“If you tell a big enough lie and tell it frequently enough, it will be believed. “
Adolf Hitler, Mein Kampf “Why the second reich collapse”
“หากท่านโกหกเรื่องใหญ่มากพอ, โกหกบ่อยครั้งเพียงพอ, เรื่องนั้นจะถูกเชื่อ”
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์, การต่อสู้ของข้าพเจ้า “เหตุใดจักรวรรดิไรค์ที่ 2 จึงล่มสลาย”
เคยสงสัยกันไหม ว่าทำไมคนที่ดูฉลาด เก่งกาจ จำนวนมาก กลับตกเป็นสาวกลัทธิแปลกประหลาดที่ผิดสามัญสำนึกโดยสิ้นเชิง
เคยสงสัยกันไหม ว่าทำไมฝูงชนหมู่มากเมื่อมารวมกัน จึงถูกหลอกให้เชื่อเรื่องที่ไม่น่าเชื่อ และไม่ควรเชื่อได้บ่อยๆ
เคย สงสัยกันไหม ว่าชนชาติที่ขยัน อดทน และมีมันสมองชั้นเลิศอย่างญี่ปุ่นและเยอรมัน จึงถูกผู้นำหลอกให้ทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับคำพูดของเขาได้
นักสื่อสาร นักจิตวิทยา ต่างศึกษาจิตใจของผู้คน และกระแสของมวลชน จนสรุปว่า
การ propaganda (ไทยแปลศัพท์ว่า โฆษณาชวนเชื่อ) เป็นต้นเหตุของความผิดเพี้ยนทางความคิดทั้งปวง
แน่นอนว่า นักจิตวิทยาและนักสื่อสารบางส่วนนำผลสรุปนี้ไปใช้ประโยชน์ สร้างระบบจิตวิทยามวลชน อุปาทานหมู่ เพื่อจุดประสงค์บางอย่าง
ทำอย่างไรเราจะรู้ทันการโฆษณาชวนเชื่อนี้ล่ะ
บทความนี้ไม่ได้มีเพื่อให้นำวิธีการต่างๆไปใช้ แต่เพื่อให้รู้เท่าทันและระวังตัวไม่ตกเป็นเครื่องมือของการโฆษณาชวนเชื่ออีกต่อไป
หลักการโฆษณาชวนเชื่อ อาจสรุปลงง่ายๆ 7 ข้อ ได้แก่
1. Ad Hominem : โจมตีตัวบุคคล
สร้างศัตรูบุคคลขึ้นมาเป็นหุ่นรับการโจมตีหลัก แล้วจับผิด โจมตี ด่าทอ ต่อว่า ทั้งเรื่องส่วนตัวและคำพูดทุกคำพูดของคนๆนั้น รวมถึงการสร้างภาพให้ฝ่ายศัตรูที่ตั้งขึ้นมาโจมตีเป็นปีศาจร้าย เปรียบเทียบกับความชั่วร้ายในโลกทั้งมวล ทั้งในพระคัมภีร์ศาสนาและประวัติศาสตร์
ตัวอย่างเช่น การโฆษณาชวนเชื่อโจมตีสตาลิน ในยุคลัทธิแม็คคาร์ธีของสหรัฐทศวรรษที่ 60 ว่าโหดม ดุร้าย ป่าเถื่อนไร้อารยธรรม การสร้างข่าวโจมตีนายกฯวินสตัน เชอร์ชิลว่าเป็นคนโง่ ดื้อด้าน ของนาซี หรือแม้แต่การโฆษณาโจมตีฮิตเลอร์ว่าเป็นอัตติลาชาวฮัน หรือทายาทซาตาน ตัวแทนสัตว์นรก 666 ของฝ่ายสัมพันธมิตรเอง
2. Ad nauseum : พูดซ้ำแล้วซ้ำอีก
มีสำนวนไทยว่าไว้เข้าทีว่า “น้ำหยดลงหินทุกวัน หินยังกร่อน” แล้วใจคนอ่อนๆจะทนได้อย่างไร(ฮา) เมื่อนำ้คำลมปากกรอกหูเข้าทุกวัน
สาวบางคนมีแฟนหนุ่มหล่อเท่อยู่ดีๆ วันเลวคืนร้ายเพื่อนตัวดีกริ๊งกร๊างมาว่า ” นี่เธอ เพื่อนของฉันเห็นหนุ่มหล่อๆหน้าตาคล้ายๆแฟนเธอเดินควงอยู่กับหนุ่มที่ไหนก็ ไม่รู้ เนี่ย ชั้นล่ะสงสัยอยู่แล้วนะ ว่าแฟนเธอจะเป็นเกย์”
หนแรกไม่เชื่อหัวเราะใส่โทรศัพท์
หนสองเริ่มลังเล
หนสาม เอ๊ะ ชักไม่เข้าที ลองถามที่รักดูดีไหมนะ
หนสี่อดรนทนไม่ได้ถามออกไป ปรากฏว่าเป็นคุณแฟนพาคุณพ่อไปโรงพยาบาลซะฉิบ
แต่คราวนี้ หนที่ห้าถ้ามีอีก คุณอาจจะเริ่มสงสัยแล้วว่าแฟนคุณโกหก แม่เพื่อนตัวดีก็ใส่ไฟใหญ่ “เนี่ย แฟนเธอโกหกชัดๆ ผู้ชายที่เพื่อนชั้นเห็นเดินควงกับแฟนเธอน่ะ ยังเป็นเด็กหนุ่มอยู่เลย สัก 16-17 นี่แหละ จะเป็นคุณพ่อได้ยังไง”
หนที่หกเริ่มหงุดหงิดทุรนทุราย ออกสะกดรอยตาม แต่ก็ไม่เจอจังๆ
หนเจ็ด แฟนจับได้ว่าแอบตามเขาไป “นี่คุณไม่ไว้ใจผมใช่มั้ย ถ้าอย่างนี้ เราเลิกกันดีกว่า”
ต้องนั่งร้องไห้น้ำตาเป็นเผาเต่า จะโทษเพื่อน เพื่อนตัวดีก็บอกว่า “ก็ขอโทษนะ ฉันไม่ได้เห็นเองนี่ เพื่อนของเพื่อนฉันบอกมาอีกที แถมเค้าไม่ได้บอกว่าเป็นแฟนเธอนิ แค่หน้าคล้ายๆ”
แต่สุดท้าย คุณก็เห็นแม่เพื่อนตัวดีเดินจู๋จี๋กับแฟนเก่าคุณซะงั้น
3. Big Lie : โกหกคำโต
โยเซฟ เกิบเบิลส์(1897-1945) รัฐมนตรีกระทรวงโฆษณาการ(minister of propaganda) มือขวาของฮิตเลอร์ กล่าวว่า
“The bigger the lie, the more it will be believed.”
“ยิ่งโกหกคำโตเท่าไร, มันยิ่งน่าเชื่อไปเท่านั้น” และ
“The great masses of people will more easily fall victims to a big lie than to a small one.”
“ฝูงชนมหาศาลถูกหลอกด้วยการโกหกเรื่องใหญ่ ง่ายกว่าโกหกเรื่องเล็กๆ”
การโกหกเรื่องเล็กๆที่มีรายละเอียดปลีกย่อย อาจมีผู้จับโกหกได้ง่าย แต่การโกหกเรื่องใหญ่ๆเพื่อหลอกให้เชื่อ มันย่อมครอบคลุมเรื่องต่างๆหลากหลาย อย่างน้อยต้องมีข้อใดข้อหนึ่งที่ถูกจริตผู้ฟัง และเมื่อคนพูดพูดในสิ่งที่คนฟังอยากจะเชื่ออยู่แล้ว เขาก็พร้อมจะยอมเชื่อโดยดี แม้ว่าคำโกหกเรื่องใหญ่นั้น จะเท็จครึ่ง จริงครึ่ง หรือไม่มีแม้แต่เศษเสี้ยวของความจริงอยู่เลย
4. Name calling : สร้างสมญานาม
การสร้างชื่อแทนใช้เรียกย่อๆ ง่ายๆ และตีความได้เข้าข้างตัวเอง หรือสร้างภาพเสียหายให้ศัตรู เป็นเทคนิคของการโฆษณาชวนเชื่ออย่างหนึ่ง
เช่น Iron Curtain : ม่านเหล็ก ที่ดูน่ากลัว, The Third Reich ที่ย้อนโหยหาคืนวันอันรุ่งเรืองในอดีต และมักใช้สถาบันที่สูงส่งเข้ามาสร้างภาพเป็นส่วนหนึ่งของชื่อด้วย เช่น Imperial Army : กองทัพบกของสมเด็จพระจักรพรรดิ ของกองทัพญี่ปุ่น ถ้าจะหาเอาใกล้ๆก็เช่น ฟักแม้ว, หน้าเหลี่ยม, หมูกชมพู่, นอมินีเหลี่ยม, กะทิ, มารเฒ่าแซ่ลิ้ม, โจรโพกผ้าเหลือง เป็นต้น
ขนาดพันธบัตรยังใช้คำว่า พันธบัตรเสรีภาพเลย
5. Black and White fallacy : ตรรกะผิด-ถูก แบบขาว-ดำ
ผู้โฆษณาชวนเชื่อ ต้องสร้างภาพการแบ่งแยกฝ่ายถูกผิดชัดเจนเป็นสีขาว-ดำ ใครเข้าข้างจะเป็นฝ่ายถูก ฝ่ายธรรมะ ส่วนใครไม่เห็นด้วยก็จะถูกผลักไปเป็นฝ่ายผิด เป็นฝ่ายอธรรมทันที ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ คำพูดของจอร์จ บุช จูเนียร์ เมื่อตัดสินใจบุกอิรักว่า “If you don’t be aside with America, you are with terrorrist.”
ใน โลกสีเทาหม่นๆของความเป็นจริง เราแสวงหาความดี ความถูกต้อง ตามหลักคำสอนทางจริยธรรมและศีลธรรมอยู่เสมอ เมื่อผู้โฆษณาชวนเชื่อตั้งธงให้เข้าร่วมกับความถูกต้องชัดเจนย่อมไม่แปลกที่ จะหลงเชื่อในสิ่งที่เขากล่าวอย่างง่ายดาย และอาจไม่ฉุกคิดเลยว่า สิ่งที่เขาพูดไม่ตรงกับการกระทำอย่างใดเลย
ใช่-ไม่ใช่พี่น้อง (ฮา)
6. Flag Waving, Beautiful thing, and Great People reference : ชูธงสูงส่ง อ้างสิ่งสวยงาม ตามหลักมหาบุรุษ
การโฆษณาชวนเชื่อนั้นจะอ้างตนเองและกลุ่ม แนวคิดของตน ให้ดูยิ่งใหญ่ สูงส่ง อลังการ มีคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม ด้วยคำพูดและป้ายประกาศ ใช้ข้อความที่ดูดี อ้างอิงสิ่งเหนือธรรมชาติ หรือนามธรรมที่คนยอมรับว่าดี เช่นเทพเจ้า พระเจ้า เทพยดา อ้างแนวทางของบุคคลในประวัติศาสตร์ ศาสดาที่ยิ่งใหญ่ เช่น พระพุทธเจ้า พระมะหะหมัด พระคริสต์ มหาตมะคานธี อับราฮัม ลินคอล์น อ้างพระคัมภีร์ของศาสนาต่างๆ ฯลฯ
แต่ การอ้างดังกล่าวแตกต่างไปจากการเผยแผ่หรือโน้มนำที่ดีตามปกติ ด้วยว่าการโฆษณาชวนเชื่อ จะนำภาพลักษณ์ที่ดูสูงส่งสวยงามเหล่านั้นมาบิดเบือนให้เข้าข้างแนวคิดของตน
เช่น นาซีอ้างพระคัมภีร์ที่ว่ายูดาทรยศพระคริสต์ มาบ่มเพาะความเกลียดชังชาวยิวทั้งหมด โดยละเลยไปว่าพระคริสต์เองและอัครสาวกก็เป็นชาวยิว,
ฏอลิบันอ้างกุรอ่าน ว่าห้ามบูชารูปเคารพ มาทำลายพระพุทธรูปโบราณที่บามิยัน ทั้งๆที่ไม่มีใครแถวนั้นบูชาอีกแล้ว เป็นเพียงมรดกศิลปะเก่าแก่เท่านั้น
7. Disinformation by mass media : ควบคุมกำจัดข้อมูลผ่านสื่อสารมวลชน
การบอกข้อมูลไม่ครบ บอกความจริงไม่หมด เลือกแต่เฉพาะข้อมูลหรือข่าวที่ส่งผลดีต่อฝ่ายตนเอง ใช้การอ้างนอกบริบท หรือนำคำพูดที่ไม่เกี่ยวข้องกันมาแต่งเติมเสริมเข้าไปให้ดูดี
.
ยิ่ง ใช้สื่อมวลชนที่เข้าถึงคนหมู่มาก ยิ่งบอกผ่านกันไปปากต่อปาก และยิ่งดูน่าเชื่อถือ หลายๆคนพอตั้งข้อสงสัย ก็ถูกตอบว่า “ก็ทีวีว่ามาอย่างนี้ล่ะ”
ข้อนี้เราคงเห็นกันตามสื่อสารมวลชนอยู่ทุกวันแล้วนะครับ
ปกติ หน้าที่ของสื่อข้อหนึ่งคือ Gatekeeper ผู้คัดกรองข่าวสาร เลือกข่าวสารที่มีประโยชน์และเป็นจริง และกำจัดข้อมูลชยะที่เป็นเท็จและไม่เป็นประโยชน์ทิ้งไป
รวมถึงการเรียบเรียงข้อมูลให้เข้าใจง่ายขึ้น แต่เมื่อสื่อมาโฆษณาชวนเชื่อแล้ว การคัดกรองข่าวสารก็จะบิดเบี้ยว
กลาย เป็นว่า คัดเฉพาะข้อมูลที่เข้าข้างฝ่ายตน มีประโยชน์ต่อตนเอง หรือหากข้อมูลเป็นกลางก็จะนำมาตัดแต่งเติมต่อตีความให้เข้ากับแนวคิดของตน เอง
รวมทั้งการเรียบเรียงให้ง่าย(simplification) ที่ตัดทอนและละเลยข้อเท็จจริงไป แล้วนำเรื่องยากซับซ้อนต้องใช้ความรู้ความเข้าใจสูงมาพูดเป็นเรื่องพื้นๆให้ คนเชื่อตาม
เ่อ่อ นี่อาจจะเป็นตัวอย่างได้ http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=339560
การโฆษณาชวนเชื่อ แตกต่างและน่ากลัวกว่าการโฆษณาและชักจูงตามปกติ
เพราะมันจะทำให้ตรรกะของคุณบิดเบี้ยวโดยคุณไม่รู้ตัว
คุณจะเห็นคนอื่นผิดหมด ขณะที่ตัวเองถูกต้องเพียงคนเดียว
คุณจะไม่เหลียวแม้แต่หางตามองสิ่งที่อยู่นอกเหนือความเชื่อของคุณ
คุณจะกล้าใช้ถ้อยคำหยาบคาย ด่าทอ เสียดสี คนที่ไม่เห็นด้วยกับคุณ ทั้งๆที่คุณไม่เคยมีนิสัยหยาบคายมาก่อน
คุณจะพร้อมบริจาค ทุ่มเททั้งกำลังกายและทรัพย์สินให้กับสิ่งที่คุณเชื่อ โดยไม่เหลือให้ตัวเองและครอบครัว
และเมื่อคุณรู้ตัว สังคมของคุณจะเหลือเพียงแต่กลุ่มคนที่เชื่อโฆษณาชวนเชื่อแบบเดียวกับคุณเท่านั้น
War is Peace
Freedom is Slavery
Knowledge is Ignorance
Big Brother is Watching You!
ระวัง! ผมอาจจะกำลังโฆษณาชวนเชื่อพวกคุณผู้อ่านอยู่เช่นกัน
อ้างอิง
กิติมา สุรสนธิ. การสื่อสารสาธารณมติ. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550.
http://en.wikiquote.org
http://en.wikipedia.org/wiki/Propaganda
http://www.holocaustresearchproject.org/holoprelude/nazprop.html
ที่มา : admin
เจ้าของบทความ : http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1159758
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น