ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สรุปย่อวิชาต่างๆ

    ลำดับตอนที่ #12 : ทรัพยากรน้ำ

    • อัปเดตล่าสุด 15 ก.พ. 56


     ทรัพยากรน้ำ

    โลกของเราประกอบขึ้นด้วยพื้นดินและพื้นน้ำ โดยส่วนที่เป็นผืนน้ำนั้น มีอยู่ประมาณ 3 ส่วน (75%) และเป็นพื้นดิน 1 ส่วน (25%) น้ำมีความสำคัญอย่างยิ่งกับชีวิตของพืชและสัตว์บนโลกรวมทั้งมนุษย์เราด้วย

    น้ำเป็นทรัพยากรที่สามารถเกิดหมุนเวียนได้เรื่อย ๆ ไม่มีวันหมดสิ้น เมื่อแสงแดดส่องมาบนพื้นโลก น้ำจากทะเลและมหาสมุทรก็จะระเหยเป็นไอน้ำลอยขึ้นสู่เบื้องบนเนื่องจากไอน้ำมีความเบากว่าอากาศ เมื่อไอน้ำลอยสู่เบื้องบนแล้ว จะได้รับความเย็นและกลั่นตัวกลายเป็นละอองน้ำเล็ก ๆ ลอยจับตัวกันเป็นกลุ่มเฆม เมื่อจับตัวกันมากขึ้นและกระทบความเย็นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำตกลงสู่พื้นโลก น้ำบนพื้นโลกจะระเหยกลายเป็นไอน้ำอีกเมื่อได้รับความร้อนจากดวงทิตย์ ไอน้ำจะรวมตัวกันเป็นเมฆและกลั่นตัวเป็นหยดน้ำกระบวนการเช่นนี้ เกิดขึ้นเป็นวัฏจักรหมุนเวียนต่อเนื่องกันตลอดเวลา เรียกว่า วัฏจักรน้ำทำให้มีน้ำเกิดขึ้นบนผิวโลกอยู่สม่ำเสมอ

     

     ประโยชน์ของน้ำ

    น้ำเป็นแหล่งกำเนิดชีวิตของสัตว์และพืชคนเรามีชีวิตอยู่โดยขาดน้ำได้ไม่เกิน 3 วัน และน้ำยังมีความจำเป็นทั้งในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศ ประโยชน์ของน้ำ ได้แก่

    น้ำเป็นสิ่งจำเป็นที่เราใช้สำหรับการดื่มกิน การประกอบอาหาร ชำระร่างกาย ฯลฯ

    น้ำมีความจำเป็นสำหรับการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ แหล่งน้ำเป็นที่อยู่อาศัยของปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ ซึ่งคนเราใช้เป็นอาหาร

    ในการอุตสาหกรรม ต้องใช้น้ำในขบวนการผลิตใช้ล้างของเสียใช้หล่อเครื่องจักรและระบายความร้อน ฯลฯ

    การทำนาเกลือโดยการระเหยน้ำเค็มจากทะเล

    น้ำเป็นแหล่งพลังงาน พลังงานจากน้ำใช้ทำระหัด ทำเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าได้

      แม่น้ำ ลำคลอง ทะเล มหาสมุทร เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งที่สำคัญ

    ทัศนียภาพของริมฝั่งทะเลและน้ำที่ใสสะอาดเป็นแหล่งท่องเที่ยวของมนุษย์

    ปัญหาของทรัพยากรน้ำ

    ปัญหาสำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้น คือ

    1. ปัญหาการมีน้ำน้อยเกินไป เกิดการขาดแคลนอันเป็นผลเนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ปริมาณน้ำฝนน้อยลง เกิดความแห้งแล้งเสียหายต่อพืชเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์

    2. ปัญหาการมีน้ำมากเกินไป เป็นผลมาจากการตัดไม้มากเกินไป ทำให้เกิดน้ำท่วมไหลบ่าในฤดูฝน สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน

    3. ปัญหาน้ำเสีย เป็นปัญหาใหม่ในปัจจุบัน สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำเสีย ได้แก่

    น้ำทิ้งจากบ้านเรือน ขยะมูลฝอยและสิ่งปฎิกูลที่ถูกทิ้งสู่แม่น้ำลำคลอง

    น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม

    น้ำฝนพัดพาเอาสารพิษที่ตกค้างจากแหล่งเกษตรกรรมลงสู่แม่น้ำลำคลอง

    น้ำเสียที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลเสียหายทั้งต่อสุขภาพอนามัย เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ และมนุษย์ ส่งกลิ่นเหม็น รบกวน ทำให้ไม่สามารถนำแหล่งน้ำนั้นมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งการอุปโภค บริโภค เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม

     

    ผลกระทบของน้ำเสียต่อสิ่งแวดล้อม

    เป็นแหล่งแพร่ระบาดของเชื้อโรค เช่น อหิวาตกโรค บิด ท้องเสีย

    เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงนำโรคต่าง ๆ

    ทำให้เกิดปัญหามลพิษต่อดิน น้ำ และอากาศ

    ทำให้เกิดเหตุรำคาญ เช่น กลิ่นเหม็นของน้ำโสโครก

    ทำให้เกิดการสูญเสียทัศนียภาพ เกิดสภาพที่ไม่น่าดู เช่น สภาพน้ำที่มีสีดำคล้ำไปด้วยขยะ และสิ่งปฎิกูล

    ทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ เช่น การสูญเสียพันธุ์ปลาบางชนิดจำนวนสัตว์น้ำลดลง

    ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศในระยะยาว

    การอนุรักษ์น้ำ

     

    ดังได้กล่าวมาแล้วจะเห็นว่า น้ำมีความสำคัญและมีประโยชน์มหาศาล เราจึงควรช่วยแก้ไขปัญหาน้ำเสียหรือการสูญเสียทรัพยากรน้ำด้วยการอนุรักษ์น้ำ ดังนี้

    1. การใช้น้ำอย่างประหยัด การใช้น้ำอย่างประหยัดนอกจากจะลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าน้ำลงได้แล้ว ยังทำให้ปริมาณน้ำเสียที่จะทิ้งลงแหล่งน้ำมีปริมาณน้อย และป้องกันการขาดแคลนน้ำได้ด้วย

    2. การสงวนน้ำไว้ใช้ ในบางฤดูหรือในสภาวะที่มีน้ำมากเหลือใช้ควรมีการเก็บน้ำไว้ใช้ เช่น การทำบ่อเก็บน้ำ การสร้างโอ่งน้ำ ขุดลอกแหล่งน้ำ รวมทั้งการสร้างอ่างเก็บน้ำ และระบบชลประทาน

    3. การพัฒนาแหล่งน้ำ ในบางพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำ จำเป็นที่จะต้องหาแหล่งน้ำเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถมีน้ำไว้ใช้ ทั้งในครัวเรือนและในการเกษตรได้อย่างพอเพียง ปัจจุบันการนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้กำลังแพร่หลายมากขึ้นแต่อาจมีปัญหาเรื่องแผ่นดินทรุด

    4. การป้องกันน้ำเสีย การไม่ทิ้งขยะและสิ่งปฎิกูลและสารพิษลงในแหล่งน้ำ น้ำเสียที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล ควรมีการบำบัดและขจัดสารพิษก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ

    5. การนำน้ำเสียกลับไปใช้ น้ำที่ไม่สามารถใช้ได้ในกิจการอย่างหนึ่งอาจใช้ได้ในอีกกิจการหนึ่ง เช่น น้ำทิ้งจากการล้างภาชนะอาหาร สามารถนำไปรดต้นไม้ได้

     

     

    ดัชนีคุณภาพน้ำ

            1.  ออกซิเจนที่ละลานในน้ำ   ( DO = Dissolved   oxygen )  ปริมาณออกซิเจนในน้ำ        ออกซิเจนที่ละลายในน้ำมาจากบรรยากาศ  หรือ จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชน้ำ    นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับความกดดันของออกซิเจนในบรรยากาศสูงออกเจนก็จะ ละลายในน้ำได้มาก  แต่จะเป็นปฏิภาคกับอุณหภูมิของน้ำและออกซิเจนละลายในน้ำน้อยลง        โดยทั่วไปปริมาณออกซิเจนในน้ำที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมี ชีวิตในน้ำ    คือ 5 มิลลิกรัม/ลิตร หากปริมารออกซิเจนในน้ำมีค่าต่ำกว่า  3 มิลลิกรัม/ลิตร จะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ
            2.  บีโอดี ( BOD = Bichemical Oxygen Demand ) คือปริมาณออกซิเจนที่ถูกจินทรีย์ใช้ไปในสำหรับการย่อยสลายสารอินทรีย์ ชนิดที่ย่อยสลายได้  สัมพันธ์กับเวลาและอุณหภูมิ ตามมาตรฐานสากลจึงวัดค่าบีโอดีทั้งหมดในเวลา 5 วันที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส    ค่าบีโอดี ใช้เป็นดัชนีวัดความสกปรกของน้ำเสียหรือน้ำทิ้งจากแหล่งชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม การเกษตรกรรมและใช้กำหนดลักษณะน้ำที่ทิ้งลงสู่แม่น้ำ

    แหล่งที่มาของน้ำเสีย

            1. จากธรรมชาติ     เกิดจากการสลายตัวของพืช สิ่งปฏิกูลของสัตว์ในรูปของสารอินทรีย์เมื่อลงสู่แหล่งน้ำค่อยๆ สลายตัวโดยจุลินทรีย์  ทำให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำต่ำลง
           2. จากแหล่งชุมชน    ได้แก่น้ำเสียจากที่พักอาศัยแหล่งต่างๆ
           3. จากโรงงานอุตสาหกรรม    เป็นน้ำเสียที่มาจากกระบวนการต่างๆ
           4. จากการเกษตร    ของเสียจากกาเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์
           5. กรดและเบส  น้ำจะสะอาดมีค่า  ph  ความเป็นกรด - เบสเท่ากับ  7

    กระบวนการบำบัดน้ำเสียทั่วไป

            1. ด้วยวิธีทางกายภาพ    เป็นวิธีการที่ใช้บำบัดน้ำเสีย  ได้แก่      การดักด้วยตะแกรง  การตกตะกอน การทำให้ลอย การกรอง การแยกตัวโดยการเหวี่ยง
            2. โดยวิธีทางเคมี     เป็นการบำบัดน้ำเสียโดยการเติมสารเคมีลงไปหรือโดยปฏิกิริยาเคมีอื่น     ได้แก่    การทำให้เกิดตะกอน  การเติมหรือลดออกซิเจน  การฆ่าเชื้อโรค
            3.  โดยวิธีทางชีววิทยา     เป็นการใช้ในการบำบัดน้ำเสีย     โดยการกำจัดพวกสารอินทรีย ์ซึ่งสามารถย่อยสลายได้โดยพวกจุลินทรีย์ คือ กระบวนการกำจัดแบบใช้ออกซิเจน และ กะบวนการกำจัดแบบไม่ใช้ออกซิเจน หรือการใช้พืชน้ำชนิดต่าง ๆ ช่วยในบำบัดน้ำเสีย เช่น ผักตบชวา บัว จอก

     

     

    - ความต้องการน้ำ

               การพยากรณ์ความต้องการใช้น้ำ (ส่วนใหญ่เป็นความต้องการน้ำภาคเกษตร) ในปี พ.ศ. 2536 2539 และ 2549 พบว่าในปี พ.ศ. 2536 มีปริมาณความต้องการน้ำทั้งหมด 61,507 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี และจะเพิ่มขึ้นเป็น 87,495 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี และจะขาดแคลนน้ำประมาณ 12,560 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี โดยลุ่มน้ำภาคกลางเป็นพื้นที่ที่มีความต้องการใช้น้ำสูงที่สุด โดยในปี พ.ศ. 2536 มีความต้องการใช้น้ำ 36,137 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี เพิ่มขึ้นเป็น 45,613 ลูกบาศก์เมตรต่อปี ในปี พ.ศ. 2539 และในปี พ.ศ. 2549 ความต้องการน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาจะเพิ่มขึ้นเป็น 47,336 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ซึ่งคาดว่าจะขาดแคลนน้ำ 3,089 ลูกบาศก์เมตรต่อปี (ตารางที่ 3) ทั้งนี้การความต้องการน้ำในปี พ.ศ. 2547 ของภาคต่างๆ ของประเทศ มีดังนี้ ภาคกลาง 28,540 ล้านลูกบาศก์เมตร ภาคเหนือ 12,772 ล้านลูกบาศก์เมตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 11,617 ล้านลูกบาศก์เมตร ภาคตะวันออก 2,968 ล้านลูกบาศก์เมตร และภาคใต้ 11,334 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมทั้งสิ้น 67,231 ล้านลูกบาศก์เมตร แม้ว่าในปัจจุบันปริมาณน้ำที่เก็บกักได้จะมีค่าสูงกว่าความต้องการใช้น้ำ แต่เนื่องจากประสิทธิภาพการส่งน้ำที่ต่ำ และมีระบบส่งน้ำเป็นระบบคลองเปิดเป็นส่วนใหญ่ ทำให้มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถส่งน้ำให้แก่พื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำในทุกพื้นที่ ได้ นอกจากนั้นยังมีความผันแปรของปริมาณน้ำตามพื้นที่และตามฤดูกาลทำให้มีการขาด แคลนน้ำในหลายลุ่มน้ำ

    ตารางที่ 3 ปริมาณความต้องการใช้น้ำจำแนกตามลุ่มน้ำ

    ลุ่มน้ำ

    ปริมาณความต้องการใช้น้ำ

    การขาดแคลนน้ำ

    (ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี)

    (ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี)

    พ.ศ. 2536

    พ.ศ. 2539

    พ.ศ. 2549

    พ.ศ. 2536

    พ.ศ. 2539

    พ.ศ. 2549

    ลุ่มน้ำภาคเหนือ

    8,764

    10,655

    13,065

    141

    1,408

    2,792

    ลุ่มน้ำภาคกลาง

    36,137

    45,613

    47,336

    1,965

    2,179

    3,089

    ลุ่มน้ำภาคตะวันออก เฉียงเหนือ

    6,389

    8,409

    11,814

    961

    1,003

    2,637

    ลุ่มน้ำภาคตะวันออก

    4,314

    4,761

    5,935

    750

    591

    756

    ลุ่มน้ำภาคใต้

    5,933

    6,282

    9,345

    939

    1,132

    3,286

    รวม

    61,507

    75,720

    87,495

    4,756

    6,313

    12,560

    ที่มา: กรมทรัพยากรน้ำ 2547

           ความต้องการน้ำส่วนใหญ่ของประเทศจะเป็นความต้องการน้ำเพื่อใช้ในภาค เกษตรกรรม โดยประเทศไทยมีพื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 132.5 ล้านไร่ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นพื้นที่ชลประทานประมาณ 40 ล้านไร่ ปัจจุบัน (ข้อมูล ปี พ.ศ. 2545) มีการพัฒนาเป็นพื้นที่ชลประทานแล้วรวม 32.0 ล้านไร่ โดยคิดเป็นร้อยละ 24.2 ของพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมด ทั้งนี้ พบว่าภาคกลางมีพื้นที่ชลประทานสูงที่สุดโดยคิดเป็นร้อยละ 45.8 ของพื้นที่ชลประทานทั้งหมด รองลงมาคือภาคเหนือมีพื้นที่ชลประทานร้อยละ 26.7 ของพื้นที่ชลประทานทั้งหมด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ชลประทานร้อยละ 17.2 ของพื้นที่ชลประทานทั้งหมด และภาคใต้มีพื้นที่ชลประทานคิดเป็นร้อยละ 10.3 ของพื้นที่ชลประทานทั้งหมด (รูปที่ 6)

    - ภัยแล้ง

               ปัญหาการขาดแคลนน้ำของประเทศไทยเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากปริมาณน้ำเก็บกักไม่เพียงพอกับความต้องการ จากการที่ไม่มีอ่างเก็บน้ำ หรือจากการที่มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างน้อยกว่าปกติ หรือการใช้น้ำที่ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผล นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุจากฝนทิ้งช่วงโดยเฉพาะฤดูเพาะปลูกระหว่างเดือนมิถุนายนและ กรกฎาคมในพื้นที่ชลประทานที่อาศัยน้ำฝนเป็นหลัก โดยในลุ่มน้ำที่มีการเก็บกักน้ำอยู่น้อยจะมีปัญหาขาดแคลนน้ำทุกปี ลุ่มน้ำที่มีปัญหาขาดแคลนน้ำในทุกปี ได้แก่ ลุ่มน้ำยม วัง โขง เจ้าพระยา ท่าจีน สะแกกรัง ปราจีนบุรี บางประกง และทะเลสาบสงขลา เนื่องจากปริมาณความต้องการน้ำสูงกว่าปริมาณน้ำเก็บกักมาก โดยลุ่มน้ำเจ้าพระยาและท่าจีนต้องอาศัยน้ำที่ปล่อยจากลุ่มน้ำปิง น่าน ป่าสัก และแม่กลอง

                  จากข้อมูลของกรมทรัพยากรน้ำเดือนเมษายน พ.ศ. 2546 พบว่ามีหมู่บ้านประสบภัยแล้งซ้ำซากใน 39 จังหวัด 1,008 ตำบล 4,336 หมู่บ้าน โดยมีพื้นที่อยู่ในภาคกลาง 1,669 หมู่บ้าน ภาคใต้ 1,105 หมู่บ้าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,068 หมู่บ้าน และภาคเหนือ 494 หมู่บ้าน (รูปที่ 7)

    - อุทกภัย

                 ประเทศไทยมีพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากรวม 28.11 ล้านไร่ ใน 66 จังหวัด 1,497 ตำบล 6,764 หมู่บ้าน ปัจจัยที่ทำให้เกิดน้ำท่วม และอุปสรรคต่อการระบายน้ำ ได้แก่ ปริมาณน้ำฝนจำนวนมากในพื้นที่ลุ่มน้ำ สภาพต้นน้ำลำธารอยู่ในสภาพที่มีพื้นที่ป่าค่อนข้างจำกัด ทำให้สภาพความชุ่มชื้นและความสามารถในการชะลอน้ำหลากลดลง ลักษณะที่ตั้งและสภาพภูมิประเทศของลุ่มน้ำทำให้มีปริมาณน้ำไหลหลากอย่างรวด เร็วระบบเก็บกักน้ำและชะลอน้ำหลากในลุ่มน้ำก่อนที่จะเข้าสู่เขตเมืองและ ชุมชนมีไม่เพียงพอ ความสามารถในการระบายน้ำจากพื้นที่ด้านเหนือน้ำผ่านตัวเมืองและชุมชนไม่ เพียงพอที่จะรองรับปริมาณน้ำหลากได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากการพัฒนาเมืองและชุมชนอย่างต่อเนื่องทำให้มีการก่อสร้างสิ่งกีด ขวางหรือถมที่ดินขวางและลดขนาดทางระบายน้ำ พื้นที่ท้ายน้ำของตัวเมืองบางแห่งมีความลาดชันน้อยและบางแห่งได้รับอิทธิพล จากการหนุนของน้ำทะเล รวมถึงการตื้นเขินของแม่น้ำลำคลอง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้การระบายน้ำเป็นไปได้อย่างจำกัด จากสถิติข้อมูลความเสียหายที่เกิดจากอุทกภัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ถึงปี พ.ศ. 2546 พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างมาก (รูปที่ 8)

                 ปัญหาวิกฤตน้ำในอดีตส่วนใหญ่เป็นปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งตามวงจรของ ธรรมชาติ ในการจัดการน้ำของรัฐในอดีตเป็นการจัดหาน้ำในฤดูแล้งให้มากขึ้น เช่น การสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำรวมทั้งอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง และขนาดเล็ก แม้แต่การจัดการน้ำในระบบชลประทานราษฎร์หรือเหมืองฝายของชาวบ้านก็เป็นการ จัดหาน้ำเช่นเดียวกัน โดยมีการจัดสรรน้ำกันภายในหมู่สมาชิกโดยมีกติกาทางสังคมควบคุม การขาดแคลนน้ำเริ่มเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ปัญหาการจัดหาน้ำก็มากขึ้นเรื่อยๆ เช่น ปัญหาจากการต่อต้านการสร้างเขื่อน ปัญหาด้านการชดเชยชุมชนที่ได้รับผลกระทบ และผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะด้านระบบนิเวศของป่าไม้ จึงจำเป็นต้องมีมาตรการในการจัดสรรน้ำ แต่รัฐยังขาดทั้งกติกาและเครื่องมือในการจัดสรร ทำให้ความขัดแย้งด้านการใช้น้ำนับวันก็ยิ่งจะรุนแรงขึ้น นอกจากปัญหาการขาดแคลนน้ำแล้ว ยังมีปัญหาคุณภาพน้ำและปัญหาอุทกภัยซึ่งเป็นปัญหาที่มีความสำคัญและนับวันจะ ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ.

    มูลค่าความเสียหาย

         การจัดการน้ำอย่างไม่มีประสิทธิภาพ การกำหนดถิ่นฐานและการประกอบอาชีพที่ไม่สอดรับกับธรรมชาติหรือปริมาณน้ำ โครงการพัฒนาต่างๆ ที่ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การขยายตัวของเมืองอย่างไร้ทิศทาง ปัจจัยเหล่านี้มีส่วนทำให้เกิดน้ำท่วม และน้ำแล้งที่ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ในที่นี้ต้นทุนดังกล่าวจะคำนวณจากสถิติอุบัติภัยและสาธารณภัย ที่เก็บรวบรวมโดยศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยมูลค่าความเสียหายโดยรวมด้านทรัพยากรน้ำเฉลี่ยเท่ากับ 7,032 ล้านบาทต่อปี โดยแบ่งเป็น (1) อุทกภัยเกิดจากสาเหตุตามธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ โดยกิจกรรมของมนุษย์มีส่วนเร่งให้เกิดมากขึ้น รุนแรงมากขึ้น เช่น การตัดไม้ทำลายป่า การพังทลายของดินที่ทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน การปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างขวางทางน้ำ การพัฒนาเมืองที่ไม่มีระเบียบแบบแผน เป็นต้น อุทกภัยเกิดบ่อยครั้งมากขึ้น เกิดขึ้นในพื้นที่มากขึ้น และรุนแรงมากขึ้น มูลค่าความเสียหายจากอุทกภัยเท่ากับ 6,443 ล้านบาทต่อปี และ (2) ภัยแล้ง มูลค่าความเสียหายจากน้ำแล้งเท่ากับ 588 ล้านบาทต่อปี

          มูลค่าที่คำนวณในขณะนี้เป็นเพียงการประมาณการจากความเสียหายของพื้นที่การ เกษตรและความเสียหายของทรัพย์สิน ซึ่งยังไม่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความเสียหายทั้งหมดได้ ดังนั้น ควรมีการศึกษามูลค่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจากน้ำแล้งและน้ำท่วมด้วย ในที่นี้ไม่สามารถคำนวณมูลค่าความเสียหายที่เกิดจาการใช้ทรัพยากรน้ำบาดาล เกินศักยภาพ ดังนั้น ควรมีการศึกษาถึงต้นทุนความเสียหายที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรน้ำบาดาลเกิน ศักยภาพในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลและพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการปน เปื้อนของแหล่งน้ำบาดาล เช่น การปนเปื้อนของสารอันตรายในแหล่งน้ำบาดาลในพื้นที่เขตอุตสาหกรรม การปนเปื้อนของสารเคมีจากภาคเกษตร การปนเปื้อนของน้ำเค็มในพื้นที่ดินเค็ม เป็นต้น ลักษณะของผลกระทบที่เกิดขึ้น คือ แผ่นดินทรุด และการปนเปื้อนของแหล่งน้ำบาดาล เพื่อให้สามารถสะท้อนระดับความรุนแรงของปัญหาด้านทรัพยากรน้ำได้อย่างแท้ จริง.

    ทัศนคติของประชาชน

                  ผลสำรวจทัศนคติของประชาชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 32.7 มีความเห็นว่าปัญหาการเกิดภาวะภัยแล้งและอุทกภัย เป็นปัญหาสำคัญที่สุดของประเทศ

     

     ที่มา http://www.thaienvimonitor.net/Concept/priority2.htm

    http://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B9%8D%E0%B8%B2&hl=th&safe=off&client=firefox-a&hs=aWd&rls=org.mozilla:th:official&start=10&sa=N

    http://www.school.net.th/library/snet6/envi2/subwater/subwater.htm

    http://www.thaigoodview.com/library/.../st2545/4.../theme_3.htm

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×