ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วิทยาศาสตร์น่ารู้ (รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม)

    ลำดับตอนที่ #55 : ข้อมูลทางโภชนาการ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 6.45K
      2
      29 ธ.ค. 51

    คุณรู้ไหมอาหารหรือขนมที่คุณกินเข้าไปทุกๆ วันนั้น มีคุณค่าสารอาหารอะไรบ้าง  และใช่แบบ
    ที่ร่างกายคุณต้องการหรือเปล่า  ถ้าเป็นเมื่อก่อนคงรู้ได้ยาก  แต่ถ้าวันนี้มีวิธีง่าย ๆ  เพียงแค่พลิกฉลาก
    คุณก็จะเห็นกรอบ  ?ข้อมูลโภชนาการ?  ซึ่งอาจจะเป็น ที่คุณคุ้นตาบ้าง   แต่ยังไม่ทราบถึงประโยชน์อันมหาศาล
     
    เรามารู้จักข้อมูลทางโภชนาการกันดีกว่า
    ข้อมูลโภชนาการคืออะไร
     คือ  ข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในกรอบจากอาหารซึ่งแสดงคุณค่า  ชนิด  และปริมาณของสารอาหารที่มี
    ในอาหารนั้นๆ ข้อมูลเหล่านี้ได้จากการตรวจวิเคราะห์อาหาร  แล้วนำมาคำนวณและแสดงไว้ในกรอบตามรูปแบบที่กำหนดเพื่อความสะดวกต่อผู้บริโภค  ทั้งนี้  รวมถึงการกล่าวอ้าง  เช่น  แคลเซียมสูง ด้วย
    กรอบข้อมูลโภชนาการ  มีหลายรูปแบบ ทั้งแบบเต็ม  และแบบย่อ  ขึ้นอยู่กับจำนวนชนิดสารอาหารที่มีอยู่ในอาหารนั้น  และ  ขนาดพื้นที่ของฉลาก


    ข้อมูลโภชนาการดูแล้วได้อะไร
    1. ทำให้เรารู้ว่าอาหารที่เรากำลังจะซื้อนั้นมีสารอาหารอะไรบ้าง  เช่น มีโปรตีนเท่าไร  มีคาร์โบไฮเดรตเท่าไร  เป็นต้น  และยังรู้อีกด้วยว่าปริมาณที่มีนี้คิดเป็นสัดส่วนร้อยละเท่าไรของที่เราควรกินแต่ละวัน
    2. สามารถเปรียบเทียบและเลือกซื้ออาหารที่ให้ประโยชน์มากที่สุด  เพราะถึงแม้จะเป็นอาหารประเภทเดียวกัน  แต่ก็อาจให้สารอาหารไม่เท่ากันก็ได้
    3. สามารถเปรียบเทียบความคุ้มค่าได้ เช่น นมเปรี้ยวยี่ห้อ  A  มีสารอาหารมากกว่ายี่ห้อ  B  แต่ราคาเท่ากันหรือถูกกว่า  ก็ควรซื้อยี่ห้อ  A
    4. ทำให้หลีกเลี่ยงสารอาหารที่ไม่ต้องการได้  เช่น  ไขมัน  โคเลสเตอรอล  น้ำตาล  โซเดียม  เป็นต้น

    อาหารใดบ้างที่ต้องแสดงกรอบข้อมูลทางโภชนาการ


                อาหารที่ต้องแสดงกรอบข้อมูลโภชนาการนี้  ได้แก่  ?อาหารที่มีการกล่าวอ้าง? เท่านั้น ทั้งนี้อาหารที่ไม่เข้าข่ายนี้ก็อาจจะแสดงข้อมูลทางโภชนาการได้โดยสมัครใจ
    ?อาหารที่มีการกล่าวอ้าง? ได้แก่
    1. อาหารที่มีการกล่าวอ้างทางโภชนาการ  เช่น  มีแคลเซียมสูง  ไขมันต่ำ  เป็นต้น
    2. อาหารที่มีการกล่าวอ้างคุณค่าในการส่งเสริมการขาย  เช่น  บำรุงร่างกาย  ทำให้สดใสแข็งแรง  เพื่อสุขภาพ  เป็นต้น  (คุณค่าในทางยา  เช่น  ป้องกัน  รักษา  จะใช้กับอาหารไม่ได้)
    3. อาหารที่ระบุกลุ่มผู้บริโภคในการส่งเสริมการขาย  เช่น
    สำหรับนักบริหาร  สำหรับเด็ก  เป็นต้นอาหารเหล่านี้ 
    เราต้องดูข้อมูลในกรอบข้อมูลโภชนาการให้ละเอียดว่าเหมาะสม
    กับความต้องการของเราหรือไม่  เพื่อการบริโภคอย่างถูกต้องเพื่อ
    สุขภาพที่ดีของเรา

    ข้อมูลโภชนาการ

    หนึ่งหน่วยบริโภค  :  4 ลูก (140 กรัม  รวมน้ำเชื่อม)

    จำนวนหน่วยต่อผู้บริโภค  กระป๋อง  :  3

    คุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยผู้บริโภค

    พลังงานทั้งหมด  100  กิโลแคลอรี  (พลังงานจากไขมัน  0  กิโลแคลอรี)

    ร้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวัน*

    ไขมันทั้งหมด  0  ก.                                                                      0  %

             ไขมันอิ่มตัว    0  ก.                                                              0  %

    โคเลสเตอรอล  0  มก.                                                                     0  %

    ปรตีน                     น้อยกว่า   1  ก.

    คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด            25  ก.                                                      8  %

                   ใยอาหาร   น้อยกว่า   1  ก.                                                      3  %

                    น้ำตาล      25   ก.

    โซเดียม                    15   ก.                                                                                                1  %

    ร้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวัน*

    วิตามินเอ                 0  %                                 วิตามินบี  1                                       2  %

    วิตามินบี 2                        0  %                                 แคลเซียม                                         0  %

    เหล็ก                                 0  %

    *  ร้อยละของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่  6 ปีขึ้นไป  (Thai  RDI)  โดยคิดจากความต้องการพลังงานวันละ  2,000  กิโลแคลอรี

    ความต้องการพลังงานของแต่ละบุคคลแตกต่างกัน  ผู้ที่ต้องการพลังงานวันละ  2,000  กิโลแคลอรี  ควรได้รับสารอาหารต่างๆ ดังนี้

    ไขมันทั้งหมด                               น้อยกว่า                                65  ก.                                   

             ไขมันอิ่มตัว                         น้อยกว่า                                20  ก.                                                                                

    โคเลสเตอรอล  .                            น้อยกว่า                              300  มก.                                                                           

    คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด                                                                   300  ก.

                   ใยอาหาร                                                                                                    25  ก.

                    โซเดียม                                        น้อยกว่า                             2400  มก.                    

    พลังงาน  (กิโลแคลอรี)  ต่อกรัม  :  ไขมัน  =  9 ;  โปรตีน  =  4  ;  คาร์โบไฮเดรต  =  4



    ข้อมูลโภชนาการ....ดูง่ายๆ

    หนึ่งหน่วยบริโภค  หมายถึง  ?กินครั้งละ?  นั่นเอง  ในตัวอย่างนี้คือ  แนะนำให้กินครั้งละ  4  ลูก  หรือ 140  กรัมรวมทั้งน้ำเชื่อม
    จำนวนหน่วยบริโภคต่อกระป๋อง  หมายถึง  กระป๋องนี้กินได้กี่ครั้ง  ในตัวอย่างนี้  คือ  กินครั้งละ  4  ลูก  รวมน้ำเชื่อมได้  3 ครั้ง
    คุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค  หมายถึง  เมื่อคุณกินอาหารนี้แต่ละครั้ง  จะได้พลังงานหรือสารอาหารตามที่ระบุ  จากตัวอย่าง  กินลิ้นจี่หนึ่งหน่วยบริโภค   (4 ลูกรวมน้ำเชื่อม)  จะได้พลังงาน  100  กิโลแคลอรี
    ร้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวัน  หมายถึง  สารอาหารที่ได้รับจากการกินอาหารนี้  คิดเป็นสัดส่วนเท่าใดของที่เราควรจะได้รับต่อวัน  เช่น  ปริมาณคาร์โบไฮเดรต  25 กรัม  จึงคิดเป็น  8  %  ของปริมาณที่แนะนำ  ดังนั้น  เราต้องกินอีก  92  %  จากอาหารอื่น
    Thai  RDI  หมายถึง  ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุ  6  ปีขึ้นไป
    เราสามารถคำนวณหาปริมาณพลังงานได้เอง  จากค่าเหล่านี้  จะเห็นว่าเมื่อเทียบน้ำหนัก  1  กรัมเท่ากัน ไขมัน
    ให้พลังงานมากกว่าโปรตีนหรือคาร์โบไฮเดรต  ถึง  2  เท่า

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×