คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : (ส31101) วิธีอ่านภาษาบาลี
1.พยัญชนะใดที่เขียนโดดๆ โดยไม่มีสระให้อ่านออกเสียงสระ อะ พยัญชนะที่มีสระอื่น กำกับก็ออกเสียงตามนั้น เช่น ปาป อ่านว่า ปาปะ
2.การสะกดแบบบาลีมีการใช้ "พินทุ"(.) โดยเขียนเป็นจุดใต้พยัญชนะ มีหลักการดังนี้
2.1เมื่อใช้พินทุจุดใต้ตัวพยัญชนะตัวใด พยัญชนะตัวนั้นเป็นตัวสะกด เช่น อตฺตาหิ อ่านว่า อัต-ตา-หิ,รุกฺขะ อ่านว่า รุก-ขะ
2.2บางครั้งบางครั้งใช้จุดใต้พยัญชนะ เพื่อให้ตัวควบกล้ำ ในกรณีที่อ่านออกเสียงกึ่งมาตรา เช่น กตฺว่า อ่านว่า กัต-ตวา
3.ในการสะกดแบบบาลี มีการใช้ "นิคหิต" ( ํ) เป็นพยัญชนะ ออกเสียงแม่กง ใช้ (ง) เป็นตัวสะกด เช่น มยํ อ่านว่า มะยัง
พุทธศาสนสุภาษิต คำแปล อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนํ คนขยัน ย่อมหาทรัพย์ได้ พาโล อปริณายโก คนโง่ คนพาล ไม่ควรเป็นผู้นำ อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตน ปญฺญาว ธเนน เสยฺโย ปัญญาย่อมประเสริฐกว่าทรัพย์ อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย ชนะตนนั่นแหละประเสริฐกว่า ยถาวาที ตถาการี พูดอย่างไร ทำได้อย่างนั้น สจฺจํ เว อมตา วาจา คำจริงเป็นสิ่งไม่ตาย อิณาทานํ ทุกขํ โลเก การกู้หนี้ เป็นทุกข์ในโลก อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา บัญฑิตย่อมฝึกตน ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
ความคิดเห็น