คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #11 : การรักษาพิษงู(snakebite)
การรักษาพิษงู (Snakebite) |
ในประเทศเขตร้อนชื้น ที่มีสภาพพื้นที่รกตามท้องทุ่งนา หรือในเมืองใหญ่ อันตรายที่เรามองไม่เห็นย่อมมีอยู่ทั่วไปหลายอย่าง แต่สำหรับอันตรายที่เราสามารถพบได้บ่อย คือ งูพิษ โดยจะทำให้ผู้ที่ถูกกัดได้รับพิษ ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด ไปจนถึงเลือดไหลออกผิดปกติ จนถึงเสียชีวิตได้ในบางราย |
ประเภทของงูพิษ |
1. งูพิษต่อระบบประสาท ตัวอย่างเช่น งูจงอาง งูเห่า งูสามเหลี่ยม และงูทะเล สำหรับกลุ่มนี้ที่พบบ่อยคือ "งูเห่า" โดยจะทำให้ผู้ถูกกัดมีอาการได้ ภายใน 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง เริ่มตั้งแต่ ตาพร่ามัว หนังตาตก พูดไม่ชัด กลืนน้ำลายไม่ได้เอง หายใจไม่สะดวก และอาจจะหยุดหายใจ จนทำให้เสียชีวิต 2. พิษต่อโลหิต ตัวอย่างเช่น งูแมวเซา งูเขียวหางไหม้ และงูกะปะ ที่พบมากโดยเฉพาะในเขตตัวเมือง คือ "งูเขียวหางไหม้" เมื่อถูกกัดได้รับพิษปริมาณน้อย จะมีอาการปวดหรือบวมบริเวณที่ถูกกัดเท่านั้น แต่ถ้าได้รับพิษปริมาณมาก จะทำให้เลือดออกไม่หยุดตามที่ต่างๆ ในรายที่อาการรุนแรงมาก จะไอเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด และปัสสาวะเป็นเลือด |
รูปที่ 1 งูเขียวหางไหม้ ลำตัวสีเขียวเข้ม, ท้องสีเหลืองนวล, ปลายหางสีน้ำตาลแดง ถึงน้ำตาลไหม้ ชอบอาศัยอยู่ตามพุ่มไม้ |
การป้องกันการถูกงูกัด |
1. ควรรักษาบริเวณบ้านให้สะอาด ไม่รกจากเศษอาหาร เนื่องจากเมื่อมีหนูเข้ามาอาศัย จะดึงดูดงูให้เข้ามาหากินหนูในบ้านด้วย |
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อท่านถูกงูกัด |
1. ควรดูให้แน่ใจว่างูที่กัดเป็นงูอะไร พยายามจดจำ สี รูปร่าง ลักษณะศีรษะ ถ้าเป็นไปได้ ควรนำเอาตัวงู มาให้แพทย์ดูด้วย เพราะจะได้ทำการรักษาให้ตรงกับชนิดของงู (แต่ไม่ควรเสียเวลาตามงู) |
การรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่ถูกงูกัด |
1. เมื่อมาถึงโรงพยาบาล แพทย์จะทำการตรวจสอบบาดแผล และดูรอยเขี้ยวงู ว่าเป็นงูพิษหรือไม่ เพื่อให้การรักษาที่ถูกต้อง |
รูปที่ 2 รอยงูกัด บริเวณปลายนิ้วชี้ ร่วมกับมีภาวะจ้ำเลือดออกผิดปกติ |
|
ความคิดเห็น