ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    •• ส่วนตัว I ••

    ลำดับตอนที่ #52 : เวทมนตร์

    • อัปเดตล่าสุด 2 เม.ย. 56


    เวทมนตร์

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
     
     

    เวทมนตร์ หมายถึง ถ้อยคำอันศักดิ์สิทธิ์ คำสำหรับเสกที่พึงจะรู้ ควรจะรู้ มาจากศัพท์ "เวท" (หมายถึง ความรู้, ความรู้ทางศาสนา; คาถาอาคม) และ "มนต์", "มนตร์" (หมายถึง คำศักดิ์สิทธิ์, คำสำหรับสวดเพื่อเป็นสิริมงคล) ฉะนั้น อาจจะตีความได้ว่า การศึกษาเวท คือ การศึกษาสิ่งที่พึงจะรู้, และการศึกษามนตร์ คือ การศึกษาคำสวด คำศักดิ์สิทธิ์ เพื่อตีความความหมายที่ซ่อนอยู่ ต้องเรียนรู้ทั้งสอง จึงจะเรียกตนเองได้ว่าผู้มีเวทมนตร์โดยไม่ละอายใจ

    การเรียนรู้เวทมนตร์แท้จริงเป็นเรื่องไม่ยากนัก เพราะเวทมนตร์เป็นสิ่งรอบๆตัวที่มีอยู่ สิ่งที่เป็นธรรมชาติ การปฏิบัติตนเพื่อเข้าถึงธรรมชาติ ซึ่งอาจจะต้องหาผู้ชี้นำ ซึ่งมีทั้งมีสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต

    เวทมนตร์ เป็นศาสตร์แห่ง ความเชื่อ ที่ว่าด้วยอำนาจที่เหนือการพิสูจน์ เป็นพลังอันเกิดจากการบริกรรมคาถาด้วยความสงบทางจิต มีผลทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่แปลกประหลาดไปจากปกติ เช่น ฟ้าผ่า ไฟลุก

    [แก้]คำศัพท์

    คำว่า เวทมนตร์ ในภาษาอังกฤษ ใช้ว่า "magic" ซึ่งมาจากภาษาฝรั่งเศสว่า "magique" โดยเป็นคำยืมจากภาษาละตินว่า "magice" และภาษากรีก "μαγική (τέχνη)" ซึ่งหมายถึง ศิลปะ สำหรับในภาษาไทย มีศัพท์บัญญัติว่า "มายิก" คือทับศัพท์จากคำนี้ ไม่เพียงอย่างนั้น คำสวดแต่ละคำย่อมมีความหมายแผงอยู่ภายในตัว เช่น โอม นะ มัด ศิวะ ถ้าสวดต่อไปมากๆย่อมจะมีความหมายมากๆ

    [แก้]ประเภทของเวทมนตร์

    เวทมนตร์มีหลายประเภท อาจพบได้ในเกมหรือนิยาย ซึ่งบางส่วนสอดคล้องตรงกับตำราโบราณที่มีจริง แต่ก็มีบางส่วนที่แต่งเติมเสริมต่อออกไป อาจจัดแบ่งตาม ผลที่เกิดจากใช้เวทมนตร์เช่น เวทมนตร์รักษา เวทมนตร์คุ้มกัน เป็นต้น หรือแบ่งตามพลังงานรูปหนึ่งที่อยู่รอบข้างตัว มักจะกำหนดให้ประกอบไปด้วยธาตุต่างๆ ได้แก่

    ธาตุพื้นฐาน 4-5 ธาตุ (ซึ่งตรงกับ ธาตุพื้นฐานที่ศาสตร์โบราณกล่าวถึงจริงๆ) คือ ตำรายุโรป ได้แก่ ดิน , น้ำ , ลม , ไฟ และตำราจีน ได้แก่ ดิน , น้ำ , ไม้ (หรือ ลม) , ไฟ , ทอง (หรือโลหะ) และธาตุเสริม เช่น อัญมณี , สายฟ้า , หมอก , เมฆ , น้ำแข็ง , แสง , โชค โดยบางครั้งเวทมนตร์อาจจะถูกนำมาอ้างอิงในศาสนา , ลัทธิ หรือความเชื่อ


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×