ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วิชาชีววิทยา

    ลำดับตอนที่ #4 : ลักษณะที่ใช้ในการจำแนกสิ่งมีชีวิต

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.49K
      1
      27 ส.ค. 48

    ลักษณะที่ใช้ในการจำแนกสิ่งมีชีวิต



        1. ลักษณะภายนอก และโครงสร้างภายในของร่างกาย เป็นลักษณะที่ใช้ในการแบ่งกลุ่มใหญ่ๆ เท่านั้นในการแบ่งกลุ่มที่ย่อยๆ ลงไปใช้ลักษณะอื่น ประกอบ เช่น มีสัตว์ดังนี้ สิงโต ไก่ นก แมว เสือ เป็น ปลาตะเพียน เม่นทะเล ปลาช่อน ดาวทะเล กุ้ง หอยทาก หอยสังข์ หอยกาบ ปู แมงมุม การแบ่งอาจทำได้ดังนี้



         1.1 พวกมีกระดูกสันหลัง ได้ สิงโต เสือ แมว ไก่ เป็ด นก ปลาช่อน ปละตะเพียน แต่ถ้าจะย่อยลงไปอีกจะได้ดังนี้

            กลุ่มที่ 1 สิงโต เสือ แมว เพราะเป็นสัตว์ที่มีขนเป็นเส้น และมีเขี้ยวเล็บแหลมคม

            กลุ่มที่ 2 ไก่ นก เป็ด เพราะว่าเป็นสัตว์ที่มีขนเป็นแผงและมีจงอยู่ปาก

            กลุ่มที่ 3 ปลาช่อน ปลาตะเพียน เพราะเป็นสัตว์ที่เกล็ดและหายใจด้วยเหงือก และอาศัยอยู่ในน้ำ



         1.2 พวกไม่มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ หอยทา หอยสังข์ หอยกาบ แมงมุม กุ้ง ปู เม่นทะเล ดาวทะเล แต่ถ้าแยกย่อยลงไปอีกจะได้ดังนี้

            กลุ่มที่ 1 หอยทาง หอยสังข์ หอยกาบ เพราะเป็นสัตว์ที่ลำตัวนิ่ม และมีเปลือก

            กลุ่มที่ 2 แมงมุม กุ้ง ปู เพราะเป็นสัตว์ที่ลำตัวแบ่งเป็นปล้องและรยางค์ก็มีลักษณะเป็นข้อปล้อง

            กลุ่มที่ 3 เม่นทะเล ดาวทะเล เพราะเป็นสัตว์ที่มีผิวลำตัวขรุขระ



         โครงสร้างบางอย่างเมื่อดูจากภายนอก แต่เมื่อพิจารณาลักษณะโครงสร้างภายในอาจพบว่ามีลักษณะที่แตกต่างกัน และมีจุดกำเนิดที่แตกต่างกัน อวัยวะที่มีหน้าที่อย่างเดียวกัน แต่มีต้นกำเนิดต่างกัน เรียกว่า อะนาโตมีซ ออร์แกน (analogous organ) เช่น ปีกนกกับปีกผีเสื้อ ซึ่งทำหน้าที่ในการบินเช่นเดียวกันแต่รากฐานการกำเนิดพบตามเรียกว่า โฮโมโลกัส ออร์แกน (homologous organ) เช่น แขนของคนทำหน้าที่ในการหยิบจับสิ่งต่างจุดกำเนิด เช่นเดียวกับปีกนก ปีกค้างคาวซึ่งทำหน้าที่ในการบิน และขาหน้าของม้า วัว ควาย จะทำหน้าที่ในการเดิน เป็นต้น



         2. แบบแผนของการเจริญเติบโต และโครงสร้างที่เกิดขึ้นในระยะที่เป็นตัวอ่อน โดยใช้หลักที่ว่า สิ่งมีชีวิตที่มีลักณณะของตัวอ่อนคล้ายคลึงหรือมีความสัมพันธุ์ใกล้ชิดกันมาก ย่อมมีความสัมพันธ์ทางเชื้อสายและวิวัฒนาการ



        3. ซากดึกดำบรรพ์ ซึ่งอาศัยหลักที่วาสิ่งมีวิวัฒนาการ ดังนั้นสิ่งมีชีวิตใดที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดจะมีซากดึกดำบรรพ์ที่พบในชั้นหินต่างๆ คล้ายคลึงกัน และอาจทำให้ทราบถึงบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ด้วย เช่นจะพบซากดึกดำบรรพ์ของนกโบราณชนิดหนึ่งเรียก อาร์คีออฟเทอริก (archeopteryx) ทำให้ทราบว่านกมีพัฒนาการมาจากพวกสัตว์เลื้อยคลาน เนื่องจากพบว่าซากของอาร์คีออฟเทอริกมีขากรรไกรยาว มีฟัน และมีปีกซึ่งลักษณะเหล่านี้คล้ายกับสัตว์เลื้อยคลาน และในนกไม่มี



         4. โครงสร้างของเซลล์และออร์แกเนล เป็นการศึกษาในระดับเซลล์และส่วนประกอบของเซลล์ เช่น แบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นพวกที่ไม่เป็นเซลล์ เช่น ไวรัส และพวกที่เป็นเซลล์ เช่น เซลล์ของสิ่งมีชีวิตทั่วไป นอกจากที่เป็นเซลล์ยังแบ่งออกเป็นพวกที่เป็นเซลล์และไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส เช่น แบคทีเรีย สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่เป็นเซลล์และมีเยื่อหุ้มนิวเคลียส เช่น เซลล์ สาหร่าย เห็ดรา พืชและสัตว์ทั่วไป



         5. รีรวิทยาและการสังเคราะห์สารเคมี ระบบทางสรีรวิทยาของสิ่งมีชีวิตที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดจะมีความคล้ายคลึงกันมากกว่าพวกที่ความสัมพันธ์กันน้อยเฮอร์โมนที่สร้างจากคนและแกะ ทั้งนี้ก็เพราะคนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลิงมากกว่าแกะ



         6. ลักษณะทางพันธุกรรม สิ่งมีชีวิตี่มีลักษณะทางพันธุกรรมที่ใกล้ชิดกันย่อมมีลักษณะพื้นฐานต่างๆ ใกล้เคียง เช่น ลักษณะและจำนวนของโครโมโซม ลักษณะของการสืบพันธุ์และการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากบรรพบุรุษสู่ เป็นต้น



    **************

    เนื้อหานี้แพนด้าลงเอามาให้อ่านกันไว้เล่นๆน่ะค่ะ

    คือช่วงนี้ยังไม่ค่อยมีเวลาอาค่ะ

    ต้องขอโทษด้วยจริงๆน่ะค่ะ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×