ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความรู้!

    ลำดับตอนที่ #296 : ปราสาทพระวิหาร

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 234
      0
      20 มี.ค. 52

    ปราสาทพระวิหาร (​เขมร: ; ปฺราสาทพฺระวิหาร; ปราสาทเปรี๊ยะวิเฮียร์ - สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์[2]; อังกฤษ: Temple of Preah Vihear[3]) เป็นปราสาทหิน อยู่บริเวณเทือกเขาพนมดงรัก หรือ เทือกเขาพนมดงเร็กในภาษาเขมร (ซึ่งแปลว่า ภูเขาไม้คาน[4]) ที่ตั้งของศาสนสถานแห่งนี้รู้จักกันในนาม พนมพระวิหาร อันหมายถึง บรรพตแห่งศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์[2] ในพื้นที่ทับซ้อนชายแดนไทย-กัมพูชา ระหว่างอำเภอจอมกระสานต์ จังหวัดพระวิหาร ของกัมพูชา และอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ใกล้อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร เมื่อ พ.ศ. 2442 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ได้เสด็จไปยังปราสาทแห่งนี้ และทรงขนานนามว่า "ปราสาทพรหมวิหาร" ซึ่งต่อมาเรียกกันทั่วไปว่า "ปราสาทพระวิหาร"[5] นับเป็นปราสาทขอมที่สำคัญแห่งหนึ่ง ทั้งในแง่ประวัติศาสตร์การก่อสร้างเทวสถานของฮินดู ประวัติศาสตร์การเรียกร้องเขาพระวิหาร และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทั้งของไทยและกัมพูชาด้วย ณ วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 องค์การยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารให้เป็นมรดกโลกของกัมพูชา[6]

    นามของปราสาทพระวิหารตามที่ปรากฏในศิลาจารึกคือ "ศีรศิขเรศวร" แปลว่า ภูเขาแห่งพระอิศวร[7] ซึ่งเกิดจากการสมาสกันของคำว่า "ศิขร" (ภูเขา) และ "อิศวร" (เทพองค์หนึ่งในศาสนาฮินดู)[8]ที่ตั้ง

    ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนผาเป้ยตาดีของเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งเป็นเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ตั้งอยู่ที่ละติจูดที่ 104 องศาตะวันออก 41 ลิปดา อยู่ในเขตหมู่บ้านภูมิซร็อล (แปลว่า บ้านต้นสน) ตำบลบึงมะลู (ปัจจุบันขึ้นกับตำบลเสาธงชัย) อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย ห่างจากจังหวัดศรีสะเกษ 110 กิโลเมตร หลังจากคำพิพากษาของศาลโลกในปี พ.ศ. 2505 แล้ว ปราสาทพระวิหารอยู่ในบ้านสวายจรุม ตำบลก็อนตวต อำเภอจอมกระสานต์ จังหวัดพระวิหาร (ภาษาเขมร: ) ประเทศกัมพูชา ปราสาทตั้งอยู่ห่างจากปราสาทนครวัดในเมืองพระนคร 280 กิโลเมตร และห่างจากกรุงพนมเปญ 296 กิโลมตร[9] แต่อย่างไรก็ตาม ทางการไทยได้สงวนสิทธิที่จะฟ้องปราสาทพระวิหารกลับคืนในอนาคต หากมีหลักฐานยืนยันเพียงพอ

    ปราสาทพระวิหารมีความยาว 800 เมตร ตามแนวเหนือใต้ และส่วนใหญ่เป็นทางเข้ายาว และบันไดสูงถึงยอดเขา จนถึงส่วนปราสาทประธาน ซึ่งอยู่ที่ยอดเขาทางใต้สุดของปราสาท (สูง 120 เมตรจากปลายตอนเหนือสุดของปราสาท, 525 เมตรจากพื้นราบของกัมพูชา และ 657 เมตรจากระดับน้ำทะเล[10]) แต่โครงสร้างปราสาทแห่งนี้ก็ยังแตกต่างอย่างมากจาก สถาปัตยกรรมปราสาทหินของหินโดยทั่วไปที่พบในพระนคร เพื่อจำลองเขาพระสุเมรุ อันเป็นที่ประทับของเทพเจ้า ตามคติความเชื่อของฮินดู

    ทางเข้าสู่ปราสาทประธานนั้น มีโคปุระ (ซุ้มประตู[1]) คั่นอยู่ 5 ชั้น (ปกติจะนับจากชั้นในออกมา ดังนั้นโคปุระชั้นที่ 5 จึงเป็นส่วนที่ผู้เข้าชมจะพบเป็นส่วนแรก) โคปุระแต่ละชั้นก่อนถึงลานด้านหน้า จะผ่านบันไดหลายขั้น โคปุระแต่ละชั้นจึงเปลี่ยนระดับความสูงทีละช่วง นอกจากนี้โคปะรุยังบังมิให้ผู้ชมเห็นส่วนถัดไปของปราสาท จนกว่าจะผ่านทะลุแต่ละช่วงไปแล้ว ทำให้ไม่สามารถแลเห็นโครงสร้างปราสาททั้งหมดจากมุมใดมุมหนึ่งได้เลย

    [แก้] สถาปัตยกรรม

    ทับหลังสลักภาพพระกฤษณะกำลังรบกับอรชุน ที่โคปุระแห่งที่ 3

    ปราสาทพระวิหาร มีลักษณะเป็นแบบศิลปะบันทายศรี ลักษณะบางส่วนคล้ายคลึงกับพระวิหารของปราสาทนครวัด รูปรอยแกะสลักบนปราสาทสันนิษฐานได้ว่าเป็นศาสนสถานของศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย มีพระศิวะหรือพระอิศวรเป็นเทพสูงสุดของศาสนา เชื่อกันว่าสร้างขึ้นเพื่อถวายพระศิวะที่ทรงประทับบนยอดเขาไกรลาส ซึ่งเป็นยอดเขาสูงสุดของเขาพระสุเมรุ ศูนย์กลางจักรวาลปราสาทพระวิหารจึงสร้างบนหน้าผาเป้ยตาดี ทำให้ปราสาทแห่งนี้เปรียบเหมือนการค่อย ๆ ก้าวไปสู่ที่ประทับของพระศิวะ ซึ่งแทนด้วย "ยอดเป้ยตาดี"[8] หากมองจากข้างล่างผาจะเห็นตัวปราสาทเหมือนวิมานสวรรค์ลอยอยู่บนฟากฟ้า[9] โดยมีแผ่นดินเขมรต่ำ (ขแมร์กรอม) ประหนึ่งมหาสมุทรรองรับอยู่เบื้องล่าง[8]

    ปราสาทประกอบด้วยสถาปัตยกรรมต่าง ๆ มากมาย ได้แก่ ปราสาทประธาน ระเบียงคด โคปุระ อาคารรูปกากบาท วิหาร บรรณาลัย และบันไดนาคพร้อมทางเดิน[2]

    ปราสาทพระวิหารมีลักษณะแผนผังที่ใช้แกนเป็นหลัก โดยจัดวางผังหันไปทางทิศเหนือ ซึ่งแตกต่างจากปราสาทอื่น ๆ ซึ่งตามปกติมักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก อันเนื่องจากภูมิศาสตร์เป็นเครื่องกำหนดแล้ว ก็น่าจะเกิดจากปัจจัยอื่นบางประการที่แสดงถึงความสัมพันธ์กับดินแดนเขมรสูงในอดีต ตัวปราสาทประธานเป็นจุดศูนย์กลางล้อมรอบด้วยระเบียงคดทั้งสี่ด้าน ปราศจากบรรณาลัยขนาบเบื้องหน้า การวางผังที่กำหนดตำแหน่งอาคารมีความสมบูรณ์ลงตัวตั้งแต่แรกเริ่มของการก่อสร้าง โดยไม่มีการแก้ไขต่อเติมบริเวณลานชั้นในภายหลัง วัสดุตัวปราสาทสร้างด้วยหินทรายและหินดาน โดยเทคนิคการก่อสร้างทำโดยนำก้อนศิลาทรายซึ่งตัดเป็นแท่งสี่เหลี่ยมขนาดไล่เลี่ยกันวางซ้อนกันขึ้นไปตามรูปผังที่กำหนดไว้ โดยอาศัยน้ำหนักของแท่งศิลาทรายแต่ละก้อนกดทับกันเพียงอย่างเดียว มีส่วนยึดจะใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น[4]

    [แก้] ลักษณะสำคัญของปราสาทพระวิหาร

    [10]

    [แก้] บันไดหน้า

    บันไดหน้า ทางขึ้นปราสาทพระวิหาร มองจากโคปุระชั้นที่ 5

    บันไดด้านหน้าเป็นทางเดินขึ้นลงขนาดใหญ่อยู่ทางทิศเหนือของตัวปราสาททางซึ่งอยู่ทางฝั่งไทย ลาดตามไหล่เขา ช่วงแรกเป็นบันไดหิน กว้าง 8 เมตร ยาว 75.50 เมตร มีจำนวน162 ขั้น บางชั้นสกัดหินลงไปในพื้นหินของภูเขา สองข้างบันไดมีฐานสี่เหลี่ยมตั้งเป็นกระพัก (กระพักแปลว่า ไหล่เขาเป็นชั้นพอพักได้[1]) ขนาดใหญ่เรียงรายขึ้นไป ใช้สำหรับตั้งรูปสิงห์นั่ง ช่วงที่ 2 กว้าง 4 เมตร ยาว 27 เมตร มี 54 ขั้น มีฐานกระพักกว้าง 2.5 เมตร 7 คู่ มีรูปสิงห์นั่งตั้งอยู่

    หลังจากที่ศาลโลกพิพากษาให้ปราสาทพระวิหารตกอยู่ในอธิปไตยของกัมพูชา นักศึกษาไทยได้ประท้วงคำตัดสินของศาลโลกและปิดทางขึ้นปราสาทที่อยู่ในเขตแดนไทย ทำให้ชาวกัมพูชาที่ต้องการขึ้นปราสาท จะต้องขึ้นทางช่องเขาแคบ ๆ สูงชันที่เรียกกันว่า "ช่องบันไดหัก"[9]

    [แก้] ลานนาคราช

    ลานนาคราชหรือสะพานนาค อยู่ทางทิศใต้สุดบันไดหินด้านหน้า ปูด้วยแผ่นหินเรียบ มีขนาดกว้าง 7 เมตร ยาว 31.80 เมตร ขอบลานสร้างเป็นฐานเตี้ย ๆ บนฐานมี นาคราช 7 เศียร จำนวน 2 ตัว แผ่พังพานหันหน้าไปทางทิศเหนือ ลำตัวอยู่บนฐานทั้งสอง ทอดไปทางทิศใต้ ส่วนหางของนาคราชชูขึ้นเล็กน้อย นาคราชทั้งสองตัวมีลักษณะคล้ายงูตามธรรมชาติ เป็นลักษณะของนาคราชในศิลปะขอม แบบปาปวน

    [แก้] โคปุระ ชั้นที่ 5

    ภาพวาดโคปุระที่ 3 โดยปามังติเอร์ นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส

    โคปุระชั้นที่ 5 สร้างเป็นศาลาจตุรมุข รูปทรงกากบาทไม่มีฝาผนังกั้น มีแต่บันไดและซุ้มประตูทั้ง 4 ทิศ สร้างอยู่บนฐานบัวสี่เหลี่ยมย่อมุม ฐานสูง 1.8 เมตร บันไดหน้าประตูซุ้มทั้ง 4 ทิศตั้งรูปสิงห์นั่ง เสาโคปุระสูง 3.5 เมตร เป็นศิลปะแบบเกาะแกร์ ยังมีร่องรอยสีแดงที่เคยประดับตกแต่งตัวปราสาทเอาไว้ แต่ส่วนหลังคากระเบื้องนั้นหายไปหมดแล้ว บันไดทางขึ้นโคปุระ ชั้นที่ 5 อยู่ทางทิศเหนือ เป็นบันไดหินมีลักษณะค่อนข้างชัน ทางทิศตะวันออกของโคปุระชั้นที่ 5 มีเส้นทางขึ้นคล้ายบันไดหน้าแต่ค่อนข้างชัน และชำรุดหลายตอน ยาว 340 เมตรถึงไหล่เขา เป็นเส้นทางขึ้น-ลง ไปสู่ประเทศกัมพูชา เรียกว่าช่องบันไดหัก

    [แก้] สระสรง

    สระสรงอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของทางดำเนินจากโคปุระ ชั้นที่ 5 ไปโคปุระ ชั้นที่ 4 ห่างออกไป 12.40 เมตร จะพบสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดกว้าง 16.80 เมตร ยาว 37.80 เมตร กรุด้วยท่อนหินเป็นชั้น ๆ มีลักษณะเป็นขั้นบันไดปากผายก้นสอบ

    [แก้] โคปุระ ชั้นที่ 4

    ภาพของการกวนเกษียณสมุทร ณ.เขาพระวิหาร

    ทางดำเนินจากโคปุระ ชั้นที่ 5 มาเป็นลานหินกว้างประมาณ 7 เมตร สองข้างจะมีเสานางเรียง ตั้งอยู่ ทั้งสองด้าน แต่ก็มีปรักหักพังไปมาก โคปุระชั้นที่ 4 สร้างเป็นศาลาจตุรมุข มีกำแพงด้านทิศใต้เพียงด้านเดียว ยาว 39 เมตรจากตะวันออกไปตะวันตก กว้าง 29.5 เมตรจากเหนือไปใต้ เป็นศิลปะสมัยหลังโคปุระ ชั้นที่ 5 คือ แคลง/บาปวน มุขหน้าแบ่งเป็น 2 คูหา ริมซุ้มประตูด้านนอกตั้งรูปสิงห์ มุขตะวันออกและตะวันตกแบ่งเป็น 3 คูหาริมซุ้มประตูด้านนอกตั้งรูปสิงห์ ห้องใหญ่แบ่งเป็น 5 คูหา มุขใต้แบ่งเป็น 2 คูหาหน้าบันเป็นภาพของการกวนเกษียณสมุทร ถือเป็น "หนึ่งในผลงานชิ้นเอกอุของปราสาทพระวิหาร"[11] ทับหลังเป็นภาพของพระนารายณ์บรรทมสินธุ์อยู่เหนืออนันตนาคราช

    [แก้] โคปุระ ชั้นที่ 3

    โคปุระชั้นที่ 3 นั้นมีขนาดใหญ่สุด สมบูรณ์ที่สุด และขนาบด้วยห้องสองห้อง ตัวปราสาทประธานนั้นสามารถผ่านเข้าไปทางลานด้านหน้า บันไดกว้าง 3.6 เมตร สูง 6 เมตร สองข้างมีฐานตั้งรูปสิงห์นั่ง 5 กระพัก

    • มนเทียรกลาง มุขเหนือหน้าบันเป็นรูปพระกฤษณะยกภูเขาโควรรธนะ ทับหลังเป็นรูปพระนารายณ์ 4 กรทรงครุฑ มุขตะวันออกและตะวันตกที่ผนังด้านเหนือมีซุ้มประตู 1 ซุ้มหน้าประตูมีรูปสิงห์นั่งตั้งอยู่ ห้องใหญ่มีหน้าต่างซีกเหนือ 6 ช่องซีกใต้ 2 ช่องมุขใต้หน้าบันเป็นรูปพระอิศวรบนหลังโคอุศุภราช
    • ห้องขนาบ ทั้งซ้ายและขวาเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตรงกลางเป็นลานแบ่งเป็น 4 ห้อง ห้องตามขวางด้านหน้ายาว 35.5 เมตร กว้าง 7 เมตรผนังด้านลานมีหน้าต่าง 5 ช่อง ห้องตามยาวซ้ายและขวายาว 15 เมตร กว้าง 6 เมตร ห้องตามขวางด้านหลังยาว 40 เมตร กว้าง 8.5 เมตร ยกฐานสูง 2.4 เมตร ผนังด้านใต้มีหน้าต่าง 5 ช่อง มุขหน้ามีหน้าต่างข้างละ 3 ช่อง เข้าใจว่าบรรณาลัยนี้สร้างเพิ่มเติมภายหลังมนเทียรกลาง ที่ลานหน้าด้านตะวันออกมีปรางค์ศิลา 1 องค์ กว้าง 4 เมตร สูง 6 เมตร

    จากโคปุระชั้นที่ 3 มีบันได 7 ขั้นขึ้นไปสู่ถนนที่ยาว 34 เมตร มีเสานางเรียงปักรายข้างถนน ข้างละ 9 ต้น ถัดจากเสานางเรียงไปเป็นสะพานนาค 7 เศียร

    [แก้] โคปุระ ชั้นที่ 2

    ภาพเขียนแสดงให้เห็นส่วนโคปุระ ชั้นที่ 2 และชั้นที่ 1เมื่อยังสมบูรณ์
    วารสารสยามสมาคม ค.ศ. 1956
    • มนเทียรหน้า เป็นรูปกากบาท กว้าง 23 เมตร ยาว 23 เมตร มีมุขทั้ง 4 ทิศ ที่มุขเหนือและใต้มีช่องหน้าต่างมุขละ 2 ช่อง มุขตะวันออกและตกมีประตูหน้าหลังมุขละ 2 ประตู กับช่องหน้าต่างมุขละ 1 ช่อง ห้องใหญ่มีหน้าต่างที่ผนังด้านเหนือ 6 ช่อง ด้านใต้ 4 ช่อง ซุ้มประตูส่วนมากจะเป็นซากปรักหักพัง กรอบประตูห้องใหญ่มีจารึกอักษรขอมระบุบปีศักราชตกอยู่ในสมัยพระเจ้าสุรยวรมันที่ 1 ด้านหน้ามนเทียรมีบันไดตรงกับประตูซุ้มทั้ง 3 ประตูและมีชานต่อไปยังเฉลียงซ้ายและขวา
    • เฉลียงซ้ายและขวา เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 6 เมตร ยาว 32 เมตร ผนังด้านนอกทึบ ด้านในเปิดมีเสาราย 10 ต้น ที่สนามด้านหน้ามีภาพจำหลักตกหล่นอยู่หลายชิ้น เช่น รูปกษัตริย์กำลังหลั่งน้ำทักษิโณฑกแก่พราหมณ์
    • มนเทียรกลาง เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 9 เมตร ยาว 13 เมตร มีมุขหน้าขนาด 8 x 5 เมตรมีหน้าต่างข้างละช่อง ตัวมนเทียรมีหน้าต่างข้างละ 3 ช่องกลางห้องมีเสาราย 2 แถว ๆ ละ 4 ต้น
    • บรรณาลัย (ห้องสมุด) ซ้ายและขวา อยู่ขนาบ 2 ข้างของมนเทียรกลาง กว้าง 6.5 เมตร ยาว 11 เมตร

    [แก้] โคปุระ ชั้นที่ 1

    • ระเบียงคด ด้านทิศเหนือยาว 22 เมตรกว้าง 5.5 เมตร มีผนังละ 3 ประตูที่ผนังด้านเหนือและใต้ด้านทิศตะวันออกและตก กว้าง 4 เมตร ยาว 52 เมตรผนังด้านนอกทำทึบ ผนังด้านในมีหน้าต่าง ข้างละ 20 ช่อง ด้านทิศใต้ ผนังด้านในมีหน้าต่าง 6 ช่อง ตรงกลางมีประตู
    • ปรางค์ประธาน มีวิหารเชื่อมต่ออยู่ทางทิศเหนือ มีฐานย่อมุม 3 ชั้น ชั้นแรกอยู่เสมอพื้นราบ ชั้นที่ 2 สูง 75 เซนติเมตร ทุกที่ ๆ ตรงกับประตูมีบันได 5 ขั้น กว้าง 70 เซนติเมตร สูง 50 เซนติเมตร ตัวปรางค์ทรุดพังมาครึ่งองค์ เหลือเพียงราว 9 เมตร กว้าง 7 เมตร วิหารที่เชื่อมต่อ ฐานกว้าง 15 เมตร ยาว 17 เมตร สูง 1.5 เมตร มีประตูทั้ง 4 ทิศ บันไดตรงประตูทิศเหนือมี 3 ขั้น กว้าง 70 เซนติเมตร สูง 1.5 เมตร ประตูทิศใต้เชื่อมกับปรางค์ มีหน้าต่างด้านตะวันออกและตก ด้านละ 1 ช่อง กลางวิหารมีแท่งหินรูปสี่เหลี่ยม 1 แท่น
    • มนเทียรตะวันออก กว้าง 16 เมตร ยาว 20.5 เมตรมีมุขด้านเหนือ, ใต้, ตะวันออกแต่ละมุขมีประตู 3 ประตู ภายในแบ่งเป็นห้อง ๆ
    • มนเทียรตะวันตก กว้าง 18.5 เมตร ยาว 20.5 เมตรมีมุขด้านเหนือ, ใต้, ตะวันตกแต่ละมุขมีประตู 3 ประตู

    [แก้] เป้ยตาดี

    เป้ยตาดี มีเนื้อที่กว้าง 44 เมตร ยาว 50 เมตร "เป้ย" เป็นภาษาเขมร ซึ่งแปลว่า ชะง่อนผา หรือโพงผา ตามคำบอกเล่า ว่านานมาแล้วมีพระภิกษุชรารูปหนึ่งชื่อ "ดี" จาริกมาปลูกเพิงพำนักอยู่ที่นี่จนมรณภาพไป ชาวบ้านจึงเรียกลานหินนี้ว่า "เป้ยตาดี" ตรงยอดเป้ยตาดีสูงกว่าระดับน้ำทะเล 657 เมตร ถ้าวัดจากพื้นที่เชิงเขาพื้นราบฝั่งประเทศกัมพูชาสูงประมาณ 447 เมตร ตรงชะง่อนผาเป้ยตาดี จะมีรอยสักฝีพระหัตถ์ของ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ว่า "๑๑๘-สรรพสิทธิ" แต่ก่อนมีธงไตรรงค์ของไทยอยู่ที่ บริเวณผาเป้ยตาดี ในปัจจุบันคงเหลือแต่ฐาน

    [แก้] โบราณสถานและโบราณวัตถุที่สันนิษฐานว่าเกี่ยวเนื่องกับตัวปราสาท

    โบราณสถานและโบราณวัตถุที่สันนิษฐานว่าเกี่ยวเนื่องกับตัวปราสาท ประกอบด้วยดังนี้[8]

    • ภาพสลักบนหน้าผามออีแดง : เป็นภาพสลักนูนต่ำรูปเทพชายและหญิงในท่าเรียงกัน 3 องค์ และยังมีส่วนที่สลักไม่เสร็จ
    • สถูปคู่ : เป็นสถูปคู่ 2 องค์ สร้างด้วยหินทราย เป็นแท่งสี่เหลี่ยม สูง 4.2 เมตร ยอดมน ข้างในมีโพรงบรรจุสิ่งของ
    • สระตราว : สระน้ำขนาดใหญ่ คาดว่ามีสถานะเทียบเท่าบาราย(แหล่งเก็บน้ำในอารยธรรมขอม มักสร้างใกล้ปราสาทหิน) บริเวณใกล้เคียงพบร่องรอยการตัดหินเพื่อนำไปสร้างปราสาท

    [แก้] ประวัติการก่อสร้าง

    ปราสาทพระวิหาร หรือปราสาทพระวิหาร ประกอบด้วยหมู่เทวาลัยและปราสาทหินจำนวนมาก เทวาลัยหรือปราสาทหินแห่งแรกสร้างขึ้นเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 ซากปรักหักพังของเทวาลัยที่เหลืออยู่ มีอายุตั้งแต่สมัยเกาะแกร์ ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 10 ครั้นเมื่อนครหลวงของอาณาจักรขอมกัมพูชาอยู่ใกล้ เมื่ออยู่ที่นครวัด นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบบางประการในรูปแบบศิลปะของปราสาทบันทายศรี ตามหลักจารึกที่ค้บพบ 3 หลักคือ จารึกศิวะศักติ จารึกหมายเลข K380 และ K381 เชื่อว่าเริ่มก่อสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1432-1443) ในฐานะ "ภวาลัย" ที่ทรงมอบแก่เจ้าเมืองที่ครองพื้นที่ในแถบนั้น ซึ่งอยู่ในตระกูล"พระนางกัมพูชาลักษมี"พระมเหสีของพระองค์ และเป็นรูปร่างเมื่อในสมัยพระเจ้ายโศวรมัน ซึ่งสถาปนาศรีศิขเรศวร ในปี พ.ศ. 1436[8] แต่โครงสร้างส่วนใหญ่ของปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 (มีพระนามจารึกที่กรอบประตูโคปุระชั้นที่ 2 ว่า "สูรยวรรมเทวะ" และปีที่สร้างแล้วเสร็จในสมัยของพระองค์ตามจารึกคือ พ.ศ. 1581[10] ) และ สุริยวรมันที่ 2 ในครึ่งแรกของศตวรรษที่ 11 และศตวรรษที่ 12 ตามลำดับ ตามจารึกกล่าวไว้ว่าพระองค์ส่ง "ทิวากรบัณฑิต" มาบวงสรวงพระศิวะทุกปี นอกจากนี้ยังมีชุมชนโดยรอบที่กษัตย์อุทิศไว้ให้รับใช้เทวสถาน ชุมชนที่มีชื่อในจารึกอย่างเช่น กุรุเกษตร, พะนุรทะนง เป็นต้น[8] ในปัจจุบันนี้ปราสาทหลงเหลือแต่เพียงซากปรักหักพัง แต่ทว่ายังมีอาคารปราสาทเหลืออยู่อีกหลายแห่ง[9]

    [แก้] กรณีพิพาทปราสาทพระวิหาร

    ดูบทความหลักที่ คดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505
    แผนที่ฝรั่งเศสที่ศาลโลกกรุงเฮกใช้อ้างอิงในการตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา แต่เป็นแผนที่ที่กำหนดเส้นพรมแดนโดยไม่ได้ยึดแนวสันปันน้ำ อันขัดต่อหลักสากลและไทยได้โต้แย้งเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2505 ประเทศไทยได้ยอมรับว่า "ปราสาทพระวิหาร" เป็นของกัมพูชา แต่ไม่เคยยอมรับอาณาบริเวณบนยอดผาและรอบ ๆ ว่าเป็นของประเทศนั้น ไทยได้ทำบันทึกยื่นต่อศาลระหว่างเทศยืนยันที่จะยึดแนวสันเขตแดนตามหลักสากลโดยใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่ง

    ผู้ค้นพบปราสาทพระวิหารในสมัยปัจจุบันคือ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ พระราชโอรสองค์ที่ 11 ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงพบเมื่อปี พ.ศ. 2442 ขณะทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็น ข้าหลวงต่างพระองค์ เสด็จไปรับราชการที่มณฑลลาวกาว (อิสาน) ในสมัยรัชกาลที่ 5 และได้ทรงจารึกปี ร.ศ. ที่พบเป็นเลขไทย ตามด้วยพระนามไว้ที่บริเวณชะง่อนผาเป้ยตาดี เป็นข้อความว่า "๑๑๘ สรรพสิทธิ"[12] ต่อมาเมื่อประเทศฝรั่งเศสเข้าครอบครองอินโดจีนได้ทำสนธิสัญญา พ.ศ. 2447 ในการปักปันเขตแดนกับราชอาณาจักรสยาม โดยมีความตามมาตรา 1 ของสนธิสัญญา ระบุให้ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ซึ่งมีผลให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนไทย ต่อมาใน พ.ศ. 2451 ฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่ฝ่ายเดียว ส่งมอบให้สยาม 50 ชุด แต่ละชุดมี 11 แผ่นและมีแผ่นหนึ่งคือ "แผ่นดงรัก" ที่ครอบคลุมพื้นที่ปราสาทพระวิหาร และไม่ได้ใช้แนวสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ทำให้ปราสาทพระวิหารในแผนที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชา โดยที่รัฐบาลสยามในขณะนั้นไม่ได้รับรองหรือทักท้วงความถูกต้องของแผนที่ดังกล่าว[13]

    ต่อมาในปี พ.ศ. 2483 ประเทศฝรั่งเศสแพ้สงครามต่อประเทศเยอรมนี ทำให้แสนยานุภาพทางทหารลดลง จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ยื่นข้อเสนอเรียกร้องดินแดนที่เสียไปในสมัยรัชกาลที่ 5 คืนจากฝรั่งเศส ซึ่งฝรั่งเศสปฏิเสธและมีการเคลื่อนไหวทางทหาร ที่ทำให้เกิดสงครามพิพาทอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสขึ้นในปี พ.ศ. 2484 ประเทศไทยได้รับชัยชนะในการรบตลอด 22 วัน กระทั่งประเทศญี่ปุ่นที่เป็นมหาอำนาจในขณะนั้นเสนอตัวเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ย และฝรั่งเศสได้ตกลงคืนจังหวัดไชยบุรี จำปาศักดิ์ เสียมราฐ และพระตะบองให้กับไทย ตาม อนุสัญญาโตเกียว[14] ทำให้ปราสาทพระวิหารกลับมาอยู่ในดินแดนไทยอย่างสมบูรณ์ ต่อมาเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลไทยประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร และต่อมาญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ประเทศไทยต้องรักษาสถานะตัวเองไม่ให้เป็นฝ่ายแพ้สงครามตามญี่ปุ่น และต้องการเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ จึงตกลงคืนดินแดน 4 จังหวัดให้ฝรั่งเศส ทำให้ปราสาทพระวิหารกลับไปอยู่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 ฝรั่งเศสแพ้สงครามต่อเวียดนามที่เดียนเบียนฟู ต้องถอนทหารออกจากอินโดจีน ประเทศกัมพูชาได้รับเอกราชตามสนธิสัญญาเจนีวา และไทยได้ส่งทหารเข้าไปรักษาการบริเวณปราสาทพระวิหารอีกครั้ง

    ภายหลังกัมพูชาได้รับเอกราช เจ้านโรดมสีหนุ กษัตริย์กัมพูชาสละราชสมบัติเข้าสู่การเมือง ได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี และประกาศเรียกร้องให้ไทยคืนปราสาทพระวิหาร และไทยไม่ยอมรับ เจ้านโรดมประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501[10] และในปีต่อมา เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2502 เจ้านโรดมสีหนุได้ฟ้องร้องต่อ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) หรือศาลโลก ให้ไทยคืนปราสาทพระวิหาร ฝ่ายไทยต่อสู้คดีโดยมี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช กับคณะรวม 13 คน เป็นทนายฝ่ายไทย และฝ่ายกัมพูชามีนายดีน แอจิสัน เนติบัณฑิตแห่งศาลสูงสุด อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เป็นหัวหน้าคณะ กับพวกอีกรวม 9 คน[10]

    กระทั่งวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา ด้วยเสียง 9 ต่อ 3[15] และในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 หลังจากศาลโลกตัดสินแล้ว 20 วัน รัฐบาลไทยโดย ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือไปยัง นายอูถั่น เลขาธิการสหประชาชาติ เพื่อประท้วงคำพิพากษาของศาลโลก และสงวนสิทธิที่ประเทศไทยจะเรียกร้องปราสาทพระวิหารกลับคืนในอนาคต ทั้งนี้คำตัดสินของศาลโลกนั้นเป็นที่สิ้นสุด ไม่มีการอุทธรณ์ การจะนำคดีกลับขึ้นมาพิจารณาใหม่นั้นสามารถทำได้ถ้ามีหลักฐานใหม่และต้องทำภายในสิบปี

    หลังจากนั้นไม่นาน กัมพูชาเกิดสงครามกลางเมืองขึ้นภายในประเทศ ปราสาทหินแห่งนี้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมเพียงช่วงสั้น ๆ ในปี พ.ศ. 2535 แต่ปีต่อมาก็ถูกเขมรแดงเข้าครอบครอง จากนั้นก็เปิดอีกครั้งจากฝั่งประเทศไทย เมื่อปลายปี พ.ศ. 2541

    [แก้] การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

    เมื่อ 8 มีนาคม พ.ศ. 2548 กัมพูชาได้เสนอต่อองค์การยูเนสโกให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกอย่างเป็นทางการ ปี พ.ศ. 2549 วันที่ 30 มกราคม ศูนย์มรดกโลกของยูเนสโกที่ปารีสขอให้กัมพูชายื่นเอกสารใหม่เกี่ยวกับเขตกันชนของปราสาท และมีคำแนะนำให้ร่วมมือกับฝ่ายไทย[8] พ.ศ. 2550 กัมพูชายื่นเอกสารขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารอีกครั้ง ขณะที่ไทยยื่นบันทึกช่วยจำต่อเอกอัครราชทูตกัมพูชาและเสนอขึ้นทะเบียนร่วม(Transboundary property) แต่คณะกรรมการมรดกโลกสากลมีมติเลื่อนการขึ้นทะเบียนออกไป โดยให้ไทย-กัมพูชาร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด และในวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 องค์การยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนตามคำขอของกัมพูชาให้ตัวปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เฉพาะเพียงตัวปราสาทเท่านั้น โดยผ่านเกณฑ์การพิจารณาข้อ (i) เพียงข้อเดียว[16]

    ในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้นำประเด็นนี้มาโจมตีเพื่อขับไล่นายนพดล ปัทมะ ให้ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[17][18][19] เหตุการณ์นี้พัฒนาไปสู่ความขัดแย้งระหว่างไทยและกัมพูชาในที่สุด

    [แก้] การเยี่ยมชม

    ทุกวันนี้เขาพระวิหารเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดศรีสะเกษ แม้ศาลโลกจะพิพากษาให้ปราสาทตกเป็นของกัมพูชาก็ตาม แต่การขึ้นเขาพระวิหารจากทางกัมพูชายังทำได้ยาก ซึ่งตรงกันข้ามกับทางฝั่งไทย ดังนั้นกัมพูชายังต้องพึ่งไทยเกี่ยวกับการท่องเที่ยวปราสาทพระวิหาร หากไม่มีการก่อสร้างทางเพิ่มเติม และไทยกับกัมพูชาได้ประสานงานเปิดจุดผ่อนปรนในพื้นที่ปราสาทพระวิหารเป็นแหล่งท่องเที่ยว ในภาวะปกติ ภายใต้การดูแลของทหารทั้งสองประเทศเพื่อประโยชน์จากการท่องเที่ยว การเดินทางไปเยี่ยมชมปราสาทพระวิหารจึงไม่มีปัญหาอันใดหากอยู่ในสถานการณ์ปกติ[9]

    การเข้าชมเปิดให้ตั้งแต่เวลา 08.00 - 16.30 น. ค่าเข้าชมต้องเสียค่าธรรมเนียมสองด่าน ได้แก่ ค่าผ่านด่านเขาพระวิหาร ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างประเทศ 200 บาท และค่าเข้าชมเขาพระวิหารที่เป็นการเก็บของด่านกัมพูชา ชาวไทยผู้ใหญ่ 50 บาท ชาวต่างประเทศผู้ใหญ่ 200 บาท[4]

    [แก้] การเดินทาง

    • จากจังหวัดศรีสะเกษไปทางอำเภอกันทรลักษณ์ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 221 ผ่านบ้านภูมิซร๊อล มาจนถึงเขตอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ก็จะมีด่านตรวจ เมื่อผ่านด่านแล้วขึ้นไปตามทางขึ้นเขา มีรถโดยสารจากอำเภอเมืองศรีสะเกษไปยังอำเภอกันทรลักษณ์ ออกทุกชั่วโมงแล้วเหมารถต่อไปยังตัวปราสาท หรือเหมารถรับจ้างจากอำเภอเมืองปราสาทไป ราคาประมาณ 1,000 บาท
    • จากจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 ที่ไปเดชอุดม มาจนถึงทางแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2085 ไปอำเภอกันทรลักษณ์ แล้วตรงไปตามทางดังกล่าว[2]

    [แก้] ลำดับเหตุการณ์

    • พ.ศ. 2442 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ค้นพบปราสาทพระวิหาร
    • พ.ศ. 2447 ประเทศฝรั่งเศสเข้าครอบครองอินโดจีน ได้ทำสนธิสัญญาปักปันเขตแดน ระบุให้ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ซึ่งมีผลให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนไทย
    • พ.ศ. 2451 ฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่ฝ่ายเดียว ส่งมอบให้ไทย มีแผ่นหนึ่งคือ "แผ่นดงรัก" ที่ครอบคลุมพื้นที่ปราสาทพระวิหาร และไม่ได้ใช้แนวสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ทำให้ปราสาทพระวิหารในแผนที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชา โดยที่รัฐบาลไทยในขณะนั้นไม่ได้รับรองหรือทักท้วงความถูกต้อง
    • พ.ศ. 2472 สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จเยือนปราสาทพระวิหาร
    • พ.ศ. 2479 ไทยขอปรับปรุงเขตแดน แต่ฝรั่งเศสผัดผ่อน
    • พ.ศ. 2482 ไทยขอปรับปรุงเขตแดนกับฝรั่งเศสอีกครั้ง แต่ตกลงกันไม่ได้
    • พ.ศ. 2484 อนุสัญญาโตเกียว ทำให้ดินแดนที่เสียไปเมื่อ ร.ศ. 123 และ ร.ศ. 126 บางส่วน รวมถึงปราสาทพระวิหารกลับมาอยู่ในดินแดนไทย
    • พ.ศ. 2489 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการยกเลิกอนุสัญญาโตเกียวโดยสนธิสัญญาประนีประนอม โดยมีอเมริกา, อังกฤษ และเปรูเข้ามาไกล่เกลี่ย
    • พ.ศ. 2492 ประเทศไทยเข้าครอบครองปราสาทพระวิหาร โดยใช้หลักสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ระหว่างนี้มีการประท้วงจากฝรั่งเศส 3 ครั้ง
    • พ.ศ. 2493 กัมพูชาเป็นเอกราชจากฝรั่งเศส
    • พ.ศ. 2501 กัมพูชาเรียกร้องให้ไทยคืนปราสาทพระวิหาร
    • พ.ศ. 2502 กัมพูชาฟ้องร้องต่อศาลโลก
    • พ.ศ. 2505 ศาลโลกตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา ด้วยเสียง 9 ต่อ 3
    • พ.ศ. 2509 ไทย-กัมพูชาสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอีกครั้ง หลังหยุดชะงักไป 3 ปี[8]
    • พ.ศ. 2513 กัมพูชาเปิดเขาพระวิหารให้นักท่องเที่ยวขึ้นชมจากฝรั่งไทย[8]
    • พ.ศ. 2518 ปิดเขาพระวิหาร เนื่องจากเขมรแดงยึดอำนาจ และเกิดสงครามกลางเมือง[8]
    • พ.ศ. 2535 เปิดเขาพระวิหารให้ขึ้นชมอีกครั้ง เมื่อพรรคประชาชนกัมพูชาของฮุนเซนชนะการเลือกตั้ง[8]
    • พ.ศ. 2536 ปิดเขาพระวิหาร เนื่องจากกำลังเขมรแดงยึดครองพื้นที่เขาพระวิหาร[8]
    • พ.ศ. 2546 กัมพูชาก็ได้ตัดถนนเข้าไปจนสำเร็จสมบูรณ์หลังจากรอคอยเป็นเวลาช้านาน แต่ก็มีการห้ามเข้าอยู่เป็นระยะโดยมิได้กำหนดล่วงหน้า
    • พ.ศ. 2550 กัมพูชาเสนอองค์การยูเนสโก ให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่ยังไม่มีข้อสรุป
    • พ.ศ. 2551
      • 18 มิถุนายน นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศ ได้ลงนามยินยอมให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่ฝ่ายเดียว ร่วมกับ นายอึง เซียน เอกอัครราชทูตกัมพูชา และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
      • 24 มิถุนายน ทางการกัมพูชาปิดปราสาทพระวิหารชั่วคราว หวั่นผู้ไม่ประสงค์ดีเข้าไปทำร้ายชาวกัมพูชาในบริเวณใกล้เคียง
      • 28 มิถุนายน ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้กระทรวงการต่างประเทศและคณะรัฐมนตรียุติการดำเนินการตามมติ ครม.ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาสนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ไปจนกว่าคดีจะเป็นที่สิ้นสุด หรือ ศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
      • 8 กรกฎาคม องค์การยูเนสโก ประกาศรับปราสาทพระวิหารขึ้นเป็นมรดกโลกเฉพาะแต่เพียงตัวปราสาท
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×