ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    I love snake!!

    ลำดับตอนที่ #9 : ระหว่างงูเห่ากับงูจงอางแตกต่างกันตรงไหน

    • อัปเดตล่าสุด 28 มิ.ย. 53


     งูเห่า (Naja kaouthia) เป็นงูพิษขนาดกลาง จัดอยู่ในสกุลที่มีชื่อสามัญว่า Cobra ซึ่งเป็นสกุลของงูพิษที่เรียกได้ว่า เป็นที่รู้จักกันอย่างดีที่สุดในประเทศไทย พิษมีฤทธิ์ทำลายระบบประสาทที่รุนแรง และเป็นสาเหตุที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตจำนวนมาก เพราะถูกงูเห่ากัดมากกว่างูพิษในสกุลอื่น ๆ มีหลากหลายทางสีมาก (Variety) เช่น ดำ น้ำตาล เขียวอมเทา เหลืองหม่น รวมทั้งสีขาวปลอดทั้งลำตัว ที่เรียกว่า งูเห่านวล หรือ งูเห่าสุพรรณ (Naja kaouthia var. suphanensis Nutaphand, ค.ศ. 1986) มีทั้งที่มีลายตามตัว และไม่มีลาย ไม่มีดอกจัน

    งูเห่า เป็นงูที่จัดอยู่ในงูที่อันตราย มีนิสัยดุร้ายเช่นเดียวกับงูจงอาง ฉกกัดเหยื่อเมื่อเกิดอาการตกใจ มักทำเสียงขู่ฟู่ ๆ โดยพ่นลมออกจากทางรูจมูกจึงได้ชื่อว่า งูเห่า

    เป็นงูที่มีพิษร้ายแรง มีร่องและรูทางออกของน้ำพิษทางด้านหลังของเขี้ยวพิษ เขี้ยวพิษขนาดไม่ใหญ่นักซึ่งผนึกติดแน่นกับขากรรไกรขยับไม่ได้ นอกจากเขี้ยวพิษแล้วอาจมีเขี้ยวสำรองอยู่ติด ๆ กันอีก 1 - 2 อัน ที่ขากรรไกรล่างไม่มีฟัน งูเห่าเมื่อโตเต็มวัย มีความยาวประมาณ 120-150 เซนติเมตร เมื่อเทียบตามส่วนแล้วงูเห่าสามารถแผ่แม่เบี้ยได้กว้างที่สุดกว่าชนิดอื่น ยกตัวชูคอแผ่แม่เบี้ยได้สูงที่สุดประมาณ 1 ใน 3 ของความยาวลำตัว เกล็ดบนหัวมีขนาดใหญ่[1] พบในภาคกลางได้แก่ สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี อยุธยา นครนายก อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี สระบุรี นครปฐม ในทุกพื้นที่ แม้แต่กระทั่งในสวนหรือพงหญ้าในเมือง

    งูจงอาง (King Cobra) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เป็นงูพิษขนาดใหญ่ โดยทั่วไปมีความยาวเฉลี่ยประมาณ 2.5 - 4 เมตร [1] จัดเป็นงูพิษที่มีขนาดยาวที่สุดในโลก ซึ่งตัวที่ยาวเป็นสถิติโลกมีความยาวถึง 5.59 เมตร เป็นงูจงอางไทย ถูกยิงได้ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2467[2] น้ำหนักประมาณ 6 - 10 กิโลกรัม มีลูกตาดำและกลม หัวใหญ่กลมทู่ สามารถแผ่แม่เบี้ยได้เช่นเดียวกับงูเห่า ลำตัวเรียวยาว ว่ายน้ำเก่ง มีหลายสีแต่โดยทั่วไปจะมีสีน้ำตาลแดงอมเขียว ท้องมีสีเหลืองจนเกือบขาว มีสีแดงเกือบส้มที่บริเวณใต้คอ มีพิษร้ายแรงแต่ไม่เท่างูเห่า มีผลทางระบบประสาท (Neurotoxin) ที่รุนแรง พิษของงูจงอางสามารถทำให้คนหรือสัตว์ตายได้[3] โดยมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 75%[3][4][5] เนื่องจากปริมาณพิษที่ฉีดออกจากเขี้ยวพิษมีมาก งูจงอางมีนิสัยค่อนข้างดุร้าย แต่ถ้าไม่จวนตัวหรือถูกรุกรานก่อนจะไม่ทำร้าย อาหารของงูจงอางคืองูอื่น ๆ ที่มีขนาดเล็กกว่า กบหรือตะกวดและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเช่นหนู เป็นต้น

    งูจงอางจัดอยู่ในสกุล Ophiophagus เป็นสกุลของงูพิษที่มีผลต่อระบบประสาท มีรากศัพท์จากภาษาละตินมีความหมายว่า "กินงู" ซึ่งหมายความถึงการล่าเหยื่อของงูจงอาง เพราะงูในสกุลนี้ กินงูอื่นเป็นอาหาร พบในประเทศไทย ประเทศอินเดีย ประเทศพม่า ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยมีมากในป่าจังหวัดนครสวรรค์ เพชรบูรณ์ และนครราชสีมา และในป่าทุกภาค แต่ชุกชุมทางภาคใต้มากที่สุด[6] ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×