ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    อารยธรรม โรมัน

    ลำดับตอนที่ #7 : การแสดงออกทางศิลปะ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 5.84K
      1
      13 ต.ค. 49

                 อาณาจักรโรมันที่กว้างใหญ่ไพศาล  มีศูนย์กลางอารยธรรมอยู่บริเวณแหลม อิตาลีซึ่งเคยถูกพวกอีทรัสถาน(Etruscan) ครอบครองอยู่แต่เดิม ซึ่งเชื่อว่าคงจะให้อิทธิพลต่อศิลปกรรมและสถาปัตยกรรรมของโรมัน  แต่อิทธิพลส่วนใหญ่โรมันรับเอามาจากกรีก โดยเฉพระความคิดก้าวหน้าทั้งหลายที่เป็นปรัชญา  วิทยาสตร์ หรือศิลปะ โรมันก็ต้องหยิบยืมมาจากกรีกเฮเลนนิสติค (Hellenistic) แทบสิ้น แต่ถ้าเปรียบเทียบความสามารถในการสร้างสรรค์(Creativity) และสุนทรีย์ภาพ (Assthtic) กับศิลปะกรีกแล้ว โรมันไม่สามารถจะเทียบเคียงได้เลย แต่ศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมของโรมันสร้างขึ้นเพื่อสนองระบบการปกครองประเทศ และเน้นประโยชน์ใช้สอยในการใช้อาญาจักรของตน

                  ทัศนศิลป์  สถาปัตยกรรมของโรมันมีลักษณะพิเศษคือ ความใหญ่โต แข็งแรง ทนทานและเป็นประโยชน์ใช้สอยเพื่อสาธารณะ เช่น สถานที่อาบน้ำ โรงละคร  ประตูชัยและประตูเมือง เป็นต้น ส่วนประติมากรรมนั้นมีลักษณะเป็นธรรมชาตินิยม(Naturalism)เป็นรูปปั้นของนักปกครองหรือเป็นประติมากรรมที่เป็นอนุสรณ์ความดีของบุคคลที่ล่วงลับไปแล้ว  ในบางครั้งก็เน้นถึงประโยชน์ใช้สอยด้วย  สถาปัตยกรรมที่เป็นวัดและโบสถ์ของโรมันมักจะมีทั้งรูปทรงสี่เหลี่ยมและทรงกลมและมีขนาดค่อนข้างเล็กเพราะพิธีกรรมทางศาสนามักจะเกิดขึ้นในลักษณะของคนกลุ่มเล็กมากกว่าที่เป็นสาธารณชน วัดจะมีขนาดเล็กประมาณครึ่งหนึ่งของวิหารพาธนอน (Pathcnon) ของกรีก แต่จะมีฐานสูงและเสาส่วนใหญ่ก็สร้างให้เป็นส่วนหนึ่งของผนังวัดด้วย  สถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงของโรมันในสมัยต่อมาก็คือ Colloseum ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่  ออกแบบให้เป็นอัฒจันทร์วงกลมมีที่นั่งโดยรอบเป็นชั้นๆ ลักษณะเช่นเดียวกับสนามแข่งขันกีฬาในปัจจุบันมีเทคนิคการก่อสร้างแบบใช้ประตู้โค้ง (Arch) ส่วนอาคารที่ชื่อแพนเธนอน (Pantheon) ซึ่งมีลักษณะด้นหน้าหรือเหมือนวิหารพาเธนอนของกรีกแต่ภายในโดม

     ก่อตั้งที่สองของกรุงโรม  นักประพันธ์ในสมัยต่อมาเช่นสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ  สมัยสตวรรษที่ 18 แม้แต่เชอร์ชิล  ก็ใช้ภาษาโดยเลียนแบบคิเคโร

    บทประพันธ์ที่เด่นและมีคุณค่าทางวรรณศิลป์อีกเรื่องหนึ่งในสมัยคิเคโรคือ  งานนิพนธ์ทางประวัติศาสตร์ของจูเลียส  ซีซาร์  เจ้าของคำพูดห้วนห้วน ๆอันลือชื่อว่า    ข้ามา  ข้าเห็น  ข้าชนะ    ( I  came ,I saw , I conquered ) ที่จริงชาวกรีกเป็นพวกแรกที่เขียนประวัติศาสตร์อย่างนักวิชาการ  คือ  มีการอ้างเหตุผลและหลักฐานประกอบบันทึกเหตุการณ์  และนักประวัติศาสตร์ชาวโรมันได้เจริญรอยตามแนวทางของนักประวัติศาสตร์ชาวกรีก  แต่ได้พัฒนาความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ได้ลึกซึ้งกว่าชาวกรีก  จูเลียส  ซีซาร์นั้นเป็นผู้ทำประวัติศาสตร์เองและเขียนเอง  สำนวนโวหารซื่อ  ชัดเจน  สุจริต  เข้มแข็ง  ดำเนินรวดเร็วสมเป็นนักรบ   พระองค์เขียนงานชื่อนี้เพื่อชี้แจ้งการปฏิบัติงานของพระองค์เอง  แต่ทำด้วยความฉลาดรอบคอบ  ไม่เข้ากับพระองค์เองจนเหลือเชื่อ  ไม่อวดพระองค์และเดินเรื่องอย่างสมจริง

    จักรวรรดิโรมันในสมัยออกุสตุสซีซาร์  มีความมั่นคงทางสังคมการเมืองและปัญญาอันเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อความเจริญทางวรรณคดี  ถือเป็นครึ่งหลังของยุคทองวรรณคดีลาติน  งานเขียนในสมัยนี้ส่วนใหญ่เป็นร้อยกรอง  กวีที่เด่นที่สุดคือ  เวอร์จิล  ( Virgil  ปี  70 – 43 ก่อนคริสต์กาล )  ซึ่งเป็นกวีที่อยู่ในอุปถัมภ์ของเมเซกัส  (Maesenas) เสนาบดีคนสำคัญของจักรพรรดิออกุสตุส  เวอร์ติสมีความสามารถในการเขียนโครงกลอนเลียนแบบการพรรณนาเกี่ยวกับชีวิตชนบทตามแบบกรีก  แต่ใช้ประสบการณ์ของเขาเองเกี่ยวกับชีวิตชาวนาของชาวโรมันเป็นภูมิหลัง  งานชิ้นสำคัญของเวอร์จิลได้แก่  มหากาพย์เรื่อง เอเนียก (Eanead) ซึ่งเขียนโดยใช้มหากาพย์ของโฮเมอร์เป็นแบบ เขาเขียนมหากาพย์เรื่องนี้เพื่อเทิดทูนเกียรติยศของจักรพรรดิออกุสตุส และยกย่องชนชาติของตนว่าเป็นชนชาติที่มีต้นตระกูลเป็นผู้กล้าแห่งทรอยในอดีต และเทพเจ้าได้กำหนดไว้แต่นานแล้วว่ากรุงโรมจะมีอนาคตอันรุ่งโรจน์เมื่อถึงเวลาอันควร

    ในสมัยออกุสตุสนี้กวียิ่งใหญ่เป็นที่สองรองจากเวอร์จิล ได้แก่ ฮอรัส (Horaceปี 65 – 8 ก่อนคริสต์กาล) ซึ่งอยู่ในอุปถัมภ์ของเมเซนัสเช่นเดียวกับเวอร์จิล เป็นผู้มีชื่อเสียงในการประพันธ์แบบลิริกและวรรณกรรมเสียดสี  นอกจากนี้ฮอรัสยังนิยมเขียนเรื่องเกี่ยวกับชีวิตชาวนาอันเป็นเรื่องที่โปรดปรานของจักรพรรดิออกุสตัส ผู้ทรงปรารถนาจะให้การเกษตรเป็นรากฐานของสังคมโรมันอย่างเป็นในอดีต

    เมื่อจักรพรรดิออกุสตุสสิ้นพระชนม์ในปี ..14 สังคมโรมันยังคงมั่นคงและรุ่งเรืองวรรณคดีก็ยังคงเฟื่องฟูอยู่เช่นกัน นักเขียนทั้งในและนอกกรุงโรมได้ผลิตงานเขียนเป็นจำนวนมากทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง ในขณะที่งานเด่นของวรรณคดีละตินสมัยออกุสตุสเป็นบทประพันธ์ประเภทลิริกและมหากาพย์ วรรณคดีในศตวรรษที่ 2 นี้เด่นในด้านบทประพันธ์ประเภทเสียดสี (Satire) โดยเฉพาะงานของยูเวอนัล (Juvenal ..55130) แม้วรรณคดีลาจินในศตวรรษที่ 2 นี้จะมีจำนวนไม่มากเท่ากับในสมัยของจักรพรรดิออกุสตุส แต่ก็เป็นสมัยที่วรรณคดีอันทรงคุณค่าและมีอิทธิพลต่องานเขียนในสมัยต่อมาจนนักศึกษาวรรณคดีขนานนามสมัยนี้ว่าเป็น ยุคเงินแห่งวรรณคดีลาติน

    การละครของกรีกนั้นนับว่าเป็นมรดกล้ำค่าทางวัฒนธรรมชิ้นหนึ่งที่กรีกได้มอบไว้ให้แก่ชาวโลก และยังเป็นอิทธิพลสำคัญอย่างหนึ่งในวงการละครตราบจนกระทั่งทุกวันนี้

    ละคร เป็นที่น่าเสียดายว่าโรมันแทบจะไม่ได้มรดกอันน่าภาคภูมิใจแก่วงการละครเลยลักษณะของการละครทั่วๆไปได้รับการถ่ายทอดมาจากกรีกเกือบทุกอย่าง นับตั้งแต่โครงสร้างทั่วไปของโรงละคร การใช้ฉาก เครื่องแต่งกาย การใช้หน้ากาก และแม้กระทั่งการแบ่งแยกประเภทของละคร ก็ยังรับเอาละครโศกนาฏกรรมและหัสนาฏกรรมของกรีกเข้ามาไว้เป็นแบบแผน สิ่งที่ผิดออกไปอย่างเห็นได้ชัดคือชาวโรมันเพิ่มความวิจิตรพิสดารต่างเข้ามาใช้ในการละคร โรงละครมีขนาดใหญ่โตมโหฬารและประดับประดาอย่างวิจิตรตระการตาเต็มที่ ลักษณะการจัดแสดงก็หันมาเน้นทางความหรูหราน่าตื่นใจของการจัดเสนอละครมากกว่าคุณภาพของบทละครเช่นชาวกรีก

    การละครที่เป็นวรรณกรรมและการจัดแสดงเริ่มแยกออกจากกันโดยเด็ดขาดบทละครของพวกที่มีความรู้ตามแบบแผนถูกเขียนขึ้นเพื่อใช้อ่าน ไม่ใช่เพื่อนำมาแสดงเพราะการแสดงละครถูกเหยียดหยามว่าเป็นสิ่งต่ำช้า โรงละครใช้เป็นการแสดงประเภทไมม์(MiMc)และเพนโทไมม์(Pntomimc)ซึ่งเป็นการร่ายรำและแสดงท่าทางประกอบเสียงดนตรีโดยมากไม่ใช้บทพูด นักเขียนบทละครโรมันรุ่นหลังจึงเขียนละครสำหรับอ่านกันในหมู่เพื่อนฝูงและผู้สนใจมากกว่าจะเขียนเพื่อแสดงแก่สาธารณชนในโรงละคร ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากขนาดมาจากขนาดอันใหญ่โตของโรงละครไม่เหมาะสำหรับการแสดงละครแท้ๆอีกต่อไป

    การเสดงละครกลายเป็นสิ่งที่ถูกดูหมิ่นดูแคลน อันเนื่องมาจากความไร้ศีลธรรมของสิ่งที่นำมาแสดงและความเสื่อมของศิลปินผู้แสดง สถานภาพของนักแสดงอยู่ต่ำมาก ประกอบไปด้วยพวกทาส หรือโสเภณีที่เกณฑ์มาแสดง ความสนใจของการแสดงในระยะหลัง หันไปสู่ความโหดเหี้ยม การทารุณกรรม การนองเลือด และการแสดงทางเพศอย่างโจ่งแจ้ง อันเป็นเหตุให้เกิดการต่อต้านการแสดงละครอยู่เนื่องๆ ยิ่งเมื่อคริสต์ศาสนาได้แผ่อิทธิพลอยู่ในอาณาจักรโรมันด้วยแล้ว ความรังเกียจเดียดฉันท์ในการละครก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นทุกที่ การแสดงในละครของโรมันต้องประสบภาวะยุ่งยากเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆในคริสต์ศตวรรษที่ 5 นักแสดงไมม์ถูกเนรเทศออกจากจักรวรรดิโรมันและในศตวรรษที่ 6 จักรพรรดิจัสติเนียนแห่งจักรวรรดิโรมันตะวันออกได้ประกาศห้ามการแสดงในโรงละคร  หลักฐานการแสดงในโรงละครครั้งสุดท้ายมีปรากฏใน  ..  533  และนับจากนั้นก็ไม่มีการแสดงละครที่มีการรับรองเป็นทางการอีกเลยนับเป็นเวลาศตวรรษ

    ดนตรี  ชาวโรมันได้ให้ความสำคัญแก่ดนตรีไม่น้อยไปกว่าชาวกรีกในสมัยที่อาณาจักรโรมันกำลังรุ่งเรื่องอยู่นั้น นักปราชญ์ทางดนตรียึดทฤษฏีดนตรีของกรีกเป็นหลัก แล้วนำมาผสมผสานกับทัศนะแบบเฮเลนิสติน เช่น โพลตินุส( Plotinus 205- 270  A.D ) และศิษย์ของเขาคนหนึ่งชื่อ พอร์ฟีรี(  Porphyry 233 –304 A.D.)ได้เผยแพร่สั่งสอนทฤษฏีแบบเพลโตนิคใหม่ ( Neo-Platonic)โพลตินุสได้ย้ำถึงอำนาจที่ดนตรีมีต่อจิตใจและจรรยาธรรมของมนุษย์ มีอำนาจในการชำระล้างจิตใจให้บริสุทธิ์ พาใจให้พบความสวยงามและความดีงาม และในทางตรงกันข้าม ดนตรีอาจมีอำนาจทำลายหากใช้ไปในทางที่ผิด ดังนั้นจึงได้มีความพยายามที่จะอนุรักษ์และกวดขันดนตรีที่ใช้ประกอบพิธีศาสนาและที่บรรเลงสำหรับการทหาร

    ในสมัยหลังๆการดรตรีได้เสื่อมลงมาก  เพราะถูกนำไปบรรเลงประกอบในโอกาสและสถานที่ซึ่งไม่เหมาะสม   และการจัดการบรรเลงดนตรีแบบมโหฬารก็ไม่เป็นที่สบอารมณ์หมู่นักปราชญ์ทางดนตรีประเภทอนุรักษ์นิยมเท่าใดนัก  เช่น  การจัดแสดงดนตรีวงมหึมา  ( monster  concert )  ในสมัยของคารินัส (Carinus 284 A.D.)  ได้มีการบรรเลงดนตรีที่ประกอบด้วยทรัมเป็ต  100  ชิ้น  แตร  100  ชิ้น ( horn  ซึ่งเป็นแตรอีกชนิดหนึ่ง )  และเครื่องดนตรีอื่นๆอีก  200  ชิ้น  ถ้าจะกล่าวถึงชีวิตของนักดนตรีในสมัยนั้นก็จะพูดได้ว่าคึกคักมาก  สมาคมสำหรับนักดนตรีมืออาชีพได้รับจัดตั้งกันมาตั้งแต่ศตวรรษที่  7  ก่อนคริสต์ศักราช  มีบทบาทในการเรียกร้องสิทธิ์ให้แก่สมาชิกในรุ่นหลังๆ เมื่อออกุสตุส  ( Augustus) ได้ขึ้นครองราชย์  ประกาศตนเป็นผู้นำทางทหาร  ศาสนา  และของรัฐก็ได้ตั้งสมาคมสำหรับดนตรีที่บรรเลงเพลงประกอบพิธีทางศาสนา  และสำหรับงานของราชการด้วย  นักแต่งเพลงผู้มีฝีมือก็ได้รับการอุปถัมภ์จากจักรพรรดิ  เช่น  ที่จักรพรรดิเนโรถึงกับประทานวังให้แก่  มีนีเครเตส (Menecrates )  นักแต่งเพลงผู้มีชื่อคนหนึ่งของสมัยนั้น

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×