ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วิทยาศาสตร์น่ารู้ (รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม)

    ลำดับตอนที่ #7 : นอนกรนเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 837
      1
      27 ธ.ค. 51

     การนอนกรนนั้นเป็นมากกว่าสาเหตุขัดขวางการนอนหลับในเวลากลางคืน แต่ยังอาจจะมีส่วนไปกระตุ้นให้ความดันโลหิตสูง ซึ่งนำไปสู่การเป็นโรคหัวใจ และโรคเส้นเลือดในสมองแตกได้ด้วย
     
          นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเซมเมลไวส์ ที่บูดาเปสต์ ในฮังการี ทำการศึกษาพบว่าการนอนกรนเสียงดังพร้อมกับหยุดหายใจเป็นพักๆนั้น มีส่วนเกี่ยวพันกับปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคเกี่ยวกับระบบหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น 

          วารสาร ?สลีป? รายงานการวิจัยว่า จากการสัมภาษณ์ชาวฮังการี 12,643 คน นักวิจัยพบว่าคนที่นอนกรนเสียงดังมีปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจวายเพิ่มขึ้น 34 เปอร์เซ็นต์ และมีโอกาสเป็นโรคเส้นเลือดในสมองแตกเพิ่มขึ้น 67 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับคนที่ไม่นอนกรน พร้อมกันนี้ยังได้คำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ อย่างเช่น อายุ เพศ ดรรชนีมวลกาย โรคเบาหวาน ระดับการศึกษา การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา มาร่วมพิจารณาด้วย
     
          การศึกษาครั้งนี้ยังพบว่าการกรนเป็นประจำนั้น พบได้ในกลุ่มผู้หญิง 24 เปอร์เซ็นต์ และ 40 เปอร์เซ็นต์ ในกลุ่มผู้ชาย ทั้งชายและหญิงมีแนวโน้มจะกรนมากขึ้นเมื่อแก่ตัวลง



    ที่มา: ไทยรัฐ/ข่าววิทยาการ. ปีที่ 59 ฉบับที่ 18313 วันพุธ ที่ 12 มีนาคม 2551

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×