสาเป็นครั้งที่ 2 นี้ ได้ก่อให้เกิดการโฆษณาขนานใหญ่ในยุโรป นักบุญเซ็นต์เบอร์นาร์ด (Bernard Clairvaux)ซึ่งฉลาดในการพูดและได้ฉายาว่า ปีเตอร์นักพรตคนที่สอง ได้เที่ยวเทศนาปลุกใจนักรบ ให้ร่วมกันป้องกันสถานกำเนิดแห่งศาสนาคริสต์ เหตุนี้ทำให้พวกคริสเตียนตกใจกลัวยิ่งนักว่า พวกสัลญูกตุรกีจะยกทัพมาตียุโรป และตนจะไม่ได้เป็นเจ้าของศาสนสถานในปาเลสไตน์อีก การปลุกใจครั้งนี้ไม่เร้าใจแต่เพียงขุนนาง อัศวินและสามัญชน ซึ่งเป็นส่วนในสงครามครูเสดครั้งแรกเท่านั้น พวกกษัตริย์ต่าง ๆ ก็พลอยนิยมไปด้วย พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศสได้ถือเอาสงครามครูเสดเป็นเครื่องเบี่ยงบ่ายการกระทำอันโหดร้าย ต่อพลเมืองบางพวกที่เป็นกบฏต่อพระองค์ กษัตริย์คอนราดที่ 3 แห่งเยอรมันเข้าร่วมทัพด้วย เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1147 ข้างพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 มีพระมเหสีร่วมไปในกองทัพด้วย ชื่ออิเลนอร์(Eleanor of Guienne มเหสีคนนี้ต่อมาไปสมรสกับพระเจ้าเฮนรี่ที่ 2 ของอังกฤษ) การที่ราชินีเข้าร่วมกองทัพด้วยทำให้ผู้หญิงฝรั่งเศสอีกจำนวนมากอาสาเข้ากองทัพครูเสด ซึ่งคราวนั้นมีพลประมาณ 900,000 คน พวกฝรั่งเศสได้กระทำชู้กับหญิงในกองทัพอย่างเปิดเผย กองทัพของสองกษัตริย์ได้รับการต่อต้านและเสียหายอย่างหนัก

    ส่วนหนึ่งกองทัพของกษัตริย์คอนราดถูกทำลายที่เมืองลาซิกียะหฺ (ภาษาละติน: Laodicea หรือ Latakia) ส่วนกองทัพของพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 ที่ยกมาทางทะเลก็ถูกโจมตียับเยินโดยเฉพาะที่เมืองก็อดมูส (Babadagh ปัจจุบันในตุรกี ภาษาละติน: Cadmus) อย่างไรก็ตามเนื่องจากพวกครูเสดมีกำลังพลมาก จึงเหลือรอดมาถึงเมืองอันติออก ซึ่งเวลานั้นพวกขุนนางและอัศวินจำนวนมากพักอยู่ในเมืองอันติออก ซึ่งเวลานั้นเรย์มอง -ผู้เป็นลุงของราชินีอีเลนอร์ เป็นผู้ปกครองเวลานั้นพวกขุนนางและอัศวินจำนวนมากพักอยู่ในเมืองอันติออกเช่น เคาน์เตสแห่งดูลูส (Countess of blois) เคาน์เตสแห่งรูสสี (Countess of Roussi)ดัชเชสแห่งบุยยอง (Duchess of Bouillon), Sybille แห่งฟแลนเดอร์ส และสตรีของผู้สูงศักดิ์อื่น ๆ อีก แต่จอมราชินีของพวกเขา คือมเหสีของพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 เมื่อพักผ่อนและสนุกสนานกับพวกผู้หญิงเพียงพอแล้ว พวกครูเสดก็ยกทัพเข้าล้อมเมืองดามัสคัส แต่ไม่สำเร็จ เพราะนูรุดดีน และสัยฟุดดีน อัลฆอซี บุตรทั้งสองของซังกี ได้ยกทัพมาช่วย ทั้งกษัตริย์คอนราดแห่งเยอรมันนีและพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศสได้เลิกทัพกลับยุโรป พวกครูเสดต้องล่าทัพกลับบ้านเมืองด้วยความผิดหวังและสูญเสียอย่างหนัก

    ส่วนพวกครูเสดที่มาจากพวกยุโรปเหนือ ก็ได้เคลื่อนทัพจนถึงโปรตุเกส แล้วได้ร่วมมือกับกษัตริย์อัลฟอนโซ เพื่อโจมตีนครลิสบอน และขับไล่พวกมุสลิมออกจากนครนี้ในปี 1147

    กองทัพครูเสดจากเยอรมันได้เข้าไปโจมตีพวกสลาฝที่อยู่รอบอาณาเขตอาณาจักรเยอรมัน

    [แก้] สงครามครูเสดครั้งที่ 3 (1187–1192)

    ศอลาฮุดดีน อัลอัยยูบีย์ ได้ตีเอานครเยรูซาเล็มกลับคืนมาเป็นของพวกมุสลิมอีกครั้งในปี 1187

    เมื่อศอลาฮุดดีนได้ข่าวพวกแฟรงก์ยกทัพมา จึงประชุมนายทัพโดยให้ความเห็นว่าจะโจมตีพวกนี้ขณะเดินทัพอยู่ แต่พวกนายพลว่าให้ตีเมื่อมาถึงชานเมืองอักกะ (Acre) พวกครูเสดได้ตั้งทัพล้อมเมืองนี้ไว้ และปีกข้างหนึ่งจดทะเล ทำให้สามารถรับเสบียงจากยุโรปได้สะดวก ถ้าศอลาฮุดดีนได้เริ่มโจมตีพวกนี้ขณะเดินทาง ก็คงไม่ประสบสถาณะคับขันเช่นนี้ พวกตุรกีจากเมืองใกล้ ๆ ก็ยกทัพมาช่วย และในวันที่ 1 ชะอฺบาน 585 (14 กันยายน 1189 ) ศอลาฮุดดีนได้เริ่มโจมตีพวกครูเสด หลานชายของท่านคนหนึ่งชื่อ ตะกียุดดีน ได้แสดงความกล้าหาญมากในการรบ ตอนนี้ทหารศอลาฮุดดีนมีกำลังน้อยกว่าพวกครุเสดมาก เพราะต้องกระจายกำลังป้องกันเมืองหน้าด่านต่าง ๆ เช่นที่ยืนยันเขตแดนติดเมืองตริโปลี, เอเดสสา, อันติออก อเล็กซานเดรีย ฯลฯ ในรอบนอกเมืองอักกานั้น พวกครูเสดถูกฆ่าราว 10,000 คน ได้เกิดโรคระบาดขึ้นเพราะด้วยศพทหารเหล่านี้ เนื่องจากติดพันอยู่การสงคราม ไม่สามารถรักษาที่รบให้สะอาดได้ ศอลาฮุดดีนเองได้รับโรคระบาดนี้ด้วย แพทย์แนะนำให้ถอนทหารและได้ยกทัพไปตั้งมั่นอยู่ที่ อัลคอรรูบะหฺ พวกครูเสดจึงยกทัพเข้าเมืองอักกาและเริ่มขุดคูรอบตัวเมือง

    ศอลาฮุดดีนได้มีหนังสือไปยังสุลฎอนของมอร็อคโคให้ยกทัพมาสมทบช่วยแต่พวกนี้ได้ปฏิเสธ ในฤดูใบไม้ผลิศอลาฮุดดีนได้ยกทัพมาโจมตีเมืองอักกาอีก พวกครูเสดได้เสริมกำลังมั่นและสร้างหอคอยหลายแห่ง แต่ทั้งหมดถูกกองทัพศอลาฮุดดีนยิงด้วยด้วยลูกไฟ เกิดไฟไหม้ทำลายหมด ตอนนี้กำลังสมทบจากอียิปต์มาถึงทางเรือและกำลังการรบจากที่อื่นมาด้วย พวกแฟรงก์เสียกำลังการรบทางแก่อียิปต์อย่างยับเยิน พวกครูเสดถูกฆ่าและเสียกำลังทัพมาก แต่ในปลายเดือนกรกฎาคม 1190 เคานต์เฮนรี่แห่งแชมเปญ ผู้มีสายสัมพันธ์กับพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสได้ยกทัพหนุนมาถึง ศอลาฮุดดีนได้ถอยทัพไปตั้งมั่นที่อัลคอรรูบะหฺอีก ได้ทิ้งกองทหารย่อย ๆ ไว้ ซึ่งได้ต่อสู้พวกครูเสดอย่างกล้าหาญ ตอนนี้พวกครูเสดไม่สามารถคืบหน้าได้ จึงจดหมายไปยังโปีปขอให้จัดทัพหนุนมาช่วย พวกคริสเตียนได้หลั่งไหลกลับมาสมทบพวกครูเสดอีกครั้ง เพราะถือว่าการรบ"พวกนอกศาสนา"ครั้งนี้ทำให้ตนถูกเว้นบาปกรรมทั้งหมดและได้ขึ้นสวรรค์ ศอลาฮุดดีนจัดทัพรับมือพวกนี้อย่างเต็มที่ ให้ลูกชายของตนชื่อ อะลีย์ อุษมาน และฆอซี อยู่กลางทัพ ส่วนปีกทางขวาให้น้องชายชื่อสัยฟุดดีนเป็นแม่ทัพ ทางซ้ายให้เจ้านครต่าง ๆ คุม แต่ในวันประจัญบานกันนั้นตัวศอลาฮุดดีนเองป่วย จึงได้เฝ้าดูการสุ้รบจากยอดเขาแห่งหนึ่ง พวกครูเสดถูกตีฟ่ายตกทะเลได้รับความเสียหายอย่างหนัก พวกนี้เริ่มขาดแคลนอาหารและโดยที่ฤดูหนาวย่างเข้ามา จึงพักการรบ

    เมื่อถึงต้นฤดูใบไม้ผลิ คือเดือนเมษายน 1191 พวกครูเสดได้รับทัพหนุนเพิ่มขึ้นอีก โดยพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสได้ยกทัพมา พร้อมกันนั้นพระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์แห่งอังกฤษก็ยกทัพมาอีกด้วย มีเรือรบมา 20 ลำ เต็มไปด้วยทหารและกระสุน กำลังหนุนของศอลาฮุดดีนมาไม่พร้อม ทหารมุสลิมในเมืองอักกามีกำลังน้อยกว่าจึงขอยอมแพ้พวกครุเสด โดยแม่ทัพมุสลิมมีนคนหนึ่งชื่อ มัชตูบ ผู้คุมกำลังป้องกันอักกาได้อุทรต่อพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสแต่ถูกปฏิเสธเว้นแต่ พวกมุสลิมจะยอมยกเมืองเยรูซาเล็มให้ พวกมุสลิมจึงกลับสู้รบอีกจนสุดชีวิต ขณะการล้อมเมืองและการสู้รบอยู่เป็นเช่นนี้ได้เกิดโรคระบาดเกิดขึ้น ในที่สุดมีเงื่อนไขว่า พวกมุสลิมจะต้องคืนไม้กางเขน(ดั้งเดิมสมัยพระเยซู) และต้องเสียค่าปรับเป็นทอง 200,000 แท่ง แต่เนื่องจากต้องเสียเวลาหาทองจำนวนเท่านี้ กษัตริย์ริชาร์ดใจสิงห์แห่งอังกฤษ ผู้ที่นักประวัติศาสตร์เคยยกย่องและชื่นชมกันนั้นได้จับทหารมุสลิมจำนวน 27,000 คน ออกจากเมืองและสับต่อหน้าต่อตาคนทั้งหลาย เมืองอักกาตกอยู่ในมือพวกครูเสดที่บ้าศาสนาเหล่านี้ ส่วนทัพศอลาฮุดดีนต้องถอยทัพไปตั้งที่อื่นเพราะกำลังน้อยกว่าและกำลังหนุนไม่มีพอ ตอนหนึ่งมีเรือจากอียิปต์ลำเลียงเสบียงมาช่วย แต่เกือบถูกครูเสดยึดได้ นายเรือจึงสั่งให้จมเรือพร้อมทั้งคนในเรือทั้งหมด

    กองทัพครูเสดภายใต้การนำของพระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์ได้บุกไปยังอัสก็อลาน (ภาษาละติน: Ascolon) ศอลาฮุดดีนได้ยกกองทัพไปยันไว้ได้มีการรบกันอย่างกล้าหาญถึง 11 ครั้ง ในการรบที่อัรสูฟ ศอลาฮุดดีนเสียทหารราว 8,000 คน ซึ่งเป็นทหารชั้นดีและพวกกล้าตาย เมื่อเห็นว่าอ่อนกำลังป้องกันปาเลสไตน์ไม่ได้ จึงยกทัพไปยังอัสก็ออลาน อพยพผู้คนออกหมดแล้วรื้ออาคารทิ้ง เมื่อพระเจ้าริชาร์ดมาถึง ก็เห็นแต่เมืองร้าง จึงทำสัญญาสงบศึกด้วย โดยได้ส่งทหารไปพบน้องชายศอลาฮุดดีนชื่อ สัยฟุดดีน (ภาษาละติน: Saphadin) ทั้งสองได้พบกัน ลูกของเจ้านครครูเสดคนหนึ่งเป็นล่าม พระเจ้าริชาร์ดจึงให้บอกความประสงค์ที่อยากให้ทำสัญญาสงบศึก พร้อมทั้งบอกเงื่อนไขด้วย ซึ่งเป็นเงือนไขที่ฝ่ายมุสลิมยอมรับไม่ได้ การพบกันครั้งนั้นไม่ได้ผล

    ฝ่ายมาร์ควิสแห่งมองเฟอร์รัดผู้ร่วมมาในกองทัพด้วยเห็นว่าการทำสัญญาโอ้เอ้ จึงส่งสารถึงศอลาฮุดดีน โดยระบุเงื่อนไขบางอย่าง แต่สัญญานี้ไม่เป็นผลเช่นกัน ต่อมาพระเจ้าริชาร์ดขอพบศอลาฮุดดีนและเจรจาเรื่องสัญญาสงบศึกอีก โดยเสนอเงื่อนไขว่า พวกครูเสดต้องมีสิทธิครอบครองเมืองต่าง ๆ ที่ได้ตีไว้ และฝ่ายมุสลิมต้องคืนเยรูซาเล็มให้พวกครูเสด พร้อมกับไม้กางเขนที่ทำด้วยไม้ ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าเป็นไม้ที่พระเยซูถูกพวกยิวตรึงทรมานด้วย ศอลาฮุดดีนปฏิเสธที่จะยกเมืองเยรูซาเล็มให้พวกครูเสด แต่ยอมในเรื่องให้เอาไม้กางเขนที่กล่าวในเงื่อนไขที่ว่า พวกครูเสดต้องปฏิบัติตามสัญญาของตนอย่างเคร่งครัด การเจรจานี้ก็ไม่เป็นผลอีกเช่นกัน พระเจ้าริชาร์ดจึงหันไปเจรจากับสัยฟุดดีนใหม่โดยให้ความเห็นว่าการเจรจานี้ จะเป็นผลบังคับเมื่อศอลาฮุดดีนยินยอมด้วยในปั้นปลาย เงื่อนไขมีว่า

    1. กษัตริย์ริชาร์ดยินดียกน้องสาวของเขาผู้เป็นแม่หม้าย(แต่เดิมเป็นมเหสีของกษัตริย์ครองเกาะสิซิลี)ให้แก่สัยฟุดดีน(น้องชายศอลาฮุดดีน)
    2. ของหมั้นในการสมรสนี้คือ กษัตริย์ริชาร์ดจะยกเมืองทั้งหมดที่พระองค์ตีได้ ตามชายทะเลให้น้องสาวของตน และศอลาฮุดดีนก็ต้องยกเมืองต่าง ๆ ที่ยึดได้ให้ น้องชายเป็นการทำขวัญเช่นกัน
    3. ให้ถือเมืองเยรูซาเล็มเป็นเมืองกลาง ยกให้แก่คู่บ่าวสาวนี้ และศาสนิกของทั้งสองฝ่ายมีสิทธิ์ที่จะใปมาพำนัก อยู่ในเมืองนี้อย่างเสรี บ้านเมืองและอาคารทางศาสนาที่ปรักหังพัง ต่างช่วยกันซ่อมแซม

    ศอลาฮุดดีนยอมตามเงื่อนไขนี้ แต่สัญญาก็ไม่เป็นผลอีก เพราะพวกพระในศาสนาคริสต์ไม่ยอมให้พวกคริสเตียนยกลูกสาว, น้องสาว หรือผู้หญิงฝ่ายตนไปแต่งงานกับมุสลิมผู้ที่พวกเขาถือว่าเป็น“พวกนอกศาสนา” พวกบาทหลวงได้ชุมนุมกันที่จะขับพระเจ้าริชาร์ดออกจากศาสนาคริสต์ให้ตกเป็นคน นอกศาสนาไปด้วย และได้ขู่เข็ญน้องสาวของพระองค์ต่าง ๆ นานา

    กษัตริย์ริชาร์ดจึงได้เข้าพบสัยฟุดดีนอีก ขอให้เปลี่ยนจากการนับถืออิสลามมาเป็นคริสเตียน แต่สัยฟุดดีนปฏิเสธ ในขณะเดียวกันกษัตริย์ริชาร์ดเกิดการรำคาญการแทรกแซงของมาร์ควิสแห่งมอง เฟอรัด จึงจ้างให้ชาวพื้นเมืองลอบฆ่า เมื่อเรื่องมาถึงเช่นนี้ กษัตริย์ริชาร์ดก็ท้อใจอยากยกทัพกลับบ้าน เพราะตีเอาเยรูซาเล็มไม่ได้ ได้เสนอเงื่อนไขที่จะทำสัญญาสงบศึกกับศอลาฮุดดีนไม่ยอมต่อเงื่อนไขบางข้อ เพราะบางเมืองที่กล่าวนั้นมีความสำคัญต่อการป้องกันอาณาจักรอย่างยิ่ง ไม่สามารถปล่อยให้หลุดมือไปได้ แต่ความพยายามของนักรบทั้งสองนี้ยังคงมีต่อไป จนในที่สุดเมื่อวันที่ 22 ชะอฺบาน 588 (2 กันยายน 1192) ทั้งสองฝ่ายได้ทำสัญญาสงบศึกเป็นการถาวรและกษัตริย์ริชาร์ดได้ยกทัพกลับบ้านเมือง เขายกทัพผ่านทางตะวันออกของยุโรปโดยปลอมตัว แต่กลับถูกพวกเป็นคริสเตียนจับไว้ได้คุมขังไว้ ทางอังกฤษต้องส่งเงินจำนวนมากเพื่อไถ่ตัวเขา

    สงครามครูเสดครั้งที่ 3 ก็ยุติลงเพียงนี้ ด้วการสูญเสียชีวิตมนุษย์นับแสน ผู้คนนับล้านไร้ที่อยู่ บ้านเมืองถูกทำลาย หลังจากนั้นศอลาฮุดดีนได้ยกทหารกองเล็ก ๆ ไปตรวจตามเมืองชายฝั่ง และซ่อมแซมสถานที่ต่าง ๆ และได้กลับมาพักที่ดามัสคัสพร้อมครอบครัว จนกระทั่งถึงแก่ความตาย เมื่อวันที่ 27 ศอฟัร 589 (4 มีนาคม 1193) มีอายุเพียง 55 ปี

    [แก้] ศอลาฮุดดีน (ซาลาดิน)

    ภาพวาดซาลาดินจากหนังสืออาหรับในศตวรรษที่ 12

    สุลต่าน ศอลาฮุดดีน อัลอัยยูบีย์ เป็นบุคคลสำคัญที่อยู่ในระหว่างสงครามครูเสด (สุลต่าน คือกษัตริย์ของชาวมุสลิมซึ่งใช้ ชะรีอะหฺ (กฎหมายอิสลาม)ในการปกครองประเทศ ชาวยุโรปและอเมริกาก็เรียกเขาว่า ซาลาดิน ส่วนชาวมุสลิมยกย่องให้เขาเป็นวีรบุรุษ

    มีหนังสือหลายเล่มเขียนเกี่ยวกับศอลาฮุดดีนผู้นี้ โดยเล่าถึงวีรกรรมและชัยชนะในสงคราม เช่นหนังสือชื่อ Daastaan Imaan Farooshoon Ki ซึ่งเขียนเป็นภาษาอูรดูโดยอัลทามาชซึ่งยกย่องศอลาฮุดดีนไว้มากมายในหนังสือเล่มดังกล่าว

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×