ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมบทความการเมือง

    ลำดับตอนที่ #65 : ความคิดพิเรนทร์ของเสธ.หนั่น : เสนอให้กลับไปสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เต็มที่เลยดีไหม?

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 275
      0
      8 ม.ค. 53

    ครั้งแรกสุดที่ผม “ทราบ” ข่าวเรื่องสนั่น ขจรประศาสน์ เสนอให้องคมนตรี เป็นผู้ตั้งองค์กรอิสระต่างๆ คือเมื่อมีผู้มาโพสต์กระทู้ทางเว็บบอร์ดบางแห่ง

    บอกตามตรงว่า ตอนแรกผมนึกว่า เป็นเรื่องโจ๊กที่มีการมาโพสต์แบบล้อเลียนเสียดสีกัน (ซึ่งเป็นเรื่องไม่แปลกสำหรับเว็บบอร์ดการเมือง) เพราะกระทู้แรกที่ได้เห็น ไม่มีรายละเอียด เป็นเพียงตั้งเป็นชื่อกระทู้ (ประเภท “คิดยังไง ที่สนั่นเสนอให้องคมนตรีตั้งองค์กรอิสระ” อะไรทำนองนี้) จนกระทั่ง เห็นมีคนมาโพสต์กระทู้ซ้ำในเรื่องนี้อีก ผมจึง search หาข่าวนี้ทางเน็ต พบว่า เป็นเรื่องจริง

    สนั่นให้สัมภาษณ์เสนอจริงๆ ว่าให้องคมนตรีทั้งคณะ เป็นผู้คัดเลือกองค์กรอิสระต่างๆ (ดูตัวอย่าง รายงานข่าวใน กรุงเทพธุรกิจ )

    แม้ ว่าจะได้รับการยืนยันว่า เป็นเรื่องจริง ไม่ใช่โจ๊ก ผมก็ยังมีความยากลำบากที่จะเชื่อว่า ใน พ.ศ.นี้ จะมีใครมีความคิดพิเรนทร์ขนาดนี้ และจากความเหลือเชื่อ ก็กลายเป็นความโกรธว่า ทำไมไม่เสนอให้กลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อย่างเต็มรูปแบบเสียเลยไม่ดีกว่าหรือ?

    องคมนตรี มีกำเนิดครั้งแรกหลังรัฐประหาร 2490 ที่พวกนิยมเจ้า (Royalists) ร่วมมือกับทหารบางกลุ่ม โค่นรัฐบาลปรีดี-ธำรง (โดยอาศัยข้ออ้างเรื่องกรณีสวรรคตเป็นสำคัญเรื่องหนี่ง) แล้วร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญ รื้อฟื้นอำนาจในลักษณะสมบูรณาญาสิทธิราชใ ห้กับสถาบันกษัตริย์หลายประการ

    ที่สำคัญ คือ การตั้งองค์กร “ที่ปรึกษา” ของกษัตริย์นี้ขึ้นมา ในความเป็นจริง ในระบอบประชาธิปไตย ที่พระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้น พระมหากษัตริย์จะต้องไม่มีอำนาจในการทำอะไร ตามหลักการที่ว่า The King can do no wrong because he can do nothing คือ ทรงไม่ทำผิด เพราะทรงทำอะไรไม่ได้

    – เหตุที่ต้องใช้หลักการนี้ ก็เพราะถือว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของสาธารณะ ของราษฎรทุกคนแล้ว ถ้าจะให้ใครมีอำนาจ คนนั้นก็จะต้องขึ้นต่อกระบวนการวิพากษ์วิจารณ์ ตรวจสอบ ควบคุมกระทั่งปลดออกโดยราษฎรได้ ที่เรียกรวมๆว่า accountability

    ดัง นั้น ถ้าไม่ต้องการให้พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้กระบวนการ accountability นี้ ก็ต้องให้พระมหากษัตริย์ ไม่ต้องทรงทำอะไร No Accountability, No Power (การเป็นสัญลักษณ์ หรือประมุขของประเทศ นับเป็นเกียรติสูงส่งอยู่แล้ว)

    ด้วยเหตุนี้ พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย จึงไม่ต้องมีที่ปรึกษาต่างหาก คณะรัฐมนตรี (ซึ่งขึ้นต่อ accountability โดยราษฎร) เป็นที่ปรึกษาอยู่แล้ว และในเมื่อพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย จะต้องไม่ทรงทำอะไร (do nothing) ดังกล่าว ก็ไม่มีความจำเป็นต้องมีคณะที่ปรึกษาต่างหาก เกิดขึ้นแต่แรก ดังเช่นที่เป็นจริงในช่วงระหว่าง 2475 ถึง 2490 (หรือในประเทศประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอื่นๆ ในปัจจุบัน)

    แต่เมื่อพวกนิยมเจ้า ร่างรัฐธรรมนูญนิยมเจ้าปี 2492 กลับกำหนดให้มีองคมนตีขึ้น โดยกำหนดลักษณะสำคัญขององคมนตรีดังนี้

    มาตรา 13 พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรี และองคมนตรีอีกไม่มากกว่าแปดคน ประกอบเป็นคณะองคมนตรี

    คณะ องคมนตรีมีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัติรย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้

    มาตรา 14 การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรีก็ดี การให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่งก็ดี ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย

    ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ แต่งตั้งประธานองคมนตรี หรือให้
    ประธาน องคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และให้ประธานองคมนตรี เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรีอื่น หรือให้องคมนตรีอื่นพ้นจากตำแหน่ง



    ข้อกำหนดเหล่านี้ ได้รับการบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญทุกฉบับหลังจากนั้น โดยไม่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งฉบับปัจจุบัน

    นี่ คือลักษณะการให้อำนาจพระมหากษัตริย์ แบบสมบูรณาญาสิทธิราช คือ ให้พระมหากษัตริย์สามารถแต่งตั้งถอดถอนองคมนตรีได้ด้วยพระองค์เอง โดยสิ้นเชิง รัฐสภาเพียงแต่ “รับทราบ” ในรูปของการที่เฉพาะตัวประธานรัฐสภา “ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ” ต่อการตั้งประธานองคมนตรีเท่านั้น

    ไม่ ต้องแม้แต่จะผ่านกระบวนการเสนอชื่อให้ทั้งรัฐสภารับรอง และในแง่องคมนตรีคนอื่น ก็ไม่ต้องแม้แต่จะมีประธานรัฐสภารับรองด้วยซ้ำ ให้ประธานองคมนตรีที่ได้มาในลักษณะไม่ชอบกลดังกล่าว รับรองเอง

    การ แต่งตั้งหรือถอดถอนองคมตรี “เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย” เช่นนี้ ขัดกับหลักการประชาธิปไตย เพราะองคมนตรี ความจริง มิได้เป็น “ลูกจ้างส่วนพระองค์” ไม่ใช่พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จ้าง แต่เป็นบุคคลากรที่ใช้ทรัพยากรส่วนรวมของรัฐ

    ในเมื่อต้องใช้งบประมาณ หรือทรัพย์สินของรัฐ คือของประชาชนโดยรวมทุกอย่าง เหตุใดจึงจะไม่ให้รัฐที่เป็นตัวแทนของประชาชน เป็นผู้ควบคุม เลือก และแต่งตั้ง (ไม่ต้องพูดถึงหลักการที่ว่า พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย ไม่มีความจำเป็นต้องมีที่ปรึกษาต่างหากจากคณะรัฐมนตรี เพราะไม่ต้องทรงทำอะไร เพื่อไม่ให้ต้องมี accountability ได้ ดังกล่าวก่อนหน้านี้)

    ดังนั้น องคมนตรีทั้งหมด ทั้งๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของอำนาจรัฐ จึงกลับหลุดพ้นจากกระบวนการ accountability โดยสิ้นเชิง ตามการไม่มี accountability ของพระมหากษัตริย์

    ในไม่กี่ ปีมานี้ เราจึงได้เห็นองคมนตรีอย่างพลเอกเปรม สามารถออกมาระดมทหาร ให้ขัดแย้งกับรัฐบาลเลือกตั้งได้ (ปาฐกถาเรื่อง “ทหารเหมือนม้าของพระราชา รัฐบาลเป็นเพียงจ๊อกกี้”)

    สามารถออกมาชมเชยสนับสนุนนายกฯ ที่มาจากการรัฐประหารล้มรัฐธรรมนูญ (“พลเอกสุรยุทธ เหมือน เชอร์ชิล”)

    และ สามารถออกมาแสดงความเห็นทางการเมืองว่า นายกฯ ที่มาจากกระบวนการแบล็กเมล์ รัฐประหารแฝงอย่างอภิสิทธิ์ “เป็นเรื่องที่ประเทศควรดีใจ”

    กล่าว อย่างสั้นๆ คือ สามารถมีบทบาททางการเมืองอย่างโจ่งแจ้ง สามารถ take side เข้าข้างใดข้างหนึ่ง (ในกรณีตัวอย่างเหล่านี้ คือข้างที่ทำผิดกฎหมาย ล้มรัฐธรรมนูญ เป็นกบฏ) อย่างมากก็ได้ โดยไม่ต้องมี accountability โดยสิ้นเชิง

    อำนาจขององคมนตรีเช่นนี้ คืออำนาจในลักษณะเดียวกับสมัยสมูรณาสิทธิราช ที่ราษฎรและตัวแทนราษฎร ไม่สามารถควบคุมผู้มีอำนาจได้โดยสิ้นเชิง

    ข้อเสนอของสนั่น ขจรประศาสน์ ถึงที่สุดคือ เท่ากับเสนอให้องค์กรอิสระทั้งหมด ต่อไปนี้ ขึ้นอยู่กับพระราชอำนาจล้วนๆ โดยผ่านองค์กร องคมนตรี

    เพราะองคมนตรี ขึ้นต่อพระมหากษัตริย์ล้วนๆ นี่คือการเสนอให้ ถ่ายโอนอำนาจในการเลือกและจัดตั้งองค์กรอิสระต่างๆ ที่มีบทบาทสำคัญมากขึ้นๆ ในปัจจุบัน กลับไปที่สถาบันพระมหากษัตริย์ ที่องคมนตรีเป็นส่วนประกอบสำคัญ

    ผมจึงถามว่า ถ้ามีความคิดพิเรนทร์เช่นนี้ ทำไมไม่เสนอให้เปลี่ยนกลับไปเป็นระบอบบสมบูรณาญาสิทธิราช ให้เต็มรูปเลย ไม่ดีกว่าหรือ?

    รัฐสภาทั้งหมด ต่อไปนี้ ก็ไม่ต้องให้ราษฎรเลือก คณะรัฐมนตรีก็ไม่ต้องให้เลือกจากรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง

    ข้อ เสนอของสนั่น บวกกับข้อเสนอของบางคนในประชาธิปัตย์ก่อนหน้านี้ ที่จะขยายขอบเขตของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (และกฎหมายคอมพิวเตอร์ในเรื่องเดียวกัน) คือการย้อนยุคกลับไปสมบูรณาญาสิทธิราชกันอยู่แล้ว

    ข้ออ้างของสนั่น เรื่อง “ถ่วงดุลอำนาจ” เป็นข้ออ้างที่ไร้สาระ แต่ดูเหมือนจะกลับเป็นสิ่งที่บรรดาผู้มีการศึกษา มีฐานะ หรือที่เรียกว่า “คนชั้นกลาง” ให้การยอมรับ ตั้งแต่สมัยรัฐธรรมนูญ 2540 มาแล้ว และยิ่งเพิ่มมากขึ้น หลังรัฐประหาร 19 กันยา

    ปัจจุบัน เราจึงได้เห็นอำนาจที่เพิ่มมากขึ้นอย่างมหาศาลของ “องค์กรอิสระ” ต่างๆ โดยเฉพาะของตุลาการ (“ตุลาการภิวัฒน์”)

    ไอเดียคือ ให้อำนาจเหล่านี้ มา “ถ่วงดุล” อำนาจที่มาจากการเลือกตั้ง

    ขอ ถามง่ายๆ ว่า แล้วบรรดาอำนาจที่อ้างเอามา “ถ่วงดุล” อำนาจเลือกตั้งเหล่านี้ จะเอาอะไรมา “ถ่วงดุล” หรือพูดให้ชัดยิ่งขึ้นคือ จะเอาอะไรมาควบคุม?

    ทุกวันนี้ แม้แต่บรรดาลิ่วล้อของอำนาจเหล่านี้ ที่อ้างตัวเองว่าเป็น “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ก็สามารถทำอะไรตามใจชอบได้ เพราะความ “มีเส้น” สนับสนุนจากอำนาจที่ราษฎรควบคุมไม่ได้เลยเหล่านี้นั่นเอง

    ประชาธิปไตย ถึงที่สุดคือ ประชาชนเป็นผู้ “ถ่วงดุล” อำนาจ หรือควบคุมอำนาจ ไม่ใช่ให้ใครที่ไม่มีใครสามารถ “ถ่วงดุล” หรือควบคุมได้ มาควบคุมตัวแทนที่ประชาชนเลือก

    การ “ถ่วงดุล” กันระหว่างอำนาจต่างๆ ในที่สุด จะต้องเป็นการ “ถ่วงดุล” ระหว่างอำนาจที่มาจากประชาชนเอง และประชาชนควบคุมได้

    ใน เมื่อคนระดับรองนายกฯ อย่างสนั่น สามารถเสนออะไรที่พิเรนทร์ขนาดนี้ต่อสาธารณะได้ โดยหน้าไม่แดง (รวมทั้งข้อเสนอ เพิ่มอำนาจให้กฎหมายหมิ่นของประชาธิปัตย์)

    ผมก็ขอเสนออย่างจริงจังมากๆ บ้างว่า ให้กลับไปสู่สมบูรณาญาสิทธิราชเลยดีกว่าครับ จะได้ไม่ต้องทำอะไรแบบแอบๆ แฝงๆ แบบนี้

    ทุก วันนี้ แม้แต่นายกฯ และรัฐบาล ก็ได้มาโดยกระบวนการใช้อำนาจ ซึ่งถึงที่สุดแล้ว ก็ไม่ต่างจากกระบวนการใช้อำนาจในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชมากมายอะไรนักอยู่ แล้ว (รัฐประหาร, ตุลาการภิวัฒน์ ฯลฯ)

    เอาเลยครับ เผื่อเราจะได้ “2475” กันใหม่

    โดย คุณสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
    ที่มา เวบไซต์ ฟ้าเดียวกัน
    4 มกราคม 2552
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×