ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    {Hєαlos.} Weapons research Clαss » яooм « 『ศาตราวุธวิทยา.』

    ลำดับตอนที่ #12 : การเรียนเสริมบทที่ 1 วิชาการต่อสู้ระยะประชิด

    • อัปเดตล่าสุด 14 ม.ค. 55


     

    ผมเดินไปสำรวจรอบห้องเรียนใหม่อย่างตื่นเต้น พลางคิดในใจว่า การสอนคราวนี้เป็นการสอนเสริมพิเศษครั้งแรก อุตส่าห์ขอร้องทั้งผู้ใหญ่มาทั้งที ต้องทำให้ดีที่สุด



     

    มีใครหลายคนค้านไม่อยากจะให้ใช้ที่นี้มาเป็นสนามสอน แต่ทว่า ก็ผมชอบ มันได้ Feeling ดี จริงไหมล่ะครับ?

    ผมหันไปทางเด็กๆแล้วเชื้อเชิญให้นั่งกับพื้นอีกครั้งเหมือนคาบเรียนที่แล้วจนหลายคนสงสัยว่าเมื่อไหร่คาบเรียนของผมจะมีการพัฒนาโดยการเสริมเก้าอี้ให้เสียที .... ผมขอตอบเลยว่า ... ผมขี้เกียจยกเก้าอี้มาจัดครับ !!!

    ที่นี้มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และแน่นอน สไตล์การต่อสู้และการใช้อาวุธย่อมไม่เหมือนกันเป็นแน่ จากคำบอกเล่าของท่านผู้อำนวยการและใครหลายๆคน เด็กที่นี้ส่วนใหญ่มีพรสวรรค์การต่อสู้ที่หลากหลาย ตามที่ผมอ่านจากตำรา...

    “ ผมจะขอเกริ่นเรื่องศิลปะการต่อสู้นะครับ...” ผมวาดมือไปมาตามอากาศแล้วกล่าวต่อไปว่า

    “ศิลปะการต่อสู้แบบตะวันตกมักจะเป็นการร่ายเวทย์มนต์โจมตีที่รุนแรงและเน้นการใช้วิทยาการของอาวุธ

    ส่วนศิลปะการต่อสู้แบบตะวันออกนั้น เน้นการฝึกฝนจิตใจและร่างกายให้แข็งแกร่ง เน้นการใช้ร่างกายและความกลมกลืนของธรรมชาติ”


    ซึ่งต่างฝ่ายต่างมีข้อดีข้อเสียต่างกัน ในความคิดผม ผมอยากจะให้การนำเอาทั้งสองมารวมกันแล้วทำให้เกิดวิทยายุทธที่มีประสิทธิภาพสูงสุด... แต่ถึงกระนั้นเถอะ ผมไม่มีความสามารถในการใช้มนตรา.... แค่จะจุดไฟจากปลายนิ้วยังไม่มีปัญญาจนโดนคนสอนเผ่นกระบาลไปหลายที เพราะสมาธิในการเพ่งต่ำ

    “เนื่องจากการเรียนคราวนี้ ผมมีความสามารถในการสอนแค่การต่อสู้ศิลปะตะวันออกและการใช้อาวุธเท่านั้น การต่อสู้ระยะประชิดนั้นไม่ใช่แค่การต่อสู้ตามรูปแบบที่ผมสอน เราสามารถพลิกแพลงตามสถานการณ์ เช่น”

    ผมเริ่มต้นวางรูปแบบท่ามวยจีนขึ้นมา ซึ่งทำตามรูปแบบจาก เท้า ศอก มือ ...

    “ถ้าเกิดถูกโจมตีไม่มีใครจะนั่งคิดว่ามันรับ – ส่ง ตามรูปแบบรึเปล่า...”

    ผมขอร้องให้นามิคุงโจมตีผมเพื่อเป็นตัวอย่างแก่นักเรียนคนอื่น เขาลุกขึ้นมาแล้วยกส่งลูกเตะตรงมาที่ก้านคอผม... พริบตาผมเองก็ทั้งทึ่งทั้งผวา เด็กนักเรียนโจมตีได้หนักหน่วงกว่ารูปร่างที่เห็นภายนอกยิ่งนัก แต่ด้วยกลัวความเสียฟอร์มของอาจารย์จึงได้กระโดดหลบแล้วหลบไปด้านหลังอีกฝ่าย

    “ บางครั้งการหลบอาจจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด ในสถานการณ์นี้ แต่บางครั้ง ถ้าเพื่อชีวิตตัวเองหรือเอาชนะ เมื่อใครเห็นโอกาสก็ต้องสวนกลับจริงไหมครับ?”


    ผมอธิบายยิ้มๆ ทันได้นั้น ดินสอกับปากกาขนนกก็ตรงมาแสกหน้าผม

    “คุณครูบอกว่า ถ้ามีโอกาสควรสวนกลับใช่ไหมฮะ” นามิคุงพูดติดตลก พาเอานักเรียนในชั้นหัวเราะครืน แม้กระทั่งท่านผู้อำนวยการที่ดูการสอนยังหัวเราะตามด้วย

    “ไม่ใช่ตอนนี้คร๊าบบบบ” ผมพูดทั้งน้ำตาแล้วลุกขึ้นมารักษามาดที่เสียไปเยอะแล้ว

    งั้น ผมขอเข้าบทเรียนนะครับ การต่อสู้ระยะประชิดนั้น จากที่ผม จำแนก มีการต่อสู้แบบมือเปล่าและใช้อาวุธ ซึ่งในคาบนี้ ผมขอสอนโดยรวมก่อน
    ศิลปะป้องกันตัวอาจเป็นกลุ่มได้ตามลักษณะการต่อสู้ เช่น


    แบบมือเปล่า

    การฟาด -มวย กังฟู
    การเตะ-มวยไทย เทควันโด
    การเหวี่ยงทุ่ม-ยูโด มวยปล้ำ

    การล็อก-ยูยิสสุ

    แบบใช้อาวุธ

    การใช้อาวุธ
    -เคนโด้ ฟันดาบ



    ศิลปะการต่อสู่ระยะประชิดแบบใช้อาวุธผมจะขอกล่าวในบทเรียนศาสตรวุธวิทยานะครับ
    และการต่อสู้ในปัจจุบันเองก็สามารถแยกตามนี้

    1.    ศิลปะการต่อสู้แบบกีฬา นอกจากจะถูกสอนเพื่อการต่อสู้และป้องกันตัวมักถูกลดความรุนแรงลง และปรับปรุงเป็นกีฬา มีกติกาเพื่อใช้ในการแข่งขัน เช่น คาราเต้ มวย กังฟู เทวันโด้ มวยสากล

    2.    ศิลปะการต่อสู้ที่ยึดตามแบบแผนเดิม ถูกสอนโดยยึดถือแบบแผนเดิมจากอดีต ไม่มีการแข่งขัน จะถูกสอนเพื่อการต่อสู้และป้องกันตัวเท่านั้น เช่น มวยไทยโบราณ นินจุตสุ ไอคิโด้

    ไม่ว่าจะเป็นแบบไหนเราก็นำมาใช้ในการต่อสู้จริงได้
    และเราสามารถใช้ควบรวมกันกับเวทย์ต่างๆได้ บางคนอาจจะควบพลังเวทย์พร้อมกับการปล่อยหมัดตรง
    ต่อไปว่าด้วยเรื่องจุดอ่อนครับ....
    ถ้าเวลาโจมตีด้วยวิชาระยะประชิด ส่วนใหญ่มักจะเล่นงานตามจุดอ่อนครับ ตามศิลปะการแพทย์ของจีนสามารถมาประยุกต์ใช้ได้เลยทีเดียว เช่นการกดจุดสกัดลมปราณ แต่สำหรับนักเรียน ซึ่งส่วนใหญ่ชำนาญทางด้านศิลปะของตะวันตกก็สามารถใช้วิธีบิดข้อต่อและการทำให้คู่ต่อสู้เสียศูนย์ ได้ ซึ่งจะได้ผลที่แน่นอน และ ได้ผลลัพธ์รุนแรง

     

    ผมขอจบบทเรียนแบบดื้อๆเพียงเท่านี้นะครับ ต่อจากนี้ไป การสอนดีไม่ดีอย่างไร หรือมีข้อสงสัย สามารถคอมเม้นทิ้งไว้ได้นะครับ”

    ผมคำนับ อย่างถ่อมตนที่สุดเท่าที่จะทำได้ พลางมองดูสายตาของผู้อื่น หวังว่าการ สอนพิเศษเสริมคราวนี้คงผ่านไปได้ด้วย

    “อ่า คราวนี้เป็นการทดลองสอนภาคทฤษฎีนะครับ ไม่มีการบ้านนะครับ”  ผมยิ้มบางๆ

     

    ------------*--------------------------------------------------------------------------------*------------

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×