ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมเทคนิคการเป็นนักเขียนออนไลน์

    ลำดับตอนที่ #6 : - มุมมอง คือหน้าต่างของนิยาย -

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.72K
      16
      12 พ.ค. 55

    - มุมมอง คือหน้าต่างของนิยาย -

     

    มุมมองหรือสิ่งที่เรียกว่า Point of View เป็นมุมมองของการนำเสนอเรื่องของนิยายของเราว่าผ่านสายตาของใคร มีด้วยกัน 4 แบบคือ มุมมองบุคคลที่ 1, มุมมองบุคคลที่ 2, มุมมองบุคคลที่ 3 และ มุมมองบุคคลที่ 3 สโคปบุคคลที่ 1 โดยสิ่งเหล่านี้นักเขียนจำเป็นที่จะต้องรู้จักและเลือกใช้ให้ถูก ไม่เช่นนั้นจะทำให้นิยายสนุกน้อยลงหรือมีความสับสนกว่าที่ควรจะเป็นได้

    มุมมองบุคคลที่ 1 เป็นการนำเสนอผ่านมุมมองของตัวละครใดตัวละครหนึ่ง สิ่งที่พบเจอ รับรู้ มองเห็น และนึกคิดต้องเป็นสิ่งที่ฉันรับรู้ได้เท่านั้น ถ้าคนอื่นรู้คนอื่นเห็นฉันจะไม่รับรู้ไปด้วย เช่นตัวละครอีกตัวเห็นอะไร ? ทำหน้าตาตื่นตกใจเชียว ฉันจะไม่เห็นไปกับเขาด้วยหรอกนะ หรือตัวละครอีกคนกำลังทำอะไรอยู่ฉันก็ไม่รู้ด้วยเช่นกัน ยกเว้นแต่ถ้าฉันมีพลังจิตล่ะนะ ซึ่งก็คงดีไม่น้อยเลยทีเดียว ทำให้ตอนนี้ฉันทำให้เดาได้จากท่าทางของเขา... หน้าบึ้งมาเชียวคงโกรธอะไรอยู่มั้ง ? ซึ่งการบรรยายก็ใช้คำศัพท์ในหมวดบุคคลที่หนึ่งนี่แหละ เช่น ฉัน ผม เป็นต้น ซึ่งก็ตามแต่ที่ฉันจะคิดหรือใช้เรียกกับตัวเองนั่นแหละ ถ้าฉันห้าว ๆ หน่อยอาจจะใช้คำว่า ข้าเรียกแทนตัวของฉันเองก็ได้ ซึ่งการบรรยายด้วยมุมมองแบบนี้เหมาะมากเลยนะที่จะทำให้ตัวคนอ่านคิดว่าตัวเขารับบทบาทเป็นตัวฉันในเรื่องอยู่ เพราะมันจินตนาการเป็นตัวฉันง่ายนั้นเอง แต่ก็ใช่ว่าไม่มีข้อเสียเลยนะ เพราะฉันไม่มีทางรู้ข้อมูลในสิ่งที่ฉันยังไม่รับรู้ได้หรอก

    มุมมองบุคคลที่ 2 เป็นการนำเสนอผ่านคุณ ! คุณผู้อ่านนั่นแหละ ! ว่าให้คุณรับรู้ว่าคุณกำลังทำอะไร ! แต่รับรองได้ว่าคุณจะไม่ทำอย่างแน่นอน เพราะคุณจะรู้ว่ามันยุ่งยาก ! ส่วนสรรพนามที่ใช้ ก็คุณเองนั่นแหละ ! ถ้าคุณเลือกใช้มุมมองนี้ แปลว่าคุณ ! แน่มากทว่าถ้าคุณไม่แน่จริง คุณก็อาจจะล้มเหลวได้ง่ายด้วยเช่นกัน

    มุมมองบุคคลที่ 3 หรือ เรียกอีกอย่างว่ามุมมองพระเจ้า เห็นทุกอย่างหมด เหมาะสำหรับการบรรยายที่ไม่เจาะจงไปยังตัวละครใดตัวละครหนึ่ง เห็นภาพรวมได้ง่าย รู้ใจของทุกคนได้หมด เหมาะกับการให้ข้อมูลที่มาก  เช่นเมืองนี้อลังการแค่ไหน หรือพระราชาของแต่ละอาณาจักรคิดจะทำอะไรกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นบ้าง ไม่มีสรรพนามที่ใช้ในการบรรยาย สำหรับมุมมองแบบนี้สามารถนำเสนอข้อมูลได้มากหลากหลายแนว แต่มีข้อเสียคือไม่อาจจะทำให้ผู้อ่านอินกับเนื้อเรื่องได้ง่ายนัก

    มุมมองบุคคลที่ 3 สโคปบุคคลที่ 1 คล้ายกับบุคคลที่ 3 ทว่ากลับกันก็ใช้ลักษณะของบุคคลที่ 1 มาด้วย จะเป็นการเกาะตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ เห็นสิ่งที่เขาเห็น รับรู้สิ่งที่เขารับรู้ แต่ไม่เข้าไปสิงในตัวบุคคลนั้นจนให้มีสรรพนามบรรยายว่า ฉัน ผม ฯลฯ อยู่ในเรื่อง แต่นอกจากนี้ยังสามารถพอจะข้ามฉากไปดูสิ่งอื่นได้ด้วย เช่นในเรื่องที่เขาไม่เห็น เรื่องที่เขาไม่รู้ จึงนับได้ว่าดึงจุดเด่นของมุมมองทั้งสองแบบมาใช้ได้เป็นอย่างดี ทว่ากลับกันมันก็มีข้อเสียก็คือ ให้ข้อมูลได้ไม่กว้างเท่าบุคคลที่ 3 หรือทำให้คนอ่านอินว่าเป็นตัวละครได้เท่าบุคคลที่ 1

    สำหรับเวลาจะเลือกใช้มุมมองแบบใดต้องดูความเหมาะสมให้ดี ถ้าเป็นแฟนตาซีที่เน้นความเริดหรูอลังการก็ควรแบบบุคคลที่ 3 ส่วนถ้าผจญภัยเฝ้ามองตัวละครกลุ่มหนึ่งบุกตะลุยดินแดนต่าง ๆ ไปพร้อมกัน ก็ควรจะใช้ มุมมองบุคคลที่ 3 สโคปบุคคลที่ 1 มากกว่า สำหรับเรื่องรักหวานแหวว หรือระทึกขวัญ ควรจะใช้บุคคลที่ 1 เพื่อให้คนอ่านอินเป็นตัวละครนั้นให้ได้มากที่สุด

    ในการเลือกใช้มุมมองใดมุมมองหนึ่งแล้ว พยายามเปลี่ยนมุมมองให้น้อยที่สุด เช่นมุมมองบุคคลที่ 1 ไม่สมควรที่จะย้ายไปมาระหว่างตัวละครบ่อย ๆ เช่นตอนแรกก็นางเอก ต่อมาก็พระเอก แบบนี้ไม่สมควรทำ เพราะมันจะทำให้สับสน หรือบุคคลที่ 3 ถ้าจู่ ๆ ไปสโคปที่บุคคลที่ 1 จะทำให้คนอ่านรู้สึกสะดุดเวลาอ่านขึ้นมาได้

    อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าเลือกมุมมองใดแล้วจะต้องเลือกมุมมองนั้นไปตลอด เวลาเขียนการเปลี่ยนมุมมองสามารถทำได้ แต่อย่าเปลี่ยนบ่อย และเวลาเปลี่ยนควรที่จะทำให้คนอ่านรู้เสมอว่าทำการเปลี่ยนมุมมองแล้ว ด้วยการเว้นช่วง หรือใช้ภาษาที่แตกต่าง จะทำให้คนอ่านรู้ได้ชัดเจนมากขึ้น

    สรุป: เลือกมุมมองให้ดี พยายามอย่าเปลี่ยนบ่อย ถึงแม้จะเปลี่ยนได้แต่เปลี่ยนให้น้อยที่สุด และให้คนอ่านรับรู้เสมอว่า "ตอนนี้เปลี่ยนมุมมองแล้วนะ" ด้วยเสมอ

    ................

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×