ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สรุปย่อวิชาต่างๆ

    ลำดับตอนที่ #2 : (ส31101)รัฐธรรมนูญ

    • อัปเดตล่าสุด 28 ก.ย. 50


    รัฐธรรมนูญ หมายถึงกฎหมายสูงสุดในการจัดการปกครองรัฐ ถ้าแปลตามความหมายของคำ จะหมายถึง การปกครองรัฐอย่างถูกต้องเป็นธรรม (รัฐ + ธรรม + มนูญ)

    ในความหมายอย่างแคบ "รัฐธรรมนูญ" ต้องมีลักษณะเป็นลายลักษณ์อักษร และไม่ใช่สิ่งเดียวกับ กฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะ "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" มีความหมายกว้างกว่าและจะเป็นรูปแบบลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณีก็ได้

    รัฐธรรมนูญในปัจจุบันนั้น มีทั้งเป็นลักษณะลายลักษณ์อักษร และลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยที่ลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากจะใช้หลักของจารีต ประเพณีการปกครองแล้ว กฎหมายทุกตัวที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง ย่อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญด้วย

    ทุกประเทศทั่วโลกมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ทั้งประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย รวมถึงประเทศที่ปกครองระบอบเผด็จการ เพื่อใช้เป็นหลักหรือเป็นแนวทางในการบริหารประเทศ

    รัฐธรรมนูญฉบับแรกของโลก

    ในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1215 ขุนนางและพระราชาคณะจำนวน 25 คน ได้บังคับให้พระเจ้าจอห์นลงนามในเอกสารที่เรียกว่า "มหาบัตร" (The Great Charter, Magna Carta) ซึ่งเป็นสัญญาระหว่างพระมหากษัตริย์กับขุนนางและพระ โดยในมหาบัตรได้กำหนด ถึงองค์การ และอำนาจของสภาใหญ่ (Magnum Concillium) และกำหนดว่าพระมหากษัตริย์จะเก็บภาษีบางอย่างตามที่กำหนดไว้ โดยมิได้รับความเห็นชอบจากสภาใหญ่มิได้ จะจับกุมคุมขังบุคคลได้ก็ต่อเมื่อ มีคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย มหาบัตรนี้ นักกฎหมายบางท่านเห็นว่า เป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับแรก

    รัฐธรรมนูญในสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส ในภาษาของประเทศทั้งสอง คำว่ารัฐธรรมนูญต่างใช้คำว่า Constitution ซึ่งแปลว่า การสถาปนา หรือการจัดตั้ง ซึ่งหมายถึงการสถาปนาหรือจัดตั้งรัฐนั่นเอง โดยทั้งสองประเทศมีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ประเทศอังกฤษไม่มีรัฐธรรมนูญทีจากประวัติศาสตร์ของชาติตนเอง

    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายสูงสุด ว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองราชอาณาจักรไทย ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2475 นับจนถึงปี พ.ศ. 2550 ราชอาณาจักรไทย มี รัฐธรรมนูญ 18 ฉบับ ซึ่งฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

    มีการตั้งข้อสังเกตว่า ประเทศไทยมีการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญบ่อยครั้ง ซึ่งขัดกับแนวคิดทางนิติศาสตร์ที่ว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐ ดังนั้น จึงควรมีความศักดิ์สิทธิ์และคงทนถาวร อาจแก้ไขได้ ตามเวลา และสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ตัวอย่างเช่น กรณีของสหรัฐอเมริกา ที่ปัจจุบันยังไม่เคยเปลี่ยนรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร ยังคงใช้ฉบับเดิมมาแต่แรก มีเพียงการแก้ไขปรับปรุงส่วนที่จำเป็นเท่านั้น

    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย


     

    รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองประเทศ

    สำหรับประเทศไทย นับจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระ

    กรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร

    สยาม พุทธศักราช 2475 เป็นต้นมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขและประกาศใช้

    รัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครองอีกหลายฉบับ เพื่อให้เหมาะสมและ

    สอดคล้องกับสภาวการณ์บ้านเมืองที่ผันแปรเปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคสมัย

    บรรดารัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครองที่มีมาทุกฉบับ มีสาระสำคัญ

    เหมือนกัน ที่ยึดมั่นในหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์

    ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภาทรงใช้อำนาจบริหารทาง

    คณะรัฐมนตรี และทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล จะมีเนื้อหาแตกต่างกันก็แต่

    เฉพาะในเรื่องสถานภาพของรัฐสภาและสัมพันธภาพระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ

    กับอำนาจบริหาร เพื่อให้เหมาะสมกับภาวะการณ์ของบ้านเมืองในขณะนั้น ๆ

    1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475

    2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช2475

    3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489

    4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490

    5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492

    6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495

    7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502

    8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511

    9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515

    10.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517

    11.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519

    12.ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520

    13.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521

    14.ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534

    15.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534

    16.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

    17.เปรียบเทียบบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 กับ พุทธศักราช 2540

    รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทย มีชื่อว่า พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 จากนั้น ราชอาณาจักรไทย ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาตามลำดับ ดังนี้ [1]พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475

    1)รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475

    2)รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489

    3)รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490

    4)รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492

    5)รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495

    6)รัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502

    7)รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511

    8)รัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515

    9)รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517

    10)รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519

    11)รัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520

    12)รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521

    13)รัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534

    14)รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534

    15)รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

    16)รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549

    17)รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×