ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พระราชกรณียกิจของในหลวง

    ลำดับตอนที่ #5 : พระราชกรณียกิจ ด้านพระพุทธศาสนา

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.96K
      0
      18 พ.ย. 49



    พระราชกรณียกิจด้านพระพุทธศาสนา

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชกับพระพุทธศาสนา

           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9  ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นพุทธมามกะ ดังจะเห็นได้จากการที่พระองค์ทรงผนวชในพระพุทธศาสนา ประพฤติปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธศาสนา ซึ่งพิธีบรรพชาอุปสมบทนั้นได้มีบันทึกไว้อย่างละเอียดดังต่อไปนี้...

         พระราชพิธีบรรพชาอุปสมบท
             ลุถึงวันจันทร์ที่  22  ตุลาคม  พุทธศักราช  2499  เป็นวันที่จะต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ไทย  และจดจำในดวงใจของพสกนิกรชาวไทยทุกคน  ด้วยเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี  จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร  ผู้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่  9  แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์  จักได้ทรงสละราชสมบัติ  เสด็จออกทรงพระผนวชในบวรพระพุทธศาสนา โดยทรงแต่งตั้งให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์  พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
              พระราชพิธีบรรพชาอุปสมบทของสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า อันจัดเป็นพระราชพิธีมหามงคลอันยิ่งใหญ่  เริ่มขึ้นในวันจันทร์ที่  22  ตุลาคม  พุทธศักราช  2499 เวลา 14.00  น. 
              พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งมายังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  ครั้นเมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึง ทรงพระดำเนินสู่ที่เปลื้องเครื่องหลังพระอุโบสถ  เสร็จแล้ว สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงจรดพระกรรบิดเปลื้องพระเกศาเป็นพระฤกษ์ (ใช้กรรไกรขริบเส้นผมเป็นปฐมฤกษ์)  จากนั้นเจ้าพนักงานภูษามาลาถวายต่อจนเสร็จ

              ครั้นเวลา 15.00 น. ล่วงแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเศวตพัสตร์ตามแบบผู้แสวงอุปสมบท  ทรงพระดำเนินเข้าสู่พระอุโบสถทางพระทวารหลังแล้วเสด็จออกหน้าพระฉาก  ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร  พระสัมพุทธพรรณี  และพระพุทธรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแล้ว ทรงรับผ้าไตรและบาตรสำหรับทรงอุปสมบท จากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปประทับในท่ามลางสังฆสมาคมในพระอุโบสถ มีพระสงฆ์ผู้จะนั่งหัตถบาส  จำนวน 30 รูป อยู่ด้านเหนือ  โดยมีสมเด็จพระสังฆราชวัดบวรนิเวศวิหาร  ทรงเป็นพระราชอุปัชฌายาจารย์  (อุปัชฌาย์)  และถวายศีล  สมเด็จพระวันรัต  วัดเบญจมบพิตร  เป็นพระราชอนุสาวนาจารย์
              ภายในพระอุโบสถทางด้านใต้  มีพระบรมวงศานุวงศ์  คณะองคมมนตรี  คณะรัฐมนตรี  ประธานสภาผู้แทนราษฎร   และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่  เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท  นอกจากนั้น  เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ที่ชานพระอุโบสถทั้งหน้าหลัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงถวายเครื่องราชสักการะแด่สมเด็จพระสังฆราชผู้เป็นพระราชอุปัชฌายาจารย์  แล้วทรงขอบรรพชา
              สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช  ทรงถวายโอวาทสำหรับบรรพชาความว่า
              "บัดนี้  สมเด็จพระบรมบพิตรทรงมีพระราชศรัทธาความเชื่อ  พระราชปสาทะความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้ทรงขอบรรพชาอุปสมบท รวมความว่า บวชในพระพุทธศาสนาตามพระราชประเพณีของพระเจ้าแผ่นดินที่เป็นบรมราชจักรีวงศ์และตามแบบของกษัตริย์ก่อนๆ เพราะฉะนั้น จึงควรน้อมพระราชหฤทัยระลึกถึงพระพุทธเจ้า  ซึ่งเป็นพระบรมศาสดา ประกาศพระศาสนา และทรงระลึกถึงพระธรรม คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งประกาศสัจจะความจริงอันไม่แปรปรวน  และระลึกถึงพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วได้ความเชื่อความเลื่อมใส  ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าจนได้ดบรรลุถึงคุณพิเศษในพระพุทธศาสนา  คือ  พระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์  เพราะฉะนั้น ในบัดนี้ จงตั้งพระราชหฤทัยระลึกถึงคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเรียกว่าศาสนธรรมอันประกาศสัจธรรม ธรรมะที่เป็นจริง  และระลึกถึงพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า  เช่นนี้ จึงควรบวชในพระพุทธศาสนา


     

     
    ที่มาจากเวปไซต์
    http://www.king60.mbu.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=79&Itemid=54



    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×