ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วิธีการลดน้ำหนักแบบง่ายๆ

    ลำดับตอนที่ #3 : ----- 3 ----- ความอ้วน ทำไมจึงน่ากลัว

    • อัปเดตล่าสุด 26 เม.ย. 50


    ความอ้วน ทำไมจึงน่ากลัว

    สะสมไขมันเสมือนสะสมโรคร้ายแรงไว้กับตัว

    ความอ้วนเกิดจากร่างกายมีไขมันสะสมมากเกินไปแต่อย่าเข้าใจผิดว่าไขมันดังกล่าวเป็นศัตรูต่อร่างกายในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติ ล้วนแต่เป็นเรื่องราวการต่อสู่กับความหิวโหยแทบทั้งสิ้นแม้แต่ปัจจุบันบางแห่งในโลกก็ยังคงต้องต่อสู้กับความอดยากหิวโหน มนุษย์ต้องต่อสู้กับความหิวเพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ พร้อมกับสร้างความเจริญก้าวหน้าต่อไปเรื่อย ๆ ดังนั้นร่างกายจึงพัฒนากระบวนการเก็บสะสมไขมันในร่างกาย เพื่อสามารถนำมาใช้เป็นพลังงานได้สูงสุดแม้ปริมาณเพียงเล็กน้อยเมื่อร่างกายมีพลังงานหลงเหลืออยู่แม้เพียงเล็กน้อย ก็จะเปลี่ยนเป็นไขมันชนิดเป็นกลางแล้วถูกเก็บสะสมอยู่ในเซลล์ไขมันเพื่อใช้ยามต้องการต่อไป ดั้งนั้น การที่ร่างกายอ้วนง่าย เป็นเพราะร่างกายมีประสิทธิภาพเก็บสะสมไขมันได้ดีบางครั้งเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่อดอยากร่างกายก็จะนำเอาประสิทธิภาพนี้มาใช้ด้วยเช่นกัน

    ความอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานนั้น อย่างที่กล่าวในตอนต้นแล้วว่า เกิดจากสาเหตุเดียวกันคือการมีไขมันมากเกินความจำเป็นของร่างกาย ร่างกายจึงนำไขมันไปสะสมในส่วนต่าง ๆ เพื่อเอาไว้ใช้ในอนาคตข้างหน้า และภาวะทั้ง 2 นี้นอกจากจะทำให้รูปร่างทรวดทรงของเราดูไม่สวยงาม บางคนถึงขนาดเทอะทะ อึดอัด เป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง การใช้ชีวิตประจำวันแล้วในทางการแพทย์ยังพบว่าภาวะทั้ง 2 นี้ยังสามารถนำไปสู่ความบกพร่องของอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายของเราได้อย่างมากมายอีกด้วย ตัวอย่างเช่น

    1. โรคเกี่ยวกับระบบหลอดเลือดและหัวใจ (Cardiovascular Diseases)

    ทั้งนี้เนื่องจากผู้ที่มีไขมันในร่างกายมากนั้น ทำให้ร่างกายสามารถใช้ไขมันที่สะสมดังกล่าวเป็นแหล่งในการสร้างไขมันคอเลสเตอรรอล Cholesterol) ที่เป็นไขมันที่มีผลในการอุดตันของหลอดเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เมื่อหลอดเลือดหล่านี้อุดตันก็จะทำให้อวัยวะเหล่านั้นขาดเลือดและเกิดความบกพร่องในการทำงานได้ และนอกจากนี้ยังทำให้หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้นเพราะต้องบีบตัวให้แรงขึ้นเพื่อให้เลือดผ่านเส้นเลือดที่เกิดการอุดตันนั้นไปหล่อเลี้ยงร่างกายให้ได้ และจากการทำงานอย่างหนักของหัวใจนี้เองก็อาจจะส่งผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจโต และภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension) ตามมาได้ด้วย นอกจากนั้น

    นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ยังพบว่าการมีไขมันสะสมอยู่ในร่างกายมาก ๆ จะเป็นแหล่งของอนุมูลอิสระ (Free Radicals) ที่มีผลในการทำลายเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้ตลอดเวลา และอนุมูลอิสระเหล่านี้เองจะมีผลในการทำลายเซลล์ผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดเกิดภาวะแข็งตัว (Artherosclerotic) และขาดประสิทธิภาพในการส่งเลือดไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกายของเราได้อีกทางหนึ่งด้วย มีผลการศึกษาที่น่าสนใจของ ศาสตราจารย์แจค สตรองภาควิชาสัญฐานวิทยา (Pathology) มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์หลุยเซียน่า เมืองนิวออร์ลีนส์ ประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า เมื่อทำการศึกษาพิสูจน์ศพชาวอเมริกันจำนวน 1,532 ศพ และทุกศพเป็นคนที่มีอายุ อยู่ในช่วงวัยรุ่นและตายจากอุบัติเหตุ ได้ผลเป็นที่น่าตกใจว่าทุกศพจะมีภาวะของการอุดตันของหลอดเลือด (Atherosclerotic Plaques) ในเส้นเลือดแดง ขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย หรือเอออร์ต้า (Aorta) ซึ่งจากผลการศึกษานี้ก็ทำให้ทราบว่าภาวะการอุดตันของหลอดเลือดสามารถเกิดขึ้นได้ และเกิดขึ้นแล้วแม้ในวัยเด็ก

    2. โรคมะเร็ง

    จากการศึกษาและการวิจัยทางการแพทย์พบว่าผู้ที่มีไขมันสะสมในร่างกายปริมาณสูงจะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะมะเร็งต่าง ๆ เหล่านี้มากกว่าคนปกติทั่วไป มะเร็งเหล่านั้นได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อลูกหมาก มะเร็งของปิด มะเร็งของตับอ่อน ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากการที่ร่างกายของผู้ที่มีไขมันสะสมในร่างกายมาก ๆ นั้นจะมีโมเลกุลของอนุมูลอิสระล่องลอยอยู่ในกระแสเลือดจำนวนมาก ซึ่งอนุมูลอิสระเหล่านี้ก็คือโมเลกุลของกรดไขมันที่สูญเสียสภาพทางเคมี และอนุมูลอิสระเหล่านี้เองที่มีผลในการกระตุ้นให้เซลล์เกิดการแบ่งตัวอย่างผิดปกติจนกลายเป็นเซลล์มะเร็งดังกล่าวข้างต้นได้

    3. ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension)

    สำหรับภาวะความดันโลหิตสูงนี้เป็นความผิดปกติหนึ่งที่อยู่ในระบบหัวใจและหลอดเลือด ดังได้กล่าวไปแล้วข้างต้น เป็นความผิดปกติที่เกิดเนื่องจากมีการอุดตันของไขมันคอเลสเตอรอลในหลอดเลือด ซึ่งไขมันคอเลสเตอรรอลนี้จะถูกสร้างได้มากขึ้นในผู้ที่มีระดับไขมันสะสมในร่างกายปริมาณสูง

    4. ภาวะเบาหวาน

    ในทางการแพทย์เราพบว่าภาวะเบาหวานหรือภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกตินั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด เบาหวานชนิดแรก (Typel) เป็นภาวะเบาหวานที่เกิดจากความบกพร่องของร่างกายในการสร้างฮอร์โมนอิชูลิน แต่เกี่ยวข้องกับความสามารถของเซลล์ในการนำเอาน้ำตาลในเลือดเข้าไปใช้ในการเผาผลาญเป็นพลังงานในเซลล์ ซึ่งเบาหวานชนิดที่ 2 นี้เองที่พบว่าในผู้ที่มีระดับไขมันสะสมในร่างกายสูงจะส่งผลทำให้ระบบการเผาผลาญน้ำตาลของเซลล์มีประสิทธิภาพแย่ลง และส่งผลให้ร่างกายมีความเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานชนิดที่ 2 นี้มากขึ้นด้วย

    5. ภาวะกระดูกเกิดการอักเสบหรือปวด (Osteoarthritis)

    พบว่าในผู้ที่มีไขมันสะสมในร่างกายปริมาณสูงหรือมีน้ำหนักของร่างกายมาก ๆ นั้นจะส่งผลทำให้กระดูก เกิดการรับน้ำหนักมากขึ้นเป็นเงาตามตัว โดยเฉพาะส่วนของข้อต่อกระดูก (Joints) ซึ่งหากข้อต่อหรือกระดูดดังกล่าวต้องรับน้ำหนักของร่างกายนาน ๆ ก็จะมีผลให้เกิดอาการเจ็บปวดหรืออาการอักเสบตามมาได้

    6. ไขข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)

    เราพบว่าผู้ที่มีไขมันในร่างกายปริมาณสูง จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไขข้ออักเสบรูมาตอยด์มากกว่าคนทั่วไป และแพทย์ก็มักจะให้คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยรูมาตอยด์เสมอว่าให้ลดปริมาณการรับประทานอาหารที่มีไขมันลง

    7. มัลติเปิ้ลสเคลอโรซีส (Multiple Sclerosis;MS)

    หรือภาวะความผิดปกติของระบบประสาทที่ปรากฎอาการกับอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ตั้งแต่มีอาการตาพล่ามัว (Blurred vision) จนกระทั่งถึงอาการอัมพาต (Paralysis) และมีนำวิทยาศาสตร์ชื่อศาสตราจารย์ รอย สแวงค์ ซึ่ง เป็นศาสตราจารย์ในภาควิชาประสาทวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพโอเลกอน เมืองพอร์ทแลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาวิจัยจนแสดงให้เห็นได้ว่าการรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำจะสามารถลดอาการหรือความเสี่ยงต่อโรคมัลติเปิ้ลสเคลอโรซีส (MS) 
                                                                                       
                                                                                          ข้อมูลจาก www.bodyslen.com

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×