ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    อิเหนา

    ลำดับตอนที่ #30 : ประวัติของเรื่องอิเหนา

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.52K
      3
      14 มิ.ย. 52

    ประวัติของเรื่องอิเหนา

    ใน   ปุณโณวาทคำฉันท์ ของพระมหานาควัดท่าทราย กล่าวถึงการสมโภชพระพุทธบาทพรรณนาการมหรสพต่าง ๆ ตอนหนึ่งว่า
                                                    “ร้องเรื่องระเด่นโดย          บุษบาตุนาหงัน
                                                    พักพาคูหาบรร                     พตร่วมฤดีโลม
     
                    ซึ่งแสดงว่าในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศมีเรื่องอิเหนาเล่นแล้ว กล่าวกันว่าเจ้าฟ้าหญิงกุณฑล เจ้าฟ้าหญิงมงกุฎ พระราชธิดาในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเป็นผู้นิพนธ์ โดยฟังเรื่องจาก นางข้าหลวงชาวมลายูชื่อยะโว เป็นผู้เล่า เห็นเป็นเรื่องสนุกจึงทรงนำมาแต่งเป็นบทละคร เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลทรงนิพนธ์เรื่องดาหลัง (อิเหนาใหญ่) เจ้าฟ้าหญิงมงกุฎทรงนิพนธ์อิเหนาเล็ก (คงจะเรียกตามเจ้าฟ้า องค์ใหญ่องค์เล็ก) สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงเชื่อว่า เรื่องดาหลังและเรื่องอิเหนาที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โดยรัชกาลที่ ๑ ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องดาหลังตลอดเรื่องและรัชกาลที่ ๒ ทรงพระราชนิพนธ์อิเหนาตลอดเรื่องเช่นเดียวกัน อิเหนาพระราชนิพนธ์รัชกาลที่  ๒ นี้ ได้รับคำยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของกลอนบทละครรำ
                    ละครรำ เป็น ละครใน ซึ่งกำหนดชื่อเข้าคู่กับละครนอก แบ่งกันอย่างชัดเจนเมื่อต้นรัตน โกสินทร์นี้เอง เดิมมีแต่ละครพื้นเมืองของชาวบ้านที่เล่นกันอยู่นอกพระราช ฐาน ใช้ผู้แสดงเป็นชายล้วน ครั้นมีละครภายในพระราชฐานขึ้นมาจึงเรียกชื่อ เป็นคู่กันว่าละครนอกและละครใน (คงมาจากคำว่าละครนอกพระราชฐาน กับละครนางใน หรือละครข้างใน)   ละครในดังกล่าวนี้กำหนดให้เล่นเพียง ๔ เรื่อง คือ รามเกียรติ์ อุณรุท ดา หลังและอิเหนา มุ่งหมายให้รักษาจารีตประเพณีของราชสำนัก ศิลปะการร่ายรำและ ท่าทาง เพลงที่ใช้และบทเจรจามีจังหวะนิ่มนวลไพเราะ เพื่อให้สมกับเป็นละคร แบบฉบับ
                    บ่อเกิดของเรื่องอิเหนานั้น พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าธานีนิวัติ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร ได้ทรงวิจารณ์เค้ามูลไว้โดยละเอียด มีทั้งอิเหนาที่เป็นคนจริงคืออิเหนาในประวัติศาสตร์เมื่อ พ.ศ. ๑๕๖๒ 
    นครดาฮา (ดาหา) ในชาวามีราชาองค์หนึ่งชื่อ ไอรลังคะ ทรงสร้างความรุ่งเรืองให้แก่ชวาเป็นอันมาก
    มีราชธิดาชื่อ กิลีสุจี และมีโอรส ๒ องค์ พระธิดานั้นพอเจริญวัยก็ได้ออกบวชเป็นชี เมื่อราชา      ไอรลังคะจะสวรรคต ได้แบ่งอาณาเขตออกเป็นสองส่วน คือแคว้นดาหาและกุเรปัน ให้ โอรสครองคนละแคว้น ต่อมาโอรสทั้งสองนั้น องค์หนึ่งมีพระโอรส อีกองค์หนึ่งมี ธิดา องค์ที่เป็นชายนั้นคืออิเหนา ที่เป็นหญิงคือ บุษบา พระนางกิลีสุจีซึ่ง บวชเป็นชีอยู่นั้น แนะนำให้ทายาทของสองนครนี้สมรสกันเพื่ออาณาจักรจะได้กลับ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเช่นเดิม อิเหนาเป็นกษัตริย์ที่มาอานุภาพมากแต่วงศ์ อิเหนาได้เริ่มเสื่อมเมื่อราว พ.ศ. ๑๗๖๔ อังรกะ ชิงราชสมบัติจากวงศ์อิเหนาได้ และตั้งราชธานีใหม่ชื่อ สิงหัส สาหรี (สังคัสซารี) ใน พ.ศ. ๑๘๓๖ กษัตริย์ที่สืบวงศ์จากราชาอังรกะได้ย้ายราชธานีไปตั้งที่มัชปา หิต (ใกล้เมืองสุราบายา) และสืบสันตติวงศ์ต่อมาจนถึงราว พ.ศ. ๒๐๐๐ จึงเริ่มเสื่อม ตกอยู่ในอำนาจชาวอินเดียถือศาสนาอิสลามที่อพยพเข้ามา อยู่ในชวา แล้วภายหลังกลับตกไปอยู่ในอำนาจโปรตุเกสและเนเธอร์แลนด์ในที่สุด
                    อิเหนากษัตริย์ชวาตามที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ เป็นกษัตริย์ที่ทรงอานุภาพมาก มีพระชนมายุอยู่ก่อนสมัยสุโขทัยเกือบ ๔๐๐ ปี ดังนั้นเรื่องที่เกี่ยวกับกษัตริย์องค์นี้เล่าสืบต่อมาก็กลายเป็นนิทานนิยายออกไปทุกที     เช่นเดียวกับเรื่องพระร่วงของไทย    นิทานอิเหนาในชวาเรียกว่าปันหยี   เนื้อเรื่องก็
    แตกต่างกันไปหลายฉบับ เช่น หิกะยัต ปันหยี สะมิรัง มี ฉบับแปลเป็นภาษามลายู เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๗๕ ชื่อ ปันหยี อังเกรนี เขมรก็มีเรื่องอิเหนาเหมือนกัน เนื้อความคล้าย เรื่องอิเหนาฉบับพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่   ๒ ของไทย
                    เรื่องอิเหนา ในชวาได้รับความนิยมยกย่องกันมาก เมื่อไทยนำมาสร้างเป็นบทละคร ก็ได้รับความนิยมอย่างสูง บทละครตั้งแต่ครั้งแรกกรุงเก่าใช้แสดงกันเรื่อยมา จนถึงสมัยกรุงธนบุรี ครั้นมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช ได้โปรดให้กวีช่วยกันรวบรวมแต่งเติมเรื่องดาหลังและอิเหนา ไว้ “แต่เรื่องต้นตกหายพลัดพรายไป” ดัง ที่ปรากฏในบทนำ คงเหลือสมบูรณ์อยู่เฉพาะเรื่องดาหลังหรืออิเหนาใหญ่ พระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนาขึ้นใหม่ มีความไพเราะจนได้รับการ ยกย่องจากวรรณคดีสโมสรดังกล่าวมาแล้ว
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×