วิศวะ ปิโตรเคมีเเละวัสดุพอลิเมอร์ ม.ศิลปากร - วิศวะ ปิโตรเคมีเเละวัสดุพอลิเมอร์ ม.ศิลปากร นิยาย วิศวะ ปิโตรเคมีเเละวัสดุพอลิเมอร์ ม.ศิลปากร : Dek-D.com - Writer

    วิศวะ ปิโตรเคมีเเละวัสดุพอลิเมอร์ ม.ศิลปากร

    โดย ~ UBYI ~

    ขอฝาก วิศวะ ปิโตรเคมีเเละวัสดุพอลิเมอร์ ม.ศิลปากร ไว้ในอ้อมใจ ท่านทั้งหลายจ้า

    ผู้เข้าชมรวม

    35,910

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    5

    ผู้เข้าชมรวม


    35.9K

    ความคิดเห็น


    140

    คนติดตาม


    13
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  22 พ.ย. 49 / 12:50 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ


      ปฐมลิขิต : บทความนี้เป็นบทความที่ผู้เยี่ยมชมส่งเข้ามาทาง ubyi@dek-d.com

      เจ้าของบทความ : pakphom9@hotmail.com

      -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

                ภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ (ชื่อเดิม ภาควิชาเทคโนโลยีวัสดุ) เป็นภาควิชารุ่นแรกที่เปิดสอนภายใต้คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม(ชื่อเดิมคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม)โดยการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมได้กระทำอย่างเป็นทางการเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมขึ้นในมหาวิทยาลัยศิลปากทบวงมหาวิทยาลัยและได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 108 ตอนที่ 193 ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2534


                 ปัจจุบันภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ เป็นภาควิชาที่มีจำนวนนักศึกษามากที่สุดในคณะฯคือมากกว่า 680 คนและเป็นภาควิชาที่ได้รับการยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับสากล มีผลคะแนนสอบคัดเลือกนักศึกษาเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยสูงเป็นอันดับต้นๆ ของสาขาวิศวกรรมศาสตร์ทั้งประเทศ มีคณาจารย์ชาวต่างประเทศทั้งจากสหรัฐอเมริกาแคนาดา เยอรมัน และญี่ปุ่น หมุนเวียนกันเข้ามาสอนในภาควิชาอย่างต่อเนื่องตลอดมาสำนักงานภาควิชาฯ ตั้งอยู่ที่ชั้น 7 อาคาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ภาควิชาฯ ให้บริการการเรียนการสอนเป็น 4 หลักสูตรได้แก่

    • หลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์ และ สาขาวิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ

    • หลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิทยาการ และ วิศวกรรมพอลิเมอร์

    • หลักสูตรระดับปริญญาเอก สาขาวิชาวิทยาการ และ วิศวกรรมพอลิเมอร์

                หลักสูตรที่ภาควิชาฯ เปิดสอนมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ คุณธรรม และความรับผิดชอบสูงออกไปรับใช้ประเทศในการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับวัสดุประเภทต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมการผลิตมอนอเมอร์ ตัวทำละลาย พลาสติก ยาง เส้นใย สิ่งทอ สี  สารเคลือบผิว โลหะและโลหะผสม เซรามิกส์และวัสดุประเภทเสริมแรงรวมทั้งวัสดุชนิดพิเศษต่างๆ เช่น วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ และวัสดุนาโนต่าง ๆ

                หลักสูตรในระดับปริญญาตรีทั้ง 2 หลักสูตรได้จัดร่างขึ้นโดยการผสมผสานกันระหว่างกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิชาด้านวัสดุศาสตร์ กลุ่มวิชาด้านวิศวกรรมกระบวนการเคมี และกลุ่มวิชาด้านการจัดการและเศรษฐศาสตร์ทำให้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรต่างๆ ที่ภาควิชาจัดสอนนี้นอกจากจะทราบถึงธรรมชาติและคุณสมบัติของวัสดุประเภทต่าง ๆ เป็นอย่างดีแล้ว ยังได้ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพ การออกแบบและวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการจัดการเป็นอย่างดีด้วย จึงสามารถปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมได้ทั้งด้านการควบคุมกระบวนการผลิต(Process Control) งานควบคุมคุณภาพ(Quality Control) งานวิจัยและพัฒนา (Research and Development) งานด้านการจัดจำหน่าย และให้คำปรึกษา ผู้จบการศึกษาจะได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ในสาขานั้น ๆ ตามเป้าหมายของหลักสูตร บัณฑิตของภาควิชาฯ ได้รับเกียรติบัตรต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องตลอดมา

      ในที่นี้พี่ขอเเนะนำ คณะวิศวะกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม  มหาวิทยาลัยศิลปากร

                      ในหลักสูตรปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์ ก่อนที่จะกล่าวถึงหลักสูตรปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์ ซึ่งเป็นหลักสูตรแรกที่ภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุเปิดสอนนั้น จะขอกล่าวถึงอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี เพื่อให้ผู้สนใจได้เข้าใจตรงกันเสียก่อน อุตสาหกรรมปิโตรเคมีจัดเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมเคมี แต่มีความแตกต่างจากอุตสาหกรรมการสํารวจและขุดเจาะปิโตรเลียมและอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมัน ดังนั้นสารปิโตรเคมีหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีจึงมีความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม

      พอก่อนแค่นี้แล้วกันนะครับ มีอะไรก็ถามได้ที่เวป  http://mse.su.ac.th นะครับ โชคดีในการสอบครับ…

    • นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×