น้ำผึ้งกลั่นหยดมธุรสเมรัย - น้ำผึ้งกลั่นหยดมธุรสเมรัย นิยาย น้ำผึ้งกลั่นหยดมธุรสเมรัย : Dek-D.com - Writer

    น้ำผึ้งกลั่นหยดมธุรสเมรัย

    เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิถีอาชีพของชาว อ.ระโนด จ.สงขลา ครับ ผม

    ผู้เข้าชมรวม

    744

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    744

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  22 มี.ค. 47 / 19:27 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      น้ำผึ้งกลั่นหยดมธุรสเมรัย

      เป็นเรื่องราวของวิถีชีวิตของผู้คนชาวปักษ์ใต้ที่ก่อเกิดขึ้นมาท่ามกลางธรรมชาติเพื่อดิ้นรนให้ตัวเองมีชีวิตอยู่ถึงแม้ว่าบางสิ่งจะขัดต่อเรื่องของกฎบ้านกฎเมืองก็ตาม (บางส่วนจะเป็นคำปักษ์ใต้ แต่ใส่ตัวเลขบอกความหมายไว้ท้ายบทครับ)

      ต้นตาลที่ราบกว้างแนวทุ่งที่เรียกว่าว่าฝั่งบก ขึ้นไล่เลี่ยกันตามขอบนา  มองออกไปเห็นรวงข้าวต้องแสงพร่างพราวเป็นสีทองเต็มไปทั่วดูงามอร่ามตาเป็นยิ่งนัก  บางต้นก็ยืนอย่างโดดเดี่ยวหรือรวมกันเป็นกลุ่มๆ แผ่ใบสีเขียวอันกว้างใหญ่แลดูคล้ายพัด  ที่ช่วยปัดเป่าความทุกขืร้อนยามยากที่จะเกิดกับวิถีชนคนถิ่นนี้
                  ยามสาย ๆ แสงตะวันบ่ายคล้อยฝั่งปละตก1  ร่างกำยำอันทรนงของชายผู้กล้าแห่งฝั่งบก  ปีนไม่ไผ่ที่ทอดยาวโผสู่ต้นตาลสูงเทียมเมฆ  แสงแดดอ่อน ๆ ส่องทะลุผ่านใบตาลกระจายไปทั่วท้องทุ่งอีกครั้งหนึ่ง \"โกร่ง โกร่ง โกร่ง\" เสียงกระบอกตางกระทบกันไปมาทำให้เกิดสำเนียงเสียงดังราวกับ รอก2 ที่ผูกคอวัว  มืออันหยาบกร้านที่ผ่านกาลเวลามาช้านาน  หยิบกระบอกนำตาลที่โส่3ไว้ในตอนเช้าใสบ่าพร้อมกับจับมีดปาดงวงตาลที่ห้อยระย้าเป็นรวง  น้ำตาลหยด \"ระริก ระริก ระริก\" แตะกระบอกน้ำตาลใหม่อีกครั้งหนึ่งดัง \"จ๊อก จ๊อก จ๊อก\" พร้อมกับการกลับมาของเหล่าหมู่ผึ้งยวนที่รอคอยเวลาอันหอมหวาน
                  นกกระยางบินลัดฟ้าผ่านแนวยอดตาลกลับรวงรัง  ท้องทุ่งซึ่งบัดนี้ไร้แสงต้องเงา เสีงฝีเท้าบนคันนาดัง \"กึก กึก\" มุ่งตรงไปยังขนำ4น้อยปลายนา ปากก็ฮัมเพลง \"โก้งโค้งโมงตึง มือหนึ่งดึง มือหนึ่งรอง พอน้ำออกหรอยจัง\" ของวงฌามา ขวัญใจของหนุ่มใต้บ้านนา ควันไฟบนเตากลั่นพวยพุ่งอย่างไม่มีจุดหมาย แสงไฟวาบจากไม้ยางที่กลายเป็นถ่านแดง ๆ ปะทุกันดัง \"เปลี๊ยะปล๊ะ\" ทำให้เห็นแสงรำไรพร้อมร่างเงาที่เคลื่อนไหว  น้ำผึ้งที่เคียวหมักด้วยไม้เคี่ยม5เมื่อวันวาน  โดนความร้อนในกะทะใบบัว หลอมละเหยกลายเป็นไอไหลย้อนกลับมารวมกันเป็นหยดน้ำเล็ก ๆ ใสราวกับตาตั๊กแตน ดีดตัวจากปากเตากลั่นสู่ โอ่งตรามังกรอันเก่าคร่ำคร่า กลิ่นของน้ำแรกนั้นล่องลอยมาแตะโสด6แห่งการรับรู้ ซึ่งมวลด้วยกลิ่นอันละมุนกลุ่นหอมจอมเจ้าเนื้อนางสาวน้อยบ้านนา \"พรึบ\" บ่อเกิดจากก้านไม้ขีดไฟเพียก้านเดียวที่หยอกเย้าให้น้ำใสๆ เกิดประกายไฟที่หลากสีขึ้นมาทันที \"80 ดีกรีแน่นอน\" ชายร่างกำยำฝันถึงวันพรุ่ง
               \"พี่หลวงเหอซื้อไก่แจ้สัก 10 ตัว\"7  จอมปลวกคันนาเป็นที่พักสินค้าได้ดีที่สุด สำหรับสรรพสามิตหน้าเดิม ๆ ที่มาบ่อยครั้ง กระบอกแล้วกระบอกเล่า ถูกเปลี่ยนค่าม่เป็นเงินตราเพื่อชีวิตที่ต้องดำรงอยุ่ต่อไปในโลกอันวุ่นวานเก่าๆใบนี้ อีกแง่มุมหนึ่งก็บังเกิดความสนุกสุขใจแก่เพื่อนเกลอในงานหรือพิธีต่างๆ ที่เกิดขึ้นในถิ่นนี้
                 เสียงเพลง\"ไวพจน์ลาบวช\" จากเครื่องขยายเสียงผ่านลำโพงฮอร์น ดังสนั่นมาจากอีกฟากของท้องนา ผู้คนในงานตางสรวลเสเฮฮา ขับขานเพลงบอก8 ยกยอถึงควยามดีของเจ้านาคด้วยฤทธิ์น้ำขาว 80 ดีกรี ชายร่างผู้กำยำพร้อมด้วยไข่แดงลูกชายที่วันนี้มีเสื่อผ้าสดใสผิดกับเมื่อวันวานที่ผ่านมา ยื่นซองสีมอๆ ให้กับเจ้าภาพ พลันสายตาก็เหลือบไปเห็นผลงานที่เกิดขึ้นด้วยความเหน้ดเหนื่อยตั้งเด่นสง่าอยู่กลางโต๊ะอาหาร แล้วเผยอยิ้มที่มุมปาก
      เชิงอรรถ
      1. ฝั่งปละตก ในภาษาถิ่นใต้ หมายถึง ฝั่งตะวันตก
      2.รอก          ในภาษาถิ่นใต้ หมายถึง กระบอกไม้ที่ทำให้เกิดเสียงใช้สำหรับผูกคอวัว
      3.โส่             ในภาษาถิ่นใต้ หมายถึง การใช้สิ่งของที่เป็นกระบอกรองน้ำ
      4.ขนำ           ในภาษาถิ่นใต้ หมายถึง สิ่งปลูกสร้างเล็กๆคล้าบบ้าน ไม่ถาวร ส่วนมากจะปลูกกันตามสวนหรือที่ว่างใกล้ผืนนา
      5.ไม้เคี่ยม     ในภาษาถิ่นใต้ หมายถึง ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่สามารถจะนำมาหมักกับน้ำผึ้งเพื่อให้เกิดเป็นส่าเหล้า
      6.โสด             ในภาษาถิ่นใต้ หมายถึง การสูดดม
      7.พีหลวงเหอซื้อไก่แจ้  ในภาษาถิ่นใต้ หมายถึง ปริศนาการที่จะซื้อสุราเถื่อน
      8.เพลงบอก     ในภาษาถิ่นใต้ หมายถึง การละเล่นเพลงพื้นเมืองประจำถิ่นของคนปักาใต้

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×