ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    โรงเรียนศาสตร์มืดแห่งดาร์คแลนด์ (เปิดเทอม)

    ลำดับตอนที่ #37 : ชั้นที่ 5 ชั้นจอมทัพปราดเปรื่อง

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.01K
      0
      11 เม.ย. 60

    ชั้นที่ 5 ขั้นจอมทัพปราดเปรื่อง


    สวัสดีเหล่า "จอมทัพปราดเปรื่อง"
    หากเจ้าต้องการเป็นนักรบผู้ห้าวหาญ อัศวินผู้ชาญชัย ปกครองกองทัพปีศาจแล้วไซร้
    ที่ห้องเรียนนี้ เจ้าจะต้องเรียนรู้ัการวางแผนการรบ
    สร้างความยำเกรงให้ผู้คนหวาดกลัวเเละเคารพยกย่องๆ
    ในชั้นเรียนนี้ หากเจ้าไม่เข้าใจอันใด สามารถถามได้ที่กล่องคอมเม้นด้านล่าง









    ภารกิจ

    ภารกิจ คือ สถานการณ์จำลอง เพื่อทดสอบทักษะของท่าน
    ในชั้นนี้ มีภารกิจทั้งหมด 4 ภารกิจ ท่านจะภารกิจนี้หรือไม่ก็ได้
    และเลือกทำกี่ภารกิจก็ได้

    โดยคะเเนนจากภารกิจที่ท่านทำ จะช่วยในการสอบเพิ่มระดับของท่าน
    และเมื่อทำภารกิจเสร็จสิ้น ท่านจะได้รับรางวัล



    (มุ่งหน้าสู่ดินแดนแห่งน้ำแข็ง และตามหาภารกิจที่หายไปทั้งสี่ภารกิจ)

    ข้อควรระวัง
    อนึ่ง ระว่างการเดินทางทำภารกิจของท่าน
    ท่านอาจจะต้องแวะตามสถานที่ต่างๆ และจำเป็นต้องโพสคอมเม้น
    เมื่อท่านโพสคอมเม้น  ไม่ว่าที่ใดก็ตามในดาร์คแลนด์
    ให้แนบบัตรประ
    นักเรียนศาสตร์มืดแห่งดาร์คแลนด์ด้้วยเสมอ
    และผลการทำภารกิจของท่าน จะปรากฏที่หอพักของท่าน ทุกวันศุกร์




    การสอบครั้งสุดท้าย

    หากท่านศึกษาบทเรียนในชั้นนี้จนถ่องแท้แล้ว กรุณาทำข้อสอบ
    หากท่านสอบผ่าน จะได้รับเหรียญตรา นักรบผู้กล้า


    คลิกเพื่อทำข้อสอบ



    บทเรียนที่ 1 ภูมิประเทศของสนามรบ

    การเลือกสมรภูมิที่เราจะรบนั้นถือว่าเป็นเรื้องที่สำคัญมาก มันอาจจะเป็นตัวชี้แพ้ชนะเลยก็เป็นได้
    ภูมิประเทศ (Terrain) นั้นมีหลากหลายรูปแบบ ในบทเรียนนี้เราจะมาศึกษาผลกระทบของภูมิประเทศต่อการรบกัน
    จอมทัพที่ดีควรจะเลือกภูมิประเทศที่จะเป็นประโยชน์ต่อตนเองมากที่สุด
        
        
    ที่ราบ (Plain) – ภูมิประเทศในอุดมคติของผู้รุกราน และ ฝันร้ายสำหรับผู้ตั้งรับ เนืองจากเป็นที่ราบโล่งจึงไม่มีสิ่งกีดขวางตามธรรมชาติ ทำให้ง่ายต่อการโจมตีของทหารม้า ผู้ตั้งรับควรจะหลีกเลี่ยงภูมิประเทศแบบนี้ถ่าหากไม่มีความได้เปรียบด้านจำนวน หนึ่งในตัวอย่างที่ดี คือ การรุกรานของกองทัพเยอรมนีในยุโรปตะวันออก ของสงครามโลกครั้งที่ 2
     
    เนินเขา (Hill) – เนินเขาเป็นภูมิประเทศที่ดีในการตั้งรับ เนินที่ลาดชันสามารถชะลอและทำให้คู่ต่อสู้เหนื่อยได้ จึงสามารถลดประสิทธิภาพของทหารม้าศัตรูได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังสามารถเป็นแนวป้องกันให้กับพลปืนใหญ่และพลธนู เมื่อศัตรูล่าถ่อยไปก็สามารถวิ่งลงไปยังทางลาดชันได้อย่างรวดเร็ว และ บดขยี้พวกที่อยู่ด่านล่างได้อย่างราบคาบ ตัวอย่างที่ดีคือยุทธการเกตตีสเบิร์ก ในสงครามกลางเมือง อเมริกา


    ภูเขา (Mountain) – คล้ายๆ กับเนินเขา แต่จะชันกว่าและสูงกว่ามาก ภูมิประเทศแบบนี้ฝ่ายตั้งรับจะได้เปรียบอย่างมาก เพราะ แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่ฝ่ายบุกจะเข้ามาถึงได้โดยไม่บางตายเสียก่อน และ สามารถป้องกันกระสุนปืนใหญ่ได้เป็นอย่างดี แต่มันก็มีข้อเสียก็คือ ฝ่ายตั้งรับไม่สามารถบุกลงไปโจมตีได้อย่างสะดวกมากนัก เพราะ ลาดชันมากหากรีบลงไปเร็วละก็ได้กลิ้งตกเขาตายแน่ ภูเขาจึงเป็นภูมิประเทศสำหรับการตั้งรับสุดท้ายเมื่อมีกำลังน้อยกว่า หรือ ไม่ก็พยายามยื้อเวลารอกำลังเสริม ตัวอย่างก็คือ สงครามอัฟกานิสถาน และ สงครามเซเชน


    ทะเลยทราย (Desert) – ปรกติก็ไม่มีคนธรรมดาที่ไหนจะมารบกันบนทะเลทรายที่สุดแสนจะร้อนหรอกนะ แต่เอาเป็นว่ามันมีก็แล้วกัน ในอากาศที่ร้อนแรงของทะเลทราย แม่ทัพควรที่จะหลีกเลี่ยงในการใช้ทหารเกราะหนัก เพราะมันจะกลายเป็นตัวดูดความร้อนจนเป็นลมแดดไปทั้งกองทัพ แนะนำให้ใช้ทหารเกราะเบา กับ ทหารม้าแทน เพราะมันเคลื่อนที่ได้ได้ดีกว่าเมื่ออยู่ในทราย ความร้อนและฝุ่นทรายก็สามารถทำให้ อาวุธ และ อุปกรเสียหายได้ ตัวอย่างก็คือ สงครามครูเสด


    ป่า (Forest) – เป็นภูมิประเทศที่พบได้ทั่วไป เหมาะแก่การชุ่มโจมตี และ ตั้งรับเพราะมีสิ่งกีดขวางตามธรรมชาติเยอะ ต้นไม้ที่ชุกชุ่ม ก็ทำให้แนวโจมตีของศัตรูไม่เป็นระเบียบ แต่ในขณะเดียวกันหากฝ่ายตั้งรับจะโจมตีกลับก็จะเจออุปสรรคเช่นเดียวกัน ป่า จึงควรที่จะใช้การชุ่มโจมตีเป็นหลัก แทนการตั้งรับ หรือ รุกเต็มรูปแบบ ตัวอย่างเช่น สงครามเวียดนาม และ การรุกรานเยอรมาเนีย ของ กองทัพโรมัน







    บทเรียนที่ 2 ยุทธศาสตร์ของสงคราม

    แผนการรบ คือยุทธวิธีที่จะนำพาท่านไปสู่ชัยชนะ
    มันไม่ใช้เพียงแค่การรบแค่ครั้งเดียว แต่จะเป็นแผนการรบที่จะตักสินความเคลื่อนไหวของแนวหน้าทั้งหมด
    แผนการรบจะมีตั้งแต่ การวางแผนตั้งรับกองทัพที่จะเข้ามารุกรานดาร์กแลน ไปจนถึงการวางแผนยึดครองประเทศอื่น
    ในบทเรียนนี้ จะเป็นการเรียนรู้ถึงแผนการเหล่านั้น

    สงครามตั้งรับ (Defensive warfare)
    สงครามตั้งรับ คือแผนการในการรับมือ, ต่อต้าน, และ ตอบโต้กลับต่อแผนการรุกรานของกองกำลังศัตรู สงครามตั้งรับนั้นไม่ใช้สงครามที่หยุดนิ่ง แต่เป็นแผนการที่เน้นการป้องกันเป็นหลักก่อนที่จะผลัดดันให้ศัตรูล่าถ่อยออกไป ในสงครามตั้งรับนั้น ฝ่ายตั้งรับมักจะได้เปรียบต่อ ฝ่าย รุกรานในหลายๆ ด่าน ทั้งความคุ่นเคยต่อภูมิประเทศ, ทรัพยากรท้องถิ่น, และ ความร่วมมือของประชาชน
    รายการนี้คือสิ่งที่แผนการตั้งรับจะต้องตระหนักถึง
    -    แนวป้องกันแรก ควรจะหยุดหรือชะลอการรุกรานของศัตรู จนกระทั้งดาร์กแลนสามารถรวบรวมกองกำลังได้
    -    เฝ้าระวังการแทรกซึมของศัตรู และ ตรวจสอบประชากรของชาติศัตรูในดาร์กแลน
    -    ควรจะมีเสบียงมากกว่าฝ่ายที่เข้ามารุกราน
    -    พยายามตัดเสบียงของศัตรูเพื่อกดดันให้ล่าถ่อยไป
    -    อพยพประชาชนดาร์กแลนจากชาติศัตรูในทันที ถ่าหากมีท่าทีว่าจะถูกทำร้าย
    -     อย่ายอมแพ้

    สงครามกลลวง (Deception warfare)
    สงครามกลลวง แปลง่ายๆ ก็ คือสงครามปั้นหัวศัตรู เป็นสงครามมีใช้หนวยข่าวกรองหรือหน่วยลับเป็นหลัก มันไม่ใช้สงครามในรูปแบบที่รบราฆ่าฟันกัน แต่เป็นสงครามจิตวิทยา มีตั้งแต่การส่งคนเข้าไปลอบแทรกซึมในประเทศศัตรูเพื่อหาข่าว ไปจนถึง การปล่อยข่าวลวง เพื่อทำให้ศัตรูเขว
    รายการนี้คือสิ่งที่แผนการตบตาจะต้องตระหนักถึง        
    -    คนที่แทรกซึมเข้าไปไม่ควรจะเป็นที่รู้จักมากนัก แต่ก็ห้ามเป็นดาวเดียว
    -    การปล่อยข่าวลวงอย่างน้อยก็ต้องมีความจริงปนอยู่เพื่อความน่าเชื่อถือ
    -    เมื่อการแทรกซึมเริ่มเข้าที่แล้ว ก็ค่อยๆ พยายามไต่ระดับในประเทศสัตรูจนกลายเป็นแอมมิด
    -    เมื่อแทรกซึมได้แล้วก็ให้หาข่าวที่เน้นไปที่ บุคคลสำคัญๆ แผนการใหญ่ และ รายงานกลับมาเป็นระยะๆ
    -    อย่าให้ความแตก

    สงครามรุกราน (Offensive warfare)    
    การรุกรานประเทศอื่นนั้นถือว่าเป็นการกระทำที่รุนแรงและโหดร้าย หากว่าไม่จำเป็นจริงๆ ก็ไม่ควรที่จะรุกรานประเทศอื่นโดยเด็ดขาด การรุกรานมีทั้งแบบการยึดครองพื้นที่ การปิดล้อมเมือง หรือ แม้กระทั้งการรบกันบนสนามรบ ฝ่ายที่รุกรานนั้นมักจะเผชิญกับปัญหาต่างๆ นอกเหนือจากศัตรูที่อยู่ข่างหน้า ทั้งการขาดแคลนทรัพยากรและ การต่อต้านจากประชากรท้องถิ่น การรุกรานสามารถยาวนานนับปีเลยก็ได้ หากจะรุกรานละก็ คิดหนักหน่อยนะ
    รายการนี้คือสิ่งที่แผนการรุกรานจะต้องตระหนักถึง
    -    การรุกรานจะต้องหนักแน่น, รวดเร็ว, และ ต่อเนือง
    -    จะต้องมีเสบียงและทรัพยากร สนับสนุนทหารในแนวหน้าเสมอเพื่อไม่ให้การบุกหยุดชะงัก
    -    จะต้องมีเป้าหมายที่แน่นอน
    -    ยิ่งมีกำลังพลมากเท่าไหร่ก็ยิ่งได้เปรียบ
    -    เฝ้าระวังการต่อต้านจากประชากรในพื้นที่
    -    ควรกดกันให้ศัตรูยอมจำนนมากกว่าที่จะทำลายให้ราบคาบ








    บทเรียนที่ 3 การปกครองดินแดนที่ยึดครอง

    การปกครองดินแดนที่มีความสงบสุขนั้นเป็นเรื้องง่าย
    แต่การปกครองดินแดนที่เราเข้าไปรุกรานยึดครองนั้นเป็นเรื้องยาก
    จูเลียส ซีซาร์ , นโปเลียน โบนาปาร์ต, อดอล์ฟ  ฮิตเลอร์
    ทั้งหมดที่กล่าวมานี้อาจจะเป็นนักวางแผนและนักรบที่เก่งกาจ
    แต่กลับเป็นนักปกครองที่ล่มเหลว
    ในบทเรียนนี้ หวังว่าจะไม่ทำให้ประวัติศาล ช้ำรอย

    สาเหตุหลักที่ทำให้การยึดครองล่มเหลวนั้นมักจะมาจากการที่ฝ่ายยึดครองนำเดินนโยบายที่รุนแรงและจำกัดสิทธิของประชาชนในชาติที่ถูกยึดครองเป็นอย่างมาก มันอาจจะเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ที่จะทำการรวบรวมทรัพยากรอย่าง อาหาร และ สิ่งของจำเป็นต่างๆ จาก ผู้คนท่องถิ่น เพื่อลดแรงกดดันให้กับการขนส่งเสบียง  แต่ถ่าหากแย่งมามากเกินไปจนผู้คนไม่มีกินมีใช้ ก็จะเป็นตัวกระตุ่นให้เกิดการต่อต้าน ผู้คนส่วนใหญ่นั้นไม่ได้ลุกขึ้นสู้เพราะรักชาติ แต่ลุกขึ้นสู้เพราะพวกเขากำลังจะอดตาย

    “เมื่อเราไม่เหลือทางเลือกให้พวกเค้า พวกเค้าก็จะสู้จนตัวตาย”

    การยึดครองไม่จำเป็นว่าจะต้องปกครองด้วยตัวเองสมอไป ผู้คนมักจะต่อต้านเมื่อผู้ปกครองของพวกเค้าคือชาวต่างชาติที่เข้ามารุกราน เราสามารถที่จะให้สิทธิในการปกครองตนเองตามความเหมาะ สม เพื่อลดแรงต่อต้านลง และ เมื่อพวกเค้าเห็นว่าผู้นำของพวกเค้าคือคนชาติเดียวกัน พวกเค้าก็จะยอมรับการยึดครองมากขึ้น
    สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการให้ความเคารพต่อประชาชนในพื้นที่ ถึงแม้พวกเค้าจะเป็นคนของชาติศัตรูแต่พวกเค้าก็เป็นประชาชนธรรมดา จึงควรที่จะมองพวกเค้าว่า เป็นกลาง และ ปฏิบัติให้ดี พวกเค้าจะได้ไม่มองเราเป็นภัยคุกคาม

    “การปกครองด้วยความกลัวและอำนาจนั้นไม่ยั้งยืน”








    บทเรียนที่ 4 ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการรบ

    ถึงแม้จะมีความสามารถของทหาร และ แผนการที่ดีนั้น
    มันก็อาจจะยังไม่เพียงพอที่จะชนะสงคราม
    เพราะฉะนั้นจอมทัพควรที่จะใส่ใจปัจจัยอื่นๆ ด้วยเพื่อรบให้ชนะ
    บทเรียนนี้จะกล่าวถึงปัจจัยเหล่านั้น

    การเตรียมพร้อม (Organization)
    การเตรียมพร้อมหมายถึงว่ากองทัพมี ขวัญกำลังใจ เสบียง และ ระเบียบมากแค่ไหน ยิ่งเตรียมพร้อมมาดีเท่าไหร่ ก็ยิ่งรบได้นานและดีขึ้นเท่านั้น

    ขวัญกำลังใจ (Morale)
    ขวัญกำลังใจเป็นสิ่งที่สำคัญมากทั้งในและนอกสนามรบ ถึงแม้ท่านจะมีทหารที่เก่งกาจ หรือ อาวุธที่สุดยอดแค่ไหน ถ่ากองทัพของท่านไม่มีจิตใจจะสู้รบแล้ว ความพ่ายแพ้ก็อยู่ไม่ไกล การพักผ่อน และ สำเปลี่ยนทหารที่เหนื่อยล่ากับทหารไหม่สามารถเพิ่มขวัญกำลังใจได้  

    กำลังพล (Strength)
    กำลังพลนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการรบ ยิ่งมีทหารเยอะเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้โอกาสในการชนะสูงขึ้นเท่านั้น แต่ยิ่งกำลังพลเยอะขึ้น การดูแลก็ต้องเยอะขึ้นตามไปด้วย ถ่ากองทัพใหญ่เกินไปจนดูแลไม่ทั่วถึง ก็อาจจะทำให้ขาดคุณภาพ และ ระเบียบวินัย

    ระเบียบวินัย (Discipline)
    ระเบียบวินัยคือรากฐานที่กองทัพควรให้การใส่ใจมากที่สุด ระเบียบวินัยนั้นเป็นตัวกำหนดว่า ทหารจะสามารถทำตามคำสั่ง และ รบได้ตามแบบแผนมากน้อยเพียงใด ทหารอาชีพจะมีระเบียบวินัยมากที่สุด ในขณะที่ทหารเกณฑ์จะมีวินัยน้อย

    การสนับสนุน (Support)
    ทหารของท่านจะต้องมีการสนับสนุนเสมอ เพราะหากส่งทหารเข้าไปเดี่ยวๆ จะเป็นการฆ่าตัวตายเอาชะเปล่าๆ การสนับสนุนมีได้หลายรูปแบบ ทั่งการส่งกำลังเข้าไปช่วยเมื่อจะล่าถ่อย หรือ ช่วยป้องกันซึ่งกันละกัน จากการโจมตีของศัตรู

    เสบียง (Supply)
    นี้คือปัจจัยที่ทำให้เมืองที่ถูกปิดล้อมยอมจำนน และ ผู้รุกรานยอมล่าถ่อย ไม่มีกองทัพใดจะสามารถต่อสู้ต่อไปได้ โดยที่ขาดเสบียง นโปเลียน ได้กล่าวไว้ว่า “กองทัพต้องเดินด้วยท้อง” ถ่าหากขาดเสบียงแล้วนั้นก็หมายถึงความหายนะของท่าน








    บทเรียนที่ 5 ยุทธวิธีเเละเทคนิคทางทหาร

    สงครามนั้นไม่ใช้เพียงแค่การนำทหารมาตะลุมบอนกัน
    มันเป็นสิ่งที่ซับซ่อนกว่านั้นมาก

    ในบทเรียนนี้จะเป็นการสอนเทคนิคและยุทธ์วิธี ที่ท่านจะสามารถใช้เพื่อให้รบได้ดีที่สุด
    การตีขนาบข้าง (Flanking Maneuver): การตีขนาบข้างนั้นคือการนำกองกำลังโจมตีไปที่ด่านข้างของกองทัพศัตรู เนื่องจากต่างข้างนั้นมักจะเป็นส่วนที่เปราะบางและมีการป้องกันน้อยที่สุด ควรจะใช้ทหารม้าเบาในการทำการโจมตีแบบนี้ เพราะมีความว่องไวสูงสามารถทำการโจมตีได้การที่ศัตรูจะรู้ถึงแผนการ

    คลื่นมนุษย์ (Human wave attack):
    เป็นแผนการที่ดี ถ่าหากท่านไม่มีอาวุธดีๆ ไม่มีทหารเก่งๆ แต่มีกำลังคนเหลือเผือ การโจมตีรูปแบบนี้จะเป็นการนำกองกำลังขนาดใหญ่ถาโถมเข้าใส่กองทัพของศัตรู โดยที่เน้นจำนวนมากกว่าคุณภาพ ด้วยเหตุนี้กองทัพมดจึงสามารถล่มช้างได้ ถ่ามีจำนวนมากพอละนะ    

    การชาร์ต (Charge):
    เป็นการพุ่งโจมตีเข้าไปอย่างเต็มแรง เมื่อสร้างความเสียหายและทำลายแนวทหารของศัตรู หนึ่งในยุทธวิธีที่นิยมที่สุดในสงครามสมัยโบราณ การโจมตีรูปแบบนี้สามารถใช้กับทหารชนิดไหนก็ได้ แต่จะได้ผลดีที่สุดกับทหารม้าหนัก เพราะมีเกราะป้องกันลูกศรที่จะเข้ามาสกัด และ ถือทวนอันใหญ่บนหลังม้าที่สามารถวิ่งได้เร็ว
    การโจมตีตอนกลางคืน (Night attack): การโจมตีตอนกลางคืนนั้นมีความได้เปรียบหลายประการ ตอนกลางคืนนั้นมืดมากจึงทำให้พลธนูยิงได้อย่างแม่นยำ อีกทั้งยังทำให้การเคลื่อนไหวของกองทัพท่านนั้นยากที่จะดูออก แต่ในขณะเดียวกันท่านก็ต้องระวังศัตรูตลบหลังเอาไวด้วย

    การปล้นสะดม (Raid):
    การปล้นสะดมในเชิงเทคนิคทางการทหารนั้นไม่ได้หมายความว่าปล้นชิงทรัพย์สมบัติ แต่เป็นการจู่โจมเพื่อจุดประสงเฉพาะ เช่น การจู่โจมในแนวหลังศัตรูเพื่อฆ่าแม่ทัพ ปล่อยเชลย ทำลายเสบียงอาวุธศัตรู หรือแม้กระทั้งเผาค่าย การโจมตีรูปแบบนี้จะใช้กองกำลังขนาดเล็กที่รวดเร็ว








    บทเรียนที่ 6 ความน่าเกรงขาม
    และความเคารพยกย่องของจอมทัพ


    จอมทัพนั้นควรที่จะเป็นที่ยำเกรง และ เคารพของทหารทั้งหลาย
    เพื่อที่จะเป็นทั้งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ และ ตัวอย่างที่ดี
    ยิ่งมีความน่าเกรงข่ามมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้ง่ายต่อการบัญชามากขึ้นเท่านั้น

    ความเคารพยำเกรง นั้นไม่ใช้สิ่งที่จะชื่อได้ด้วยเงินตรา หรือ ตกลงมาจากฟ้า สิ่งเหล่านี้ไม่ใช้สิ่งที่ได้รับมา แต่เป็นสิ่งที่ท่านจะต้องไปคว้ามาด้วยตัวเอง เมื่อท่านสามารถชนะใจของทหารใต้บัญชาได้ และ พิสูตรตัวเองแล้ว ความเคารพยำเกรงก็จะอยู่กับท่านเอง
    จอมทัพจะต้องไม่ใจอ่อน แต่ ก็ต้องไม่โหดร้าย
    จอมทัพต้องเข้มแข็งแต่ไม่เย็นชา
    จอมทัพจะต้องอยู่กับทหารเสมอในเวลาที่พวกเค้าต้องการ









     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×