ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สรุปย่อวิชาต่างๆ

    ลำดับตอนที่ #17 : สังคม-ประเภทและความหมายของภูมิปัญญาไทย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.37K
      2
      15 ก.พ. 56

    ความหมาย

    ภูมิปัญญาไทย ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Wisdom หมายถึง ความรู้ความสามารถ วิธีการผลงานที่คนไทยได้ค้นคว้า รวบรวม และจัดเป็นความรู้ถ่ายทอด ปรับปรุง จากคนรุ่นหนึ่งมาสู่คนอีกรุ่นหนึ่งจนเกิดผลิตผลที่ดีงดงาม มีคุณค่า มีประโยชน์สามารถนำมาแก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตได้  ซึ่งแต่ละหมู่บ้านแต่ละชุมชนไทยล้วนมีการทำมาหากินที่สอดคล้องกับภูมิประเทศ มีผู้นำที่มีความรู้ มีฝีมือทางช่าง สามารถคิดประดิษฐ์ ตัดสินใจแก้ปัญหาของชาวบ้านได้ ผู้นำเหล่านี้ เรียกว่า ปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้ทรงภูมิปัญญาไทย

    ลักษณะภูมิปัญญาไทย

    1. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเป็นทั้งความรู้ ทักษะ ความเชื่อ และพฤติกรรม
    2. ภูมิปัญญาไทยแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ
    3. ภูมิปัญญาไทยเป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิตของคน
    4. ภูมิปัญญาไทยเป็นเรื่องของการแก้ปัญหา การจัดการ การปรับตัว และการเรียนรู้ เพื่อความอยู่รอดของบุคคลชุมชน และสังคม
    5. ภูมิปัญญาไทยเป็นพื้นฐานสำคัญในการมองชีวิต เป็นพื้นฐานความรู้ในเรื่องต่างๆ
    6. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเฉพาะ หรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง
    7. ภูมิปัญญาไทยมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อการปรับสมดุลในพัฒนาการทางสังคม

    ลักษณะความสัมพันธ์ของภูมิปัญญาไทย

    ความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกันระหว่างคนกับโลก สิ่งแวดล้อม สัตว์ พืช และธรรมชาติ

    ความสัมพันธ์ของคนกับคนอื่นๆ ที่อยู่ร่วมกันในสังคม หรือในชุมชน

    ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์สิ่งเหนือธรรมชาติ ตลอดทั้งสิ่งที่ไม่สามารถสัมผัสได้

    ประเภทของภูมิปัญญาไทย

    กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้แบ่งประเภทของภูมิปัญญาไทยไว้

    ดังนี้

    1. ภูมิปัญญาด้านคติธรรม ความคิด ความเชื่อ หลักการ

    2. ภูมิปัญญาด้านศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี

    3. ภูมิปัญญาด้านการประกอบอาชีพในท้องถิ่น

    4. ภูมิปัญญาด้านแนวความคิด หลักปฏิบัติ และเทคโนโลยีสมัยใหม่

    แบ่งเป็น 10 สาขา

    1.  สาขาเกษตรกรรม

    2.  สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม (ด้านการผลิตและการบริโภค)

    3.  สาขาการแพทย์แผนไทย

    4.  สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติละสิ่งแวดล้อม

    ประเภทและความหมายของภูมิปัญญาไทย

    ม.4/7 เลขที่ 10/18/20

    5.  สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน

    6.  สาขาสวัสดิการ

    7.  สาขาศิลปกรรม

    8.  สาขาการจัดการ

    9.  สาขาภาษาและวรรณกรรม

    10. สาขาศาสนาและประเพณี

    ระดับของภูมิปัญญาไทย

    จำแนกออกเป็น 2 ระดับ คือ

    ภูมิปัญญาชาติ เป็นภูมิปัญญาไทยที่ได้รับการยอมรับทั่วทุกภูมิภาค เป็นองค์ความรู้ที่เกิดประโยชน์ต่อคนไทยทุกภาคในประเทศ บางที่เรียกว่า  ภูมิปัญญาไทย

    ภูมิปัญญาท้องถิ่น(ภูมิปัญญาชาวบ้าน) เป็นภูมิปัญญาที่เกิดจากประสบการณ์หรือการเรียนรู้ด้วยตนอง หรือได้รับถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ และมีลักษณะเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น

    ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาค

    ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมภาคเหนือ

    ภูมิปัญญาล้านนา ภูมิปัญญาชาวล้านนานั้นมีให้เห็นทั้งในลักษณะของสิ่งที่เป็นรูปธรรม และภูมิปัญญาที่อยู่ในลักษณะขอขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งแฝงไปด้วยความคิด กลวิธีอันแยบยล ลึกซึ้ง ชาญฉลาด ทั้งในการอบรมสั่งสอนผู้คนและการจัดการวิถีของชุมชน

    ภูมิปัญญาที่แสดงออกผ่านประเพณีที่สำคัญ

    1.ภูมิปัญญาและประเพณีเกี่ยวกับวิถีชีวิต ได้แก่ ประเพณีการเกิด การตาย การแต่งงาน การขึ้นบ้านใหม่ สืบชะตา การบวช เป็นต้น

    2.ภูมิปัญญาและประเพณีเกี่ยวกับการทำมาหากิน เช่น การเอามือเอาแรง ประเพณีการแรกนาขวัญ สู่ขวัญข้าว - ขวัญควาย ทำนาทำสวนการทำเมืองตีฝ่าย (ขุดลอกลำเมืองซ่อมแซมฝาย) การเลี้ยงผีขุนน้ำเป็นต้น

    3.ภูมิปัญญาและประเพณีเกี่ยวกับศาสนา เช่น ประเพณีปอยน้อย(บรรพชา) ปอยเป็กข์ (อุปสมบท) ปอยหลวง (ทำบุญฉลองเสนาสนะ)ขึ้นพระธาตุหรือไหว้พระธาตุ(สรงน้ำพระธาตุ) ทานสลากภัตต์ ตั้งธัมม์หลวง (การฟังเทศน์มหาชาติ) เข้าพรรษา ออกพรรษา ทอดกฐินทอดผ้าป่า เป็นต้น

    4.ภูมิปัญญาและประเพณีตามเทศกาล เช่น ประเพณีปีใหม่เมือง (สงกรานต์)ประเพณีเดือนยี่เป็ง(วันเพ็ญเดือน 12 ) ประเพณีถวายธรรมเดือน 12 เป็นต้น

    5.ภูมิปัญญาและประเพณีเกี่ยวกับครอบครัวบ้านเมือง เช่น ประเพณีเลี้ยงผีป่าย่า ประเพณีฟ้อนผีมด-ผีเม็ง ประเพณีสืบชะตาบ้านชะตาเมือง ประเพณีอินทขีล (บูชาเสาหลักเมือง) ประเพณีแปลงบ้านหรือไหว้ผีเสื้อบ้าน (ไหว้ผีหมู่บ้าน) เป็นต้น

    ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอีสานที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ฮีตสิบสอง มาจากคำว่า ฮีต หมายถึง จารีต ที่หมายถึงธรรม จารีตประเพณี หรือความประพฤติที่ดี และ สิบสอง มาจากคำว่า สิบสองเดือน ส่วนคำว่าสิบสี่ นั้นหมายถึง ข้อวัตรหรือข้อปฏิบัติ 14 ประการที่จะต้องปฏิบัติคู่กับฮีตสิบสอง ซึ่งที่ประชาชนทุกระดับนับตั้งแต่พระมหากษัตริย์ ข้าราชการ ผู้มีหน้าที่ปกครองบ้านเมือง และคนธรรมดาสามัญพึงปฏิบัติได้ 14 ข้อ โดยฮีตสิบสองคลองสิบสี่นั้นส่วนใหญ่จะยึดตามข้อปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักสำคัญ

    ฮีต(จารีต)แต่ละเดือนมีจารีตประเพณี 12 อย่างของชาวอีสาน

    เดือนอ้ายหรือเดือน 1 - บุญเข้ากรรม

    เดือนยี่หรือเดือน 2 - บุญคูณลาน

    เดือนสาม - บุญข้าวจี่

    เดือนสี่ - บุญพระเวส

    เดือนห้า - บุญสงกรานต์

    เดือนหก - บุญบั้งไฟ

    เดือนเจ็ด - บุญซำฮะ

    เดือนแปด - บุญเข้าพรรษา

    เดือนเก้า - บุญข้าวประดับดิน

    เดือนสิบ - บุญข้างสาก

    เดือนสิบเอ็ด - บุญออกพรรษา

    เดือนสิบสอง – บุญกฐิน

    ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมภาคกลาง

    เอกวิทย์ ณ กลาง ได้แบ่งปัญญาภาคกลางไว้ 4 ภาคดังนี้

    1. ภูมิปัญญาในการดำรงชีพตามสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสังคมวัฒนธรรม ได้แก่ ภูมิปัญญาในวัฒนธรรมข้าว เช่น การสู่ขวัญข้าว ภูมิปัญญาในการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนและชุมชน เช่นการสร้างบ้านทรงไทย ภูมิปัญญาในการปรับตัวและหลอมรวมร่วมกันระหว่างคนหลายชาติพันธุ์ เช่น งานวันไหล เป็นต้น

    2. ภูมิปัญญาในการโต้ตอบและการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลง เช่น การนับถือพระพุทธศาสนาควบคู่กันไปกับการนับถือผีตามความเชื่อดั้งเดิม เป็นต้น

    3. ภูมิปัญญาในด้านการประดิษฐ์และหัตถศิลป์ เช่น การประดิษฐ์จากส่วนต่าง ๆ ของต้นกล้วยด้วยเฉพาะใบตอง การประดิษฐ์เครื่องจับสัตว์ การใช้ของพื้นบ้านเพื่อการทำมาหากิน และเครื่องมือการทำการเกษตร เป็นต้น

    4. ภูมิปัญญาในการปรับตัว แสวงหาทางเลือกและผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม เช่น ภูมิปัญญากระบวนการเรียนรู้และการปรับตัวของชุมชนในการทำนา ภูมิปัญญาการละเล่นพื้นบ้านแบบลำตัด เป็นต้น

    5. ภูมิปัญญาภาคกลางสามารถแสดงออกมาในลักษณะของประเพณีที่สำคัญ ได้แก่ ประเพณีสู่ขวัญข้าว ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง ประเพณีตักบาตรดอกไม้ ประเพณีวิ่งควาย ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีบุญกลางบ้าน ประเพณีวันไหล และประเพณีกวนข้าวทิพย์

    6.ส่วนภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับการละเล่นก็มีมากมาย เช่น การแสดงโขน ลำตัด มอญซ่อนผ้า งูกินหาง การแข่งว่าวปักเป้าและจุฬา เป็นต้น ซึ่งภูมิปัญญาดังกล่าวแสดงให้เห็นความสามารถในการปรับตัวและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้คนในท้องถิ่น

    ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมภาคใต้

    ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมใต้นั้นจะมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะเนื่องจากภาคใต้มีประชาชนที่นับถือศาสนาต่างกัน ได้แก่ระพุทธศาสนาและศาสนาอิสลาม โดยผู้ที่นับถือศาสนาจะมีภูมิปัญญาแลวัฒนธรรมเป็นของตนเอง ในขณะที่กลุ่มผู้นับถือพระพุทธศาสนาก็จะมีวัฒนธรรมประเพณีคล้ายกับภาคอื่น ๆ ของไทย ซึ่งเอกวิทย์ ณ ถลาง ได้กล่าวถึงลักษณะที่สำคัญของภูมิปัญญาและวัฒนธรรมภาคใต้ไว้ ดังนี้

    1. ภูมิปัญญาในการดำรงชีพตามสภาพแวดล้อมธรรมชาติ เช่น ภูมิปัญญาการขุดตระพังและบ่อน้ำ
    การปลูกตนไม้ในบริเวณบ้าน การปลุกสร้างบ้านเรือนและสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ตามสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ คติความเชื่อและความรู้ในการครองชีพในชีวิตประจำวัน เป็นต้น

    2. ภูมิปัญญาในการจัดเครือข่ายระบบความสัมพันธ์และการพึ่งพา เช่น ธรรมเนียมเป็นกลอกัน วันนัด วันว่าง กินงาน เป็นต้น

    3. สถาบัน สามารถดำเนินการให้เป็นแหล่งรวมศิลปวัฒนธรรมและศูนย์เรียนรู้ด้านภูมิปัญญาและวัฒนธรรมให้กับคนในท้องถิ่นและประเทศชาติ รวมทั้งเป็นต้นแบบของการส่งเสริมวัฒนธรรมและภูมิปัญญา

    4. สถาบันเศรษฐกิจ สามารถพัฒนากระบวนทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรมให้กลายเป็นสินค้าและบริการที่เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ เช่น การพัฒนาตำรายาสมุนไพร บริการนวดแผนไทย และการทำสปาแบบไทย เป็นต้น

    5. สถาบันการเมืองการปกครอง สามารถดำเนินการส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานภาครัฐ ดำเนินการส่งเสริม รักษาปกป้องภูมิปัญญาและวัฒนธรรมให้คงอยู่ รวมทั้งเป็นกลไกการดำเนินการกิจกรรมด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาเพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

    6.สถาบันนันทนาการ วัฒนธรรมและการกีฬา สามารถพัฒนาความรู้ด้านภูมิปัญญาและวัฒนธรรมให้กลายเป็นสินค้าและบริการด้านนันทนาการได้ รวมทั้งสามารถดำเนินการเพื่อนำภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสู่สากลได้

    7. สถาบันสื่อมวลชน สามารถดำเนินการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์กิจกรรมด้านภูมิปัญญาและวัฒนธรรมให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เกดความเสมอภาคภูมิใจในภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของชนชาติ

    คุณค่าของภูมิปัญญาไทย

    1.ทำให้คนในชาติเกิดความรักและความภาคภูมิใจ ที่จะร่วมแรงร่วมใจสืบสานต่อไปในอนาคต เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุสถาปัตยกรรม ประเพณีไทย การมีน้ำใจ ศักยภาพในการประสานผลประโยชน์ เป็นต้น ภูมิปัญญาไทยจึงมีคุณค่าและความสำคัญดังนี้

    2.ช่วยสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่น

    การส่งเสริมภูมิปัญญาไทย

    ๑. ประเทศยกย่อง "ครูภูมิปัญญาไทย"

    ๒. จัดให้มีศูนย์ภูมิปัญญาไทย
    ๓. จัดตั้งสภาภูมิปัญญาไทย

    ๔. จัดตั้งกองทุนส่งเสริมภูมิปัญญาไทย
    ๕. การคุ้มครองลิขสิทธิ์ภูมิปัญญาไทย

    ๖. ตั้งสถาบันแห่งชาติว่าด้วยภูมิปัญญาและการศึกษาไทย
    ๗. การประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ทรงภูมิปัญญาไทยทั้งในระดับชาติและระดับโลกระดับชาติ

    การอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย

    1. การค้นคว้าวิจัย ควรศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาของไทยในด้านต่างๆ ของท้องถิ่น จังหวัด ภูมิภาค และประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิปัญญาที่เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น มุ่งศึกษาให้รู้ความเป็นมาในอดีต และสภาพการณ์ในปัจจุบัน

    2. การอนุรักษ์ ปลุกจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมตามประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ สนับสนุนให้มีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นหรือพิพิธภัณฑ์ชุมชนขึ้น เพื่อแสดงสภาพชีวิตและความเป็นมาของชุมชน

    3. การฟื้นฟู โดยการเลือกสรรภูมิปัญญาที่กำลังสูญหาย หรือที่สูญหายไปแล้วมาทำให้มีคุณค่าและมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในท้อง ถิ่น โดยเฉพาะพื้นฐานทางจริยธรรม คุณธรรม และค่านิยม

    4. การพัฒนา ควรริเริ่มสร้างสรรค์และปรับปรุงภูมิปัญญาให้เหมาะสมกับยุคสมัย โดยใช้ภูมิปัญญาเป็นพื้นฐานในการรวมกลุ่มการพัฒนาอาชีพ ควรนำความรู้ด้าน วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาช่วยเพื่อต่อยอดใช้ในการผลิต การตลาด และการบริหาร ตลอดจนการป้องกันและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

    5. การถ่ายทอด นำภูมิปัญญาที่ผ่านมาเลือกสรรกลั่นกรองด้วยเหตุและผลอย่างรอบคอบและ รอบด้าน แล้วไปถ่ายทอดให้คนในสังคมได้รับรู้ เกิดความเข้าใจ ตระหนักในคุณค่า คุณประโยชน์และปฎิบัติได้อย่างเหมาะสม โดยผ่านสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆ 

    6. ส่งเสริมกิจกรรม โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการสืบสานและพัฒนาภูมิปัญญาของ ชุมชนต่างๆ เพื่อจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง

    7. การเผยแพร่แลกเปลี่ยน ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาและ วัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง

    8. การเสริมสร้างปราชญ์ท้องถิ่น ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของผู้ดำเนินงานให้มีโอกาสแสดงศักยภาพอย่างเต็มที่

    ปัญหาของภูมิปัญญา

    (1) สูญหายและถูกทำลาย หลายอย่างสูญหายไปเพราะภัยสงครามและความขัดแย้งทางการเมือง ทำให้ภูมิปัญญาไทยถูกทำลาย ฉะนั้นภูมิปัญญาไทยจึงเหลือตกทอดเพียง ภูมิปัญญาการใช้ชีวิตประจำวันของชาวบ้านที่นำเอาประสบการณ์มาใช้ในการตอบสนอง ต่อความจำเป็นในชีวิต

    (2) ขาดเทคนิคพัฒนาการ การสั่งสมและถ่ายทอด ภูมิปัญญาไทยมีจุดอ่อนที่สำคัญคือ การขาดเทคนิคการทำงานและการถ่ายทอดอย่างเป็นระบบ ทำให้ภูมิปัญญาหลายอย่างตายไปกับครู

    (3) นิสัยการเลียนแบบ นิสัยคนไทยชอบซื้อหรือเลียนแบบต่างชาติ วิชาการหลายอย่าง จึงไม่ค่อยพัฒนา

    (4) การครอบงำทางภูมิปัญญาจากต่างชาติ ในอดีต 100 ปี ที่ผ่านมาไทยต้องเผชิญกับศัตรูชาติตะวันตก ที่มาทางเรือพร้อมอาวุธที่มีประสิทธิภาพมากไทยจึงตระหนักว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดั้งเดิมของเรานั้นไม่ทันกับความก้าวหน้าของโลกภายนอก แทนที่จะเร่งพัฒนาภูมิปัญญาของเราเอง เรากลับตัดสินใจใช้วิธีการและทรัพยากรของชาติแลกซื้อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างชาติ ในที่สุดไทยกลายเป็นลูกค้าถาวร เพราะขาดการพัฒนาภูมิปัญญาของตนเองอย่างเป็นระบบ  

    แนวทางการพัฒนาภูมิปัญญา

    (1) พัฒนาภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ชาวชนบทคิดค้นขึ้นมาเองให้ดียิ่งขึ้น โดยประยุกต์ภูมิปัญญาต่างชาติอย่างระมัดระวัง

    (2) ถ่ายทอดภูมิปัญญาต่างชาติผ่านองค์กรระหว่างประเทศ รัฐบาล ด้วยความระมัดระวังโดยการศึกษาค้นคว้าข้อดีข้อเสียของภูมิปัญญานั้นอย่างละเอียดก่อนนำมาประยุกต์ใช้

    (3) ตั้งองค์กรดูแล พัฒนา จัดระบบรักษาภูมิปัญญาไทยมิให้ถูกลอกเลียนแบบ จดสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์
    (4) ส่งเสริมคนไทยในการคิดค้นพัฒนาภูมิปัญญาไทยอย่างจริงจัง
    (5) สร้างค่านิยมให้คนไทยเห็นคุณค่า หวงแหน รักษาภูมิปัญญาไทย 

    ตัวอย่างของภูมิปัญญานานาชาติ

    เช่น การสร้างบ้านตึกแบบทรงยุโรปซึ่งเป็นลักษณะบ้านค่อนข้างทึบเพราะมีอากาศหนาวเย็น กาสร้างเก๋งจีนการแต่งกายใส่สูทแบบยุโรป  การนำรถยนต์มาใช้เพื่อความสะดวกตลอดจนเทคโนโลยีระบบสารสนเทศต่างๆ จนถึงคอมพิวเตอร์ซึ่งแสดงถึงภูมิปัญญาที่ล้ำเลิศของมนุษย์

    วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของนานาชาติที่เผยแพร่ไปทั่วโลกมักจะเกี่ยวข้องกับวิทยาการที่นำสมัยในเรื่องการแพทย์ การคิดค้นเรื่องยา วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี การประดิษฐ์สิ่งอำนวยความสะดวก สถาปัตยกรรม การออกแบบ การนันทนาการและบันเทิง การสื่อสารและคมนาคม เป็นต้น

    วัฒนธรรมและภูมิปัญญาอันเกิดจากการคิดค้นของนานาชาติและมนุษยชาติยังคงมีต่อไปอย่างต่อเนื่องตราบเท่าที่มนุษย์ยังเป็นผู้ใฝ่เรียนใฝ่รู้และช่างคิดค้นแสวงหาสิ่งที่มาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์อย่างไม่มีวันจบสิ้น 

     

    แนวทางการผสานภูมิปัญญาไทยและสากลในการอยู่ร่วมกันในสังคมโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมีระบบการสื่อสารที่ฉับไวการรับและปรับตัวให้เหมาะสมเป็นเรื่องสำคัญที่จะละเลยไม่ได้  สังคมไทยได้รับอิทธิพลกระแสของสังคมโลกเช่นเดียวกับสังคมอื่นๆ  ดังนั้นการปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพสังคมเดิมจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่สำคัญควรมีการไตร่ตรองอย่างรอบคอบและไม่ละทิ้งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีคุณค่า  เพราะภูมิปัญญานานาชาติจะเกี่ยวกับ เรื่องของวัตถุและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่มีความทันสมัย  แต่ภูมิปัญญาไทยเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิถีชีวิตที่เหมาะสมและดีงามของคนในสังคม

    การพิจารณาภูมิปัญญาสากล

    มีแนวทางดังนี้

    1.  มีการพิจารณาความแตกต่างด้านวัฒนธรรมและประเพณีในแต่ละประเทศ  ถ้ามีดินแดนอยู่ใกล้กันหรือภูมิภาคเดียวกันก็จะมีวัฒนธรรมแตกต่างกันไม่มากนัก  การเลือกจึงต้องไม่ให้เกิดความขัดแย้งเกิดขึ้นได้
    2.  ควรพิจารณาด้านเศรษฐกิจ
      ถ้าสามารถนำสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาผลิตใช้เองได้จะทำให้ได้สิ่งของที่มีราคาถูก  เป็นการช่วยชาติในการประหยัด  เพราะถ้ามาจากต่างประเทศอาจมีราคาแพงมากเกินไป

    3.  ควรพิจารณาด้านมลพิษ ถ้าสิ่งที่รับมานั้นไม่ใช่ของท้องถิ่น เมื่อใช้แล้วอาจไม่เหมาะสมกับสภาพสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นก็อาจก่อให้เกิดมลพิษได้ การพิจารณาผลกระทบอย่างดีจึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำอย่างยิ่งการป้องกันปัญหาจึงดีกว่าการแก้ไข การคุ้มครองภูมิปัญญาดนตรี

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×