ลำดับตอนที่ #5
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #5 : [[R.S.]]Thai Test((ม.1))::ประวัติสุนทรภู่::23.1.08
ประวัติสุนทรภู่*
- สุนทรภู่เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน ๘ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๔๘ เวลาประมาณ ๘.๐๐ น. ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๓๒๙ ในรัชกาลที่ ๑ ((พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช))
- บิดามารดาชื่อใดไม่ปรากฏ ทราบเพียงว่ามารดามีเชื้อสายผู้ดี เเละทำหน้าที่เป็นแม่นมของพระธิดาในกรมพระราชวังหลัง
- หลังจากการสร้างกรุงรัตนโกสิน ๔ ปี พ่อกับแม่ของสุนทรภู่ก็แยกทางกัน
· ฝ่ายพ่อกลับไปบวชที่บ้านกร่ำ เมืองแกลง ((จังหวัดระยอง))
· ส่วนแม่ยังคงเป็นนางนมพระธิดา ((เป็นเหมือนพี่เลี้ยงดูแลลูกสาวของกษัติรย์)) ในกรมพระราชวังหลัง และแต่งงานใหม่ มีลูกสาวอีก ๒ คน ชื่อฉิมและนิ่ม
- เมื่อสุนทรภู่โตพอสมควร มารดาได้นำไปฝากให้เรียนหนังสือที่วัดชีปะขาว หรือวัดศรีสุดารามในปัจจุบัน อยู่ริมคลองบางกอกน้อย
- ต่อมากสุนทรภู่ได้รับราชการในหน้าที่เสมียน ในกรมพระคลังสวน แต่สุนทรภู่รับราชการได้ไม่ก้าวหน้าเท่าไหร่ เพราะติดนิสัยรักกาพย์กลอน ซึ่งสามารถแต่งได้ดีตั้งแต่ยังหนุ่ม
- เมื่อรุ่นหนุ่ม สุนทรภู่เกิดรักใคร่ชอบพอ กับนางข้าหลวงในวังหลัง ชื่อแม่จัน ครั้นความทราบถึง กรมพระราชวังหลัง พระองค์ก็ทรงโกรธ รับสั่งให้นำสุนทรภู่ และจันไปขังทันที แต่ทั้งสองถูกจองจำได้ไม่นาน
· เพราะเมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคต((เสียชีวิต))ในปี ๒๓๔๙ ทั้งสองก็พ้นโทษ เนื่องจากเป็นประเพณีตั้งแต่โบราณที่จะมีการปล่อยนักโทษ เพื่อเพื่ออุทิศส่วนพระราชกุศลแด่ พระมหากษัตริย์หรือพระราชวงศ์ ชั้นสูงเมื่อเสด็จสวรรคต หรือทิวงคตแล้ว
- แต่ถึงแม้จะพ้นโทษ สุนทรภู่และจันก็ยังไม่สมหวังในรัก เพราะสุนทรภู่ถูกใช้ไปชลบุรี
- แต่เจ้านายท่านใดใช้ไป และไปธุระเรื่องใดไม่ปรากฎ อย่างไรก็ตาม สุนทรภู่ได้เดินทางเลยไปถึงบ้านกร่ำ
เมืองแกลง จังหวัดระยอง เพื่อไปพบบิดาที่จากกันกว่า ๒๐ ปี
· สุนทรภู่เกิดล้มเจ็บหนักเกือบถึงชีวิต กว่าจะกลับมากรุงเทพฯ ก็ประมาณเดือน ๙ ปี พ.ศ.๒๓๔๙
- หลังจากกลับจากเมืองแกลง สุนทรภู่ได้เป็นมหาดเล็กของพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ พระโอรสองค์เล็ก ของกรมพระราชวังหลัง ซึ่งทรงผนวชอยู่ที่วัดระฆัง ในช่วงนี้ สุนทรภู่ก็สมหวังในรัก ได้แม่จันเป็นภรรยา
- สุนทรภู่คงเป็นคนเจ้าชู้ แต่งงานได้ไม่นาน ก็เกิดระหองระแหงกับแม่จัน ยังไม่ทันคืนดี สุนทรภู่ก็ต้อง ตามเสด็จพระองค์เจ้า ปฐมวงศ์ไปนมัสการพระพุทธบาท จ.สระบุรี ในวันมาฆบูชา สุนทรภู่ได้แต่งนิราศ เรื่องที่สองขึ้น คือ นิราศพระบาท สุนทรภู่ตามเสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ ในเดือน ๓ ปี พ.ศ.๒๓๕๐
- สุนทรภู่มีบุตรกับแม่จัน ๑ คน ชื่อหนูพัด แต่ชีวิตครอบครัวก็ยังไม่ราบรื่นนัก ในที่สุดแม่จันก็ร้างลาไป พระองค์เจ้าจงกล (เจ้าครอก ทองอยู่) ได้รับอุปการะหนูพัดไว้ ชีวิตของท่านสุนทรภู่ช่วงนี้คงจะเศร้ามากๆๆๆ TT^TT
- ประวัติชีวิตของสุนทรภู่ในช่วงปี พ.ศ.๒๓๕๐ - ๒๓๕๙ ก่อนเข้ารับราชการ ไม่ชัดแจ้ง แต่เชื่อว่าท่าน หนีความเศร้าออกไป เพชรบุรี ทำไร่ทำนาอยู่กับหม่อมบุญนาคในพระราชวังหลัง
- พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นมหากวีและทรงสนพระทัยเรื่องการละครเป็นอย่างยิ่ง จึงเรียกสุนทรภู่เข้ามาในวัง อีกทั้ง พระองค์ยังทรงพระราชนิพนธ์บทละคร ขึ้นใหม่อีกถึง ๗ เรื่อง มีเรื่องอิเหนาและเรื่องรามเกียรติ์ เป็นต้น
· ในปี พ.ศ. ๒๓๕๙ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัย สุนทรภู่ได้รับราชการในกรมอาลักษณ์ ได้เป็นขุนสุนทรโวหาร
- ระหว่างรับราชกาลต้องถูกจำคุกเพราะเมาสุราจนไม่มีสติ ภายหลังพ้นโทษได้เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๒
- หลังจากที่พระพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต สุนทรภู่ก็ออกจากราชการและออกบวช เมื่อบวชแล้ว ท่านได้ออกจาริกแสวงบุญไปยังที่ต่างๆมากมาย
- เมื่อสึกออกมา สุนทรภู่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งทรง พระยศเป็นสมเด็จพระเจ้า น้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ โปรดอุปถัมภ์ให้สุนทรภู่ ไปอยู่พระราชวังเดิมด้วย
- แม้สุนทรภู่จะอายุมากแล้ว แต่ท่านก็ยังรักการเดินทางและรักกลอนเป็นที่สุด ท่านได้แต่งนิราศไว้อีก ๒ เรื่องคือนิราศพระประธม และนิราศเมืองเพชร
- สุนทรภู่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระสุนทรโวหาร" ในปี พ.ศ.๒๓๙๔ ((รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว))
- ท่านถึงแก่อนิจกรรมเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๘ รวมอายุได้ ๖๙ ปี
- วันสุนทรภู่ ตรงกับวันเกิดคือวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี
Ps. Give credit to this webside :: http://www.siamfreestyle.com/forum/index.php?showtopic=161
It helps me a lot!!!
โหลดไปจากตรงนี้ก็ได้เหมือนกันจ้า
http://www.uploadgun.com/download.php?file=4d115ddbaada6acc38d2187289ed740a
มันง่ายกว่านะ แล้วหน้ากระดาษก็ดูดีกว่าด้วย ^___^"
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น