วิธีแต่งนิยายแนววิทยาศาสตร์(Sci-Fi) - วิธีแต่งนิยายแนววิทยาศาสตร์(Sci-Fi) นิยาย วิธีแต่งนิยายแนววิทยาศาสตร์(Sci-Fi) : Dek-D.com - Writer

    วิธีแต่งนิยายแนววิทยาศาสตร์(Sci-Fi)

    โดย Net I Dol

    ผู้เข้าชมรวม

    1,326

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    1.32K

    ความคิดเห็น


    3

    คนติดตาม


    6
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  9 พ.ค. 52 / 09:25 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ






      นิยายวิทยาศาสตร์ แต่งไม่ยากอย่างที่คิด 

      ก่อนอื่นต้องขอออกตัวไว้ก่อนว่าไม่ได้เป็นปรมาจารย์ด้าน Sci-fi ครับ แต่ชอบ
      ขีดๆเขียนๆมาตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัย ส่งงานไปลงนิตยสาร สยอง มิติพิศวง (มีใครจำได้ไหมเอ่ย) สมัยที่นิตยสารสองเล่มนี้ยังอยู่ (น่าเสียดายที่ปิดตัวไปนานแล้ว)

       

      จนมาถึงปัจจุบันมีหนังสือที่รับตีพิมพ์เรื่องแนวนี้เหลืออยู่สองเล่มคือ Update กับ นิตยสาร Sc-fi Club ของชมรมนิยายวิทยาศาสตร์ (หนังสือหัวอื่นนึกไม่ออกครับ)

      บทความตอนนี้ผมได้นำวิธีการ (ที่ผมใช้อยู่) มาแบ่งปันให้เพื่อนๆ น้องๆที่สนใจอยากเขียนนิยายแนววิทยาศาสตร์และยังไม่รู้จะเริ่มยังไง จำไว้อย่างว่าไม่มีอะไรที่ตายตัวตามขั้นตอนดังกล่าวนะครับ เราสามารถปรับเปลี่ยนแต่ละข้อให้เข้ากับสไตล์การเขียนที่เราชอบหรือถนัดได้

      จะเอาเรื่องอะไรมาเขียนดี?
      วัตถุดิบอยู่รอบตัวครับ เราสามารถหาได้จากการอ่าน หนังสือพิมพ์ ข่าว อินเตอร์เนต หรือได้ฟัง ได้เห็น หรือพูดอะไรออกมาแล้วเกิดปิ้งไอเดียแบบปัจจุบันทันด่วน ก็เอามาเขียนได้ เพียงแต่สิ่งที่เราต้องทำคือ เอาวัตถุดิบเหล่านั้นมาแต่งเติมเสริมจินตนาการลงไป โดยเอาหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์หรือแนวคิด (concept) จับไปที่วัตถุดิบที่เราจะเอามาเขียนด้วย งงไหมครับ? มายกตัวอย่างดีกว่า
      เช่นผมไปอ่านข่าวเรื่องการแย่งชิงปราสาทหินโบราณระหว่างสองประเทศซึ่งไม่มีทีท่าว่าจะเลิกลา…(แย่งทำไมอ่ะ)ผมก็เอาตรงนี้มาคิดต่อ แต่ก่อนอื่นเราต้องตั้งคำถามแรกคือ จะเขียนเรื่องแนวไหน…?
      แนวเรื่องที่เขียนมีดังต่อไปนี้ ยกตัวอย่าง (แต่จริงๆมีมากกว่านี้)
      การเดินทางข้ามเวลาหรือ time travel
      มนุษย์ต่างดาว
      นักวิทยาศาสตร์อยากครองโลก
      การทดลองที่ผิดพลาด
      ปรากฎการเหนือธรรมชาติ
      ชีวิตอมตะ
      คอมพิวเตอร์ที่บ้าคลั่งและฉลาดสุดๆ
      ชีวิตหลังความตาย
      พลังจิต
      องค์กรลับกับแผนการครองโลก
      และอีกหลายๆแนวเรื่อง….

      สมมติว่า ผมจะเลือกแนวเรื่อง “องค์กรลับ” ก็แล้วกัน คราวนี้พอได้แนวเรื่องเราก็หันกลับไปมองที่วัตถุดิบที่เราจะเอามายำ (ใส่จินตนาการและ concept) ในที่นี้คือ ปราสาทหินโบราณ… ดังนั้นเราจะได้องค์ประกอบคือ “ปราสาทหินโบราณ+องค์กรลับ” แล้วไงต่อ?
      ต่อเลยครับ คราวนี้เราก็ต้องใช้หลักการที่เรียกว่า Who What Where When Why How… ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ทำไมต้องทำ และทำอย่างไร ส่งผลกระทบต่ออะไร หรือสิ่งไหนบ้าง

      และถามคำถาม What…if…

      What..if อะไรจะเกิดขึ้นถ้า…. อะไรจะเกิดขึ้นถ้าองค์กรลับเกี่ยวพันกับปราสาทหินโบราณ???

      “ปราสาทหินโบราณ+องค์กรลับ”  เริ่มที่ใคร…พระเอกเป็นนักคอมพิวเตอร์ประมาณแฮกเกอร์ ติดคุกเพราะไปแฮกเงินแบงค์เพื่อไปรักษาพ่อที่ป่วยหนักพระเอกถูกทางการเรียกตัวเข้าพบเพื่อมอบหมายงานชิ้นหนึ่งให้ แลกกับอิสระภาพ เรื่องมีอยู่ว่า นักสำรวจได้พบชิ้นส่วนบางอย่างที่ฝังอยู่ใต้ปราสาทขณะที่ทีมงานเข้าไปซ่อมแซม (หลังจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ทำให้บางส่วนของปราสาทเสียหาย) ชิ้นส่วนที่พบเป็นชิ้นคล้ายบอร์ดของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และมันมีจุดเชื่อมต่อสัญญาณออกมาภายนอก นักวิทยาศาตร์พบรหัสที่เก็บไว้ในบอร์ดและเขาเชื่อว่ามันต้องเกี่ยวกับปราสาทแห่งนั้น แต่ข้อความถูกเข้ารหัสไว้…. ดังนั้นพวกเขาจึงต้องใช้คนที่เก่งที่สุดนั้นคือพระเอก…. บลาๆๆๆๆๆ

      กลับมาตอบคำถาม…ดูว่าเราตอบได้ทุกข้อไหม
      Who พระเอก
      What ถูกเรียกไปถอดรหัส
      Where  ที่ปราสาทโบราณ
      When หลังจากปราสาทถล่มและมีการค้นพบชิ้นส่วนบอร์ดอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งน่าจะเป็นข้อมูลที่นำไปสู่ความลับของผู้สร้างปราสาท
      Why เพื่อพิสูจน์ความลับของผู้สร้างปราสาท และอาจจะเป็นลายแทงขุมทรัพย์??? (มหาเศรษฐีอยู่เบื้องหลัง ทุ่มเงินค้นหาสมบัติ)

      คราวนี้เราก็ได้ plot คร่าวๆแล้วครับ มาถึงขั้นตอนต่อไปคือกำหนดตัวละครว่าจะให้มีตัวเอกกี่ตัว โดยปกติเรื่องสั้นจะมีประมาณ 2-3 ตัวครับ
      คราวหน้าเราจะมาต่อเรื่องตัวละคร และการใส่แนวคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ลงไปในเรื่องนะครับ

      **เราโพสต์ไว้อ่านเล่น

      credit by..http://blog.eduzones.com/fugi/8739 

      http://musicday-ice.exteen.com/20090409/sci-fi

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×