ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    อารยธรรมตะวันออก

    ลำดับตอนที่ #2 : อารยธรรมของประเทศจีน : ปัจจัยทางภูมิศาสตร์กับการตั้งถิ่นฐาน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 10.94K
      21
      27 พ.ย. 53

    อารยธรรมจีน ได้ก่อกำเนิดในบริเวณพื้นที่ราบอันกว้างใหญ่และอุดมสมบูรณ์ของลุ่มน้ำหวางเห อ หรือแม่น้ำเหลือง  อารยธรรมจีนจัดว่าเป็นอารยธรรมรุ่นแรกของโลกเช่นเดียวกับอารยธรรมลุ่มน้ำไน ล์ในอียิปต์ อารนธรรมลุ่มน้ำไทกริสและยูเฟรทิสในเมโสโปเตเมีย และอารยธรรมลุ่มน้ำสินธุในอินเดีย

                    ในบริเวณลุ่มน้ำหวางเหอ ซึ่งถูกปกคลุมด้วยดินสีเหลืองที่เรียกว่า ดินเลิสส์ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเกษตร เพราะหน้าน้ำของแม่น้ำจะมีดินตะกอนทับถมทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ ส่วนสภาพภูมิอากาศเป็นเขตอบอุ่น ปริมาณฝนมีน้อยทำให้มีน้ำไม่เพียงพอในหน้าแล้ง ปัจจัยดังกล่าวทำให้ชาวจีนต้องมาอยู่รวมกันและสร้างแหล่งชลประทานขึ้นด้วย การขุดคลองระบายน้ำ ทดน้ำ และกักเก็บน้ำ  ส่วนทรัพยากรธรรมชาติมีแร่ที่สำคัญเช่น ถ่านหิน เหล็ก ป่าไม้ ตะกั่ว ทองแดง สังกะสี เป็นต้น สภาพภูมิศาสตร์ในบริเวณนี้ทำให้ชาวจีนสร้างสรรค์อารยธรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเอาชนะธรรมชาติ
                    นอกจากนี้ลักษณะที่ตั้งของจีนซึ่งมีปราการธรรมชาติ คือ ทางตะวันออกมีมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้เป็นเขตภูเขาและป่าดิบชื้น ทางตะวันตกและทางเหนือก็เป็นทุ่งหญ้า ทะเลทราย และภูเขา ซึ่งมีส่วนช่วยให้อารยธรรมจีนคงอยู่โดยได้รับอิทธิพลจากดินแดนอื่นน้อยมาก

      

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×