ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดนตรีประเภทต่างๆ

    ลำดับตอนที่ #10 : (พ/สากล)เรื่องไวโอลีน ให้คุณ ::[J]a::(^ ^)::[J]a:: นะคะ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 181
      0
      1 ส.ค. 50

    ไวโอลีน คือ เครื่องดนตรีที่กำเนิดเสียงในระดับเสียงสูง เป็นเครื่องดนตรีในตระกูล

    ไวโอลีน (Violin Family) มีทั้งหมด 4 ชนิด คือ ไวโอลิน วิโอลา เซลโล และดับเบิลเบส เครื่องดนตรีในตระกูลไวโอลินคือเครื่องดนตรีหลักที่ใช้ในวงค์ออร์เคสตร้า ปกติเล่นโดยใช้คันชักสีที่สายให้สั่นสะท้าน คันชักของไวโอลินจะทำด้วยหางม้าและบางครั้งก็จะใช้นิ้วดีดที่สาย เพื่อให้เกิดเสียงตามต้องการ

    การดูแลรักษาไวโอลิน การเตรียมการเพื่อดูแลรักษาไวโอลินในขั้นต้นจะทำให้เครื่องดนตรีอยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุดสำหรับการเล่น และช่วยยืดอายุการเสื่อมสภาพของไวโอลิน การดูแลรักษาอย่างถูกวิธีด้วยความเข้าใจสภาวะที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเครื่องดนตรีตัวโปรดของคุณ หมั่นตรวจสภาพของมันอย่างสม่ำเสมอควบคู่ไปกับการตรวจเช็คเป็นครั้งคราวโดยช่างซ่อมไวโอลินมืออาชีพ รายละเอียดข้างล่างเป็นข้อปฏิบัติและการดูแลรักษาไวโอลินที่ถูกวิธี พร้อมกเคล็ดลับในการหลีกเลี่ยงความเสียหายและอุบัติเหตุที่คาดไม่ถึงซึ่งอาจเกิดขึ้นได้

    ไม้กับความชื้น (Wood and water) ไม้ไม่สามารถรักษาสภาพของตัวเองได้ดีนักเมื่อถูกความชื้น แม้ว่าไม้จะคงรูปได้ดีขึ้นหลังจากที่ผ่านกระบวนการอบเป็นอย่างดีก็ตาม แต่ไม้ยังคงพองหรือบวมเมื่อถูกความชื้น และหดตัวเมื่ออากาศแห้ง ไม้ที่ใช้ทำชิ้นส่วนบางอย่างของไวโอลินจะคงรูปดีกว่าไม้ที่ใช้ทำเครื่องดนตรีอื่นๆ นอกจากนั้น ไม้ทุกชนิดจะหดตัวในแนวขวางของลายไม้มากกว่าการหดตัวตามยาว ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจเลยว่า โครงสร้างที่ซับซ้อนของเครื่องดนตรีอย่างไวโอลินจะเกิดการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของความชื้นในอากาศได้ค่อนข้างมาก เช่น เมื่อไม้แผ่นหน้าเกิดอากาการบวมมักจะนูนขึ้นด้านบน แต่การขยายตัวออกด้านข้างจะถูกจำกัดไว้ด้วยแผ่นไม้ด้านข้าง (Rib ) ทำให้เกิดผลกระทบแบบทวีคูณนั่นคือทำซาวด์โพสท์สั้นเกินไปและทำให้ความสูงของหย่องเพิ่มขึ้น ในช่วงเดือนที่มีความชื้นสูงๆ ไม้แผ่นหน้ามักจะเกิดการขยายตัวมากกว่าอาการคอไวโอลินตก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้สายไวโอลินเหนือฟิงเกอร์บอร์ดลอยสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงของความชื้นในอากาศอาจเป็นสาเหตุให้การเล่นเเละการตอบสนองของเสียงเกิดการแกว่งตัว และอาจทำให้เกิดปัญหาที่หนักกว่านั้นคือ ไม้เกิดการปริแตกเมื่อสูญเสียความชื้นอย่างรวดเร็วกว่าที่มันดูดซึมเอาไว้ได้ ดังนั้นจึงควรเอาใจใส่เรื่องความชื้นเป็นพิเศษเมื่ออยู่ในสภาพอากาศที่แห้งๆ ควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ๆ ความชื้นมีการเปลี่ยนแปลงกระทันหัน ส่วนในที่ๆ อากาศมีการเปลี่ยนแปลงสูงมากๆ ขอแนะนำให้ ’ปรับ’ ปรับแต่งไวโอลินเสียใหม่ควบคู่ไปกับการใช้เครื่องดูดความชื้น หรือติดเครื่องควบคุมความชื้นขนาดเล็กในกล่องไวโอลิน

    การบิดตัวของไม้ (Distortion) ธรรมชาติของไม้มีความยืดหยุ่นในตัวเอง มันจะค่อยๆ เปลี่ยนรูปร่างไปตามแรงที่มากระทำ ช่างทำไวโอลินอาศัยข้อดีอันนี้ในการขึ้นรูปแผ่นไม้ด้านข้าง (Rib) การดัดด้ามคันชัก หรือค่อยๆ ดัดไม้แผ่นหลังที่ผิดรูปให้คืนรูปเดิม แต่หย่องที่งอ ไม้แผ่นหลังที่ยุบ และคอไวโอลินที่ตก เป็นผลมาจากแรงกดอย่างต่อเนื่องที่ไม้ต้องรับแรงกดอันนั้น แรงกระทำเหล่านี้ต้องควบคุมให้สมดุลด้วยการออกแบบที่ดีและการดูเเลรักษาในระยะยาว เมื่อไม้เริ่มเกิดการบิดตัว มันจะสูญเสียความเเข็งแรงจากรูปทรงเดิมอย่างรวดเร็ว และอาจทำให้เกิดความเสียหายหนักตามมา ดังนั้นต้องรีบหาสาเหตุของปัญหาให้ได้โดยเร็วที่สุด ซาวด์โพสท์ที่ยาวจนเกินไปจะดันให้ไม้แผ่นหน้าฝั่งช่องเสียงทางด้านสาย E และ A พอนานๆ เข้าไม้จะคงตัวในสภาพนี้ และถ้ายังใช้ซาวด์โพสท์ที่ยาวอยู่จะทำให้ไม้แผ่นหน้าเกิดการบิดตัวมากขึ้นเรื่อยๆ และสาเหตุอันนี้เองทำให้ช่องเสียงทางด้านขวาของเครื่องดนตรีเก่าๆ หลายๆ ตัวค่อยๆ เผยอออกจนเสียรูป ไม้แผ่นหลังก็เป็นจุดที่เกิดการผิดรูปเนื่องมาจากแรงกดของซาวด์โพสท์ด้วยเช่นกัน ถ้าเบสบาร์อ่อนเกินไป หรือความโค้งของไม้แผ่นหน้าแบนจนเกินไป ไม้แผ่นหน้ามักจะจมลงทางฝั่งเบสบาร์พร้อมๆ การบิดตัวของช่องเสียง และอาจทำให้ไม้แผ่นหน้าเกิดการบิดตัวและผิดรูปอย่างรุนแรง แผ่นไม้ด้านข้าง (Rib) บริเวณด้านซ้ายล่างก็อาจเกิดการบิดตัวได้เช่นกัน เนื่องจากแรงบีบของขาโลหะยึดที่รองคางซึ่งมักจะทำปฏิกริยากับความชื้นจากเหงื่อ เราสามารถหลีกเลี่ยงอาการบิดตัวของไม้ได้โดยการใช้ที่รองคางแบบวางคร่อมหางปลา (Over-the-tailpiece model) การบิดตัวแบบนี้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยระยะเวลาที่ยาวนานพอสมควร เราสามารถที่จะลดความเสียหายดังกล่าวได้โดยการปรับแต่งที่ถูกต้อง เพราะการซ่อมเเซมนั้นต้องอาศัยเวลาที่ยาวนานและขั้นตอนการซ่อมที่เสียค่าใช้จ่ายสูง

    อุณหภูมิ (Temperature) การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเป็นสาเหตุที่ทำให้ไม้เกิดการขยายตัวและหดตัวเช่นเดียวกับวัตถุอื่นๆ ซึ่งเกิดจากปฏิกริยาของอุณหภูมิและ ความชื้นในไม้ ควรจะใช้กล่องไวโอลินแบบสูญญากาศอย่างดี และอย่าวางไว้ไกล้รังสีความร้อนหรือวางถูกแสงเเดดโดยตรง กล่องไวโอลินเกือบทุกชนิดที่บุด้วยวัสดุผิวด้านสีเข้มจะมีผลต่อการดูดซับเเสงให้เเปรเปลี่ยนเป็นความร้อนได้มากกว่า

    การเดินทาง (Travel) ถ้าเดินทางโดยรถยนต์ อย่าวางเครื่องดนตรีไว้ในกระโปรงท้ายรถ เพราะเครื่องดนตรีจะได้รับความร้อนมากที่สุดและเป็นจุดที่จะได้รับความเสียหายมากที่สุดในกรณีถูกชนท้าย อย่าเก็บเครื่องดนตรีไว้ในรถที่จอดลับหูลับตาคนหรือไม่มีใครคอยเฝ้า เพราะล่อตาล่อใจขโมยได้มากที่สุด ถ้านำเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายไม่ว่าชนิดใดก็ตามขึ้นเครื่องบิน ควรจะถือติดมือขึ้นเครื่องไปด้วยตนเองทุกครั้ง อย่านำเครื่องดนตรีส่งไปพร้อมกับกระเป๋าเดินทางหรือสัมภาระอื่นๆ ใต้ห้องเก็บของบนเครื่องบินเป็นอันขาด

    การขนส่งเครื่องดนตรี (Shipping) เมื่อต้องส่งเครื่องดนตรีไปทางพัสดุภัณฑ์ ให้คลายสายออกเล็กน้อยและใช้วัสดุนุ่มๆ บุที่หย่องทั้ง 2 ด้านเสียก่อน ควรเก็บเครื่องดนตรีไว้ในกล่องของมันเองเพื่อความปลอดภัย หลังจากนั้นให้ห่อในกล่องสำหรับส่งของ บุรอบๆ กล่องด้วยวัสดุสำหรับห่อกล่อง เช่น แผ่นโฟมหรือห่อพลาสติกเเบบมีเม็ดอากาศ ควรจะทำความเข้าใจถึงข้อจำกัดและเงื่อนไขการประกันภัยของแต่ละบริษัทให้ดีเสียก่อน บริษัทที่ให้การดูเเลเอาใจใส่สินค้าประเภทเครื่องดนตรีและน่าเชื่อถือได้มากกว่าบริษัทรับส่งของเจ้าอื่นๆ คือ Federal Express

    การถือเครื่องดนตรี (Carrying an instrument) ถ้าหกล้มในขณะถือเครื่องดนตรี โดยสัญชาติญาณของคนส่วนใหญ่จะกอดกล่องไวโอลินไว้ระหว่างลำตัวกับพื้นเพราะคิดว่าจะช่วยป้องกันไม่ให้เครื่องดนตรีแตกหักหรือเสียหายได้ เเต่น่าเสียดายว่าสัญชาติญาณอันนี้ทำให้เครื่องดนตรีพังมาเยอะเเล้ว ควรใช้กล่องที่เเข็งแรงซึ่งจะยึดไวโอลินให้ลอยอยู่ในกล่องเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการล้มคว่ำคมำหงาย และพยายามหัดถือกล่องด้วยมือที่ไม่ถนัดให้เคยชิน เช่น ถือด้วยมือซ้ายถ้าคุณเป็นคนถนัดขวา ซึ่งจะทำให้เหลือมือข้างที่ถนัดไว้ป้องกันตนเองได้

    การทำความสะอาด (Cleaning) การเช็ดทำความสะอาดเครื่องดนตรีและคันชักด้วยผ้านุ่มๆ สะอาดๆ หลังการเล่นทุกครั้งเป็นสิ่งที่ควรทำให้เป็นกิจวัตร ใช้เศษผ้าชุบเเอลกอฮอล์เพื่อขจัดการเกาะตัวของยางสนบนฟิงเกอร์บอร์ดและสาย สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษคือระวังไม่ให้แอลกอฮอล์สัมผัสกับผิวของวานิช และควรจะให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจเช็คสภาพไวโอลินของคุณเป็นประจำทุกๆ ปีจะดีกว่า เพื่อใช้น้ำยาชนิดพิเศษทำความสะอาดและเคลือบผิว ช่างอาจจะปล่อยรอยคราบบางอย่างเอาไว้ และใช้น้ำยาเคลือบผิวทับลงไปบนคราบสกปรกโดยไม่จำเป็นต้องเอาออกก็ได้ กรดจากผิวหนังของคุณสามารถทำลายผิวของวานิชได้อย่างช้าๆ ดังนั้นพยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสผิวของวานิช French Polishing เทคนิคนี้จะทำให้ผิววานิชนุ่นมนวลขึ้นและมีชั้นเคลือบแชลแลคใสบางๆ เคลือบบนไวโอลินอีกชั้นหนึ่ง แม้ว่าหลายๆ คนจะนิยมผิววานิชที่เคลือบเป็นมันเงา แต่วิธีการนี้มักจะไม่ค่อยเข้ากับวานิชของเดิมนัก โดยเฉพาะในกรณีของเครื่องดนตรีเก่าๆ เมื่อวานิชเเห้งจะเกิดการหดตัวเล็กน้อย ซึ่งมักจะมองเห็นพื้นผิวของลายไม้บางส่วนที่อยู่ข้างใต้วานิช แต่ถ้าลงผิวเคลือบมากเกินไปจะทำลายไม้หายไปทันที รวมถึงความแวววาวที่นุ่มนวลและความสดใสสวยงามของวานิชชั้นเยี่ยม

    คันชัก (Bow) ควรจะจับคันชักบริเวณ Frog ในขณะขึ้นหางม้าให้ตึง เพราะจะช่วยลดแรงกดที่เกลียวสกรูทองเหลือง (Screw) ที่อยู่ข้างในโคนด้ามคันชัก และช่วยป้องกันไม่ให้เกลียวหวานได้ ในขณะที่คุณเล่นไวโอลินนั้น หางม้าที่อยู่ด้านข้างคันชักที่คุณลากลงมักจะขาดก่อนเพื่อน ทำให้ความสมดุลย์ของแรงดึงบนคันชักเสียไปจนอาจทำให้คันชักบิดงอได้ ดังนั้นพยายามเปลี่ยนหางม้าบ่อยๆ และพยายามรักษาหนังหุ้มด้ามคันชัก (Grip) ให้อยู่ในสภาพดี ถ้านิ้วโป้งของคุณไปเสียดสีกับด้ามคันชักบ่อยๆ จะทำให้คันชักได้รับความเสียหายเช่นกัน พยายามตัดเล็บนิ้วโป้งของมือขวาให้สั้นอยู่เสมอซึ่งจะช่วยลดปัญหานี้ได้ ควรให้ความเอาใจใส่ปลายคันชัก (Tip) เป็นพิเศษ ถ้าคุณชอบใช้ด้ามคันชักเล่นฟันดาบกับเพื่อนๆ หรือใช้ด้ามคันชักเคาะเเสตนด์ตั้งโน้ตแล้วละก็ คุณอาจจะต้องจ่ายค่าบทเรียนในราคาที่แพงทีเดียว

    แม่แบบไวโอลินฝีมือช่างชาวอิตาเลี่ยนในศตวรรษที่ 17 เชื่อกันว่าปม่แบบไวโอลินชิ้นนี้มาจากเวิร์คช้อปของช่างทำไวโอลินเครโมนาในศตวรรษที่ 17 เคยเป็นสมบัติสะสมของ เคานท์ Cozio di Salabue, ช่างทำไวโอลิน Giovanni Battista Guadagnini, ตระกูล Antoniazzi, Bisiach ช่างทำไวโอลินแห่งมิลาน และชุดสมบัติสะสมของนาย Laurence Witten

    ชื่อของ Antonio Stradivari และปี 1737 ถูกเขียนอยู่บนแม่แบบ เชื่อกันว่าเป็นลายมือของเคานท์ Ignazio Alessandro Cozio di Salabue (1744-1840) นักสะสมชาวอิตาเลียน ซึ่งได้แม่แบบชุดนี้มาจาก Paolo บุตรชายของ Stradivari พร้อมกับแม่แบบ แบบร่าง เครื่องมือ และเอกสารต่างๆ ของ Antonio Stradivari ตามประวัติของแม่แบบไวโอลินชุดนี้ซึ่งรวบรวมโดย Leandro Bisiach Jr. (1904-1982) กล่าวไว้ว่าเคานท์ Salabue ได้ให้ช่างทำไวโอลินที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นคือ Giovanni Battista Guadagnini (ราวๆ ปี 1711-1786) เป็นผู้ยืมแม่แบบชุดนี้ไป ซึ่งน่าจะเป็นช่วงหลังปี 1775 เนื่องจากท่านเคานท์ Salabue ได้ว่าจ้างให้เขาทำไวโอลินเลียนแบบงานของ Stradivari แต่ Guadagnini ไม่มีโอกาสได้คืนแม่แบบให้กับท่านเคานท์เลย และในที่สุดแม่แบบชุดนี้ได้ตกไปอยู่ในมือของตระกูลช่างทำไวโอลิน Antoniazzi ซึ่งต่อมาได้ขายให้กับตระกูล Bisiach แห่งมิลานในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และในที่สุดนาย Laurence Witten ได้แม่แบบมาจากตระกูล Bisiach อีกทีในปี 1965 สกุลช่างทำไวโอลิน 6 สำนัก เครื่องดนตรีที่มีน้ำเสียงที่บางเบาและปราศจากพลังเสียงอย่างซอวิโอล (Viol) ค่อยๆ ถูกแทนที่ด้วยการมาถึงของของไวโอลินซึ่งมีคุณภาพเสียงที่สดใสกว่า ศิลปะการทำไวโอลินได้พัฒนาจนถึงขีดสูงสุดในอิตาลี และแพร่หลายไปตามเมืองต่างๆ ทั่วอิตาลี คล้ายๆ กับต้นไม้ที่แผ่กิ่งก้านสาขาไปทุกทิศทาง ศิลปะการทำไวโอลินได้ก้าวข้ามเขตแดนไปยังประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส หรือแม้แต่ประเทศอังกฤษ อาจจะกล่าวได้ว่าความต้องการไวโอลินได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากที่ไวโอลินได้ถูกสร้างขึ้นมาไม่นานนัก

    การทำไวโอลินได้กลายเป็นธุรกิจที่ทำเงิน ทำให้ช่างทำไวโอลินหลายคนได้ผันตัวเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรม ซึ่งกิจการทำไวโอลินมักจะถ่ายทอดกิจการให้กับคนในครอบครัว และอาจสืบเนื่องยาวนานถึง 4 รุ่นเลยทีเดียว

    สกุลช่างทำไวโอลินได้ถือกำเนิดขึ้น เทคนิคและวิธีการที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละสำนักได้ถูกถ่ายทอดให้กับลูกศิษย์และผู้ที่ใกล้ชิด แต่สิ่งที่มักจะตามมาก็คืออุปสรรคในการสร้างผลงานให้ดีเยี่ยมอย่างที่เคยเป็น แต่เอกลักษณ์ของแต่ละสกุลช่างเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น ซึ่งอาจแบ่งสกุลช่างทำไวโอลินได้ดังนี้

    1. สกุลช่างเบรสเชีย (Brescian School: 1520 - 1620) สร้างสรรค์งานตามแนวทางของ Gaspard Duiffopruggar ที่ได้วางรากฐานไว้ สืบทอดผ่านทางช่างทำไวโอลินที่มีชื่อเสียงคือ Gasparo da Salo ซึ่งลูกศิษย์สายตรงของเขาคือ Paolo Maggini และยังมีอิทธิพลให้กับช่างหลายๆ คน เช่น Mariani, Venturino, Budiani, Matteo Bente, Peregrino Zanetto ฯลฯ

                                                                                                                                                             จาก วิกิพีเดีย - สารานุกรมเสรี

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×