รู้สิ่งใดไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี - รู้สิ่งใดไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี นิยาย รู้สิ่งใดไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี : Dek-D.com - Writer

    รู้สิ่งใดไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี

    คำกลอนนี้หมายถึงอะไร ?

    ผู้เข้าชมรวม

    7,300

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    39

    ผู้เข้าชมรวม


    7.3K

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  12 ก.ค. 46 / 14:34 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      เมืองไทยนี้เป็นเมืองกาพย์เมืองกลอน คนจะพูดจะจาอะไรก็ต้องเข้าทำนองกาพย์กลอนกันไปหมด ทำให้บ้านเมืองของเรามีกวีอยู่ทุกหัวระแหง อันกวีนี้ไซร้ยังมีคำกล่าวกระตุ้นเตือนใจกันอีกว่า “นักเลงกลอนอย่านอนเปล่า” นั่นคือถ้าใครคิดว่าตัวเองเป็นนักเลงกลอนแล้ว อย่าอยู่เฉย ๆ เป็นอันขาด แต่จงหมั่นแต่งกลอนอยู่บ่อย ๆ เป็นการ “ลับคม” ให้ฝีกลอนเฉียบแหลมไม่ติดขัด

      เหตุผลหนึ่งที่เมืองไทยเป็นเป็นเมืองกวี เพราะพระมหากษัตริย์ทุกสมัยต้องทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมแขนงนี้ด้วย ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม จะแต่งตำราหรือหนังสืออะไรส่วนใหญ่ก็ต้องเป็นกลอน หาที่เป็นร้อยแก้วได้น้อยเต็มที แต่กระนั้นก็ต้องเป็นร้อยแก้ว “ชั้นเซียน” ไม่ใช่สักแต่มีมือไว้เขียนอย่างปัจจุบัน (ผู้เขียนเองก็จัดเป็นคนหนึ่งที่สักแต่มีมือ เพราะฝีมือไม่เข้าชั้นเซียนสักที)

      กวีดังยุครัตนโกสินทร์ที่ยังมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอยู่จนทุกวันนี้ ถามใครใครก็ต้องตอบว่าเป็น “สุนทรภู่” อย่างแน่นอน จะด้วยเหตุผลว่ารู้จักอยู่คนเดียวหรือครูสั่งให้ตอบก็ช่างเถอะ เอาเป็นว่า “ดัง” จริงเป็นอันใช้ได้ เพราะกระทั่ง Unesco ยังยกย่องให้เป็นกวีเอกของโลก

      คำกลอนของสุนทรภู่มีมากมายหลายเรื่องซึ่งไม่จำเป็นต้องจารไนกัน ณ ที่นี้ ศิลปะโวหารของสุนทรภู่มีสัมผัสนอกสัมผัสในที่ไพเราะเพราะพริ้ง จนแม้กระทั่งแต่งโคลงสี่สุภาพก็ยังแต่งทำนองกลอนเป็นเหตุให้ถูกค่อนแคะว่าคงเอาดีทางอื่นไม่ได้แล้ว นอกจากกลอน แต่กระนั้นก็ดีกลอนของสุนทรภู่นับได้ว่าเป็นกลอนที่มีค่ามาก เพราะสุนทรภู่ได้แทรกคติสอนไว้เอาไว้ทุกเรื่อง เรียกได้ว่าอ่านเรื่องไหน เปิดไปไม่กี่หน้าก็ต้องมีคติคำคมให้เรานำมาคิด

      คนไทยแต่ไหนแต่ไรมาเห็นความสำคัญของการศึกษาหาความรู้เหนือสิ่งอื่นใด สุนทรภู่ก็เช่นเดียวกัน ดังนั้น กลอนของสุนทรภู่มักแทรกข้อคิดเกี่ยวกับการศึกษาหรือความรู้ไว้เนือง ๆ เช่น

              อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ     ประเสริฐสุดซ่อนใส่เสียในฝัก
          สงวนคมสมนึกใครฮึกฮัก            จึงค่อยชักเชือดฟันให้บรรลัย

      กลอนบทนี้สรุปง่าย ๆ ว่า “รู้แล้วไม่ต้องอวดโม้ให้มาก เป็นคนที่ ‘คมในฝัก’ ดีกว่า” เมื่อเอ่ยถึงกลอนของสุนทรภู่แล้ว ผู้เขียนก็อยากยกตัวอย่างกลอนอีกสักบาทหนึ่งที่คนรุ่นหลังเข้าใจไปผิด ๆ ว่าสุนทรภู่สอนให้คนเห็นแก่ตัว นั่นคือ “รู้สิ่งใดไม่สู้รู้วิชา  รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี”
      กลอนบาทนี้เรามักตีความว่าจะรู้อะไรก็ตามไม่ดีเท่ารู้วิชาหรอก แต่ถ้าดีกว่ารู้วิชาก็คือรู้จักเอาตัวรอด … ปัญหาอยู่ตรงนี้แหละ … “เอาตัวรอด” !!! เพราะคนรุ่นหลังเข้าใจความหมายนี้โดยมีนัยของ “เห็นแก่ตัว” เจือปนคละเคล้ากันไป จนมักสรุปกันง่าย ๆ ว่าสุนทรภู่สอนให้คนรู้จักเห็นแก่ตัวไปโน่นเลย

      อนี้ผู้เขียนจำต้องสาธยายในฐานะเคยสอนหนังสือมาบ้าง สุนทรภู่กล่าวคติไว้ถูกต้องแล้วที่ว่า “รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี” เพราะหมายถึง “คนเราควรหมั่นศึกษาหาความรู้ให้มาก เพราะเป็นของดีมีประโยชน์ แต่ที่ดีกว่านั้นคือการนำวิชาความรู้ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนได้ พึ่งพาตนเองได้” ไม่ใช่มีแต่ความรู้แต่ความสามารถในการจัดการปัญหาไม่มีเลย ดังที่เราเห็นในปัจจุบัน นักจิตวิทยาเอย นายแพทย์เอย ครูบาอาจารย์เอย พระเอย.. เหล่านี้เรื่องแก้ปัญหาให้ชาวบ้านชาวเมืองแล้วเก่งนัก มีความรู้มาก แต่เมื่อเกิดปัญหากับตนเองกลับฆ่าตัวตายมาหลายรายแล้ว นี่เรียกว่า “เอาตัวไม่รอด”

      หากเปรียบกับทหารที่ฝึกฝนการยุทธมาอย่างช่ำชอง สู้ได้ทั้งมือเปล่าทั้งอาวุธ แต่เมื่อเผชิญสงครามจริง เมื่อถูกข้าศึกโอบล้อมกลับแก้สถานการณ์ไม่ได้ คิดไม่ออก ต้องตกอยู่ในเงื้อมมือข้าศึก นี่ก็เรียกว่า “เอาตัวไม่รอด” อีกเหมือนกัน เพราะ “ความรู้ท่วมหัว” มีมากเกินไปจนไม่รู้จะหยิบอันไหนมาใช้

      ดังนั้น สุนทรภู่จึงต้องการสอนว่าให้คนไทยศึกษาหาวิชาความรู้กันมาก ๆ แล้วต้องรู้จักนำวิชาความรู้นั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้ลุล่วงไปได้ด้วยตนเอง สามารถพาตัวเองให้รอดได้โดยไม่ต้องพึ่งคนอื่นอยู่ร่ำไป (และไม่ต้องยืมเงิน IMF)

      คนที่มีวิชาความรู้มากแต่ไม่สามารถ “รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี” เปรียบได้กับ “ตาบอดได้แว่น หัวล้านได้หวี ขันทีมีหนังโป๊”.. เพราะมีไปก็ไม่เกิดมรรคผลนิพพานอะไรขึ้นมาแม้แต่น้อย





      สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
      ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×