รำวงและรำโทน - รำวงและรำโทน นิยาย รำวงและรำโทน : Dek-D.com - Writer

    รำวงและรำโทน

    ประวัติความเป็นมาที่แท้จริงของรำวงและรำโทน ความเกี่ยวข้องระหว่างรำวงและรำโทน..

    ผู้เข้าชมรวม

    6,366

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    0

    ผู้เข้าชมรวม


    6.36K

    ความคิดเห็น


    11

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  25 ก.ย. 48 / 09:44 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      รำวงและรำโทน

              รำวงเป็นการละเล่นอย่างหนึ่งของชาวบ้าน ที่ร่วมกันเล่นเพื่อความสนุกสนานและเพื่อความสามัคคี นิยมเล่นกัน
      ในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๘๔-๒๔๘๘ รำวงนั้นเดิมเรียกว่า \"รำโทน\" เพราะได้ใช้โทนเป็นเครื่องดนตรีตีประกอบจังหวะ โดยใช้โทนเป็นจังหวะหลัก มีกรับและฉิ่งเป็นเครื่องดนตรีประกอบ แต่ไม่มีเนื้อร้อง ผู้รำก็รำไปตามจังหวะโทน ลักษณะการรำก็ไม่มีกำหนดกฏเกณฑ์ เพียงแต่ย่ำเท้าให้ลงจังหวะโทน ต่อมามีผู้คิดทำนองและบทร้องประกอบจังหวะโทนขึ้น ต่อมารำโทนได้พัฒนาเป็น \"รำวง\" มีลักษณะคือ มีโต๊ะตั้งอยู่กลางวง ชาย-หญิงรำเป็นคู่ๆ ไปตามวงอย่างมีระเบียบ เรียกว่า \"รำวงพื้นเมือง\" เล่นได้ทุกงานเทศกาล ทุกฤดูกาล หรือจะเล่นกันเองเพื่อความสนุกสนาน

              ในช่วง พ.ศ. ๒๔๘๔ อยู่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้เจรจาขอตั้งฐานทัพในประเทศไทย เพื่อเป็นทางผ่านสำหรับลำเลียงเสบียง อาวุธและกำลังพล เพื่อไปต่อสู้กับฝ่ายสัมพันธมิตร โดยยกพลขึ้นที่ ตำบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔  จอมพล ป. พิบูลสงคารม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น จำเป็นต้องยอมให้ทหารญี่ปุ่นตั้งฐานทัพ มิฉะนั้นจะถูกฝ่ายอักษะซึ่งมีประเทศญี่ปุ่นรวมอยู่ด้วยนั้นปราบปราม  ประเทศไทยขณะนั้นจึงเป็นเป้าหมายให้ฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตี ส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดทำลาย ทำให้ชีวิตผู้คน บ้านเรือน ทรัพย์สินเสียหายยับเยิน โดยเฉพาะที่ที่อยู่ใกล้กับฐานทัพญี่ปุ่น ส่วนใหญ่แล้วฝ่ายพันธมิตรจะส่งเครื่องบินมารุกรานจุดยุทธ
      ศาสตร์ในเวลาคืนเดือนหงาย เพราะจะมองเห็นจุดยุทธศาสตร์ได้ง่าย  ชาวไทยมีทั้งความหวาดกลัวและตึงเครียด จึงได้ชักชวนกันเล่นเพลงพื้นเมือง คือการรำโทน เพื่อผ่อนคลายอารมณ์ที่ตึงเครียด ให้เพลิดเพลินสนุกสนานขึ้นบ้าง

              การรำโทนนั้นใช้ภาษาที่เรียบง่าย เนื้อร้องเป็นเชิงเย้าแหย่ หยอกล้อ เกี้ยวพาราสีกันระหว่างหนุ่มสาว ทำนองเพลง การร้อง ท่ารำ การแต่งกายก็เรียบง่าย มุ่งความสนุกสนาน พอผ่อนคลายความทุกข์ไปได้บ้างเท่านั้น จอมพล ป. พิบูลสงครามเกรงว่าชาวต่างชาติที่ได้พบเห็นจะเข้าใจว่า ศิลปะการฟ้อนรำของไทยมิได้ประณีตงดงาม ท่านจึงได้ให้มีการพัฒนาการรำโทนขึ้นอย่างมีแบบแผน ประณีตงดงาม ทั้งท่ารำ คำร้อง ทำนองเพลง และเครื่องดนตรีที่ใช้ตลอดจนการแต่งกาย จึงเรียกกันว่า \"รำวงมาตรฐาน\" เพื่อจะได้เป็นแบบอย่างต่อไป

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×