ปริศนาคำทายถิ่นใต้(สงขลา) - ปริศนาคำทายถิ่นใต้(สงขลา) นิยาย ปริศนาคำทายถิ่นใต้(สงขลา) : Dek-D.com - Writer

    ปริศนาคำทายถิ่นใต้(สงขลา)

    โดย WC.3/6

    ผู้เข้าชมรวม

    16,228

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    33

    ผู้เข้าชมรวม


    16.22K

    ความคิดเห็น


    3

    คนติดตาม


    3
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  4 ก.พ. 54 / 13:25 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
     
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      ปริศนาคำทายถิ่นใต้

       1. ความหมายของปริศนาคำทาย

         ถ้อยคำที่ยกขึ้นเป็นเงื่อนงำ เพื่อให้แก้ ให้ทาย การเล่นทายกันใช้ถ้อยคำธรรมดาเป็นภาษาร้อยแก้ว หรือจะมีสัมผัสแบบภาษาร้อยกรองก็ได้ ภาษาที่ใช้นั้นเป็นภาษาที่สั้นๆ ง่ายๆกระชับความ แต่ยากแก่การตีความในตัวปริศนาอยู่บ้าง มักนิยมกันในหมู่เด็กๆ หรือผู้ใหญ่ ยกคำทายเพื่อมาทายกัน เป็นการฝึกสมอง ลองภูมิปัญญา ช่วยฝึกความคิด ก่อให้เกิดการเรียนรู้ ความเข้าใจ และเกิดความสนุกขบขัน บันเทิงใจด้วย นอกจากนี้ยังฝึกให้เด็กๆรู้จักจำ สังเกต เป็นวิธีการสอนเด็กที่ชาญฉลาดอย่างยิ่ง ในสมัยโบราณการลองภูมิปัญญาว่าผู้นั้นมีความเฉลียวฉลาดหรือไม่เพียงใดนั้น วิธีหนึ่งก็คือ การทายปริศนาหรือการทายปัญหา ดังนั้นการเล่นปริศนาคำทายจึงเป็นที่นิยมกันมาจนถึงปัจจุบันนี้

         ในสมัยราชกาลที่5 ก็นิยมทายปริศนากัน แต่มักจะแต่งเป็นโคลงหรือกลอนให้มีความไพเราะไปทางภาษาหนังสือ เป็นการทายในหมู่ชนชั้น ที่ได้รับการศึกษา ซึ่งต่างจากการทายปริศนาตามหมู่บ้านหรือตามประสาชาวบ้าน                (ปริศนาคำทาย. 2545. ออนไลน์. เข้าถึงได้จาก http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4% E0%B8%A8% E0%B8%99% E0%B8%B2% E0%B8%84% E0%B8%B3% E0%B8%97% E0%B8%B2% E0%B8%A2%วันที่ค้นข้อมูล 27 พฤศจิกายน 2553.)



        2. ประเภทของปริศนาคำทาย

      ฉันทัส ทองช่วย. (2534 : 50-51.) ได้แยกปริศนาคำทายออกเป็นลักษณะต่างๆดังนี้

       

      2.1      ปริศนาที่มีคำตอบเกี่ยวกับพืช เช่น

      อะไรเอ่ย ใบหยักหยัก ลูกลักเต็มคอ (มะละกอ)

      อะไรเอ่ย หล่นตุ้บใส่หมวกแต้ นุ่งผ้าแพรสีเลือดหมู (ลูกตาล)

       

      2.2      ปริศนาที่มีคำตอบเกี่ยวกับสัตว์ เช่น

      อะไรเอ่ย คุดคู้ในถ้ำ นอนคว่ำหัวเข่าชี้ (จิ้งหรีด)

      อะไรเอ่ย สาวน้อยนุ่งผ้าลาย ผูกคอตายใต้ต้นไม้เอน (ดักแด้)

       

      2.3      ปริศนาที่มีคำตอบเกี่ยวกับปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ เช่น

      อะไรเอ่ย เป็นตัวยิบยิบ นกกระจิบก็ไม่ใช่ (แดด)

      อะไรเอ่ย ขึ้นจากยอดเขาเขียว กินคนเดียวเมาหมดทั้งเมือง (ราหูอมจันทร์)

       

      2.4      ปริศนาที่มีคำตอบเกี่ยวกับอวัยวะของร่างกาย เช่น

      อะไรเอ่ย หนองน้อยๆ น้ำใสดังพลอย มีหนามแน่นทึบ (ตา)

      อะไรเอ่ย ข้างนอกประตูไม้ ข้างในประตูเหล็ก ผ้าผืนเล็กตากไม่แห้ง (ปาก,ลิ้น)

       

      2.5      ปริศนาที่มีคำตอบเกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ เช่น

      อะไรเอ่ย รอยยาวแต่เท่ากลม (เกวียน)

      อะไรเอ่ย หางยาวเกือบวา กินพสุธาเป็นอาจิณ (จอบ)

       

      2.6      ปริศนาที่มีคำตอบเกี่ยวกับอาหารการกิน เช่น

      อะไรเอ่ย หุบเท่าจาน บานเท่ากระด้ง (ข้าวเกรียบว่าว)

      อะไรเอ่ย แก้ผ้าลงโคลน กระโจนลงน้ำ (กล้วยแขก)

       

      2.7      ปริศนาที่มีคำตอบเกี่ยวกับศาสนา วัฒนธรรม ประเพณีในท้องถิ่น เช่น

      อะไรเอ่ย บ้านสี่เสา เอาผ้าขาวมุงหลังคา (เมรุเผาศพ)

      อะไรเอ่ย ขาวปลอด แต่ยอดไม่มีใบ (เจดีย์)



      2.8      ปริศนาที่มีคำตอบเกี่ยวกับวรรณกรรม เช่น

      อะไรเอ่ย พระรามชอบสีอะไร (สีดา)

      อะไรเอ่ย สีไหร ทำให้คนรบกัน (สีดา)

       

      2.9      ปริศนาที่มีคำตอบเกี่ยวกับเชาว์ปัญญา เช่น

      อะไรเอ่ย เหนือฟ้ามีอะไร (ไม้โท)

      อะไรเอ่ย อยู่ดินกินหญ้า (ม้า)

      อะไรเอ่ย อยู่ทะเลกินตม (ปู)

      อะไรเอ่ย อยู่ฟ้ากินลม (ดาวม้า)

       

      3. ลักษณะของปริศนาคำทาย

      นิยมใช้คำคล้องจองกันโดยไม่กำหนดจำนวนคำในแต่ละวรรค เป็นข้อความสั้นๆ กะทัดรัดหรืออาจผูกเป็นปริศนาคำกลอน ซึ้งบ่งบอกถึงความเป็นเจ้าบทเจ้ากลอนทำให้จำได้ง่าย

      เนื้อหานั้นมักจะนำมาจากสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา เช่น คน สัตว์ พืช เวลา สถานที่ เครื่องใช้ เชาว์ปัญญา ฯลฯ ซึ้งผู้ผูกปริศนาจะต้องเป็นผู้ช่างสังเกต แล้วนำของที่สังเกตมาผูกปริศนาให้ผู้อื่นใช้ปัญญาในการแก้หรือทาย

      จำนวนข้อความในการภามมีความสั้นยาวไม่เท่ากัน คือ อาจจะมีเพียงตอนเดียว สองตอน สามตอน หรือมากกว่านี้ แต่ข้อความทุกตอนจะเป็นการบอกคำตอบอยู่ในตัวเป็นนัยๆ ซึ้งเมื่อนำคำตอบมารวมกันจะเป็นลักษณะของสิ่งของที่ทายนั้นเอง ไม่นิยมถามตรงๆ แต่จะใช้สิ่งเปรียบเทียบ มีการท้าทายให้ผู้ไขปริศนาพยายามคิด

      ลักษณะของปริศนาคำทาย

      3.1 มักใช้คำคล้องจ้องเพื่อจดจำได้ง่าย แสดงความเป็นเจ้าบทเจ้ากลอนของคนไทย เช่น

      - อะไรเอ่ย ต้นเท่าขา ใบวาเดียว (ต้นกล้วย)

      3.2 มักใช้การเปรียบเทียบเพื่อนให้คนตอบได้ นึกภาพสิ่งนั้นได้ เช่น

      - อะไรเอ่ย หน้าดำ ฟันขาว เหมือนชาวนิโกร ตะโก้ก็ไม่ใช้ (ขนมเปียกปูน)

      3.3      มักเป็นข้อความทำนองการใช้จิตวิทยาจูงใจให้คนตอบ เช่น

      - อะไรเอ่ย ต้นสามเหลี่ยม ใบเทียมดอก ใครทายออก ได้เมียงาม (กก)

      3.4      มักใช้ข้อความที่มีความหมายเป็นสองแง่สองมุมเหมือนอนาจาร แต่เรื่องที่ทายไม่ใช่เรื่องหยาบโลนเป็นเพียงการเพิ่มสนุกสนานของผู้ใหญ่ที่มีอารมณ์ขันในเรื่องเพศของคนไทย นับเป็นความเฉลียวฉลาดของการคิด เช่น

      -                   อะไรเอ่ย นารีมีรู พลอยสีชมพู อยู่ในรูนารี (ต่างหู)

      (ปริศนาคำทาย. ออนไลน์. เข้าถึงได้จาก http://www.thaigoodview.com/node44445. วันที่สืบค้นข้อมูล 27 พฤศจิกายน 2553.)

             4. ลักษณะการดำเนินชีวิตของคนภาคใต้ในอดีตถึงปัจจุบัน

      เอกรินทร์ สี่มหาศาลและคณะ. (2544 : 25-26.) กล่าวถึงลักษณะการดำเนินชีวิตของคนภาคใต้ในอดีตถึงปัจจุบัน.

       

      ลักษณะภูมิประเทศของภาคใต้โดยทั่วไปเป็นสมุทรแคบๆ มีทิวเขาเป็นแกนกลาง ได้แก่ ทิวเขาตะนาวศรี ทิวเขาภูเก็ต ทิวเขานครศรีธรรมราช และทิวเขาสันการาคีรี ชายฝั่งด้านตะวันออกมีที่ราบกว้างขวางกว่าชายฝั่งด้านตะวันตก จึงเป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญของภาคใต้ แม่น้ำสายสำคัญ เช่น แม่น้ำคีรีรัฐ แม่น้ำตาปี แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำโก-ลก

      พื้นที่ที่เป็นคาบสมุทรและชายฝั่งทะเลของภาคใต้ ทำให้มีชนชาติต่างๆเข้ามาติดต่อค้าขาย และเข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ในอดีต ประชาชนในภาคใต้จึงมีความหลากหลายในเชื้อชาติ เช่น ประชาชนที่อยู่อาศัยในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ จังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา สงขลา และสตูล มีเชื้อสายมาเลเซียและนับถือศาสนาอิสลาม นอกจากนี้บริเวณชายฝั่ง และเกาะบางเกาะของภาคใต้ทางด้านตะวันตกมีชาวพื้นเมืองที่เรียกว่าชาวเล หรือ ชาวน้ำ อาศัยอยู่

      การตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ราบ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมปลูกพืชที่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศที่มีฝนตกชุก เช่น ปลูกข้าว เงาะ มังคุด กาแฟ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ส่วนประชาชนที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณทางชายฝั่งทะเลจะมีอาชีพประมง

      ภาคใต้เป็นภาคที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นป่าดิบชื้นและป่าชายเลน แต่การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า รวมทั้งตัดไม้ป่าชายเลนเพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่เลี้ยงกุ้ง ทำให้ป่าไม้ลดจำนวนน้อยลง อาจเกิดปัญหาอุทกภัย ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตของผู้คน จึงมีการดำเนินโครงการต่างๆ เช่น โครงการพัฒนากลุ่มน้ำปากพนัง เพื่อระบายน้ำออกสู่ทะเล และกักน้ำไว้ใช้ในฤดูฝน จากการพัฒนาโครงการดังกล่าวทำให้มีน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูก จึงมีผลผลิตทางเกษตรเพิ่มขึ้น

      นอกจากนี้การที่ภาคใต้มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีความสวยงาม จึงมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาจำนวนมาก แต่การเปิดพื้นที่ธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวให้พื้นที่ป่าไม้ถูกบุกรุก เกิดการพัฒนาสิ่งก่อสร้างที่ไม่เหมาะสมกับสภาพธรรมชาติและเกิดปัญหามลพิษตามมา

      ตารางที่ 1 แสดงตัวอย่างปริศนาคำทายท้องถิ่นถิ่นภาคใต้ (สงขลา) ที่ผู้จัดทำได้ศึกษามา

      ที่

      ปริศนาคำทาย

      คำตอบ

      ประเภท

      1

      ไอไหรเห้อ ยืนตงหนี้ ชี้ไปตุงหนู้

      คันเบ็ด

      การประกอบอาชีพ(ประมง)

      2

      ไอไหรเห้อ ต้นเท่าบิ้ง โลกวิ่งดังฉา

      คนทอดแห

      การประกอบอาชีพ(ประมง)

      3

      ไอไหรเห้อ แด็ก ๆ ข้างในขาว สาว ๆ ข้างในแดง

      แตงโม

      การประกอบอาชีพ

      (การเพาะปลูก)

      4

      ไอไหรเห้อ ก้นชี้ฟ้า เอาหน้าแลดิน

      คนดำนา

      การประกอบอาชีพ

      (การทำนา)

      5

      ไอไหรเห้อ เดียวสั้น เดียวยาว สาว ๆ ชอบใส่

      กระโปรง

      การแต่งกาย

      (รูปแบบ)

      6

      ไอไหรเห้อ ตัดโคนก็ไม่ตาย ตัดปลายก้ไม่เน่า

      ผม

      การแต่งกาย

      (ทรงผม)

      7

      ไอไหรเห้อ เท่านิ้วก้อยพระนั่ง 500 ก้าไม่หัก

      พริก

      อาหารการกิน

      8

      ไอไหรเห้อ ยิ่งตัด ยิ่งยาว

      ถนน

      การคมนาคม

      (ทางบก)

      9

      ไอไหรเห้อ เวลาใช้ซัดลงน้ำ เวลาไม่ใช้เก็บไว้ที่หัว

      สมอเรือ

      การคมนาคม

      (ทางน้ำ)

      10

      ไอไหรเห้อ ม่ายไส้กินคน ม่ายขนบินได้

      เครื่องบิน

      การคมนาคม

      (ทางอากาศ)

      11

      ไอไหรเห้อ เปิดฉับใส่ฉุบ ปิดปุ๊บ เดินเฉย

      พระบิณฑบาต

      ความเชื่อ

      (ศาสนา)

      12

      ไอไหรเห้อ ยิ่งแกยิ่งมาก

      อายุ

      ความเชื่อ

      (สัจธรรม)

      13

      ไอไหรเห้อ ตัดหน้า ตัดหลัง เหลือวาเดียว

      กวาง

      ค่านิยม

      (การศึกษา)

      14

      ไอไหรเห้อ ไม่ถึงตูไม่เข้า ไม่ถึงดาวไม่ออก

      เข้าพรรษา

      ประเพณี

      15

      ไอไหรเห้อ คุดคู้ในถ้ำ นอนคว่ำหัวเข่าชี้

      จิ้งหรีด

      สัตว์

      16

      ไอไหรเห้อ เป็นตัวยิบยิบ นกกระจิบก้าไม่ใช่

      แดด

      ปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ

      17

      ไอไหรเห้อ หนองน้อย ๆ น้ำใสดั่งพลอย มีหนามแน่นทึบ

      ตา

      อวัยวะของร่างกาย

      18

      ไอไหรเห้อ พระรามชอบสีอะไร

      สีดา

      วรรณกรรม

      19

      ไอไหรเห้อ อยู่ทะเลกินตม

      ปู

      เชาว์ปัญญา

      20

      ไอไหรเห้อ หางยาวเกือบวา กินพสุธาเป็นอาจิณ

      จอบ

      สิ่งของเครื่องใช้





      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×