ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สรุปย่อวิชาต่างๆ

    ลำดับตอนที่ #7 : (ว31101)มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม

    • อัปเดตล่าสุด 5 ต.ค. 50


    มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม

    สิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญต่อชีวิตอาจแบ่งออกเป็นปัจจัยใหญ่ๆ ได้    2   อย่าง   คือ

            1.  ปัจจัยทางกายภาพ   ได้แก่  สภาพแวดล้อมที่ไร้ชีวิต

                    1.1 สภาพของบรรยากาศ  ได้แก่   อุณหภูมิ  แสงสว่าง   ความชื้น  กระแสลม   แต่ละแห่งสิ่งมีชีวิตจะมีลักษณะเฉพาะ

                    1.2  สภาพของดินและน้ำ   ดินเป็นกรด  เบส   ทำให้พืช  แตกต่างกันออกไป  มีผลทำให้สัตว์ซึ่งเป็นผู้บริโภคจะแตกต่างกันออกไปด้วย

            2.  ปัจจัยทางชีวภาพ   ได้แก่   ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกัน

                     2.1  ภาวะพึ่งพากัน  ( Mutualism )    ทั้งสองฝ่าย     เมื่ออยู่ร่วมกันแล้วต่างก็ให้ประโยชน์แก่กัน  เช่น  แบคทีเรียไรโซเบียม    ที่รากต้นถั่วตรึงไนโตรเจนจากอากาศสะสมไว้ที่รากต้นถั่ว     เป็นสารประกอบไนเตรตทำให้ต้นถั่วได้ปุ๋ย ในการเติบโตต่อไป

                    2.2  ภาวะได้ประโยชน์ร่วมกัน  ( Protocooperation )   คล้ายภาวะพึ่งพากัน   แต่ตั้งคู่ไม่ได้อยู่ด้วยกันตลอดเวลา    เช่น  ดอกไม้กับแมลง   ดอกไม้ได้ประโยชน์โดยแมลงช่วยผสมเกสร    แมลงได้น้ำหวานจากดอกไม้          

                    2.3  ภาวะเกื้อกูลกัน หรือ ภาวะอิงอาศัย   ( Commensalism )    ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้และไม่เสีย    เช่น   กล้วยไม้เกาะบนคบไม้    กล้วยไม้ได้ประโยชน์แต่ต้นไม้ไม่ได้และไม่เสียประโยชน์

                    2.4  ภาวะล่าเหยื่อ   ( Predation )   ฝ่ายได้ประโยชน์  คือ ผู้ล่า ( Predator )  เช่น  แมว   ฝ่ายเสียประโยชน์คือ เหยื่อ  ( Prey )  เช่น  นก

                    2.5  ภาวะมีปรสิต  ( Parasitism )   ฝ่ายได้ประโยชน์   คือ ปรสิต  ( parasite )  เช่น  กาฝาก  ฝ่ายเสียประโยชน์  คือ  ผู้ให้อาศัย   ( Host )   เช่น   ต้นมะม่วง

                    2.6  ภาวะการแข่งขันกัน  ( Competition )    ต่างแก่งแย่งอาหารและที่อยู่     จึงทำให้เสียประโยชน์ทั้งคู่  อาจรุนแรงจนกระทั่งอยู่ฝ่ายหนึ่ง  ตายฝ่ายหนึ่ง   หรือ  อยู่ทั้งคู่ก็ได้ เช่น  จอกกับแหน  ในบ่อน้ำ

                    2.7  ภาวะเป็นกลาง   ( Neutralism )   อาศัยอยู่ในแหล่งเดียวกันแต่ต่างฝ่ายต่างอยู่่ เช่น  ตั๊กแตนในนาข้าว กับ ไส้เดือนดิน 

     

    สถานะของสิ่งมีชีวิต  จากลักษณะการกินอาหารของสิ่งมีชีวิตจึงจำแนกประเภทของสิ่งมีชีวิตออกได้ดังนี้    

            1.  ผู้ผลิต    (Producer)

            2.  ผู้บริโภค   (Consumer)    แยกเป็น

                 2.1 ผู้กินพืช (Herbivorous)   

                 2.2 ผู้กินสัตว์ (Carnvorous)  

                 2.3 ผู้กินทั้งพืชและสัตว์ (Omnivorous)   

                 2.4 ผู้กินซาก (Scavenger)

            3.  ผู้ย่อยสลายซากอินทรีย์   (Decomposer)

            4.  ห่วงโซ่อาหาร  (Food  Chain)  เป็นการกินอาหารต่อเนื่องกันเป็นสาย

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×