ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ทีสุดในโลก ที่สุดๆๆๆๆๆๆๆ

    ลำดับตอนที่ #82 : เครื่องบินลำแรกของโลก

    • อัปเดตล่าสุด 9 ก.ย. 53


     

     สองพี่น้องตระกูลไรท์

    ไรท์ วิลเบอร์-ออร์วิล ไรท์ : Wright Brother
     
    วิลเบอร์ ไรท์ เกิด วันที่ 16 เมษายน ค.ศ.1867 ที่เมืองมิลล์ วิลลี่ (Milk Willie) มลรัฐอินเดียนา (Indiana) ประเทศสหรัฐอเมริกา (United State of America)
                 เสียชีวิต วันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ.1912 ที่เมืองเดย์ตัน (Dayton) มลรัฐโอไฮโอ (Ohio) ประเทศสหรัฐอเมริกา (United State of America)


    ออร์วิล ไรท์  เกิด วันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ.1871 ที่เมืองเดย์ตัน (Dayton) มลรัฐโอไฮโอ (Ohio) ประเทศสหรัฐอเมริกา (United State of America)
                เสียชีวิต วันที่ 30 มกราคม ค.ศ.1948 ที่เมืองเดย์ตัน (Dayton) มลรัฐโอไฮโอ (Ohio) ประเทศสหรัฐอเมริกา (United State of America)


                ผลงาน   - สร้างเครื่องบินสำเร็จเป็นคนแรกของโลก

            การบินอยู่บนท้องฟ้าถือว่าเป็นความใฝ่ฝันอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์ และเป็นเวลาหลายศตวรรษที่มนุษย์หาวิธีที่จะบินให้ได้ ในปี ค.ศ.1483 จิตรกรและนักวิทยาศาสตร์เอกของโลกเลโอนาร์โด ได้ริเริ่มการบินขึ้นเป็นครั้งแรก โดยการใช้ปีกนกขนาดใหญ่ที่เขาประดิษฐ์ขึ้น ติดเข้ากับแขน และร่อนลงมาจากที่สูง ซึ่งทำให้ลูกศิษย์ของเขา ผู้ที่ทำการทดลองบินต้องตกลงมาขาหัก

           แต่นั้นก็เป็นเพียงก้าวแรกเท่านั้น ต่อมาในปี ค.ศ.1903 สองพี่น้องตระกูลไรท์ได้สร้างเครื่องบินลำแรกของโลกได้เป็นผลสำเร็จ ตั้งแต่นั้นมา
    กิจการบินก็มีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น จนกระทั่งทุกวันนี้

            สองพี่น้องตระกูลไรท์ประกอบไปด้วย วิลเบอร์ ไรท์ เกิดเมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ.1867 ที่เมืองมิลล์ วิลลี่ มลรัฐอินเดียนา
    ประเทศสหรัฐอเมริกา และออร์วิล ไรท์ เกิดเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ.1871 ที่เมืองเดยตัน มลรัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา
    เช่นเดียวกัน บิดาของเขาเป็นนักบวชชื่อว่า มิลตัน ไรท์ (Milton Writhe) ส่วนมารดาชื่อว่า ซูซาน ไรท์ (Susan Writhe)
    ทั้งสองได้รับการศึกษาเพียงแค่ชั้นมัธยมเท่านั้น หลังจากออกจากโรงเรียนแล้ววิลเบอร์ได้เปิดโรงพิมพ์ และร้านซ่อมจักรยานขึ้นที่
    เมืองเดย์ตัน รัฐโอไฮโอ และเมื่อออร์วิลเรียนจบก็ได้มาทำงานในร้านซ่อมจักรยานของวิลเบอร์ ทั้งสองมีความใฝ่ฝันที่จะบินอยู่ตลอด
    เวลา ต่อมามีข่าวการทดลองเครื่องร่อนในเยอรมนี ของลิเลียนธาล แต่การบินครั้งนั้นไม่ประสบความสำเร็จ และทำให้ลิเลียนธาล
    ต้องเสียชีวิต แต่ถึงอย่างนั้นทั้งสองก็ยังมีความสนใจเรื่องการบินต่อไป

             ทั้งสองได้เขียนจดหมายไปยังสถาบันสมิทโซเนียนเพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับการบิน ก่อนที่ทั้งสองจะตัดสินใจสร้างเครื่องบิน
    เขาได้ร่วมมือกันประดิษฐ์รถจักรยานที่มีปีกขนาดใหญ่ รวมถึงเครื่องยนต์ขึ้นเพื่อทดสอบการบินขั้นแรกจากการศึกษาเรื่องการบิน
    มาพอสมควร ในปี ค.ศ.1900 ทั้งสองจึงตัดสินใจสร้างเครื่องบินลำแรกขึ้น โดยเครื่องบินของเขามีลักษณะคล้ายกับเครื่องร่อน
    ทำด้วยโครงเหล็ก ส่วนปีกทำด้วยผ้า และใช้เครื่องยนต์ขนาด 12 แรงม้า ทั้งสองได้นำเครื่องบินทดลองบินระยะสั้น ๆ เพียง
    1-2 นาที เท่านั้น อีกทั้งยังไม่สามารถควบคุมทิศทางการบินได้ ต่อมาทั้งสองได้เดินทางกลับไปที่เมืองเดย์ตัน เพื่อสร้างเครื่องบิน
    ลำที่ 2 ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าเดิม และมีรูปร่างที่เปลี่ยนไป เมื่อสำเร็จเขาได้นำไปทดลองบินเช่นเคย แต่ก็ยังมีข้อบกพร่องอีกหลายอย่าง
    คือ เครื่องบินมีขนาดใหญ่ไป ทำให้มีน้ำหนักมากไม่สามารถขึ้นบินได้ ทั้งสองพยายามปรับปรุงข้อบกพร่องทั้งหลายที่มีอยู่
    เขาสร้างเครื่องบินขึ้นอีกหลายลำ แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งเขาเริ่มรู้สึกท้อแท้ แต่ก็ยังทำการค้นคว้าต่อไปในปี ค.ศ.
    1902 ทั้งสองได้สร้างอุโมงค์ลมขึ้นตามคำแนะนำของออคตาฟ ชานุท ซึ่งเป็นผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับความกดอากาศ ทั้งสองได้นำ
    การทดลองภายในอุโมงค์ลมมาปรับปรุงเครื่องบิน ทั้งสองได้เพิ่มหางเสือเข้าทางด้านหน้า และด้านหลังของตัวเครื่อง เพื่อควบคุม
    ทิศทางการบิน ปีกของเครื่องบินเป็นปีก 2 ชั้น ขนาดประมาณ 32 ฟุต สามารถขยับขึ้นลงได้ เขานำเครื่องบินลำที่ 3 ทดลองขึ้นบิน
    ที่คิลล์ เดฟวิลล์ ฮิลล์ ทั้งสองได้ทดลองบินอยู่นานถึง 39 วัน และทดลองบินกว่า 1,000 ครั้ง ซึ่งก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
    ในการควบคุมทิศทางของเครื่องบิน และระยะเวลาที่เครื่องบินอยู่บนอากาศ ต่อมาทั้งสองได้ปรับปรุงเครื่องยนต์ให้มีน้ำหนักเบาขึ้น
    เพื่อให้บินอยู่ในอากาศได้นาน และสูงขึ้น ทั้งสองได้ติดต่อบริษัทผลิตเครื่องยนต์ที่มีขนาด 8 แรงม้า และมีน้ำหนักประมาณ 160
    ปอนด์ แต่ไม่มีบริษัทใดสนใจเลย ดังนั้นทั้งสองจึงลงมือประดิษฐ์เครื่องยนต์ขึ้นด้วยตนเอง เครื่องยนต์ที่ทั้งสองทำขึ้นมีขนาด
    12 - 16 แรงม้า น้ำหนัก 170 ปอนด์ ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1903 ทั้งสองได้นำเครื่องบินทดลองที่มีขนาดลำตัวยาว 21
    ฟุต สูง 10 ฟุต ส่วนปีกมีความยาว 40 ฟุต 4 นิ้ว น้ำหนักรวมประมาณ 605 ปอนด์ แต่ก็ต้องประสบปัญหาเพราะสภาพอากาศไม่ดี
    ทำให้ทั้งสองมีความคิดว่า เครื่องบินของเขาต้องมีล้อเพื่อขึ้นบินได้โดยไม่ต้องอาศัยลมฟ้าอากาศ นอกจากนี้ทั้งสองยังได้สร้างทาง
    วิ่งขึ้นของเครื่องบิน (Run Way) ความยาว 600 เมตร ขึ้น และทำการทดลองบินในวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ.1903 แม้ว่าจะ
    มีล้อ แต่ก็ยังต้องใช้คนผลักอยู่ดี ดังนั้นเครื่องบินของทั้งสองจึงต้องปรับปรุงอีกครั้ง โดยครั้งนี้เครื่องบินของพวกเขามีล้อของรถ
    บรรทุก ที่เชื่อมต่อด้วยโซ่เข้ากับเฟืองของเครื่องยนต์ ทำให้สามารถวิ่งขึ้นได้เองโดยไม่ต้องอาศัยแรงลมหรือแรงคนผลัก เขาได้
    ทดลองขึ้นบินวันที่ 14 ธันวาคมปีเดียวกันที่รัฐนอร์ท คาโรไลนา (North Carolina)

             โดยมีวิลเบอร์เป็นคนขับเครื่องบินแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งสองจึงทำการทดลองขึ้นบินอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 17 ธันวาคม
    ค.ศ.1903 โดยมีออร์วิลเป็นผู้ขับเครื่องบิน ซึ่งครั้งนี้ประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดีสามารถบินอยู่ในอากาศได้นานถึง 15 วินาที
    และบินได้ไกลถึง 200 ฟุต สูงจากพื้นดิน 850 ฟุต เขาได้พัฒนาเครื่องบินจนสามารถบินได้ 59 วินาที และไกล 852 ฟุต ความเร็ว
    ในการบิน 31 ไมล์ ทั้งสองได้นำเครื่องบินไปจดสิทธิบัตร และได้พัฒนาเครื่องบินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในปี ค.ศ.1908
    ทั้งสองได้สร้างเครื่องบินที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นสำเร็จ โดยเครื่องบินลำนี้มีความยาว 28 ฟุต ความยาวปีก 40 ฟุต น้ำหนัก
    322 ปอนด์ ใช้เครื่องยนต์ 20 แรงม้า สามารถบินได้เร็ว 56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีที่นั่งสำหรับผู้โดยสารอีก 1 ที่นั่ง นับว่า
    กิจการบินมีความเจริญก้าวหน้าไปอีกก้าวหนึ่ง ในปีเดียวกันนี้วิลเบอร์ได้ทดลองบินข้ามทวีปไปยังประเทศฝรั่งเศสได้สำเร็จ และในปี
    ค.ศ.1909 ออร์วิลได้บินข้ามช่องแคบอังกฤษได้สำเร็จ

             วิลเบอร์เสียชีวิตในวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ.1912 ด้วยโรคไทฟอยด์ ส่วนออร์วิลเสียชีวิตในวันที่ 30 มกราคม ค.ศ.1948
    ทั้งสองเสียชีวิตที่เมืองเดย์ตัน มลรัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา

    ที่มา.../www.school.net.th

    http://www.geocities.com/flying_mv/air9.html

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×