ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เที่ยวทั่วไทย 76 จังหวัด

    ลำดับตอนที่ #14 : ~ จังหวัดลำพูน ~

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 163
      1
      23 ต.ค. 49

     คำขวัญ

    "พระธาตุเด่น พระรอดขลัง ลำใยดัง กระเทียมดี ประเพณีงาม จามเทวีศรีหริภุญชัย" 


    ข้อมูลทั่วไป

    ลำพูน เป็นจังหวัดที่เล็กและเก่าแก่ที่สุดในภาคเหนือ เดิมชื่อ นครหริภุญชัย มีกษัตริย์ครองเมืองหลายราชวงศ์ จนถึงสมัยกรุงธนบุรี เจ้ากาวิละได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้ากรุงธนบุรี ทำการขับไล่พม่าจนสำเร็จได้ไปครองเมืองเชียงใหม่ และให้เจ้าคำฝั้นน้องชายครองเมืองลำพูน ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ลำพูนมีฐานะเป็นเมืองขึ้น มีตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครเป็นผู้ปกครองเมือง จนมาถึงพลตรีเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ และในปีพ.ศ.2475 จึงได้มีการยกเลิกตำแหน่งนี้ พื้นที่ส่วนใหญ่ของลำพูนเป็นที่ราบ มีพื้นที่ 4,505.880ตร.กม. 


    อาณาเขต

    ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสารภี อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

    ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง อำเภอสามเงา จังหวัดตาก

    ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอห้างฉัตร อำเภอสบปราบ และ อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง

    ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอฮอด อำเภอจอมทอง อำเภอหางดง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ 


     
    เทศกาลงานประเพณี

    1. ประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัย เป็นประเพณีเก่าแก่ที่จัดขึ้นในวันเพ็ญเดือนหก หรือที่ชาวลำพูนเรียกว่า วันแปดเป็ง โดยมีพิธีสรงน้ำ และงานสมโภชพระธาตุหริภุญชัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำสรงพระธาตุเป็นประจำทุกปี

    2. งานลำไย จัดขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี ที่บริเวณสนามศาลากลางจังหวัด ภายในงานจะมีขบวนแห่รถลำไยที่ประดับตกแต่งอย่างสวยงาม การประกวดธิดาลำไย ประกวดผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง

    3. งานฤดูหนาวและกาชาด จัดขึ้นในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ณ สนามกีฬากลางจังหวัด ภายในงานมีนิทรรศการ การจำหน่ายสินค้า การแสดงและมหรสพให้ชมหลายรายการ 


    สถานที่น่าสนใจ

    1. วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูน มีถนนล้อมรอบสี่ด้านคือ ถนนอัฏฐารสทางทิศเหนือ ถนนชัยมงคลทางทิศใต้ ถนนรอบเมืองทางทิศตะวันออก และถนนอินทยงยศทางทิศตะวันตก สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1651 ในรัชสมัยพระเจ้าอาทิตยราช ต่อมาได้รับการบูรณะต่อเติมมาเป็นลำดับ ภายในบริเวณวัดพระธาตุหริภุญชัยยังมีสิ่งที่น่าสนใจเช่น ซุ้มประตู ก่อนเข้าไปในบริเวณวัด เป็นซุ้มประตูฝีมือโบราณสมัยศรีวิชัย วิหารหลวง พระบรมธาตุหริภุญชัย (ตั้งอยู่หลังวิหารหลวง) พระสุวรรณเจดีย์

    2. วัดมหาวันวนาราม มีตำนานการสร้างวัดว่า วัดนี้สร้างมาแต่ครั้งพระนางจามเทวีขึ้นครองหริภุญชัย สิ่งที่น่าชมคือ พระพุทธรูปนาคปรกที่เชื่อกันว่าคือ พระพุทธสิกขิ หรือพระศิลาดำ ซึ่งพระนางจามเทวีอัญเชิญมาจากกรุงละโว้ ปัจจุบันชาวเมืองเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระรอดหลวง หรือพระรอดลำพูน ซึ่งมีความสำคัญ และเป็นแบบพิมพ์ในการจำลองทำพระเครื่องที่ลือชื่อกรุหนึ่งคือ พระรอดมหาวัน

    3. วัดจามเทวี หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดกู่กุด ตั้งอยู่ริมถนนจามเทวี ตำบลในเมือง สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ.1298 เป็นฝีมือช่างละโว้ ลักษณะพระเจดีย์ภายในวัด เป็นสี่เหลี่ยมแบบพุทธคยาในประเทศอินเดีย แต่ละด้านมีพระพุทธรูปยืนปางประทานพรอยู่เป็นชั้นๆ ภายในเจดีย์บรรจุอัฐิของพระนางจามเทวี ปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญชัย ตามตำนานเล่าว่า เจ้าอนันตยศและเจ้ามหันตยศ ราชโอรสของพระนางจามเทวีได้สร้างขึ้น เพื่อบรรจุอัฐิของพระนางเมื่อปี พ.ศ.1298 เดิมมียอดห่อหุ้มด้วยทองคำ ต่อมาจะเป็นสมัยใดไม่ทราบชัด ยอดพระเจดีย์หักหายไป ชาวบ้านจึงเรียกว่า "กู่กุด" หรือมีชื่อเรียกอย่าง เป็นทางการว่า "พระเจดีย์สุวรรณจังโกฏิ" นอกจากนั้นยังมีรัตนเจดีย์ซึ่งตั้งอยู่ทางขวาของวิหาร สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 17 โดยพระยาสรรพสิทธิ์ ฐานล่างสุดเป็นรูป 8 เหลี่ยม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.40 เมตร สูงจรดยอด 11.50 เมตร ตัวเจดีย์เป็นรูปสี่เหลี่ยม แต่ละเหลี่ยมเจาะเป็นซุ้ม ประดิษฐานพระพุทธรูปยืน ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์

    4. วัดพระธาตุดอยเวียง สร้างเมื่อ พ.ศ.1220 สมัยพระนางจามเทวี ตามจารึกใบลานภาษาพื้นเมืองเล่าว่า ขุนหลวงปาละวิจาได้มาตั้งเมืองที่นี่ สร้างพระวิหารและพระเจดีย์บนภูเขา วัดนี้ประดิษฐานพระพุทธรูปทองคำหน้าตักกว้าง 39 นิ้ว เป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย มีเรื่องเล่ากันว่า ครั้งหนึ่งฝนแล้ง ชาวบ้านเดือดร้อนเลยนำพระองค์นี้มาแห่ขอฝน ปรากฎว่าฝนตก ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันตั้งชื่อพระองค์นี้ว่า "พระเจ้าสายฝน" นอกจากนี้ยังมี "พระเจ้าดำดิน" ซึ่งสร้างสมัยพระนางจามเทวี ประดิษฐานไว้บนเขา 1 องค์ และข้างล่าง 1 องค์ หน้าตักกว้าง 80 นิ้ว บริเวณวัดร่มรื่น เงียบสงบ
     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×