ลักษณะเนื้อหาวรรณคดีสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น - ลักษณะเนื้อหาวรรณคดีสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น นิยาย ลักษณะเนื้อหาวรรณคดีสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น : Dek-D.com - Writer

    ลักษณะเนื้อหาวรรณคดีสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น

    โดย tippow

    รายงานจ้า

    ผู้เข้าชมรวม

    12,568

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    13

    ผู้เข้าชมรวม


    12.56K

    ความคิดเห็น


    2

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  1 ก.ย. 66 / 17:57 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    href="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_filelist.xml" /> href="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_editdata.mso" />

      ลักษณะเนื้อหาวรรณคดีสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น

    หลังจากการรบถึง ๑๕ ปีในสมัยธนบุรี ก็ทำให้ศิลปวัฒนธรรมถูกทำลายสูญหายไป รวมไปถึงวรรณคดีหลายเรื่อง ประชาชนยังหวาดกลัวกับสงคราม ทำให้กษัตริย์ต้องเร่งฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทยเพื่อสร้างกำลังใจและความบันเทิงใจให้ประชาชนโดยการฟื้นฟูหรือเพิ่มเติมวรรณคดีจากสมัยอยุธยาบ้าง หรือประพันธ์วรรณคดีใหม่ ๆ บ้างที่ผลงานจำนวนมากปรากฏแบบแผนและวิธีการทุกประเภทเด่นชัดตามแบบอย่างกรุงศรีอยุธยา ซึ่งบางเรื่องยังคงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในปัจจุบันอีกด้วย  และมีเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นลักษณะให้ความรู้ คติธรรม และแนวทางในการดำเนินชีวิต นอกจากนี้ยังเด่นในเรื่องอื่น ๆ อีกมากมาย

    ๑. เนื้อเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนา  ศีลธรรม  คำสั่งสอน  รวมทั้งสุภาษิตข้อเตือนใจหรือโอวาท ชาดก โดยในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกก็ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ชำระพระไตรปิฎกเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่บรรจุคำสอนของพระพุทธศาสนาเอาไว้เพื่อบำรุงพระพุทธศาสนาในสังคม วรรณคดีที่แต่งขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะปลูกฝังศีลธรรมอันดีงามภายหลังสงครามและสั่งสอนให้ประชาชนเชื่อบาปบุญคุณโทษ  ได้แก่  ไตรภูมิโลกวินิจฉัย  รัตนพิมพวงศ์  และมหาวงศ์  ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก ๑๑ กัณฑ์ (ยกเว้นกัณฑ์มหาพนและกัณฑ์มัทรี) และพระธรรมเทศนาพระราชพงศาวดารสังเขป ส่วนวรรณคดีที่เป็นคำสอนได้แก่ กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ ที่เป็นวรรณคดีสอนหญิงในการครองเรือนกับสามีว่าควรประพฤติปฏิบัติอย่างไรให้เหมาะสม นอกจากนี้ก็ยังมีโลกนิติคำโคลงซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง เป็นวรรณคดีที่มีสุภาษิตที่บรรพบุรุษของไทยนับถือ นำไปเล่าเรียน สั่งสอน และประพฤติปฏิบัติกันอย่างกว้างขวาง เป็นที่รู้จักกันดี ในหมู่ประชาชนคนไทยทุกหมู่เหล่า ทุกสถานะอาชีพต่อเนื่องกันมาช้านานจนถึงปัจจุบัน

    ๒. เนื้อเรื่องเกี่ยวกับการให้บันเทิง ซึ่งในสมัยนี้ได้แบ่งวรรณคดีไว้หลายลักษณะด้วยกันกล่าวคือ

    วรรณคดีที่มีลักษณะเป็นนิทาน ซึ่งจะเป็นเรื่องเล่าแต่จะแฝงไปด้วยข้อคิด และคำสอนได้แก่ รามเกียรติ์  สามก๊ก  ราชาธิราชซึ่งเป็นวรรณคดีจะยกย่องผู้กล้าหาญในการรบ  ความฉลาด  และการมีไหวพริบในการสงคราม โดยมุ่งที่จะปลุกใจให้เกิดความฮึกเหิม  มีความกล้าหาญ ลิลิตเพชรมงกุฎ อิเหนาคำฉันท์ โดยโครงเรื่องสำคัญเป็นเรื่องการชิงบุษบาระหว่างอิเหนากับจรกา เรื่องความรักระหว่างอิเหนากับบุษบา ลิลิตพระศรีวิชัยชาดก และเรื่อง สมบัติอมรินทร์คำกลอน ได้รับการยกย่องว่าเป็น "แบบนิทานคำกลอนเล่มแรกในวงวรรณคดี" เป็นการเล่าเรื่องเกี่ยวกับพระอินทร์

    วรรณคดีที่มีลักษณะเป็นนิทานคำกลอนซึ่งได้รับความนิยมมาเป็นเวลานานตั้งแต่สมัยอยุธยา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเรื่องจักรๆวงศ์ๆ หรือนิทานประโลมโลก คำว่า  "จักร" และ "วงศ์" เป็นคำประกอบชื่อตัวเอกของเรื่อง เช่น จักรแก้ว ลักษณวงศ์ สุวรรณวงศ์ซึ่งมีความหมายแสดงถึงความมีค่าหรือของสูงตรงกับรสนิยมของคนไทย แต่ก่อนนิทานคำกลอนแต่งด้วยกาพย์และกลอนสวดคละกัน เริ่มนิยมแต่งเป็นคำกลอนในสมัยรัชกาลที่ ๓ มาจนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ ดังจะเห็นได้จากนิทานคำกลอนหลาย ๆ เรื่อง เช่น นิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณีและนิทานคำกลอนเรื่องอื่นๆ

    วรรณคดีที่มีลักษณะเป็นวรรณคดีนิยาย วรรณคดีประเภทนี้ถ้าเขียนเป็นการประพันธ์ประเภทกลอนจะเรียกว่ากลอนประโลมโลกย์เขียนเป็นกลอน เช่น พระอภัยมณี เสภาขุนช้าง - ขุนแผน เป็นต้น

    วรรณคดีที่มีลักษณะเป็นกลอนเพลงยาว สมัยรัตนโกสินทร์ กลอนเพลงยาวได้พัฒนาไปอย่างมากทั้งด้านรูปแบบและเนื้อหา เช่น กลอนเพลงยาวเจ้าพระ เพลงยาวต่างๆ ในรัชกาลที่ ๓ กลอนเพลงยาวเฉลิมพระเกียรติ์ กลอนเพลงยาวฉลองสระบางโขมดกลอนเพลงยาวว่าพระมหาเทพ กลอนเพลงยาวจดหมายเหตุเรื่องกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพทรงประชวร อาจจะกล่าวได้ว่าสุนทรภู่เป็นผู้ที่ทำให้กลอนเพลงยาวมีรูปแบบ กลอนเพลงยาว มักจะหมายความถึงจดหมายรักที่ชายเขียนถึงหญิง มีเนื้อหาในเชิงเกี้ยวพาราสี ฝากรัก และตัดพ้อเมื่อไม่สมหวัง แต่กลอนเพลงยาวไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับความรักเพียงอย่างเดียวส่วนเนื้อหาของกลอนเพลงยาวในสมัยรัตนโกสินทร์ก็มีความหลากหลายมากขึ้น มีทั้งที่แต่งเป็นนิราศ เช่น กลอนเพลงยาวรบพม่าที่ท่าดินแดง

    ๓. เนื้อเรื่องเกี่ยวกับการยอพระเกียรติและวรรณคดีเชิงประวัติศาสตร์ วรรณคดีที่มีเนื้อเรื่องสดุดีหรือสรรเสริญพระอัจฉริยภาพของพระมหากษัตริย์ในด้านการรบ การปกครองบ้านเมือง พระบารมีและพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกร การเขียนส่วนใหญ่จะคล้ายกับสมัยอยุธยาตอนกลาง คือสรรเสริญพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ในทุกด้าน ไม่เน้นหนักแต่เฉพาะด้านการรบเพียงด้านเดียว กวีจะกล่าวถึงพระราชกรณียกิจและเหตุการณ์สำคัญในสมัยนั้น ทั้งนี้เพราะเป็นบุคคลร่วมสมัยกับพระมหากษัตริย์ที่ตนประพันธ์วรรณคดีขึ้นสรรเสริญ จึงทำให้ได้พบเห็นหรือได้รับรู้เหตุการณ์จากการบอกกล่าวมาอีกต่อหนึ่ง นอกจากนี้กวีบางท่านก็มีโอกาสรับราชการสนองงานอย่างใกล้ชิด จึงทำให้ทราบเหตุการณ์สำคัญอย่างละเอียด ตลอดจนพระราชจริยาวัตรและพระอุปนิสัย วรรณคดีเฉลิมพระเกียรติประเภทนี้ได้แก่ โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี  โคลงสรรเสริญพระเกียรติพระพุทธเลิศหล้านภาลัยหรือโคลงปราบดาภิเษก และโคลงดั้นสรรเสริญพระเกียรติรัชกาลที่ ๓ คราวปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ ส่วนโคลงเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ ๑ โคลงดั้นสรรเสริญพระเกียรติรัชกาลที่ ๒ กลอนเพลงยาวเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ ๓ และโคลงแลกลอนยอพระเกียรติสามรัชกาล ผู้ประพันธ์ล้วนเป็นผู้ที่รับราชการในสมัยนั้นและมีผู้บอกเล่าเหตุการณ์ให้กวีทราบ มีลิลิตตะเลงพ่ายเพียงเรื่องเดียวที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงศึกษาเหตุการณ์จากพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพระพนรัตน์แล้วทรงเกิดความประทับพระทัยในวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวร ส่วนใหญ่จะเขียนเฉลิมพระเกียรติในด้านการรบตามข้อความที่ปรากฏในพระราชพงศาวดาร มีเพียงบางตอนที่ทรงแต่งเพิ่มเข้าไป เพื่อให้ได้อรรถรสเชิงวรรณคดี

    ๔. เนื้อเรื่องเกี่ยวกับตำราพิชัยสงคราม เป็นคำที่ใช้เรียกหนังสือหรือเอกสารที่มีการรวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับกลยุทธ ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีการรบต่างๆ อาทิ การรุก การตั้งรับ การแปรขบวนทัพ การใช้อุบายทำลายข้าศึก เป็นต้น หนังสือจำพวกนี้ในบางแห่งมักจะมีการใส่เนื้อหาที่เป็นความเชื่อทางด้านโหราศาสตร์เข้ามาประกอบ เช่น การดูฤกษ์ยามในการเคลื่อนทัพ การทำพิธีข่มขวัญข้าศึกและบำรุงขวัญฝ่ายตน หนังสือพงศาวดารจีนบางเรื่องที่มีการกล่าวถึงการรบและการใช้อุบาย เช่น สามก๊ก มีบ่อยครั้งที่กำลังทหารที่มีกำลังไพร่พลน้อยกว่ากลับเอาชนะกำลังทหาร ที่มีกำลังไพร่พลมากกว่าได้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดคือกลยุทธ์ในด้านยุทธศาสตร์และการชำนาญภูมิศาสตร์สถานที่ในการทำศึกสงคราม

    ๕. เนื้อเรื่องเกี่ยวกับกฎหมาย เกิดขึ้นเพื่อเป็นกฎหมายสำหรับบ้านเมือง เพื่อมุ่งสร้างระเบียบทางสังคม ปลูกฝังความภาคภูมิใจในชาติของตน  และการอยู่ร่วมกันอย่างมีระเบียบ  ได้แก่  กฎหมายตราสามดวง ซึ่งเป็นหนังสือที่รวบรวมตำรากฎหมายเก่าซึ่งถือเป็นหลักในการพิจารณาตัดสิน ความมาแต่โบราณ เป็นประโยชน์ทั้งแก่นักนิติศาสตร์และวรรณคดีอีกด้วย 

    ๖. เนื้อเรื่องเกี่ยวกับการแสดง จะมีทั้งบทละครในและนอก ได้แก่ รามเกียรติ์ และอุณรุท ดาหลัง อิเหนา ที่นำมาแสดงโดยนางในราชสำนัก บทละครนอก  เรื่องสังข์ทอง มณีพิชัย และไชยเชษฐ์ เสภา เป็นบทกลอนชนิดหนึ่งใช้ขับเพื่อความบันเทิง ได้รับความนิยมในหมู่นักเลงกลอนตั้งแต่สมัยอยุธยา และกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งใน สมัยรัชกาลที่ ๒ และ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ผู้แต่งเสภามักจะเลือกหานิทานนิยายเรื่องเล่าที่ตนเคยรู้จัก มาแต่งเป็นเรื่องราวต่อเนื่องกัน เช่น เสภาพระราชพงศาวดาร และเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน (บางตอน) เพื่อใช้ขับเสภาให้พระเจ้าแผ่นดินฟัง บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนมีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน ที่มีชีวิตอย่างคนธรรมดาซึ่งมีทั้งทุกข์และสุข ความสมหวัง และความผิดหวัง แก่นสำคัญของเรื่องกล่าวถึงรักสามเส้าของขุนแผน ขุนช้าง และนางพิมหรือนางวันทอง บางตอนกล่าวถึงพระมหากษัตริย์บ้าง แต่มิได้ต้องการแสดงเรื่องราวของพระมหากษัตริย์ 

    ท่านสุนทรภู่ได้แต่งบทละครเพียงเรื่องเดียวเท่านั้น คือ เรื่องอภัยนุราช ส่วนบทละครเรื่องระเด่นลันได ถ้าอ่านโดยไม่ทราบเค้ามูลก็คงจะเข้าใจว่าเป็นบทแต่งสำหรับเล่นละครตลก แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น หนังสือเรื่องระเด่นลันไดนี้ที่แท้เป็นจดหมายเหตุ หากผู้แต่งประสงค์จะจดให้ขบขันสมกับเรื่องที่จริง จึงแกล้งแต่งเป็นบทละครสำหรับอ่านเล่น ไมได้ตั้งใจจะให้เป็นบทเล่นละคร

    ๗. เนื้อเรื่องเกี่ยวกับนิราศ เป็นบทประพันธ์ที่แต่งขึ้นเพื่อบรรยายถึงสภาพการเดินทาง ด้วยสมัยก่อนการเดินทาง ค่อนข้าง ลำบากและใช้เวลานาน นักเดินทางจึงแก้ความเหงาเบื่อด้วยการประพันธ์บท กวี พรรณนาถึงการเดินทาง และสภาพภูมิประเทศ โดยมากมักโยงเข้ากับความรัก เช่น นิราศกวางตุ้งที่กล่าวถึงความสัมพันธ์กับกรุงจีน โดยพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดฯ ให้แต่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับเซียนหลงฮ่องเต้ ณ กรุงปักกิ่ง นิราศเดือน โคลงนิราศไปทัพเวียงจันทร์ โคลงนิราศพระประธม โคลงนิราศสุพรรณ โคลงนิราศนรินทร์ เป็นการคร่ำครวญและพรรณนาความรู้สึกอาลัยอาวรณ์ที่มีต่อหญิงคนรัก และเล่าถึงการเดินทาง เมื่อผ่านภูมิประเทศต่างๆ

                วรรณคดีสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้นนี้ได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีสมัยอยุธยาเป็นอย่างมาก และถึงแม้กษัตริย์บางพระองค์จะไม่คุ้นชินกับการประพันธ์แต่พระองค์ก็ทรงพยายามเพื่อราษฎร และรณรงค์ให้เกิดวรรณคดีหลาย ๆ เรื่องขึ้นมา และในสมัยนี้ก็เกิดนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงและมีความสามารถมากมายหลายท่านทำให้เกิดวรรณคดีที่มีคุณค่าและคู่ควรแก่การศึกษาอย่างยิ่ง นอกจากจะมีเนื้อหาที่ดึงดูดใจน่าอ่านแล้วยังเต็มไปด้วยลักษณะการประพันธ์ที่งดงามอีกด้วย

    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×