ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดูการ์ตูนอย่างแมว ๆ

    ลำดับตอนที่ #324 : ชาร์ลี เอ็บโด กับการ์ตูนเสียดสี-ล้อเลียน

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.97K
      2
      27 ม.ค. 58

                

                 ไม่นานมานี้  เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2015 ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุการณ์ช็อกโลก เมื่อมีสองมือปืนบุกรุกที่สำนักงานใหญ่ของหนังสือพิมพ์หนังสือพิมพ์ล้อเลียน-เสียดสีของฝรั่งเศส ชาร์ลี เอ็บโดในกรุงปารีส จากนั้นพวกเขาก็ใช้ปืนกวาดยิงผู้ที่อยู่ในสำนักงานเสียชีวิตหลายราย ซึ่งมีทั้งเจ้าหน้าที่, นักวาดการ์ตูน และรวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย

                 เหตุการณ์ครั้งนี้ได้สร้างความตกตะลึงไปทั่วโลก หลายประเทศต่างประณามเหตุการณ์ก่อการร้ายครั้งนี้ว่าเป็นการก่อการร้าย “ป่าเถื่อนที่สุด”  และในขณะเดียวกันก็ทำให้ทั่วโลกรู้จักสำนักพิมพ์ “ชาร์ลี เอ็บโด” มากขึ้นด้วย

                 ชาร์ลี เอ็บโด ( Charlie Hebdo ) เป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ ที่นำเสนอเรื่องของการเมือง   โดยการล้อเลียนหรือเสียดสี แดกดันและถากถางแบบสุดโด่ง (คือค่อนข้างแรง) นอกจากการเมืองแล้ว ก็มีเรื่องของศาสนา (ส่วนใหญ่เป็นนิกายโรมันคาทอลิก, อิสลาม และยิว) รวมไปถึงวัฒนธรรม และอื่นๆ (การก่อการร้าย, บุคคล เป็นต้น)  

                 จุดเด่นของหนังสือพิมพ์ชาร์ลี เอ็บโบคือหน้าหนึ่งจะมีการ์ตูนล้อเลียน ซึ่งค่อนข้างแรงมาก เพราะมีเนื้อหาทั้งเหยียดเชื้อชาติ, การเสียดสีศาสนา ไปจนถึงล้อเลียนก่อการร้าย ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่าชนวนที่ทำให้เกิดการสังหารหมู่นั้นมาจากการ์ตูนเสียดสี-ล้อเลียนของชาร์ลี เอ็บโดนั่นเอง

     

     

    หน้าปก ชาร์ลี เอ็บโด เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2015 หลังเหตุการณ์สังหารหมู่

     

                 ในทางศิลปะแล้ว ล้อเลียน (Parody) –เสียดสี (Satire) เป็นประเภทหนึ่งของศิลปะที่มีประวัติค่อนข้างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นด้านเพลง นิยาย หรือภาพยนตร์ และที่นิยมที่สุดก็คือการ์ตูนล้อเลียน ล้วนมีประวัติยาวนานทั้งสิ้น โดยการ์ตูนล้อเลียนที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่พบคือผลงานของเลโอนาร์โด ดาวินซี

                 การ์ตูนเสียดสี-ล้อเลียน ในทางศิลปะ เป็นศาสตร์อารมณ์ขันประเทศหนึ่งที่ต้องการนำเสนอเกี่ยวกับบุคคล, เหตุการณ์, ไปจึงถึงเชิงสัญลักษณ์ ในลักษณ์จิกกัด หรือทำให้ออกมาดูตลก ซึ่งหลักการเสียดสี-ล้อเลียนนั้นคนวาดการ์ตูนจะต้องดึงลักษณะพิเศษของสิ่งที่จะเสียด-สีล้อเลียนให้ได้ และจะต้องมีความคิดสร้างสรรค์ ทันข่าวสารด้วย

                 หลายคนมักเข้าใจผิดว่าการเสียดสีต้องการให้คนดูเกิดบันเทิงและตลก ความจริงแล้วไม่ใช่เลย แม้จะเป็นรูปแบบของอารมณ์ขัน หากแต่วัตถุประสงค์จริงๆ ก็ต้องการเชือดเฉือนและลดทอนความชอบธรรมของฝ่ายตรงข้ามในสายตาของสาธารณชนได้ หรืออาจเป็นโฆษณาชวนเชื่อ การแสดงความคิดเห็นส่วนตัวของล้อเลียน

                 อย่างไรก็ตาม การเสียดสี – การล้อเลียน ย่อมกระทบกระทั่งของฝ่ายล้อเลียนแน่นอน แต่จะกระทบมากหรือน้อยนั้นก็แล้วแต่สารที่จะสื่อออกมา สำหรับการ์ตูนเสียดสี-ล้อเลียนของชาร์ลี เอ็บโดแล้วค่อนข้างแรงมาก เพราะมีเรื่องของการเหยียดสีผิว, เรื่องศาสนา เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยไม่คำนึงถึงกาลเทศะ, ไม่ใจเขาใจ ล้ำเส้น ก็ไม่แปลกที่จะผู้โกรธแค้น รับไม่ได้กับการ์ตูนของชาร์ลี เอ็บโด

     

    1- เดอโกลล์ชาร์ลี Hebdo 

    The Death Of De Gaulle

     

                 ชาร์ลี เอ็บโด ก่อตั้งเมื่อปี 1960 โดยจอร์จ แบร์นิเยร์ (Georges Bernier) และฟรองซัวส์ เดกาวานนา (François Cavanna) ในครั้งแรกนั้นเปิดตัวนิตยสารรายเดือนว่าฮารา-คิรี(Hara-Kiri) และเริ่มเป็นที่สนใจเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 1970 เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ที่ไนท์คลับ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 146 คน เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนหน้าที่ชาร์ลส์ เดอ โกลล์จะถึงแก่อสัญกรรมที่บ้านของเขาในโคลัมเบียไม่กี่วันเท่านั้น ตอนนั้นฮารา-คิรีได้นำโศกนาฏกรรมนี้มาเขียนข่าวแบบโยงเรื่องของชาร์ลส์ เดอ โกลล์ว่า “งานเลี้ยงวิปโยคที่โคลัมเบีย ตายหนึ่ง” (Tragic Ball at Colombey, one dead)

                 หลังจากนั้นไม่นาน นสพ. ฉบับนี้ก็ถูกสั่งแบนโดยรัฐบาลฝรั่งเศส พร้อมถูกด่าว่า “โง่และน่ารังเกียจ” (จนกลายเป็นวลีคำขวญที่กล่าวถึงนิตยสารนี้เวลาต่อมา)  อย่างไรก็ตาม กองบรรณาธิการไม่ยอมปิดตัวตามคำสั่งของรัฐบาล แต่ใช้วิธีเปลี่ยนชื่อหนังสือพิมพ์เป็น ชาร์ลี เอ็บโดแทน และยังคงนำเสนอการ์ตูนเชิงเสียดสีและล้อเลียนอดีตประธานาธิบดีเดอ โกลล์ แต่นิยสารก็หยุดอีกครั้งในปี 1981 ผู้สื่อข่าวและนักเขียนการ์ตูนของสำนักพิมพ์กลับมารวมตัวกันอีกครั้งในช่วงปี 1992

                 ชาร์ลี เอบโด ไม่ใช่หนังสือพิมพ์ยอดนิยมมากนัก ยอดจำหน่ายรายสัปดาห์ตกประมาณ 5 หมื่นฉบับ (เทียบกับหนังสือพิมพ์เสียดสีคู่แข่งอีกรายอย่าง Le Canard Encha?n? ที่มียอดพิมพ์ราว 5 แสน) จึงต้องดิ้นรนทางการเงินเป็นระยะ

                 แนวคิด (หรือจุดขาย) ของชาร์ลี เอ็บโดนั้นค่อนข้างเป็นพวก “ขวาจัด” หมายถึงเสรีนิยมจัด  สำหรับประเทศฝรั่งเศสแล้วถือว่าเป็นประเทศที่สื่อมีเสรีภาพยิ่งกว่าประเทศอเมริกาเสียอีก อีกทั้งยังต่างกับไทยที่นำเสนอนั้นถูกจำกัดอยู่ในกรอบ และห้ามทำให้สถาบันทั้งสาม (ชาติ, ศาสนา และมหากษัตริย์) เสื่อมเสียเด็ดขาด ไม่งั้นผิดกฎหมาย นอกจากนี้ประเทศไทยเรามีคำว่า “ไม่เชื่ออย่าลบหลู่” เข้ามาเป็นกรอบอีกต่างหาก

                 ฝรั่งเศสขึ้นชื่อเรื่องเสรีภาพในการเสนอความคิดเห็นเต็มที่ ไม่เกรงกลัวใดๆ ทั้งสิ้น รัฐบาลเองก็ไม่ต้องการให้ศาสนามีอิทธิพลเหนือกฎหมาย (เห็นจากฝรั่งเศสออกกฎหมายห้ามสวมฮิญาบ แม้แต่ห้อยไม้กางเขนที่ทำงาน) ดังนั้นจึงไม่แปลกแต่อย่างใดที่หลังเหตุการณ์สังหารหมู่ทางฝรั่งเศสก็ออกมาประกาศว่า “มันไม่สามารถสั่นคลอนความคิดเห็นเสรีของประเทศนี้ได้”  ทางด้านหนังสือพิมพ์ชาร์ลี เอ็บโดเองก็ยังคงตีพิมพ์หนังสือพิมพ์หน้าหนึ่งที่มีการ์ตูนล้อเลียนแรงๆ เหมือนที่ผ่านมาโดยไม่หวั่นกระแสความเกลียดชังแต่อย่างใด

                 หลังจากนั้นหนังสือพิมพ์ชาร์ลี เอ็บโดก็ตีพิมพ์การเสียดสี-ล้อเลียนเรื่อยมา ส่วนทุกคนและทุกเรื่อง นักการเมืองชื่อดัง คนดัง ศาสนาและวัฒนธรรมป๊อป แต่การเสียดสีพวกสุดโต่งที่อ้างศาสนา ซึ่งหลายครั้งชาร์ลี เอ็บโดต้องพบกับการตอบโต้ที่รุนแรงและเป็นข่าวหลายครั้งที่หนังสือพิมพ์ตีพิมพ์การ์ตูนล้อเลียนออกมา

     

    3- มูฮัมหมัดชาร์ลี Hebdo 

    หนังสือพิมพ์จิลแลนด์ส-โพสเทนตีพิมพ์การ์ตูนล้อเลียนนบีมูฮัมหมัด

     

                 หลายคนคงจดจำกันได้ประมาณปี 2005 หนังสือพิมพ์จิลแลนด์ส-โพสเทน (Jyllands-Posten) ของเดนมาร์กได้ตีพิมพ์การ์ตูนล้อเลียนนบีมูฮัมหมัด โดยเป็นภาพนบีมูฮัมหมัดสวมหมวกโพกศีรษะที่มีรูปร่างคล้ายระเบิด และนั่นทำให้ประเทศมุสลิมมีปฏิกริยาอย่างรุนแรง เพราะ หลักข้อเชื่อของศาสนาอิสลามระบุไม่ให้วาดหรือจินตนาการภาพนบีมูฮัมหมัด ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดก็ตาม ผลคือมีการเผาธงชาติเดนมาร์ก การก่อการร้ายในสถานทูตเดนมาร์ก และออกมาเรียกร้องคำขอโทษจากผู้เกี่ยวข้อง

                 ส่วนชาร์ลี เอ็บโดตัดสินใจนำรูปการ์ตูนของศาสดามูฮัมหมัดจากหนังสือพิมพ์ ยิลลันดส์ โพสเทน ของเดนมาร์ก มาพิมพ์ซ้ำเพื่อแสดงถึงน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และนั้นทำให้เรื่องราวยิ่งปานปลายมากยิ่งขึ้น และถือว่าเป็นครั้งแรกที่ชาลี เอ็บโดจุดประกายความโกรธแค้นต่อใครหลายคน

     

     5- บรรณาธิการมูฮัมหมัดชาร์ลี Hebdo

    “จะเฆี่ยน 100 ครั้ง หากว่าผู้อ่านไม่ขำจนตาย!

     

                 ในปี 2011 ชาร์ลี เอบโดก็สร้างดราม่าอีก  เมื่อเขาได้นำพระศาสนานบี  มูฮัมหมัด  ขึ้นหน้าปกนิตยสารฉบับพิเศษพร้อมกับประโยคว่า “จะเฆี่ยน 100 ครั้ง หากว่าผู้อ่านไม่ขำจนตาย!

               ไม่กี่ชั่วโมงหลังนิตยสารวางจำหน่าย ช่วงเวลาเช้าสำนักงานในกรุงปารีสก็ถูกมือดีปาระเบิดเพลิงเข้าใส่ ผลของเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้สำนักงานถูกทำลายบางส่วน อีกทั้ง เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ถูกแฮ็ก พนักงานรวมถึง ทีมบรรณาธิการถูกขู่ฆ่า จนหลายคนคิดว่าเป็นจุดจบของชาร์ลี เอบโด แต่ผลออกมาปรากฏว่าเหตุการณ์ทั้งหมดนี้แต่ก็ไม่ได้ทำให้ชาร์ลี เอบโดหวั่นไหวแต่อย่างใด

     

    6- การตอบสนองเพลิงชาร์ลี Hebdo 

    “รักกันดีกว่าเกลียดชัง”

     

                 ไม่กี่วัน หลังสำนักงานสำนักงานในกรุงปารีสถูกไฟเผา ชาร์ลี เอบโดก็กลับมาวางจำหน่ายอีกครั้ง พร้อมกับการ์ตูนเสียดสี-ล้อเลียนที่ต่อมามีชื่อเสียงไปทั่วโลก เมื่อหนังสือพิมพ์ขึ้นปกเป็นตัวการ์ตูนชายชื่อ ชาร์ลี เอบโด จุมพิตดูดดื่มกับชายมุสลิมมีเครา ฉากหลังเป็นซากถูกจุดไฟเผา พร้อมพาดหัวว่า “รักกันดีกว่าเกลียดชัง” ยิ่งเพิ่มความเกลียดชังในโลกมุสลิมมากขึ้นไปอีก เหมือนเดิมเชื้อไฟไม่ปาน

     

    9- Intouchables ชาร์ลี Hebdo 

    Intouchables 2

     

                 ชาร์ลี เอบโดถือว่าการวิจารณ์ศาสนาอิสลามถือเป็นเรื่องปกติ เช่นเดียวกับ วิจารณ์ยิว ซึ่งยุโรปนั้นออกฎหมายคุ้มครอง อันเนื่องจากความรู้สึกผิดที่นาซีทำกับชาวยิว  โดยเฉพาะสื่อไม่สามารถเขียนข่าวด้านลบชาวยิวได้  ใครวิจารณ์ยิวในทางเสียหายจะถูกสังคมตำหนิ แต่ชาร์ลี เอบโดเชื่อว่ายมีเพียงฝรั่งเศสเท่านั้นที่เสรี สามารถด่าชาวยิว (รวมไปถึงมุสลินได้)

                 ในปี 2012 หลังจากชาร์ลี เอบโด ได้ดูภาพยนตร์เรื่อง  Intouchables ซึ่งเป็นเรื่องราวของชายผิวดำยากจนที่ต้องเป็นผู้ดูแลของผิวขาวที่เป็นอันพาต จนกลายเป็นแรงบันดาลใจวาดการ์ตูนล้อเลียนล้อเลียนชาวมุสลิมและชาวยิวในยุโรป ด้วยพาดหัวว่า Intouchables 2 (แตะต้องไม่ได้ สอง) และโปรยว่า “อย่ามาล้อเลียนเรา”  เป็นการล้อเลียนชาวยิวที่สื่อแตะต้องไม่ได้นั้นเอง

                 แน่นอนว่าปฏิกิริยาที่ตามมา ผลจากมุก Intouchables 2 ได้ทำให้เกิดความวุ่นวายไปทั่วโลก ทั่วโลกต่างประณามการ์ตูนของชาร์ลี เอบโด จนฝรั่งเศสต้องออกมาเตือนประชาชนของตนเองว่าให้ระมัดระวังตัวจากการทำร้าย

     

    10- tweet charlie hebdo 

    การ์ตูนล้ออาบูบาการ์ อัล บักดาดีมูลเหตุเกิดสังหารหมู่

     

    ในระยะหลังมานี้ ชาร์ลี เอ็บโด มักตีพิมพ์การ์ตูนเหน็บแนมและเสียดสีผู้ก่อการร้าย โดยเฉพาะ โอซามา บิน ลาเดน หัวหน้ากลุ่มอัล-กออิดะห์ (เสียชีวิตแล้ว) รวมถึงผู้นำกลุ่มหัวรุนแรงในตะวันออกกลางอีกหลายคน ไม่แปลกเลยที่หนังสือพิมพ์ฉบับนี้ตกเป็นเป้าโจมตีของผู้ก่อการร้ายหลายครั้ง แต่พวกเขาก็ไม่เคยละทิ้งอุดมการณ์ที่มี

    และล่าสุดคือ การ์ตูนล้อเลียนนายอาบูบาการ์ อัล บักดาดี แกนนำกลุ่มติดอาวุธรัฐอิสลามในอิรักและซีเรีย (กลุ่มไอเอส) ซึ่งไม่กี่ชั่วโมงก็มีการทวิตเตอร์ภาพล้อเลียนดังกล่าว จนทำให้พวกคนร้ายที่ก่อการร้ายก่อการนี้ โกรธแค้นชารลี เอ็บโด และต้องกลายเป็นเหยื่อของการระบายความไม่พอใจในที่สุด


     

    ฉันคือชาร์ลี” (Je suis Charlie)

     

    นี่คือส่วนหนึ่งของการ์ตูนล้อเลียนชาร์ลี เอ็บโด ที่ล้อยิวและมุสลิน อันเป็นมูลเหตุนำไปสู่การเกิดโศกนาฏกรรมที่คาดไม่ถึงในเวลาต่อมา และสำหรับผู้ชอบการ์ตูนเองก็คงตะหนักถึงการอิทธิพลของการใช้การ์ตูนล้อเลียนที่มีมากอย่างไม่น่าเชื่อ ยิ่งมุกที่ใช้ล้อเลียนนั้นเกินเลยเถิด พาดพิงถึงเชื้อชาติ ศาสนา บุคคลที่รัก ก็ย่อมมีผลด้านลบที่ตามมา และรุนแรงขึ้นจนยากจะแก้ไข

    และหลังเหตุการณ์ชาร์ลี เอ็บโดยังไม่ถอย ประกาศก้าวไม่ยอมแพ้ ซ้ำยังแรงกว่าเดิมด้วยซ้ำ เมื่อตีพิมพ์นิตยสารฉบับพิเศษหลังเหตุการณ์สังหารหมู่เมื่อ7 มกราคม  โดยภาพปกของฉบับนี้ได้ตีพิมพ์ภาพการ์ตูนล้อเลียนศาสดามูฮัมหมัดที่สวมผ้าโพกศีรษะสีขาวและร้องไห้ในมือถือป้ายฉันคือชาร์ลี”  พร้อมข้อความพาดหัวว่า ให้อภัยหมดแล้วซึ่งแน่นอนว่า การทำเช่นนี้เหมือนการราดน้ำมันเข้ากองเพลิง ไม่เป็นประโยชน์แก่ใครเลย แถมยังสร้างความโกรธแค้นและความเกลียดชังเพิ่มขึ้นไปอีก แทนที่จะสร้างสันติ และความเคารพซึ่งกันและกัน

    เรื่องของชาร์ลี เอ็บโดนั้น บ่บอกถึงทิฐิของทั้งสองฝ่าย ฝ่ายชาร์ลี เอ็บโดนั้นซ้ายจัดเกินไป คือเสรีมากเกินจน จนไม่ความเคารพสิทธิของผู้อื่น เกินเลยขอบเขตศีลธรรม ไม่เคารพสิทธิของผุ้อื่น ในขณะที่อีกฝ่ายคือกลุ่มก่อการร้ายที่อ้างเรื่องศาสนาแต่สิ่งที่แสดงออกนั้นคือความรุนแรง การฆ่าฟัน แสดงถึงความคิดที่สุดโด่ง ซึ่งไม่ได้เป็นคำสอนของศาสนาเลยแม้แต่น้อย อีกทั้งยังลากผู้บริสุทธิ์คนอื่นๆ ให้มาเดือดร้อนด้วย ซึ่งไม่ดีทั้งสองฝ่ายเลย

    แน่นอนว่าเรื่องราวของชาร์ลี เอ็บโดที่ล้อเลียนศาสนาอิสลามไม่จบลงง่ายๆ แน่ และบางทีเรื่องราวอาจลุกลามให้ใหญ่โตกว่าเดิมด้วยซ้ำ

     

     

    อ้างอิงจาก

    http://listverse.com/2015/01/09/10-incendiary-moments-in-the-history-of-charlie-hebdo/



     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×