ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความรู้!

    ลำดับตอนที่ #297 : ลัทธิทำลายรูปสัญลักษณ์

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 474
      0
      20 มี.ค. 52

    ลัทธิทำลายรูปสัญลักษณ์ หรือ ลัทธิทำลายรูปเคารพ หรือ ลัทธิการทำลายสัญลักษณ์ทางวัตถุ หรือ ลัทธิอคติรูปสัญลักษณ์ (อังกฤษ: Iconoclasm) เป็นลัทธินิยมของการห้ามใช้รูปสัญลักษณ์ การทำลายศิลปะหรือรูปสัญลักษณ์ทางศาสนา, การทำลายสัญลักษณ์อื่นๆที่ไม่ใช่สัญลักษณ์ทางศาสนา หรือ การทำลายอนุสาวรีย์โดยจงใจภายในสังคมใดสังคมหนึ่ง ซึ่งมักจะเป็นผลจากการกระทำเพื่อศาสนา หรือ การเมือง การกระทำเช่นนี้มักจะเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการเปลี่ยนแปลงทางศาสนาหรือทางการเมืองภายในสังคมเดียวกัน ลัทธิทำลายรูปเคารพตรงกันข้ามกับ "ลัทธิบูชารูปเคารพ" (ภาษาอังกฤษ: Iconodule)ที่มา

    ลัทธิทำลายรูปเคารพ หรือ ลัทธิอคติรูปสัญลักษณ์ แตกต่างจากการทำลายโดยวัฒนธรรมจากภายนอกหรือจากการสงคราม เช่น การรุกรานของประเทศสเปนที่มีผลต่อการทำลายศิลปะและสิ่งก่อสร้างท้องถิ่นในอเมริกาใต้ และมิได้หมายถึงการทำลายสัญลักษณ์ทางวัตถุของประมุขที่เพิ่งเสียชีวิตไปหรือถูกโค่นอำนาจไป เช่น ประเพณีที่ทำกันเมื่อพระเจ้าแผ่นดินสิ้นพระชนม์ในสมัยอียิปต์โบราณ หรีอ ในจักรวรรดิโรมัน

    ผู้ที่ร่วมการทำลายสัญลักษณ์ทางวัตถุหรือผู้ที่สนับสนุนลัทธินิยมในการทำลายสัญลักษณ์ทางวัตถุเรียกกันว่า “นักทำลายรูปสัญลักษณ์” หรือ “นักทำลายรูปเคารพ” (Iconoclasts) ซึ่งความหมายแปลงมาเป็นผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับความเชื่อหรือการปฏิบัติที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป

    การทำลายสัญลักษณ์ทางวัตถุอาจจะทำโดยผู้ที่นับถือศาสนาต่างกันแต่ส่วนใหญ่มักจะเกิดจากความแตกต่างกันทางปรัชญาทางศาสนาระหว่างลัทธิย่อยภายในศาสนาเดียวกัน ยกเว้นการแตกแยกระหว่างจักรวรรดิไบแซนไทน์สองจักรวรรดิระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 8 และ 9 ซึ่งมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งในความเชื่อเรื่องการบูชารูปเคารพ อันเป็นสาเหตุหลักแทนที่จะเป็นสาเหตุที่เป็นผลมาจากความขัดแย้งอื่นต้อง[ต้องการแหล่งอ้างอิง] ในคริสต์ศาสนาการทำลายสัญลักษณ์ทางวัตถุมักจะมีผลมาจากการตีความหมายของบัญญัติ 10 ประการซึ่งห้ามการบูชา “รูปสัญลักษณ์”

    ความหมายตรงกันข้ามของผู้ทำลายรูปเคารพ คือ ผู้ที่มีความเชื่อในการนับถือบูชาและสักการะรูปสัญลักษณ์หรือสัญลักษณ์ทางศาสนาที่เรียกว่า “นักบูชารูปเคารพ” หรือ “นักบูชารูปสัญลักษณ์” หรือ Idolators ในสมัยไบเซนไทน์เมื่อกล่าวถึง ลัทธิบูชารูปสัญลักษณ์ หรือ ลัทธิบูชารูปเคารพ ก็จะใช้คำว่า Iconodules หรือ Iconophiles

    ผลที่เราเห็น ๆ กันจากลัทธิการทำลายรูปเคารพก็จะมักจะเป็นรูปปั้นเพราะศิลปะรูปแบบอื่นคงถูกทำลายไปหมด รูปปั้นเหล่านี้ส่วนหัวจะหักไปหมด เช่น ตามอนุสาวรีย์ของโรมัน หรืออนุสาวรีย์หน้าคริสต์ศาสนสถานและรูปปั้นหรืออนุสรณ์ผู้ตายภายในวัดโดยเฉพาะที่เป็นรูปปั้นเล็ก ๆ ถ้าเป็นหัวรูปปั้นใหญ่ที่ค่อนข้างทำลายยาก นักทำลายสัญลักษณ์ก็มักจะทุบจนหักบิ่น

    [แก้] การทำลายสัญลักษณ์ทางวัตถุครั้งสำคัญๆ

    [แก้] สมัยไบแซนไทน์

    ความขัดแย้งกันในเรื่องความเชื่อในการทำลายรูปสัญลักษณ์ไม่จำกัดเฉพาะในกลุ่มนักบวช หรือเป็นความแตกแยกทางปรัชญาทางศาสนวิทยาเท่านั้น บางครั้งความขัดแย้งก็อาจจะเป็นผลมาจากความกลัวการรุกรานทางทหารโดยผู้นับถือศาสนาอิสลาม เป็นที่เชื่อกันว่าการทำลายสัญลักษณ์ทางวัตถุได้รับการสนับสนุนบางส่วนจากจักรวรรดิไบแซนไทน์ตะวันออกและผู้ลี้ภัยที่มาจากบริเวณที่ถูกยึดครองโดยผู้นับถือศาสนาอิสลาม นอกจากนั้นก็ยังได้รับอิทธิพลบางส่วนจากกองกำลังบัลคานซึ่งไม่นิยมในการบูชา “รูปสัญลักษณ์” เท่าใดนัก อิทธิพลที่ว่านี้อาจจะมีบทบาทสำคัญต่อสถาบันการปกครองในการเริ่มและการลงเอยของลัทธิการทำลายสัญลักษณ์ทางวัตถุ

    การใช้ “รูปสัญลักษณ์” แพร่หลายขี้นเป็นเวลานานก่อนที่เกิดการต่อต้าน การทำลายครั้งสำคัญเกิดขึ้นเมื่อปี ค. ศ. 695 เมื่อพระเจ้าจัสติเนียนที่ 2 ทรงโปรดให้ประทับพระพักต์พระเยซูบนหลังเหรียญกษาปณ์ทองของพระองค์ ผลจากการเปลี่ยนในทางลัทธิการทำลายไม่เป็นที่ทราบแน่นอน แต่ที่ทราบแน่ก็คือกาหลิบAbd al-Malik ทรงแยกตัวอย่างถาวรจากการใช้เหรียญกษาปณ์ของจักรวรรดิไบแซนไทน์มาผลิตเหรียญกษาปณ์แบบอิสลามเองโดยมีแต่ตัวอักษรไม่มีภาพ[2] จดหมายจากสังฆราชเจอร์มานุส (Germanus) ซึ่งเขียนก่อนปี ค.ศ. 726 ถึงบาทหลวง 2 องค์ที่มีความเชื่อในลัทธิกล่าวว่า “ขณะนี้ทั้งเมืองและคนจำนวนมากมีความไม่พึงพอใจในกรณีนี้” แต่เราไม่ทราบว่าหัวข้อนี้ทำให้เกิดปฏิกิริยาเท่าใด[3]

    [แก้] การทำลายสัญลักษณ์ทางวัตถุระหว่างปี ค.ศ. 730 ถึงปี ค.ศ. 787

    ระหว่างปี ค.ศ. 726 ถึงปี ค.ศ. 730 จักรพรรดิไบแซนไทน์ลีโอที่ 3 ทรงสั่งให้เอารูปของพระเยซูซึ่งตั้งอยู่อย่างเด่นชัดที่หน้าประตูชอล์ค (Chalke gate) ซึ่งเป็นประตูเมืองเอกที่ใช้เป็นทางเข้าพระราชวังคอนแสตนติโนเปิลออกและติดแทนด้วยกางเขน ผู้ที่ถูกสั่งให้เอารูปพระเยซูออกก็โดนถูกฆ่าตายโดยกลุ่มผู้ต่อต้าน[4]

    [แก้] ปัญหาการทำลายสัญลักษณ์ทางวัตถุสมัยไบแซนไทน์

    เหตุผลของการทำลายสัญลักษณ์ทางวัตถุมักจะมาจากหลักฐานข้อเขียนของ “นักบูชารูปเคารพ” เป็นส่วนใหญ่ ฉะนั้นการที่จะเข้าใจในเหตุผลของลัทธิการทำลายสัญลักษณ์ทางวัตถุเราต้องเข้าใจว่า:

    • ผู้สนับสนุนลัทธิอคติรูปสัญลักษณ์ประนามการสร้างรูปสัญลักษณ์ เช่น ภาพเขียน รูปปั้น ที่มิได้ใช้แทนพระเยซู หรือ นักบุญ ของคริสต์ศาสนา เมื่อ ค.ศ. 754 ผู้สนับสนุนในการไม่ใช้รูปสัญลักษณ์ อ้างว่า [ต้องการแหล่งอ้างอิง]
    ตามคัมภีร์ไบเบิล และบิดาแห่งศาสนาขอประกาศพร้อมกันในนามของพระตรีเอกภาพว่าให้มีการนำรูปสัญลักษณ์หรือสิ่งที่ทำเพื่อเป็นรูปสัญลักษณ์ที่ทำด้วยวัสดุและทาสีโดยจิตรกรที่มีความเชื่อทางร้ายออกจากวัดคริสต์ศาสนา.... ถ้าผู้ใดพยายามสร้างรูปที่ไม่ถูกต้องขอให้ผู้นั้นจงถูกสาปแช่ง.... ถ้าผู้ใดสร้างรูปสัญลักษณ์แทนนักบุญโดยใช้วัสดุหรือสีที่ไม่ควร (เพราะเป็นสิ่งที่บันดาลใจโดยผีร้าย) และไม่ได้เป็นสัญลักษณ์แทนคุณความดีของผู้ที่สัญลักษณ์ตั้งใจจะให้เป็น ขอให้ผู้นั้นจงถูกสาปแช่ง
    • ผู้สนับสนุนลัทธิอคติรูปสัญลักษณ์ มีความเชื่อว่ารูปสัญลักษณ์ทางศาสนาที่แท้จริงต้องเป็นรูปที่เหมือนตัวแบบโดยแท้จริง และเป็นเนื้อและสาระเดียวกับแม่แบบ ซึ่งเป็นกรณีที่เป็นไปไม่ได้ เพราะทั้งไม้และสีเป็นสิ่งไร้ชีวิตที่ไม่สามารถใช้แทนผู้มีเลือดเนื้อได้ ฉะนั้นรูปสัญลักษณ์เดียวที่ผู้เชื่อในลัทธิยอมรับว่าเป็นรูปสัญลักษณ์ของพระเยซูได้คือศีลมหาสนิทซึ่งประกอบด้วยเหล้าไวน์และขนมปังศักดิ์สิทธิ์ซึ่งถือกันว่าเป็นพระวรกายและพระโลหิตของพระเยซูที่แท้จริง
    • ผู้สนับสนุนลัทธิอคติรูปสัญลักษณ์ มีความเชื่อว่ารูปสัญลักษณ์ที่แท้จริงของพระเยซูต้องแสดงถึงทั้งความเป็นเทพของพระองค์(ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้ยากเพราะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเห็นหรืออธิบายได้)และความเป็นมนุษย์พร้อมกันในรูปเดียว ซึ่งการสร้างรูปสัญลักษณ์ของพระเยซูที่ทำกันเป็นแยกความเป็นมนุษย์และความเป็นเทพของพระองค์ เพราะรูปสัญลักษณ์เป็นสิ่งที่ใช้แทนมนุษย์ได้เท่านั้น
    • ผู้สนับสนุนลัทธิอคติรูปสัญลักษณ์กล่าวว่ารูปสัญลักษณ์ที่ใช้เพื่อศาสนาเป็นการแสดงถึงความแตกแยกจากศาสนา รูปสัญลักษณ์เป็นอิทธิพลจากซาตานซึ่งจะนำผู้นับถือคริสต์ศาสนากลับไปสู่ความเป็นคนนอกศาสนา
    “ซาตานนำทางมนุษย์ในทางที่ผิด ทำให้นับถือในสิ่งชั่วร้ายที่มิใช่ผู้สร้าง กฎของโมเสสและศาสดาต่างๆ ก็บ่งให้ละทิ้งสิ่งเหล่านี้...แต่สิ่งที่ออกชื่อมาก่อนคือผู้ซึ่งเจ้าแห่งความชั่วร้าย...ก็ค่อยๆนำรูปสัญลักษณ์กลับเข้ามาในวัดในนามของคริสต์ศาสนา”[5]

    ผู้ที่คัดค้านกับลัทธิการทำลายสัญลักษณ์ทางวัตถุทางคริสต์ศาสนวิทยาคือนักบุญจอห์นแห่งดามัสกัส (John of Damascus) ผู้จำพรรษาในบริเวณที่ปกครองโดยมุสลิมและผู้เป็นที่ปรึกษาของกาหลิบแห่งดามัสกัส นักบุญจอห์นแห่งดามัสกัสอยู่ใกลจากไบแซนไทน์พอที่จะพ้นจากการถูกลงโทษของผู้สนับสนุนลัทธิอคติรูปสัญลักษณ์ อีกผู้หนึ่งคือนักบุญทีโอดอร์สตูไดท์ (Theodore the Studite) ผู้เป็นหลวงพ่ออยู่ที่สำนักสงฆ์สตูดิโอสที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล นักบุญจอห์นประกาศว่าท่านไม่ได้บูชารูปสัญลักษณ์แต่บูชาผู้สร้างรูปสัญลักษณ์ ขณะเดียวกันท่านก็กล่าวว่าท่านบูชาสิ่งที่ราวกับได้มาจากอำนาจของเทพ ซึ่งก็รวมถึงหมึกที่พระวรสารใช้เขียนและภาพเขียน ไม้ของกางเขน และพระวรกายและพระโลหิตของพระเยซู

    การตอบโต้ของลัทธิการบูชารูปเคารพต่อลัทธิการทำลายรูปเคารพคือ:

    • การห้ามการสร้างรูปของพระเจ้าในคัมภีร์ไบเบิลหมดอายุเมื่อพระเยซูมาเกิดเพราะพระเยซูเป็นองค์ประกอบที่สองของพระตรีเอกภาพซึ่งเป็นสิ่งที่มองเห็นได้ ฉะนั้นจึงมิได้เป็นการสร้างรูปของพระเจ้าที่ไม่สามารถมองเห็นได้ แต่เป็นการสร้างรูปของพระเจ้าที่ปรากฏเป็นเลือดเนี้อ การมาเกิดของพระเยซูจึงเป็นการใช้เหตุผลสนับสนุนทฤษฏีการสร้างรูปสัญลักษณ์ ซึ่งลัทธิทำลายสัญลักษณ์ก็ใช้เหตุผลเดียวกันนี้ในการไม่ควรสร้างรูปสัญลักษณ์
    • นอกจากนั้นในความคิดเห็นของลัทธิของผู้นิยมรูปสัญลักษณ์ยังกล่าวว่า “รูปต้องห้าม” (idol) เป็นสิ่งที่ไม่มีสาระและความแท้จริง ในขณะที่ “รูปสัญลักษณ์” (icon) เป็นรูปของคนจริง กล่าวง่ายๆ คือ “รูปทางศาสนาที่ไม่ใช่ศาสนาที่เราเชื่อคือ “รูปต้องห้าม” และรูปทางศาสนาที่เราเชื่อคือรูปสัญลักษณ์ที่ใช้ในการบูชา” ซึ่งเทียบได้กับพิธีปฏิบัติในพันธสัญญาเดิมของการเผาเครื่องบูชาแก่พระเจ้าได้เท่านั้นและปฏิบัติไม่ได้แก่พระเจ้านอกศาสนา
    • แม้จะมีข้อเขียนที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการบูชารูปสัญลักษณ์ ผู้ที่สนับสนุนลัทธินิยมรูปสัญลักษณ์กล่าวว่ารูปสัญลักษณ์เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ทางการเล่าต่อที่มิได้บันทึกไว้ในภาษาเขียน
    • ผู้สนับสนุนลัทธินิยมรูปสัญลักษณ์ อ้างปาฏิหาริย์ของ “รูปสัญลักษณ์จากเทพ” (Acheiropoieta) เช่น รูปสัญลักษณ์ของพระแม่มารีที่กล่าวกันว่าวาดโดยตัวนักบุญลูคเอง และปาฏิหาริย์ที่เกิดเพราะรูปเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าการใช้รูปสัญลักษณ์ควรจะเป็นที่ยอมรับ
    • นอกจากนั้นผู้ที่สนับสนุนลัทธินิยมรูปสัญลักษณ์ ยังกล่าวว่าการที่จะตัดสินว่าควรจะบูชารูปสัญลักษณ์หรือไม่นั้นควรจะเป็นการตัดสินอย่างเป็นทางการของสภาศาสนามิใช่เป็นการตัดสินโดยจักรพรรดิหรือนักการเมือง ฉะนั้นประเด็นจึงอยู่ที่ความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการระหว่างสถาบันศาสนาและรัฐด้วย
    • ข้อย่อยอีกข้อของผู้ที่สนับสนุนลัทธินิยมรูปสัญลักษณ์คือเป็นการที่ไร้เหตุผลที่ไม่อนุญาตการบูชารูปสัญลักษณ์ของพระเจ้าแต่อนุญาตการบูชารูปของจักรพรรดิที่เป็นมนุษย์ธรรมดาได้

    [แก้] ลัทธิการห้ามใช้รูปสัญลักษณ์ในศาสนาอิสลาม

    สิ่งสำคัญที่ควรกล่าวเกี่ยวกับประวัติศาสนาอิสลามคือการนำ “รูปต้องห้าม” ออกจากมัสยิดฮะรอมซึ่งเป็นที่ตั้งของกะอฺบะหฺสำหรับผู้นับถือศาสนาอิสลามถือว่าเป็นเหตุการณ์สัญลักษณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของศาสนาอิสลาม

    โดยทั่วไปแล้วในศาสนาอิสลามเลี่ยงการสร้างรูปเหมือนของผู้ที่หรือสิ่งที่มีชีวิตภายในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาเช่นมัสยิด การห้ามการใช้รูปสัญลักษณ์มิได้มาจากคัมภีร์อัลกุรอานโดยตรงแต่มาจากประเพณีหลายประเพณีในประวัติที่เล่าต่อกันมาเกี่ยวกับมุฮัมมัด (Hadith) การห้ามใช้รูปสัญลักษณ์นี้มิได้ห้ามในที่อยู่อาศัยซึ่งจะเห็นได้จากศิลปะการสร้างรูปสัญลักษณ์ทางศิลปะอิสลาม[6]

    นักเขียนทางตะวันตกมักจะกล่าวว่าการห้ามการใช้รูปสัญลักษณ์ในสังคมอิสลามเป็นวัฒนธรรมที่สร้างสมมาจากการทำลายรูปสัญลักษณ์อย่างรุนแรงมาตลอด[7] เช่นการทำลายพระพุทธรูปแห่งบามิยันเมื่อปี พ.ศ. 2544 ซึ่งนักประชาสัมพันธ์ทางตะวันตกสรุปว่าเป็นผลมาจากวัฒนธรรมการต่อต้านการใช้รูปสัญลักษณ์ การสรุปเช่นนั้นเป็นการมองข้ามความอยู่ร่วมกันระหว่างพุทธศาสนิกชนและผู้นับถือศาสนาอิสลามที่มีมาร่วมพันปีก่อนที่จะเกิดการทำลาย[8] และรูปปั้นที่ถูกทำลายก็มีการพยายามทำลายมาก่อนหน้านั้นสองครั้งแล้วแต่ไม่สำเร็จ ตามความเห็นของฟลัด (Flood) เหตุผลในการการทำลายพระพุทธรูปเมื่อปี ค.ศ. 2001 เป็นเหตุผลทางการเมืองมากกว่าจะเป็นเหตุผลทางศาสนา[9]

    การทำลายรูปสัญลักษณ์ครั้งแรกของมุสลิมเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 630 เมื่อมีการทำลายรูปปั้นเทพราว 300 องค์ ของศาสนาดั้งเดิมของชาวเมกกะ ที่ตั้งอยู่ในมัสยิดฮะรอมซึ่งเป็นที่ตั้งของกะอฺบะหฺ แต่กล่าวกันว่ามุฮัมมัดมิได้ทำลายจิตรกรรมฝาผนังของพระแม่มารี การทำลายครั้งนี้เป็นการหยุดยั้งการบูชา “รูปต้องห้าม” ซึ่งตามความเห็นของศาสนาอิสลามถือว่าเป็นการแสดงออกของความไร้การศึกษา

    การทำลายรูปสัญลักษณ์ที่เมกกะมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความเชื่อถือในศาสนาอื่นที่อยู่ภายใต้การปกครองของมุสลิมหลังจากการขยายอำนาจของกาหลิบ คริสต์ศาสนิกชนภายใต้การปกครองของมุสลิมยังคงสร้างรูปสัญลักษณ์และใช้รูปสัญลักษณ์ตกแต่งวัดหรือวิหารอย่างที่เคยเป็นมา ยกเว้นเพียงครั้งเดียวระหว่างการใช้ “กฤษฏีกายาซิด” (Edict of Yazīd) ของกาหลิบยาซิดที่สอง ระหว่างปี ค.ศ. 722 ถึงปี ค.ศ. 723 [10] ซึ่งสั่งให้ทำลายกางเขนและรูปสัญลักษณ์ทางคริสต์ศาสนาภายใต้อาณาจักรที่ขึ้นอยู่กับการปกครองโดยกาหลิบ

    หลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงให้เห็นการทำลายรูปสัญลักษณ์โดยลอกรูปออกจากพื้นโมเสกพบที่ประเทศจอร์แดน แต่การทำลายครั้งนี้ก็มิได้เกิดขึ้นทุกวัด และ “กฤษฏีกายาซิด” ก็มิได้มีการปฏิบัติต่อมาโดยผู้สืบการปกครองต่อจากกาหลิบยาซิดที่สอง ฉะนั้นการสร้างรูปสัญลักษณ์ของบริเวณตะวันออกกลางก็เป็นการหยุดยั้งเพียงชั่วคราวก่อนที่จะทำต่อเนื่องกันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 มาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9[11]

    [แก้] การทำลายรูปเคารพระหว่างการปฏิรูปศาสนาในยุโรป

    ภาพแสดงให้เห็นการทำลายรูปสัญลักษณ์โดยกลุ่มคาลวินเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1566
    รูปภาพจากค.ศ. 1563 ในหนังสือ “หนังสือของผู้พลีชีพของฟ็อกซ์” ที่แสดงให้เห็น “วัดที่ถูกล้าง” “การทำลายรูปสัญลักษณ์” และ “พระโรมันคาทอลิกเก็บของหนี”

    นักปฏิรูปศาสนาโปรเตสแตนต์โดยเฉพาะอันเดรียส คาร์ลชตัท (Andreas Karlstadt), ฮุลดริช ซวิงลี (Huldrych Zwingli) และ จอห์น คาลวิน (John Calvin) สนับสนุนการทำลายรูปสัญลักษณ์ทางศาสนาโดยอ้างว่าบัญญัติ 10 ประการบ่งว่าห้ามการมีรูปสัญลักษณ์และการสร้างรูปพระเจ้า ซึ่งเป็นผลที่ทำให้มีการทำลายรูปสัญลักษณ์ทางศาสนา, การโจมตีผู้นิยมรูปสัญลักษณ์ และการก่อความไม่สงบต่างๆ ทั่วไปในยุโรป แต่การทำลายรูปสัญลักษณ์ทางศาสนาทั่วๆ ไปเป็นไปอย่างไม่มีการก่อความไม่สงบ

    การจลาจลที่เกิดจากการทำลายรูปสัญลักษณ์เกิดขึ้นที่เมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อปี ค.ศ. 1523, ที่เมืองโคเปนเฮเกน เมื่อปี ค.ศ. 1530, เมืองมุนสเตอร์เมื่อปี ค.ศ. 1534, เจนีวา เมื่อปี ค.ศ. 1535, อ็อกสเบิร์ก เมื่อปี ค.ศ. 1537 และ และ สกอตแลนด์ เมื่อปี ค.ศ. 1559 สิบเจ็ดจังหวัดในประเทศเนเธอแลนด์และเบลเยียม และบางส่วนทางตอนเหนือของฝรั่งเศสได้รับความเสียหายอย่างหนักจากการโจมตีของผู้นับถือนิกายโปรเตสแตนต์จากผู้สนับสนุนการทำลายรูปสัญลักษณ์ทางศาสนาเมื่อฤดูร้อนปี ค.ศ. 1566 การโจมตีครั้งนี้เรียกว่า “เบลเดนสตรอม” (Beeldenstorm) ซึ่งทำลายรูปปั้นภายในสำนักสงฆ์เซนต์ลอเร็นซ์ที่สตีนวูรด์ (Steenvoorde) หลังจากการเทศนากลางแปลงโดยเซบาสเตียน แม็ท (Sebastiaan Matte) และการปล้นสำนักสงฆ์เซนต์แอนโทนีหลังจากการเทศนาโดยเจคอป เดอ บุยเซีย (Jacob de Buysere) “Beeldenstorm” เป็นจุดเริ่มต้นของ “สงครามแปดสิบปี” เพื่อต่อต้านกองกำลังสเปนและสถาบันโรมันคาทอลิก

    ระหว่างสงครามกลางเมืองอังกฤษ, บาทหลวงโจเซฟ ฮอลแห่งนอริช (Bishop Joseph Hall of Norwich) บรรยายเหตุการณ์เมื่อ ค.ศ. 1643 เมื่อกองทหารและประชาชนที่ถูกยุยงโดยรัฐสภาให้ต่อต้านความเชื่องมงายและรูปสัญลักษณ์เข้ามาทำลายทุกสิ่งทุกอย่างในวัดไม่ว่าจะเป็นกระจกหน้าต่าง, ผนัง, รูปอนุสรณ์, หรือเก้าอี้สวดมนต์, ทิ้งเหล็กและทองเหลืองออกจากหน้าต่าง, ทำลายรูปปั้น, ออร์แกน, ห้องแต่งตัวของพระ, เลื่อยไม้กางเขนจากธรรมาสน์ เผาหนังสือสวดมนต์ และอื่นๆ การบันทึกการทำลายเช่นนี้ทำให้เราเห็นภาพพจน์ของความรุนแรงและความเสียหายที่เกิดขึ้นในยุคนี้ได้อย่างชัดเจน

    วิลเลียม เดาซิง (William Dowsing) ผู้เป็นนักปฏิรูปศาสนาคนสำคัญถูกจ้างโดยรัฐบาลให้ไปดูงานการทำลายรูปสัญลักษณ์ตามวัดต่างๆ ในหมู่บ้านและเมืองในบริเวณอีสท์อังเกลีย เดาซิงบันทึกการทำลายไว้ที่ยังคงอยู่คือการทำลายในบริเวณซัพฟิคและเคมบริดเชอร์[12]

    ผู้นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ไม่ทุกคนที่เห็นด้วยกับลัทธิการทำลายสัญลักษณ์ทางวัตถุของศาสนาหรือการใช้รูปสัญลักษณ์ในการสักการะบูชา มาร์ติน ลูเทอร์ผู้เป็นผู้นำในการแยกตัวจากนิกายโรมันคาทอลิกเองกล่าวว่าผู้นับถือศาสนาคริสต์ควรจะมีเสรีภาพในการบูชารูปทางศาสนาใดๆ ก็ได้ตราบที่ไม่เป็นการบูชารูปแทนพระเป็นเจ้า แต่ฮุลดริช ซวิงลีผู้พยายามอนุรักษ์คำสอนของพระเจ้าเป็นปฏิปักษ์ต่อรูปสัญลักษณ์ทุกชนิด มาร์ติน ลูเทอร์ผู้ต้องการอนุรักษ์คำสอนเช่นกันเห็นว่างานศิลปะทุกอย่างเป็นงานที่ทำเพื่อพระวรสาร มาร์ติน ลูเทอร์นอกจากจะไม่เห็นด้วยกับการทำลายศิลปะเช่นที่ผู้มีความคิดเห็นรุนแรงต้องการจะทำแล้วยังสนับสนุนการสร้างศิลปะเพื่อศาสนาด้วย โดยเฉพาะดนตรีซึ่งลูเทอร์เห็นว่าเป็นที่สร้างขึ้นเพื่อพระเจ้าและประทานให้โดยพระเจ้า ลูเทอร์ยกตัวอย่างจากภาพของพระเจ้า, เทวดา, มนุษย์, และสัตว์ในคัมภีร์ไบเบิล โดยเฉพาะงานของนักบุญจอห์นอีแวนเจลลิส หรือหนังสือโมเสส และหนังสือโจชัว และยังเสนอให้มีภาพเขียนเหล่านี้บนผนังวัดเช่นเดียวกับคัมภีร์เพื่อเป็นความเพิ่มความเข้าใจในศาสนามากขึ้น

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×