ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วิธีการลดน้ำหนักแบบง่ายๆ

    ลำดับตอนที่ #15 : ----- 15 ----- โรคอ้วน (Obesity)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 833
      0
      27 เม.ย. 50

    โรคอ้วน (Obesity)

     

                    คือสภาวะที่ร่างกายมีไขมันเกินกว่าสภาวะปกติ ในผู้ชายสภาวะปกติไม่ควรมีไขมันเกินกว่า 15% ของน้ำหนักตัวในผู้หญิงสภาวะปกติไม่ควรมีไขมันเกินกว่า 20% ของน้ำหนักตัว ยกตัวอย่างเช่น ผู้ชายมีน้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม น้ำหนักไขมันในร่างกายถ้ามีมากกว่า 9 กิโลกรัม จัดว่าเป็นโรคอ้วน ในผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม ถ้ามีน้ำหนักไขมันเกินกว่า 10 กิโลกรัม จัดเป็นโรคอ้วนการหาปริมาณน้ำหนักไขมันในร่างกายของคนเราในขณะมีชีวิตอยู่โดยตรงเป็นเรื่องที่ทำได้ยากจึงมีวิธีที่ใช้ทางอ้อมโดยยึดหลักว่าประมาณ 50%ของไขมันในร่างกายจะอยู่ที่บริเวณใต้ผิวหนังทั่วร่างกาย การวัดความหนาของชั้นไขมันใต้ผิวหนังแล้วมาคำนวณหาน้ำหนักของไขมันเป็นวิธีการที่นิยมตำแหน่งที่ใช้วัดความหนาของชั้นไขมันใต้ผิวหนังคือบริเวณด้านหลังของต้นแขน หรือบริเวณแผ่นหลังต่ำกว่าสะบักเล็กน้อยเครื่องมือที่ใช้วัดเรียกว่าสกินโฟลด์ แคลิเปอร์ (Skin fold Caliper)

                   

                    แต่ในทางปฏิบัติเราไม่มีเครื่องมือก็สามารถใช้นิ้วชี้หรือนิ้วหัวแม่มือจับผิวหนังบริเวณดังกล่าว โดยจับให้ติดเฉพาะส่วนที่นุ่มๆของไขมันใต้ผิวหนังขึ้นมาแล้ววัดความหนาด้วยไม้บรรทัด ถ้าวัดความหนานี้ได้ 3/4นิ้วฟุต ในผู้ชายจะมีน้ำหนักไขมันในร่างกายร้อยละ 13-18 ของน้ำหนักกาย ในผู้หญิงจะมีน้ำหนักไขมันในร่างกายร้อยละ 18-23 ของน้ำหนักกาย ดังนั้น ทั้งในผู้ชายและผู้หญิงถ้าวัดความหนาของชั้นไขมันใต้ผิวหนังได้น้อยกว่า 3/4นิ้วฟุต ก็ไม่ถือ ว่าเป็นโรคอ้วน (Obesity) แม้จะมีน้ำหนักตัวเกินกว่าน้ำหนักตัวที่เหมาะสมมากกว่า 10% จัดเป็นภาวะน้ำหนักเกินตัว(Overweight)ในทางปฏิบัติโดยทั่วไป การวัดปริมาณไขมัน ในร่างกายของผู้ที่เป็นโรคอ้วน ก็ใช้การชั่งน้ำหนักร่างกายเป็นเกณฑ์การประเมินว่าผู้ที่เป็นโรคอ้วนนั้น มีน้ำหนักของไขมันเพิ่มขึ้นหรือลดลงเท่าไร โดยการชั่งน้ำหนักร่างกายเปรียบ เทียบแต่ละครั้ง ถือว่าน้ำหนักร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นน้ำหนักของไขมันในร่างกายเท่านั้น

                     ดังนั้น จึงจำเป็นต้องชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบในสภาวะของร่างกายที่เหมือนกันคือ ตอนเช้าหลัง ตื่นนอน ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ก่อนกินน้ำหรืออาหารใด ๆ เพราะในระหว่างวันที่เรากินอาหาร กินน้ำ น้ำหนักของอาหารและน้ำ 3 มื้อที่เรากิน   มีน้ำหนักมากตั้งแต่ 1 ถึง 3 กิโลกรัม ถ้าเราชั่ง น้ำหนักร่างกายเปรียบเทียบกันคนละสภาวะของร่างกายน้ำหนักของร่างกายที่แตกต่างอาจ เป็นน้ำหนักของน้ำหรืออาหารที่เรากินเข้าไป ไม่ใช่น้ำหนักของไขมันที่แตกต่างกัน ในการ ลดน้ำหนัก เพื่อรักษาโรคอ้วนสิ่งที่เราปรารถนาให้ลดลงคือน้ำหนักของไขมันเท่านั้น แต่ ในทาง ปฏิบัติถ้าผู้ลดน้ำหนัก กินอาหารไม่ถูกต้องตามที่ควรจะกิน และไม่มีการออกกำลังกายเพียงพอ น้ำหนักที่ลดลงจะเป็นน้ำหนักของกล้ามเนื้อที่ลดลงร่วมกับน้ำหนักของไขมันด้วย ซึ่งเป็นสิ่งไม่ พึงปรารถนา ดังนั้น ในการลดน้ำหนักเพื่อรักษาโรคอ้วนจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความรู้ที่ถูกต้อง

     

    ข้อมูลจาก www.bodyslen.com

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×