คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #2 : ----- 2 ----- การดูแลร่างกายขณะลดความอ้วน
การดูแลร่างกายขณะลดความอ้วน
ในระหว่างการลดความอ้วน ถ้าเราลดความอ้วนอย่างถูกวิธีร่างกายจะสูญเสียเฉพาะไขมันส่วนเกินที่สะสมอยู่ในร่างกายไปเพียงอย่างเดียว กล้ามเนี้อไม่ลดขนาดลงไปด้วย วิธีการก็คือกินอาหารตามสัดส่วนที่แนะนำและมีการออกกำลังกายเสริมในตอนเย็น อาจจะมีขนาดของกล้ามเนื้อที่ลดลงไปบ้างเพียงเล็กน้อย หรือไม่ลดขนาดลงเลย แต่ถ้าเรากินอาหารไม่ถูกสัดส่วน และไม่ออกกำลังกายเลยจะมีขนาดของกล้ามเนื้อที่ลดลงไปมากเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนของไขมันที่ลดลง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาในผู้ที่กำลังลดความอ้วน
ทำอย่างไรที่จะทำให้หนักหนักของร่างกายที่ลดลงเป็นน้ำหนักของไขมันเท่านั้น
และนอกจากนั้นยังจะต้องทำให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์
เหมือนกับก่อนการลดความอ้วน หรือมีสภาพที่ดีกว่าก่อนการลดความอ้วนด้วย อวัยวะอื่น ๆ ที่พบเสมอว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมโทรม ถ้าลดความอ้วนอย่างไม่ถูกวิธี
การป้องกันและบำบัดเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่พึงประสงค์ของอวัยวะต่าง ๆ เหล่านี้ คงต้องแยกอธิบายเป็นหัวข้อ ๆ ไป เพราะวิธีการป้องกันและบำบัดแตกต่างกันไป
1) ใบหน้าร่วงโรย ซูบซีด หิวหนังเหี่ยวแห้ง ใบหน้าที่ร่วงโรย ซูบซีด
ผิวหนังเหี่ยวแห้งพบได้บ่อยมากในผู้ที่กำลังลดความอ้วน ทำให้ใบหน้าแลดูแก่กว่าความเป็นจริง และเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยโรคอ้วนหยุดลดความอ้วนไปเลย เพราะไม่สามารถหาวิธีแก้ไขได้ ยอมกลับมาอ้วนแล้ว ให้ใบหน้าเปล่งปลั่งเหมือนเดิมซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก เพราะสามารถป้องกันและแก้ไขไม่ให้เกิดใบหน้าที่ร่วงโรยดูแกกว่าวัยได้ การจะแก้ไขอาการอะไรก็ต้องทราบสาเหตุของการที่ทำให้เกิดอาการเหล่านั้นเสียก่อน สาเหตุของการที่ทำให้ผู้ป่วยที่ลดความอ้วนมีใบหน้าร่วงโรย ซูบซีดผิวหนังแห้งเหี่ยวที่พบบ่อย คือ
1.1) ดื่มน้ำน้อยเกินไป พบเสมอว่าผู้ที่กำลังลดความอ้วนมักจะ ดื่มน้ำน้อยกว่าปกติ เนื่องจากกจำกัดการกินอาหารก็เลยจำกัดการดื่มน้ำตามไปด้วย ทำให้ร่างกายขาดน้ำค่อนข้างมาก โดยปกติเราควรได้รับน้ำจากการดื่มน้ำ 6-8 แก้ว หรือประมาณ 1,500 2,000 C.C. ต่อวัน ได้รับน้ำที่ติดมากับอาหารที่กิน ประมาณ 1,000 2,000 C.C. ต่อวัน และเมื่อร่างกายเผาผลาญอาหารที่กินเข้าไปจะได้รับน้ำเพิ่มขึ้นอีก 300 500 C.C. ต่อวัน แสดงว่าน้ำที่ใช้ในร่างกายส่วนใหญ่ได้มาจากอาหารที่กินเข้าไป เมื่อกินอาหารลดลงร่างกายก็จะขาดน้ำไปด้วย จึงจำเป็นจะต้องดื่มน้ำชดเชย การขาดน้ำจากการกินอาหารลดลงอีกประมาณวัน 2 - 4 แก้ว ดังนั้น ในขณะกำลังลดความอ้วน จึงควรดื่มน้ำวันละประมาณ 10 12 แก้ว ในผู้ที่มีใบหน้าซูบซีดร่วงโรยผิวหนังเหี่ยวแห้ง พบว่าจะมีการดื่มน้ำเพียงประมาณวันละ 4 - 6 แก้วเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอ
1.2) ขาดวิตามินและเกลือแร่บางชนิด ผู้ป่วยโรคอ้วนที่ลดความอ้วนโดยขาดความรู้ด้าน โภชนาการจะพบว่า ใบหน้าที่ร่วงโรยซูบซีด ผิวหนังเหี่ยวแห้ง เกิดจากสาเหตุนี้ได้บ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ใช้วิธีลดความอ้วนด้วยการกินยาลดความอ้วนโดยขาดการแนะนำการกินอาหารที่ถูกต้องวิตามิน และเกลือแร่ที่พบว่าเมื่อขาดไปแล้วทำให้เกิดอาการเหล่านี้ คือ ขาดวิตามิน A ทำให้ผิวแห้ง ผิวอักเสบง่าย ผิวไม่เรียบเป็นมัน เยื่อบุอวัยวะต่าง ๆ แห้งอักเสบ ขาดวิตามิน B1, B2, B3, B5 ทำให้ผิวแห้ง เหี่ยวย่น ผิวเป็นหนังกระ ผิวอักเสบง่าย สีผิวไม่เรียบ ขาดวิตามิน B6, B9, B12 ทำให้เกิดโรคโลหิตจางทำให้ซีดเซียว ขาดวิตามิน C ทำให้ผิวหนังไม่สดใส ไม่เต่งตึง เหี่ยวย่น ง่ายจากสารคอลลาเจนลดจำนวนลง ขาดวิตามิน E ทำให้ผิวไม่นุ่มเนียน เกิดอาการหมองคล้ำ ทำให้ผิวแห้ง ขาดธาตุกำมะถัน ทำให้การซ่อมสร้างเซลล์ผิวหนังทำได้ไม่สมบูรณ์ ขาดธาตุเหล็ก ทำให้เกิดโรคโลหิตจาง ทำให้ซีดเซียว ขาดธาตุทองแดง ทำให้เกิดโรคโลหิตจาง ทำให้ซีดเซียว ขาดธาตุสังกะสี ทำให้ขาดโปรตีน เคอราติน ทำให้การสร้างผิวหนังใหม่เกิดไม่สมบูรณ์ ผิวไม่เรียบสวยและสีผิวไม่เรียบเนียน
2) เส้นผมแห้งกรอบไม่นุ่มสลวยปัญหานี้พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคอ้วนที่กำลังลดความอ้วนจากสาเหตุที่สำคัญคือ
2.2) ร่างกายขาดกรดไขมันที่จำเป็นบางชนิด ในขณะกำลังลดความอ้วน จะมีการลดปริมาณไขมันที่กินลงมาก หรืออาจจะไม่ได้กินไขมันเลยในบางครั้ง อาจทำให้ขาดกรดไขมันที่จำเป็นไปได้ในบางครั้ง ทำให้ต่อมไขมันบริเวณโคนเส้นผมผลิตไขมันออกมาน้อยจนทำให้เส้นผมแห้งมาก วิธีการแก้ไขอาจเพิ่มการกินกรดไขมันที่จำเป็นบางชนิด เช่น กรดไขมันไลโนอิค (LA) ได้จากพวกน้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันงา กรดไขมันแกรมม่าไลโนเลนิก (GLA) ได้จากพวกน้ำมันของดอกอิฟเวนนิ่งพริมโรส (EPO) กรดไขมันไอโคซาเพนตาอิโนอิก (EPA) และกรดไดโคซาเฮกซาอิโนอิก (DHA) ได้จากพวกน้ำมันปลาปริมาณที่ควรกินต่อวันประมาณ 3 - 6 กรัม จะสามารถช่วยแก้อาการผมแห้งกรอบได้
2.3) ขาดสารอาหารบางชนิด ขณะลดความอ้วนอาจทำให้ขาดสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อการสร้างเส้นผมได้ที่พบบ่อย คือ ขาดธาตุกำมะถัน เส้นผมและผิวหนังมีกำมะถันเป็นส่วนประกอบมากถึงร้อยละ 4-6 เนื่องจากกำมะถันเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ อยู่ในโปรตีนของเส้นผมและผิวหนัง นอกจากนั้นกำมะถันยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกรดอะมิโนเมธิโอนีน และซีสติน วิตามิน B1 และไบโอติน ซึ่งเป็นสารสำคัญในการสร้างเส้นผมและผิวหนัง ถ้าขาดกำมะถันไปก็จะทำให้การซ่อมสร้างเส้นผมและผิวหนังผิดปกติไป แก้ไขด้วยการกินอาหารที่ให้กำมะถันมากขึ้น เช่น ไข่ต่าง ๆ ในผลไม้มีมากในทุเรียน ขาดธาตุสังกะสี ทำให้ขาดโปรตีนเคอราตินที่เป็นส่วนประกอบของเส้นผม ขาดวิตามิน E ทำให้เส้นผมแข็งแรง ไม่นุ่มสลวย ขาดวิตามิน A ทำให้เส้นผมแห้ง หลุดร่วงง่าย ขาดวิตามิน B รวม ทำให้เส้นผมแห้ง เส้นผมไม่แข็งแรง หลุดร่วงง่าย สีของเส้นผมอาจเปลี่ยนไป
3) กล้ามเนื้อลีบเล็กลงไม่แข็งแรง ในผู้ป่วยโรคอ้วนที่กำลังลดความอ้วนพบว่ามีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก ไม่แข็งแรงอยู่มากพอสมควร เกิดจากสาเหตุ คือ
3.1) กินอาหารให้โปรตีนน้อยเกินไป การกินโปรตีนมากเกินไปก็เกิดโทษ คือ ทำให้เกิดโรคอ้วน ทำให้ตับและไตต้องทำงานหนัก กินน้อยไปก็จะทำให้การซ่อมสร้างกล้ามเนื้อดำเนินไปได้ไม่ดี ปริมาณโปรตีนที่ควรกินต่อวันประมาณ 0.75 กรัม ต่อน้ำหนักตัวที่เหมาะสม 1 กิโลกรัม ถ้าน้ำหนักตัวที่เหมาะสมเป็น 60 กิโลกรัม ควรกินโปรตีนวันละ 0.75 x 60 = 45 กรัม
3.2) ขาดการออกกำลังกายที่เพียงพอ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยมากในการทำให้กล้ามเนื้อลีบเล็กไม่แข็งแรง เนื่องจากผู้ป่วยโรคอ้วนส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยชอบออกกำลังกายอยู่แล้ว พอลดความอ้วนเลยยิ่งขาดการออกกำลังกายไปใหญ่เพราะกลัวจะอ่อนเพลียมากขึ้น ซึ่งข้อเท็จจริงจะเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามยิ่งออกกำลังกายจะยิ่งแข็งแรง น้ำหนักจะยิ่งลดได้เร็ว และน้ำหนักที่ลดลงจะเป็นน้ำหนักของไขมันเท่านั้น น้ำหนักของกล้ามเนื้อจะไม่ลดลงไปด้วยถ้าออกกำลังกาย กล้ามเนื้อจะเพิ่มขนาดขึ้นกว่าก่อนการลดน้ำหนักด้วย ข้อดีอีกประการหนึ่งของการออกกำลังกายในขณะลดความอ้วนก็คือ จะทำให้คลายความเครียด จิดใจแจ่มใส ทำให้การลดความอ้วนไม่เป็นสิ่งที่น่าเบื่อหน่าย ทำให้การลดความอ้วนประสบผลสำเร็จเร็วยิ่งขึ้น
4) ท้องผูกเรื้อรัง สภาวะท้องผูก เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้ป่วยโรคอ้วนมักประสบในขณะกำลังลดความอ้วนที่จำเป็นจะต้องได้รับการแก้ไข สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดท้องผูกในขณะลดความอ้วน คือ
4.1) การดื่มน้ำน้อย การดื่มน้ำน้อยขณะลดความอ้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมได้ในหลายอวัยวะตามที่กล่าวมาแล้ว นอกจากนั้นยังเป็นสาเหตุที่ทำให้ท้องผูกอีกด้วย
4.2) การมีกากอาหารในลำไส้น้อย เกิดจากการลดปริมาณการกินอาหารลง ทำให้ปริมาณของกากอาหารในลำไส้ลดตามไปด้วย ต้องแก้ด้วยการกินอาหารที่ให้เส้นใยอาหารในปริมาณสูง เส้นใยอาหารนอกจากจะแก้เรื่องท้องผูกได้ผลดีแล้ว ยังทำให้ลดความอ้วนได้เร็ว เนื่องจากช่วยลดการดูดซึมของไขมันและทำให้ไขมันถูกขับถ่ายออกมาเร็วขึ้น การกินอาหารที่มีเส้นใยอาหารมากยังช่วยให้ร่างกายแข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอีกด้วย
4.3) ขาดการกออกกำลังกาย การขาดการออกกำลังกายจะทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ไม่ดี ลำไส้มีการเคลื่อนไหวน้อย บีบรัดตัวน้อยทำให้ท้องผูก
ข้อมูลจาก www.bodyslen.com
ความคิดเห็น