ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมบทความการเมือง

    ลำดับตอนที่ #71 : แถลงการจากAHRC ถึงเวลาแล้วที่จะต้องพูดถึงเรื่องกฏหมายหมิ่นฯกันอย่างเปิดเผย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 207
      0
      8 ม.ค. 53

    แถลงการณ์จากคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเซีย
    12 กุมภาพันธ์ 2552
    แปลโดยทีมข่าวไทยอีนิวส์
    ที่มา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย
    13 กุมภาพันธ์ 2552

    ประเทศไทย: ถึงเวลาแล้วที่จะต้องพูดถึงเรื่องกฏหมายหมิ่นฯกันอย่างเปิดเผย

    คณะ กรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเซีย (AHRC - The Asian Human Rights Commission) ได้ติดตามอย่างใกล้ชิดและด้วยความห่วงใยอย่างมากที่มีจำนวนการฟ้องร้องคดี หมิ่นฯเพิ่มมากขึ้นในประเทศไทยกับผู้คนทุกประเภทจากการแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับราชวงศ์ ปัจจุบันนี้ได้มีผู้คนหลายสิบที่ถูกกล่าวหาหรือถูกพิพากษาแล้วในข้อหานี้ ซึ่งเทียบเท่ากับข้อหากบฏต่อราชบัลลังค์ ผู้คนเหล่านี้รวมถึงพลเมืองไทย ชาวต่างชาติ ผู้สื่อข่าว และนักวิชาการ อย่างน้อยที่สุดก็มีสองคนที่กำลังถูกจำคุกและอีกคนหนึ่งได้หลบหนีออกนอก ประเทศเพราะเกรงว่าจะไม่ได้รับการพิจารณาอย่างเป็นธรรม ถึงแม้ว่าจำนวนคดีจะน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนคนที่ผ่านการพิจารณาในกระบวนการ ยุติธรรมในเมืองไทย แต่มันก็ถือว่าเป็นจำนวนมากสำหรับข้อหานี้โดยเฉพาะการใช้ข้อหาหมิ่นฯเพื่อทำ ให้ผู้ที่อาจกระทำผิดซ้ำเกิดความหวาดกลัว และทำให้เกิดการปิดกั้นการถกเถียงกันเรื่องสถาบันที่สำคัญของรัฐในช่วงที่มี รัฐบาลที่สนับสนุนโดยทหารและไม่ได้มาจากการเลือกตั้งที่กำลังทำทุกสิ่ง ทุกอย่างที่บ่อนทำลายหลักนิติธรรมของไทยซึ่งถูกทำลายมาก่อนหน้านี้แล้ว

    แน่ นอนคนอื่นๆอาจจะถูกฟ้องโดยข้อหานี้ได้ทุกเมื่อเพราะแม้แต่คนที่แสดงความคิด เห็นเล็กๆที่ไม่สำคัญเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ยังถูกดำเนินคดีในศาล และเป็นเพราะลักษณะพิเศษของกฏหมายหมิ่นฯในประเทศไทยที่อนุญาตให้บุคคลใดก็ ได้ฟ้องร้องอีกบุคคลหนึ่ง จากข้อมูลบางข้อมูล นอกเหนือจากขั้นตอนตามกฏหมายที่มีการไต่ส่วนอย่างเป็นทางการโดยองค์กรของรัฐ แล้วบางหน่วยงานของตำรวจและหน่วยงานอื่นๆยังเข้าไปค้นเนื้อหาในสิ่งตีพิมพ์ และเวปไซด์ต่างๆที่สามารถจะกล่าวหาว่าหมิ่นฯได้ และหลังจากนั้นก็ดำเนินการฟ้องร้อง และที่ทำให้น่ากังวลกว่านั้นคือการตั้งเวปไซด์จากเซอร์เวอร์ของรัฐสภาเอง เพื่อการรณรงค์ให้ประชาชนแจ้งเบาะแสของใครก็ได้ที่เขาคิดว่าวิพากษ์วิจารณ์ สถาบันพระมหากษัตริย์

    จากการที่มีจำนวนคดีหมิ่นฯทเพิ่มมากขึ้น รวมถึงความพยายามอย่างเคร่งครัดของกระทรวง ICTที่จะเซ็นเซอร์อินเตอร์เนท และการใส่ร้ายทางอาญาอย่างแพร่หลายมันบ่งบอกถึงแนวทางที่ถดถอยอย่างยิ่งของ พฤติกรรมทางการเมืองและวาทกรรมทางสังคมเกี่ยวกับประเด็นสำคัญของประเทศ ตั้งแต่รัฐประหารปี 2006 หลังจากเหตุการณ์นั้น AHRC ได้เตือนว่าความล้มเหลวที่ไม่ได้มีการต่อต้านการยึดอำนาจเพียงเพราะไม่ชอบ รัฐบาลที่ไม่น่าพอใจของทักษิณ ชินวัตร จะเป็นการชี้เชิญฝ่ายขวาจัดเข้ามามีอำนาจทางการเมืองไทยเหมือนที่เคยมีมาถึง ช่วงทศวรรษ 1990 มันน่าเศร้าที่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2551 ได้แสดงให้เห็นว่าอุดมการณ์หัวรุนแรงและการองค์ประกอบของสภาพไร้กฏหมายได้ เพิ่มความแข็งแกร่งขึ้นอย่างไร ซึ่งต้องขอบคุณกองทัพที่ได้ย้ำถึงอภิสิทธิ์ของพวกเขาในการบ่งชี้ชะตาของ ประเทศไทย และในการปฏิบัตรอันน่าใจหายต่อผู้อพยพทางเรือหลายลำที่ถูกคุมตัวโดยกองทัพ เรือที่ชายฝั่งทะเลตะวันตก และการปฏิเสธอย่างน่าอนาถใจของทางการ ที่ก่อให้เกิดความความงุนงงสับสน เป็นการแสดงให้เห็นอีกครั้งหนึ่งว่าอิทธิพลที่ล้าหลังได้ปกคลุมรัฐบาลนี้ใน ทุกระดับ

    จาการที่มีคดีหมิ่นฯเพิ่มมากขึ้นตอนนี้เป็นการบ่งชี้ถึงการ หันหลังให้กับการพัฒนาประชาธิปไตยและสังคมที่เกิดขึ้นในยุคทศวรรษ 1990 และกลับมาสู่ระบอบเเผด็จการที่ล้าหลังอย่างช่วงทศวรรษก่อนหน้านั้น และเป็นการเข้าถึงประเด็นว่าพวกที่วางแผนและนักยุทธศาสตร์ซึ่งรับผิดชอบกับ การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ดีนั้นต้องการให้รัฐนั้นเป็นอย่างไร

    มัน แน่ชัดว่าการฟ้องร้องและการตัดสินบุคคลต่างๆว่าผิดในข้อหาหมิ่นฯนั้นมันไม่ ได้เป็นเรื่องของวัฒนธรรมอย่างที่พวกเขาอ้างแต่เป็นการควบคุมสังคมอย่าง หนึ่ง มันไม่ได้เป็นเรื่องของการส่งเสริมให้มีความเคารพ แต่เป็นเรื่องของการกำจัดศัตรู

    หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ระหว่าง ประเทศไทยเดิมกับประเทศไทยใหม่คือด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร มันไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่บุคคลที่โดนข้อหาหมิ่นฯนั้นเพราะการใช้ คอมพิวเตอร์ของพวกเขา และเป็นเพราะสื่อในประเทศก็โดนจำกัดให้เป็นสื่อเพื่อการโฆษณาชวนเชื่อและ เป็นกระบอกเสียงของกลุ่มที่ว่านี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่ประชาชนหันไปหาแหล่งข้อมูลของข่าวและความคิดเห็นทาง อินเตอร์เน็ทและหาช่องทางที่เร็วและทันสมัยเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าทางการจะพยายามมากแค่ไหนพวกเขาจะพบว่ามันเป็นไปไม่ได้ที่จะหยุดการแลก เปลี่ยนข้อมูลนี้ นอกเหนือเสียจากจะปิดการสื่อสารทางเทคโนโลยีนี้โดยสิ้นเชิง และยิ่งทำมากเท่าไหร่ก็ยิ่งกระตุ้นให้มีคนเข้ามาใช้มันมากขึ้น

    อย่าง ไรก็ตาม จากนี้ไปแน่นอนมันจะลำบากมากขึ้นและเสี่ยงสำหรับคนไทยที่จะแสดงความคิดเห็น อย่างเปิดเผย อย่างเท่าเทียม และอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับประเด็นต่างๆรวมถึงบทบาทและกิจกรรมของราชวงศ์ และที่สำคัญกว่าเกี่ยวกับบุคคลที่อ้างว่าเป็นตัวแทนหรือกระทำในนามของ ราชวงศ์ ในช่วงเวลาที่ความเสี่ยงนี้ไม่ได้มาจากแค่พวกข้าราชการ แต่จากกลุ่มคนที่แต่งตั้งตัวเองขึ้นอย่างผิดกฏหมาย ซึ่งพวกเขาได้ครอบงำพื้นที่ของสังคมและการเมืองเมื่อปีที่ผ่านมา และได้ก่ออาชญากรรมอย่างนับไม่ถ้วนโดยไม่กลัวว่าจะถูกลงโทษ คนที่มุทะลุเท่านั้นที่จะคิดว่าเมืองไทยเป็นประเทศที่ยอมรับ (แม้แต่การสนับสนุนก็ไม่มี) การแสดงออกและการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี

    ใน สถานการณ์ดังกล่าว มันตกเป็นหน้าที่ของบุคคลหรือองค์กรที่อยู่นอกประเทศที่จะแสดงออกอย่างตรงไป ตรงมาและชัดเจน เพื่อประโยชน์ของคนข้างในที่ไม่สามารถทำได้ และด้วยเหตุนี้ทาง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเซีย ขอประณามอย่างชัดเจนด้วยเหตุผลของหลักปฏิบัติที่ถูกต้องซึ่งไม่พิจารณา ปัจจัยอื่นการใช้กฏหมายหมิ่นฯในรูปแบบปัจจุบันของประเทศไทยซึ่งขัดกับหลัก มาตรฐานของสิทธิมนุษยชนสากล เราเรียกร้องให้รัฐบาลของไทย ผ่านทางสำนักอัยการของรัฐ ยุติการดำเนินคดีทั้งหมดต่อบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นฯโดยทันที และเร่งการจัดการให้ผู้ที่ถูกตัดสินจำคุกถูกปล่อยออกมาโดยเร็วที่สุด และเราเรียกร้องให้ยุติการเซ็นเซอร์ที่ไร้ประโยชน์เวปไซด์ที่ทางการเห็นว่า หมิ่นต่อสถาบันราชวงศ์ ทางรัฐบาลไทยต้องเข้าใจว่าถ้าไม่ทำเช่นนั้นจะเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของ การเมืองที่ถูกทำลายไป และของชื่อเสียงระหว่างประเทศของไทยจากความวุ่นวายในปี 2008 และในระยะยาวจะทำให้การแก้ปัญหาทางระบบของโครงสร้างสถาบันและสังคมยากที่จะ เยียวยา

    ทาง AHRC ขอถือโอกาสนี้เพื่อเรียกร้องพิเศษต่อบุคคลและองค์กรที่เกี่ยวข้องนอกประเทศ ไทย อนึ่งขอแสดงความยินดีต่อองค์กรที่ได้ยกประเด็นเรื่องกฏหมายหมิ่นแล้ว และทางเราขอสนับสนุนการดำเนินการอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะผ่านทางสื่อทั่วไป หรือการรณรงค์ทางอื่น สอง ทางเราเรียกร้องให้กลุ่มที่ยังไม่ได้ดำเนินการได้เริ่มออกแถลงการณ์ เริ่มการรณรงค์ และตีพิมพ์และออกมาพูดอย่างกว้างขวางโดยให้ถือเป็นวาระเร่งด่วน ในสถานการณ์ปัจจุบัน การถกเถียงกันเรื่องกฎหมายหมิ่นฯและเรื่องที่เกี่ยวข้องด้วยสติปัญญาโดย ปราศจากการกีดกันนั้นแทบจะทำไม่ได้ และขณะนี้ภาระมันตกอยู่กับกลุ่มคนที่ทำงานหรืออาศัยอยู่นอกประเทศที่จะช่วย เปิดเผยเรื่องที่โดนปิดปากจนกระทั่งถึงเวลาที่ประชาชนสามารถจะทำเช่นเดียว กันโดยไม่ต้องกลัวการจับกุมและจำคุกหรือแย่กว่านั้น ขอส่งคำร้องขอนี้ออกไปให้โดยเฉพาะกับองค์กรสิทธิมนุษยชนต่างๆที่ยังไม่ได้ แสดงท่าทีเกี่ยวกับเรื่องนี้ ถ้าเราไม่สามารถจะพูดด้วยความชัดเจนและความแน่ชัดว่ากฏหมายฉบับใดหนึ่งฉบับ หนึ่งนั้นผิดและพวกที่ถูกดำเนินคดีจากกฏหมายดังกล่าวไม่ได้รับความเป็นธรรม ในไม่ช้าเราคงไม่สามารถจะหรือไม่ยอมที่จะพูดด้วยความชัดเจนและแน่ชัดเกี่ยว กับประเด็นอื่นๆเลย

    เกี่ยวกับ AHRC: คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเซียเป็น NGO ของภูมิภาคที่กำกับดูแลและรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชนในเอเซีย ก่อตั้งขึ้นในปี 1984 และมีสำนักงานอยู่ที่ฮ่องกง
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×