ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมบทความการเมือง

    ลำดับตอนที่ #86 : ว่าด้วยคำพิพากษากรณีสุเทพกับทักษิณเรื่องปธน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 269
      0
      8 ม.ค. 53

    เปิดคำพิพากษาศาลยกฟ้อง"เทือก"หมิ่น"แม้ว" เหตุโจทก์มีพฤติการณ์ไม่เหมาะต่อพระมหากษัตริย์ (รายงานพิเศษ)

    หมาย เหตุ: เมื่อเวลา 9.30 น.วันที่ 22 มิถุนายน ที่ห้องพิจารณาคดี 902 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลพิพากษายกฟ้องคดีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตี เป็นโจทก์ฟ้องนายสุเทพ เทือกสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคงเป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 กรณีเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ผ่านมา จำเลยได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนทำนองว่า โจทก์ไม่ยอมแพ้ทางการเมือง และต้องการจะกลับมาเป็นประธานาธิบดี โดยมีคำพิพากษาโดยย่อดังนี้

    "ระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พระธรรมวิสุทธิมงคล(หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)เห็นว่าโจทก์มีพฤติกรรมเหยียบย่ำ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ จึงได้เทศนาสั่งสอนโจทก์เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2548ว่า อย่าคิดอาจเอื้อมเป็นประธานาธิบดี..."

    คดีนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นโจทก์ฟ้องนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ข้อหาหมิ่นประมาทที่ศาลอาญา สืบเนื่องจากนายสุเทพ ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนเมื่อวันที้ 3 กุมภาพันธ์ 2552 ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ คิดจะกลับมาเป็นประธานาธิบดีและยังได้กล่าวอภิปรายในสภาเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2552 ว่า "ผมเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชอบระบอบประธานาธิบดี ในจิตใจส่วนลึกของพ.ต.ท.ทักษิณ อยากเป็นประธานาธิบดี จึงขอให้ศาลลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328

    ศาลได้ไต่สวนมูล ฟ้องและได้นัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 22 มิถุนายน 2552 เวลา 09.30 น.ศาลได้มีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริตเพื่อความชอบ ธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับตนตามครอบธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(1) ทั้งนี้ศาลได้พิเคราะห์จากพยานหลักฐานในชั้นไต่สวนมูลฟ้องสรุปได้ว่า

    โจทก์ เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ระหว่างปี 2544-2549 ระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พระธรรมวิสุทธิมงคล(หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)เห็นว่าโจทก์มีพฤติกรรมเหยียบย่ำ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ จึงได้เทศนาสั่งสอนโจทก์เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2548ว่า อย่าคิดอาจเอื้อมเป็นประธานาธิบดี รายละเอียดปรากฎตามหนังสือฯเอกสารหมาย ล.4 และในส่วนตัวโจทก์เองก็ได้แสดงพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมต่อองค์พระมหากษัตริย์ คือเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2548 โจทก์ได้พูดกับกลุ่มบุคคลที่หอประชุมอินดอร์สเตเดียม หัวหมาก ด้วยข้อความไม่เหมาะสมต่อองค์พระมหากษัตริย์

    ต่อมาเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2549 โจทก์ได้พูดในรายการนายกฯทักษิณคุยกับประชาชน ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เรื่องการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของโจทก์ โดยใข้ถ้อยคำไม่เหมาะสมต่อองค์พระมหากษัตริย์ และเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2549 โจทก์ได้พูดต่อข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาลว่า มีผู้มีบารมีเหนือรัฐธรรมนูญก่อความวุ่นวายต่อระบอบประชาธิปไตยมากเกินไป จนทำให้นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า การกระทำของโจทก์ทำให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัยว่าโจทก์ไม่ปกป้องต่อสถาบันพระ มหากษัตริย์ ดังปรากฎตามหนังสือพิมพ์เอกสารหมาย ล.26และ ล.27

    เมื่อ โจทก์พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว ได้มีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง โจทก์ได้โทรศัพท์พูดคุยกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคพลังประชาชน ระหว่างสัมมนาที่โรงแรม ที่อำเภอเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา โดยโจทก์ยอมรับว่าคนเสื้อแดงเป็นพลังสนับสนุนที่สำคัญของโจทก์ ตามเอกสารหมาย ล.1 การชุมนุมของคนเสื้อแดงทุกครั้งได้นำรูปโจทก์ขึ้นนำขบวน ปรากฎตามเอกสารหมาย ล.12,ล.15 โจทก์ยังได้พูดคุยกับกลุ่มคนเสื้อแดง เรียกร้องให้บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย ขึ้นกล่าวปราศรัยบนเวทีของคนเสื้อแดง

    นอกจากนี้ ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิศิริ ก็ได้อภิปรายยอมรับต่อที่ประชุมสภาเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2552 ว่า"พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชนและพรรคเพื่อไทย มีความเชื่อมโยงกันเป็นเนื้อเดียวกันและพรรคเพื่อไทยก็ได้จัดทำเสื้อแดง เตรียมไว้ให้กับบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับกลุ่มคนเสื้อแดงที่มาชุมนุมวันที่ 15 ธันวาคม 2551 ตามเอกสาร ล.10,ล.11 และการชุมนุมของคนเสื้อแดงทุกครั้งมักจะพูดพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น การชุมนุมเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2550,วันที่ 10 มิถุนายน 2551,วันที่ 15 สิงหาคม 2551

    โดยเฉพาะการชุมนุมที่หน้ารัฐสภาเมื่อ วันที่ 29 ธันวาคม 2551 กลุ่มคนเสื้อแดงได้นำพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จพระนาง
    เจ้าพระบรมราชินีนาถติดไว้ที่ฉากหลังเวทีโดยมีข้อความที่ ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง ปรากำตามเอกสารหมาย ล.18 ต่อมาเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2552 มีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงหลายครั้งและมีการตั้งโต๊ะเสนอให้ยกเลิก ประมวลกฎหมายอาญาข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ปรากฎตามเอกสารหมาย ล.16,ล.20

    จาก พฤติกรรมของโจทก์เป็นผลให้ พล.ต.อ.วสิษฐ์ เดชกุญชร เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ว่า โจทก์ลบหลู่ดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ปรากฎตามเอกสารหมาย ล.30 นอกจากนี้ พล.อ.พิจิตร กุลลวณิชย์ ก็ยังได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า โจทก์จ้องล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ ตามหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 4 เมษายน 2552 ซึ่งโจทก์น่าจะหยุดการกระทำอันไม่บังควรดังกล่าวแต่โจทก์กลับไม่หยุด และในทางกลับกัน โจทก์ได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชี่ยนไทม์ว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบเรื่องแผนการรัฐประหารมาล่วงหน้า"ตาม หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันที่ 15 พฤษภาคม 2552

    โจทก์ยังได้ให้การ สนับสนุนกลุ่มคนเสื้อแดงให้มาชุมนุมกันที่ถนนราชดำเนิน ลานพระบรมรูปทรงม้า จนนำไปสู่การจราจล ซึ่งชวนให้เห็นว่า เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติโดยประชาชนตามคำชักชวนของโจทก์ ทั้งนี้เพราะโจทก์กับกลุ่มคนเสื้อแดงย่อมรู้อยู่แล้วว่า การเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบอื่นตามที่โจทก์ต้องการไม่อาจทำได้โดยการ แก้รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 มาตรา 291 วรรค 2 จากพฤติการณ์ของโจทก์และกลุ่มคนเสื้อแดงย่อมบ่งชี้ให้เห็นว่ามีเจตนาที่ส่อ ไปในทางที่สอดคล้องกับคำเทศนาของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

    จำเลยอยู่ ในฐานะอันชอบธรรมที่จะแสดงความคิดเห็นได้ ทั้งนี้เพราะจำเลยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งตามรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 มาตรา 123 บัญญัติว่า ก่อนเข้ารับหน้าที่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จะต้องกล่าวปฏิญาณตนในที่ประชุมสภาว่า จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ และตามรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 มาตรา 175 บัญญัติว่า ก่อนเข้ารับหน้าที่รัฐมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อหน้าพระมหากษัตริย์ว่า จะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์และรัฐธรรมนูญมาตรา 8 บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ซึ่งจำเลยและประชาชนผู้จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์มีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะ ปกป้องพระมหากษัตริย์ มิให้ผู้ใดล่วงละเมิด

    นอกจากนี้ การที่จำเลยพูดให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2552 ว่าโจทก์คิดจะกลับมาเป็นประธานาธิบดีนั้น สืบเนื่องจากกรณีที่โจทก์ได้พูดคุยกับผู้ร่วมสัมมนาว่า รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์เป็นเสือหิวเสือโหย ดังนั้น การที่จำเลยวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมของโจทก์แล้วสรุปว่า วันหนึ่งโจทก์จะกลับมาเป็นประธานาธิบดี จึงน่าเชื่อว่าจำเลยทำไปโดยมีเจตนาว่ากล่าวตักเตือนโจทก์และคนเสื้อแดงมิให้ กระทำการล่วงละเมิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ จากสถานะของจำเลยจึงอยู่ในฐานะและมีสิทธิอันชอบธรรมที่จะแสดงความคิดเห็น หรือข้อความ
    นั้นได้

    การกระทำของจำเลยจึงเป็นการแสดงความคิดเห็น หรือข้อความโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรมป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสีย เกี่ยวกับตนตามครองธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(1) การกระทำของจำเลยจึงไม่มีมูลความผิดตามฟ้อง


    พิพากษายกฟ้อง


    ที่มา แนวหน้า


    ความเห็นโดย อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล แห่งบอร์ดฟ้าเดียวกัน

    ผมโคตรงงกับการผูกเรื่องของศาลเลย

    ผม ไม่แน่ใจว่าที่ศาลยกๆมา ไม่ว่าจะเป็นรูปบนเวทีเสื้อแดง การตั้งโต๊ะล่ารายชื่อยกเลิก ๑๑๒ บทความวสิษฐ หลวงตาบัว บลาๆๆๆๆ สุเทพได้ยกขึ้นประกอบการต่อสู้หรือเปล่า

    และถึงแม้สุเทพยกขึ้นมาสู้จริง ผมก็ยังงงอยู่ว่า มันเอามาผูกกันได้ไง

    ถ้าเอาบรรทัดฐานนี้นะ...

    ต่อ ไป เราสามารถเอาบทความของ นสพ เอาเหตุการณ์แวดล้อมที่ไกลมากๆ มาอ้างสนับสนุน แล้วก็เอาไปยัดข้อหาว่าไอ้นั่นไอ้นี่จะล้มกษัตริย์ แบบนี้ได้ใช่มั้ย?

    ผมเดาว่า ไม่แน่พวกคลั่งอาจเอาคำพิพากษานี้ไปขยายผลต่อหรือเปล่า

    ผมคิดว่าเสื้อแดงต้องเตรียมตั้งรับให้ดี

    รุ่น น้องผมยืนยันมาว่า เอกสารต่างๆ มีการหยิบยกขึ้นมาต่อสู้ อ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีทั้งนั้น เพราะ ดูจากที่เอกสารมีหมายเลข ล. กำกับไว้หมด

    ผมไม่ได้ฝึกมาทางเทคนิคในโรงในศาล ก็ลืมๆไปแล้ว

    อีกอย่าง กรณีคดีในศาลยุติธรรม ศาลคงไม่มีบทบาทลงมาล้วงลูกเองอยู่แล้ว

    แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า พยานพวกนี้ มันไกลมากเลย และก็ไม่เห็นเกี่ยวพันกันมากถึงขนาดนั้น

    วิญญูชน ทั่วไปมาอ่านดู จะให้เขาไม่คิดไปได้อย่างไรว่า การที่ศาลพูดถึงเรื่อง "ตั้งโต๊ะล่ารายชื่อยกเลิก ๑๑๒ และ การนำพระบรมฉายาลักษณ์มาตั้งที่เวทีเสื้อแดง" นั้น มีปัญหา....

    คนเสื้อแดง งานเข้าเลยครับ เจอคำพิพากษานี้เข้าไป

    อีกประการหนึ่ง ถ้าเอาบรรทัดฐานนี้

    ผม ก็อยากรู้ว่า ถ้าทักษิณเล่นแบบสุเทพบ้าง แล้วโดนฟ้องหมิ่นประมาท พอสู้คดีก็ยกเอาบทความมาบ้าง ยกเหตุการณ์ชูรูปบ้าง ต่างๆนานา แบบนี้ศาลจะว่าอย่างไร?

    ผมเห็นว่า ผลของคำพิพากษาน่ะ อาจไม่ส่งผลกระเทือนเท่าไร เพราะ นักการเมืองสู้กัน ด่ากันไปมา ใส่ความกันไปมา เป็นเรื่องปกติ ฟ้องกันไปมา มีแพ้มีชนะสลับกันไป

    ผมถึงเฉยๆมากกับข่าวเมื่อวาน

    แต่พอวันนี้มาอ่านเจอเหตุผลประกอบคำพิพากษาแล้วก็อึ้ง

    คำ พิพากษานี้ - โดยความไม่ตั้งใจ ไม่เจตนาของศาล - อาจกลายเป็นการเปิดช่องให้สองขั้วการเมือง นำสถาบันกษัตริย์ มาใช้เป็นเครื่องมือใส่ร้ายป้ายสีกันไปมา อย่างไม่จบไม่สิ้น

    น่าเศร้าใจครับ

    ต่อ ไปพวกเราจงระวังให้ดี ต้องไปเป็นแนวร่วมกับ หลวงตาบัว วสิษฐ์ พิจิตต และ พวกรอแยลลิสต์ทั้งหลาย เพราะคำพูด ข้อเขียนของคนกลุ่มนี้ มีน้ำหนักมากกกกกกก

    เพื่อความสะดวก สำหรับคนที่ขี้เกียจอ่านคำพิพากษา

    สิ่งที่ศาลใช้ประกอบการตัดสินว่า สุเทพ ติชมโดยสุจริต มีดังนี้

    ๑. "ระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พระธรรมวิสุทธิมงคล(หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)เห็นว่าโจทก์มีพฤติกรรมเหยียบย่ำ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ จึงได้เทศนาสั่งสอนโจทก์เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2548ว่า อย่าคิดอาจเอื้อมเป็นประธานาธิบดี"

    ๒. " เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2549 โจทก์ได้พูดในรายการนายกฯทักษิณคุยกับประชาชน ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เรื่องการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของโจทก์ โดยใข้ถ้อยคำไม่เหมาะสมต่อองค์พระมหากษัตริย์ " (อันนี้ น่าจะเป็น เรื่องกระซิบให้ออก ผมออกทันทีใช่หริอเปล่าครับ ใครทราบช่วยยืนยันที)

    ๓. "โจทก์ได้พูดต่อข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาลว่า มีผู้มีบารมีเหนือรัฐธรรมนูญก่อความวุ่นวายต่อระบอบประชาธิปไตยมากเกินไป จนทำให้นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า การกระทำของโจทก์ทำให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัยว่าโจทก์ไม่ปกป้องต่อสถาบันพระ มหากษัตร
    ิย์"

    ๔. ทักษิณสัมพันธ์กับคนเสื้อแดง

    ๕. "การชุมนุมที่หน้ารัฐสภาเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2551 กลุ่มคนเสื้อแดงได้นำพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จพระนาง
    เจ้าพระบรมราชินีนาถติดไว้ที่ฉากหลังเวทีโดยมีข้อความที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง"

    ๖. "วันที่ 31 มกราคม 2552 มีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงหลายครั้งและมีการตั้งโต๊ะเสนอให้ยกเลิกประมวลกฎหมายอ
    าญาข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"

    ๗. "พล.ต.อ.วสิษฐ์ เดชกุญชร เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ว่า โจทก์ลบหลู่ดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์"

    ๘. "พล.อ.พิจิตร กุลลวณิชย์ ก็ยังได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า โจทก์จ้องล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ ตามหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 4 เมษายน 2552"

    ๙. "โจทก์ได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชี่ยนไทม์ว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบเรื่องแผนการรัฐประหารมาล่วงหน้า"ตาม หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันที่ 15 พฤษภาคม 2552"

    ๑๐. "โจทก์ยังได้ให้การสนับสนุนกลุ่มคนเสื้อแดงให้มาชุมนุมกันที่ถนนราชดำเนิน ลานพระบรมรูปทรงม้า จนนำไปสู่การจราจล ซึ่งชวนให้เห็นว่า เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติโดยประชาชนตามคำชักชวนของโจทก์ ทั้งนี้เพราะโจทก์กับกลุ่มคนเสื้อแดงย่อมรู้อยู่แล้วว่า การเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบอื่นตามที่โจทก์ต้องการไม่อาจทำได้โดยการ แก้รัฐธร
    รมนูญ พุทธศักราช 2550 มาตรา 291 วรรค 2 จากพฤติการณ์ของโจทก์และกลุ่มคนเสื้อแดงย่อมบ่งชี้ให้เห็นว่ามีเจตนาที่ส่อ ไปในทางที ่สอดคล้องกับคำเทศนาของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน "

    นี่แหละครับ

    มี เทศนาหลวงตาบัว มีบทความวสิษฐ มีคำสัมภาษณ์ของพิจิตร มีกรณีทักษิณสัมภาษณ์ไฟแนนเชียล ไทม์ มีกรณีเสื้อแดงชุมนุม มีกรณีตั้งโตณะยกเลิก ๑๑๒ มีกรณีทักษิณพูดเรื่อง "กระซิบ" และ "ผู้มีบารมีนอก รธน"


    ความเห็นโดยคุณไวไว แห่งบอร์ดฟ้าเดียวกัน

    คำ ตัดสินของศาลกับคำ พิพากษาศาลฎีกาที่ 237 - 238/2514 ระหว่างนายปรีดี พนมยงค์ โดยนายทองดี นันทเสน ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ กับบริษัทสยามรัฐ จำกัด ที่ 1 หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ 2 นายประจวบ ทองอุไร ที่ 3 จำเลย ซึ่งมีความโดยย่อดังนี้
    "การที่จำเลยที่ 3ไขข่าวแพร่หลายตามสำนวนแรกว่า หลังจากโจทก์กลับจากการเยือนสหภาพโซเวียตรัสเซียซึ่งเป็นประเทศหัวหน้าฝ่าย คอมมิวนิสต์แล้ว อุดมคติทางการเมืองของโจทก์โน้มเอียงไปในทางระบอบการปกครองที่มี ประธานาธิบดีเป็นประมุขยิ่งกว่าการมีพระมหากษัตริย์เป็น ประมุข ทั้ง ๆ ที่ขณะจำเลยที่ 3 ไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความนั้นประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเป็นที่เคารพเทอดทูนของประชาชนไทย ข้อความที่โฆษณาไขข่าวแพร่หลายอันฝ่าฝืนต่อความจริงดังกล่าว ย่อมทำให้โจทก์ซึ่งเป็นคนไทยคนหนึ่งเป็นที่น่ารังเกียจของประชาชนไทยทั่วไป และย่อมได้รับความเสียหายชัดแจ้งแล้ว ศาลฎีกาวินิจฉัยยืนให้ลงโทษจำเลยทั้งสาม"

    เมื่อเปรียบเทียบกับคำตัดสินกรณีสุเทพกล่าวหาทักษิณแล้ว ผมเห็นว่าไม่เป็นการติชมโดยสุจริตไปได้


    ความเห็นของPhutipong แห่งฟ้าเดียวกัน

    การ ตีความของศาลนี้ คำว่า "โดยสุจริต" กรณีนี้ ผมมองว่ามีปัญหาอย่างยิ่ง คือ เท่ากับว่า ศาลไม่ต้องใช้ดุลยพินิจอะไรเลย ในการพิเคราะห์ว่าการ "สุจริต"นั้น มีเบื้องหลังอย่างไร การพิพากษาเช่นนี้ จะกลายเป็นว่า "ใครก็ตาม" ที่เป็นบุคคลสาธารณะ จะถูกด่าอย่างไร ก็ได้หมด

    พิพากษาแบบนี้ มันไม่้ต้องใช้ความคิดอะไรเลย เพียงประหัตประหารปรปักษ์ำได้โดยสุจริตก็เป็นพอ ผมมองว่า ชุ่ยจริงๆ
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×