ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รักษ์ รักภาษาไทย

    ลำดับตอนที่ #1 : ความสนุกในวัดเบญจมบพิตร

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 179
      1
      10 ม.ค. 55

      "ความสนุกในวัดเบญจมบพิตร"

    เนื้อเรื่องย่อ  ผู้เขียนทรงแต่งเรื่องนี้ขึ้น  โดยใช้วิธีเขียนแบบบันทึก  เล่าเรื่องการออกร้านในวัดเบญจมบพิตร   ในสมัยรัชกาลที่ 5  ซึ่งจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในฤดูหนาว  วัตถุประสงค์เพื่อเก็บเงินบำรุงวัด  สร้างในส่วนที่ยังไม่เสร็จ  งานนี้นับว่าเป็นงานที่ยิ่งใหญ่  มีการออกร้านมากมายและสนุกสนานยิ่งนัก  มีทั้งร้านของพระมหากษัตริย์ร้านของเจ้านายทั้งฝ่ายในฝ่ายหน้า  ร้านของข้าราชการ  และประชาชน และร้านของชาวต่างประเทศที่มาพึ่งโพธิสมภาร ในงานมีการนมัสการพระประธานในพระอุโบสถ การตักบาตร  สนุกกับการละเล่นและมหรสพต่างๆ อีกด้วย งานนี้จึงสนุกสนานและให้ประโยชน์ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมประเพณี  
    ๑. วัดเบญจมบพิตร

            ๑.๑     วัดเบญจมบพิตรมีชื่อเต็มว่า  " วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม  "   สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว    ตั้งอยู่ที่ถนนศรีอยุธยาทางด้านใต้ของสนามเสือป่า   เขาดินวนา   เดิมเป็นวัดโบราณ   ชื่อวัดแหลม    หรือวัดไทรทอง   ได้มีการปฏิสังขรณ์   ในรัชกาลที่     โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ   กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์   พระราชโอรสพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย     ได้ทรงปฏิสังขรณ์และขนานนามว่า   วัดเบญจบพิตร   ( ไม่มีตัว ม )   หมายถึงพระอนุชาและพระขนิษฐา   ที่ร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกันซึ่งมีอยู่   ๕  พระองศ์   ต่อมาในสมัยรัชกาลที่  ๕  โปรดเกล้า ฯ  ให้ขยายเขตวัดพระราชฐานไปในตัวด้วย  แล้วทรงเปลี่ยนนามวัดเป็น    วัด " เบญจมบพิตรดุสิตวนาราม "  ซึ่งมีความหมายว่า   เป็นวัดของพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่  ๕   ในพระบรมราชจักรีวงศ์   
        ๑.๒     สถาปนิกผู้ออกแบบและเป็นประธานในการก่อสร้างวัดเบญจมบพิตร   คือ   สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ผู้ทรงพระปรีชาสามารถเชิงศิลปะอีกหลายด้าน
        ๑.๓     ในการสร้างวัดเบญจมบพิตรนี้   รัชกาลที่ ๕  ทรงมีพระราชประสงค์  ๔  ประการ   คือ
                    ๑)   จะให้เป็นวัดแสดงแบบอย่างการช่าง  ศิลปกรรม   วิจิตรศิลป์  และวัฒนธรรมของไทยในสมัยของพระองค์   ซึ่งใช้ในการคำนวณและออกแบบตามหลักวิชาของตะวันตก
                    ๒)   จะให้เป็นวัดวิทยาลัย    ที่ศึกษาหลักวิชาการทางพระพุทธศาสนา   และสามัญศึกษาของกุลบุตรด้วย
                    ๓)   จะให้เป็นที่รวบรวมพระพุทธรูปโบราณต่างๆ  ของไทย
                    ๔)   จะให้เป็นวัดที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคาร (เถ้ากระดูก) ของพระองค์

    ๒.      สิ่งที่น่าสนใจในวัดเบญจมบพิตร 
         ๒.๑     พระอุโบสถทำด้วยหินอ่อน  จึงเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า   The Marble  Temple
     รูปทรงของพระอุโบสถหลังนี้มีผู้กล่าวว่า  เป็นยอดของสถาปัตยกรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์  กล่าวคือ  เป็นรูปทรงจตุรมุข   มีหน้าบันของมุขเด็จแต่ละด้านมีลวดลายไทยสลักเป็นรูปต่างๆ   สวยงามน่าชมมาก
           ๒.๒     พระพุทธรูปที่ประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ในพระอุโบสถ   คือ  พระพุทธชินราชจำลอง  โปรดเกล้า ฯ  ให้ช่างหลวงขึ้นไปจำลองแบบจากองค์เดิมที่จังหวัดพิษณุโลก
           ๒.๓     พระระเบียงวิหารคด   รอบระเบียงนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ    ทั้งที่เป็นองค์จริงและที่จำลองขึ้น   ตั้งเรียงรายอยู่บนฐานบัวเป็นระยะๆ   มีรวมทั้งหมด  ๕๒  องค์   ที่มุขเด็จด้านตะวันตก  ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่ปิดทองอยู่ติดผนังหลังพระพุทธชินราช   พระพุทธรูปนี้เรียกกันอย่างเป็นสามัญว่า  หลวงพ่อธรรมจักร   ถือเป็นพระศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งของวัด
          ๒.๔     ต้นพระศรีมหาโพธิ์พันธุ์พุทธคยา   ทางด้านหลังวิหารคดมีต้นพระศรีมหาโพธิ์   ซึ่งได้มาเป็นต้นแรกในรัชกาลที่  ๕
           ๒.๕     พระที่นั่งทรงธรรม   สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี   ทรงสร้างโดยเสด็จพระราชกุศลในคราวสถาปนาวัด
            ๒.๖     ภาพปูชนีย์สถานสำคัญ  ๘  แห่งของไทย   อยู่ตรงผนังมุมหักมุขทั้ง  ๘  ด้าน
            ๒.๗     พระวิหารสมเด็จ  ส.ผ.   พระวิหารใหญ่หลังนี้สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ    ทรงสร้างโดยเสด็จพระราชกุศลในคราวสถาปนาพระอาราม  ( ส.ผ.  เป็นอักษรย่อของพระนามเดิมว่า เสาวภา  ผ่องศรี)

    ๓.      งานออกร้านในวัดเบญจมบพิตร

            ๓.๑     งานออกร้านในวัดเบญจมบพิตร
                    ๓.๑.๑   ร้านของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  และเจ้านายทั้งฝ่ายหน้าฝ่ายใน
                    ๓.๑.๒   ร้านข้าราชการผู้ใหญ่  ผู้น้อย
                    ๓.๑.๓   ร้านของชาวต่างประเทศผู้เป็นนายห้างใหญ่ๆ 
                    ๓.๑.๔   ร้านขายธูปเทียนดอกไม้และทองเปลว
             ๓.๒     ประโยชน์ที่ได้จากการจัดงานออกร้าน
                   ๓.๒.๑   ด้านวัฒนธรรม    การจัดงานที่วัดย่อมจะต้องมีการแสดงด้านศิลปวัฒนธรรม  การแต่งกายและดนตรีตามความนิยมของคนไทย  นอกจากนั้นยังมีการทำบุญ    มีพิธีกร   และประเพณีต่างๆ  สอดแทรกอยู่ในงานวัดอีกด้วย
                   ๓.๒.๒   ด้านสังคม      มีการพบปะสังสรรค์   และร่วมงานกุศลกันที่วัด   โดยมีบุคคลต่างฐานะ  ต่างเพศต่างวัย   มาชุมนุมกัน   องค์พระประมุขของชาติก็ได้มีโอกาสเสด็จมาให้ราษฎรและข้าราชการเฝ้าอย่างใกล้ชิด  ก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน
                  ๓.๒.๓   ด้านเศรษฐกิจ    มีการซื้อขายสินค้านานาชาติ    ทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียน  คนมีเงินก็จ่ายซื้อของต่างๆ   คนค้าขายก็ขายสินค้าได้ราคา   เป็นผลให้เศรษฐกิจของส่วนรวมดีขึ้น  และทางวัดก็ได้เงินไปบำรุงวัดช่วยในการก่อสร้างสำเร็จเรียบร้อยในโอกาสต่อมา

    ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง  " ความสนุกในวัดเบญจมบพิตร "
          ๑. การบันทึกประสบการณ์ในอดีตไว้เป็นสิ่งที่มีคุณค่า   เพราะช่วยทำให้คนรุ่นหลังได้ทราบเรื่องต่าง  ๆ   ที่น่าสนใจ   งานเขียนในลักษณะนี้จัดอยู่ในประเภทสารคดี  เพราะเป็นเรื่องที่เขียนขึ้นจากความจริง  มุ่งให้ความรู้และเพลิดเพลินด้วย
           ๒. การจัดงานวัดเป็นวิธีหนึ่งช่วยดึงความสนใจของคนให้มารวมอยู่ที่วัด   ทำให้เกิดศรัทธาที่จะทะนุบำรุงวัด    และเป็นการบำรุงพระพุทธศาสนาไปด้วย
           ๓.  ผู้ที่ไปชมงานวัด   ไม่ว่าจะเป็นบุคคลเพศใด   วัยใด   และมีฐานะทางสังคม  อย่างไรย่อมได้ประโยชน์กลับไปตามความสนใจของตน
           ๔.      สถานที่หนึ่งในสมัยหนึ่งก็ย่อมมีความหมายแก่คนในสมัยนั้นอย่างหนึ่ง   ครั้นกาลเวลาผ่านไปสถานที่แห่งเดียวกันนั้นย่อมมีความหมายที่เปลี่ยนไปสำหรับคนรุ่นหลังๆ 

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×