ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมบทความการเมือง

    ลำดับตอนที่ #60 : รัฐสวัสดิการกับคนรวยต้องเสียสละของคอลัมนิสต์มติชน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 302
      0
      5 ม.ค. 53

    วันที่ 06 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 32 ฉบับที่ 4051

    คนรวยต้องเสียสละ (ครับ)
    คอลัมน์ ประชาชาติปริทัศน์
    โดย ขุนสำราญภักดี

    " ยังมองไม่เห็นทางออก"...ผมได้ยินคำตอบลักษณะนี้มานานหลายเดือนแล้ว เมื่อผมถามชนชั้นนำไทยมากมายหลายคนว่า เราจะออกจากวิกฤตความขัดแย้งได้อย่างไร ? ไม่ใครตอบผมได้...สักคนเดียว

    นัก วิชาการที่เคยผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็น 14 ตุลาคม 2516 หรือ 6 ตุลาคม 2519 หรือพฤษภาคม 2535 บอกผมว่า วิกฤตรอบนี้ยืดเยื้อและยาวนาน

    ผมฟังแล้วก็ได้แต่ทำใจ ว่าเราคงจะอยู่ในห้วงเวลาแห่งความเครียดไปอีกหลายปี

    แต่ท่ามกลางการต่อสู้ระหว่างคนเสื้อเหลืองกับคนเสื้อแดง ผมมั่นใจอยู่อย่างหนึ่งว่า ที่สุดไม่ว่าใครชนะ ผลลัพธ์ก็ไม่แตกต่าง

    ถ้า เสื้อเหลืองชนะ พวกทุนเก่าบวกพวกอำมาตยาธิปไตยก็กลับมาครองเมืองเช่นเดิม กอบโกยส่วนเกินทางเศรษฐกิจกันต่อไปในกลุ่มของชนชั้นกลางจนถึงชนชั้นสูง ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนก็จะห่างกันออกไปเป็น 10 เท่า ยิ่งพัฒนาก็ยิ่งเห็นความแตกต่างระหว่างฟ้ากับเหว

    แน่นอนเศรษฐีที่บริจาคเงินให้ม็อบพันธมิตรฯ พวกคุณก็ทำมาหากินกันต่อไป แล้วที่แน่ๆ พวกคุณก็ทำซีเอสอาร์แบบผักชีโรยหน้ากันต่อไป

    อาจจะแปลกไปบ้างก็ตรงที่เราอาจมีนายกฯ หรือรัฐมนตรีที่เป็นสายตรงจากพวกพันธมิตรฯ

    ถ้า พวกเสื้อแดงชนะ พรรคเพื่อไทยก็จะใช้นโยบายประชานิยมสูตรเดียวกับที่พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน โปรยเงินสู่รากหญ้าเพื่อซื้อเสียงคนจน

    งบประมาณ แผ่นดินเป็นแสนๆ ล้านจะถูกตำน้ำพริกละลายแม่น้ำแบบไม่มีหูรูด ชนชั้นกลางที่จ่ายภาษีก็จะหงุดหงิด ไม่พอใจที่เงินกู ภาษีกู ถูกรัฐบาลเอาไปใช้หาเสียง

    วงจรแบบเก่าๆ ที่เคยเกิดขึ้นในรัฐบาลทักษิณก็จะกลับมาอีก ยิ่งเลือกตั้งก็ยิ่งชนะ เพราะนโยบายลดแลกแจกแถม รากหญ้าไม่ว่าหน้าไหนก็ชอบ "ป๊อปปูลิสต์ โพลีซี"

    เมื่อเป็นเช่นนี้ ผมจึงเห็นว่าใครชนะก็ไม่แตกต่าง เพราะมันชั่วร้ายพอกัน

    ผมเสนอว่า ไหนจะต้องเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากถอนโคนกันแล้ว อย่าไปใส่ใจการเมืองใหม่แบบไร้ราก (ให้เสียเวลา)

    ผมเสนอให้ประเทศไทยเดินหน้าไปสู่ระบบรัฐสวัสดิการกันเลยดีไหม

    คน จนแทนที่จะแบมือรับเงินจากรัฐบาลประชานิยมก็เปลี่ยนไปอยู่ในระบบรัฐ สวัสดิการ แต่คุณต้องทำงานหนักขึ้น และคุณต้องเห็นคุณค่าของงานมากกว่าเงิน

    รัฐสวัสดิการจะดูแลคุณตั้งแต่ครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอน

    คนรวยคุณก็ต้องเสียสละมากขึ้น ถ้าไม่อยากเห็นประเทศไทยจมปลักอยู่ในความขัดแย้งระหว่างคนจนกับคนรวย

    ฉะนั้นคุณคนรวย...คุณต้องจ่ายภาษีมากขึ้น

    คุณ ต้องยอมจ่ายภาษีทรัพย์สิน ภาษีที่ดิน ภาษีมรดก คุณต้องยอมจ่ายภาษีกำไรจากตลาดหุ้น คุณต้องยอมเสียสละมากกว่าในอดีต...ผมขอร้องให้คุณเสียสละ

    ผมเชื่อว่าคุณจ่ายเงินเข้าระบบรัฐสวัสดิการย่อมดีกว่าคุณต้องทนดูรัฐบาลประชานิยมเอาเงินของคุณไปแจกคนจนเพื่อหาเสียง

    ผมเชื่อว่าคุณจ่ายเงินเข้าระบบรัฐสวัสดิการย่อมดีกว่าคุณจ่ายเงินให้ม็อบที่เห็นตัวเองเป็นเทวดา คนอื่นชั่วหมด

    และที่แย่ที่สุดคือคุณจะยอมให้ม็อบพวกนี้...ทำลายระบอบประชาธิปไตย (งั้นหรือ)

    และ ผมเสนอให้พรรคการเมืองต่างๆ ศึกษาระบบรัฐสวัสดิการและการปฎิรูประบบภาษี อย่างจริงจัง อาจถึงขั้นทำวิจัยหาความรู้กันจริงๆ เพื่ออนาคตของประเทศไทย

    ผมไม่อยากเห็นพรรคประชาธิปัตย์ถูกวิจารณ์ว่า ดีแต่ด่าศัตรู แต่เวลาหาเสียงก็ก๊อบปี้นโยบายทักษิณ

    ผมเสนอให้นักวิชาการศึกษาระบบรัฐสวัสดิการเตรียมไว้เลย อีกไม่นานได้ใช้แน่ !!!



    รัฐสวัสดิการ (อังกฤษ Welfare state)

    เป็น ระบบทางสังคมที่รัฐให้ หลักประกันแก่ประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมกันในด้านปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็น สำหรับการมีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น หลักประกันด้านสุขภาพ ทุกคนมีสิทธิ์ได้รับบริการป้องกันและรักษาโรคฟรี หลักประกันด้านการศึกษา ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาตามความสามารถโดยได้รับทุนการศึกษาฟรีจนทำงานได้ ตามความสามารถในการเรียน หลักประกันด้านการว่างงาน รัฐต้องช่วยให้ทุกคนได้งานทำ ใครยังหางานไม่ได้รัฐต้องให้เงินเดือนขั้นต่ำไปพลางก่อน หลักประกันด้านชราภาพ รัฐให้หลักประกันด้านบำนาญสำหรับผู้สูงอายุทุกคน หลักประกันด้านที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกิน เป็นต้น

    ประเทศที่มีระบบรัฐ สวัสดิการจะใช้ระบบการเก็บภาษีแบบก้าวหน้า คือเก็บภาษีจากคนรวยใน % ต่อรายได้สูงกว่าคนจนมาก เก็บจากชนชั้นกลางในระดับพอประมาณ และเก็บจากคนจนน้อยหรือไม่เก็บเลยถ้าจนมาก นอกจากนั้นอาจมีการเก็บเบี้ยประกันสังคมจาก คนที่มีงานทำตามอัตราเงินเดือน เงินที่เก็บได้ทั้งหมดรัฐก็จะนำมาใช้จ่ายสำหรับบริการทางสังคมทั้งหมดในระบบ รัฐสวัสดิการ ระบบนี้จึงเป็นการ เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข คนที่มีรายได้ดีต้องช่วยจ่ายค่าบริการทางสังคมส่วนหนึ่งแก่คนที่ยากจนกว่า

    นอก จากนี้จะเน้นไปที่ภาษีทางตรง คือเก็บจากรายได้ มากกว่าภาษีทางอ้อม เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะอย่างหลังจะถูกบวกในราคาสินค้า รวมถึงสินค้าจำเป็นอุปโภคบริโภค ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม เพราะคนรวยคนจนก็บริโภคสิ่งจำเป็นพอๆกัน ทำให้คนจนเสียภาษีทางอ้อมใน % ที่มากกว่าคนรวย

    *****************************************************

    Credit: http://th.wikipedia.org


    "ระบบนี้จึงเป็นการเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุขคนที่มีรายได้ดีต้องช่วยจ่ายค่าบริการทางสังคมส่วนหนึ่งแก่คนที่ยากจนกว่า"

    ประโยคนี้ก็คือการเอาเงินคนชั้นกลางไปช่วยคนชั้นล่างนั่นแหละ แต่เป็นประโยคที่ผู้เขียนคอลัมน์บอกว่าเป็นการซื้อเสียง

    "หลักประกันด้านสุขภาพ ทุกคนมีสิทธิ์ได้รับบริการป้องกันและรักษาโรคฟรี"
    อันนี้ยิ่งเห็นชัด 30 บาทรักษาทุกโรคมันไม่ใช่รัฐสวัสดิการตรงไหน

    ผมว่าผู้เขียนคอลัมน์อคติทักษิณ และผิดหวังกับพันธมิตรจนเขียนอะไรด้วยความไม่รู้ออกมาเช่นนี้เอง

    จากคุณ : I_Feel_Control - [ 6 พ.ย. 51 12:56:26 A:116.58.231.242 X: ]

    "...งบ ประมาณ แผ่นดินเป็นแสนๆ ล้านจะถูกตำน้ำพริกละลายแม่น้ำแบบไม่มีหูรูด ชนชั้นกลางที่จ่ายภาษีก็จะหงุดหงิด ไม่พอใจที่เงินกู ภาษีกู ถูกรัฐบาลเอาไปใช้หาเสียง..."
    ////////////////////

    คนจนไม่มีเงินได้พอที่จะจ่ายภาษีทางตรงน่ะ ใช่อยู่ แต่ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คิดเป็นสัดส่วนเท่าใดต่อภาษีทางอ้อมอื่นๆ ที่คนจนเกือบร้อยละ 80 ของประชากรทั้งประเทศ จ่ายอยู่ทุกวัน ลองคิดดู ???
    กรุณาอย่าคิดว่าชนชั้นกลางกับชนชั้นสูงจ่ายภาษีอยู่ฝ่ายเดียว

    จากคุณ : ตะเข็บชายแดน - [ 6 พ.ย. 51 13:18:21 A:118.175.220.95 X: ]


    สงสัยว่าผู้เขียนบทความมีความเข้าใจเรื่อง
    1. รัฐสวัสดิการ
    2. ข้อเขียน "ครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอน" ของ อ.ป๋วยมากน้อยเพียงไร ผมข้อตัดข้อความบางส่วนจาก "ครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอน" นะครับ
    ไม่ได้จะเชียร์คุณทักษิณแต่อย่างใด ข้อความในวงเล็บคือสิ่งที่นโยบายที่เทียบกันได้กับของ ทรท.

    ...
    ผม ต้องการไปโรงเรียน พี่สาวหรือน้องสาวผมก็ต้องการไปโรงเรียน จะได้มีความรู้หากินได้ และจะได้รู้คุณธรรมแห่งชีวิต (1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน?)
    ถ้าผมสติปัญญาเรียนชั้นสูงๆ ขึ้นไป ก็ให้มีโอกาสเรียนได้ ไม่ว่าพ่อแม่ผมจะรวยหรือจน จะอยู่ในเมืองหรือชนบทแร้นแค้น (ทุนหวยบนดิน?)
    ...
    ผมก็อยากมีที่ดินของผมพอสมควรสำหรับทำมาหากิน มีช่องทางได้กู้ยืมเงินมาขยายงาน (กองทุนหมู่บ้าน?)
    มีโอกาสรู้วิธีการทำกินแบบใหม่ๆ มีตลาดดี (หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์?)
    และขายสินค้าได้ราคายุติธรรม (การประกันราคาพืชผล?)
    ...
    ผม ต้องการสุขภาพอนามัยอันดี และรัฐบาลจะต้องให้บริการป้องกันโรคแก่ผมฟรีกับบริการการแพทย์ รักษาพยาบาลอย่างถูกอย่างดี เจ็บป่วยเมื่อใดหาหมอพยาบาลได้สะดวก (30 บาทรักษาทุกโรค?)
    ...

    จริงๆ ในข้อเขียนยังมีอีกเยอะ ผมเชื่อว่าหาอ่านได้ไม่ยาก ทุกนโยบายที่กล่าวมาถูกกล่าวหาว่าว่าเป็น "ประชานิยม" ซื้อเสียงทางอ้อม
    คำว่า รัฐสวัสดิการ กับ ประชานิยม มันต่างกันตรงไหน?
    จริงๆ มันก็ต่างนะครับ แต่เส้นแบ่งมันบางมาก แล้วเส้นแบ่งนี้มันก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆตามเวลาด้วย

    นโยบาย ทรท ที่กล่าวถึงก็ไม่ได้มีอะไรใหม่ แค่เอาบางส่วนของ อ.ป๋วย มาทำใส่ชื่อให้ติดหู
    แต่ก็ต้องนับถือที่ทำให้เป็นรูปเป็นร่างได้ (แต่ก็โดนด่าว่า"ประชานิยม"?)

    แล้ว"รัฐสวัสดิการ"จริงๆ ใช้เงินขนาดไหน ทราบไหมครับ?
    ทุึกวันนี้มีัการรั่วไหลของงบประมาณรัฐเยอะมาก สมมติว่าเมื่อมี"รัฐสวัสดิการ"แล้ว ไม่มีการรั่วไหลเลย (ซึ่งเป็นไปไม่ได้)
    ต่อ ให้ขึ้นภา๋ษีทุกประเภท 2 เท่ายังทำไม่ได้เลยครับ ยกเว้นว่าจะทำรัฐสวัสดิการแบบขอไปที(อนาถา) อย่างที่เป็นมา ซึ่งคนที่จ่ายภาษีก็จะไม่ยอมอีก
    ผมสนับสนุนรัฐสวัสดิการนะครับ แต่มันต้องค่อยเป็นค่อยไป

    จากคุณ : Pseudonoise - [ 6 พ.ย. 51 14:17:48 A:24.159.242.106 X: ]


    ตาม ความเห็นของผม สิ่งที่เขาเขียนขึ้นมาน่าจะคล้ายกับ ระบอบคอมมิวนิสต์มากกว่า คือทุกคนเท่าเทียมกัน คนจนทำงานหนักขึ้นเพื่อแลกกับปัจจัยในการดำรงชีวิต พร้อมทั้งสวัสดิการของรัฐ ส่วนกำไรของคนรวยก็เอามาเป็นสวัสดิการ ผมว่าก็ไม่แตกต่างกันเท่าไหร่....

    จากคุณ : jengchai

    ^
    ^
    ไม่ ถึงคอมมิวนิสต์ครับ ความจริงระบอบการปกครองทั้งการเมืองและเศรษฐกิจมันไม่มีขาวกับดำ มันมีสี เทาอ่อน เทาแก่ ด้วย ถ้าผมจะไล่จาก ซ้ายจัด (คอมฯ) ไปถึง ขวาจัด (ทุนนิยมสุดๆ) ก็ได้ดังนี้ครับ

    คอมฯ > สังคมนิยม > รัฐสวัสดิการแก่ (สแกนดิเนเวีย) > รัฐสวัสดิการอ่อน (อังกฤษ) > ทุนนิยมซ้าย (แดโมแครต) > ทุนนิยมขวาจัด (ริพับริกัน) > อนาธิปไตย (ไม่มีรัฐบาล)

    ไม่ใช่ทุนนิยมขวาจัดซึ่งเชื่อว่ารัฐบาลควรมีขนาดเล็ก ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และไม่ควรแทรกแซงเอกชน เก็บภาษีน้อยที่สุด แปรรูปรัฐวิสาหกิจให้หมด ปล่อยคนจนให้สู้กับคนรวยตามระบบตลาด จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะจะเห็นแล้วว่าจะขาดการควบคุมและเกิดปัญหาทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมดัง ที่เกิดขึ้นตอนนี้ คนอเมริกันเลยแกว่งกลับไปเลือก แดโมแครต

    อีกข้อหนึ่ง ส่วนมากเผด็จการทหาร มักจะอยู่คู่กับ ทุนนิยมขวาจัด ดังเช่น ประเทศแถบอเมริกาใต้

    คุณ ใจ อึ้งภากรณ์ และ สหภาพไทรอัมพ์ ครับ สำหรับ รัฐสวัสดิการ ออกรายการ NBT ครั้งเดียว ตัวคนสัมภาษณ์โดนปลดเลย

    ภาษีคงสักประมาณ 40 - 60% แบบประเทศแถบ สแกนดิเนเวีย

    ภาษีดอกเบี้ย กับ ภาษีมรดก มหาศาล

    พวกเด็กรวย หรือ ผู้ดีเก่า อย่าง ซูโม่ตู้, นายอภิสิทธิ์, หรือ ราชนิกูลทั้งหลาย มีปัญหาแน่ๆ

    เหมือนที่คุณวีระเคยบอก กฏหมายประเภทนี้โผ่ลเข้ามาในสภาเมื่อไหร่ ทั้งตัวกฏหมาย ทั้งตัวคนเสนอ จะกลายเป็นอากาศธาตุไปในทันที

    ผม ไม่รู้ว่า ขุนสำราญภักดี รู้เรื่องนี้ดีแค่ไหน หรือจำคำเขามาอีกที แต่แค่นายกมาจากพรรคที่เน้นนโยบายรากหญ้ายังมีการต่อต้านจากอภิสิทธิ์ชนถึง ขนาดนี้ ชั่วชีวิตผมคงไม่ได้เห็นประเทศไทยเป็นรัฐสวัสดิการหรอกครับ

    จากคุณ : Rights of Man - [ 6 พ.ย. 51 14:30:28 A:58.8.221.30 X: ]


    เท่าที่อ่านดูแล้ว ความคิดความอ่านของผู้เขียนก็ไม่ได้ดีเด่อะไร
    ไปทางอคติต่อนโยบายของทักษินเสียด้วย แถมผู้เขียนน่าจะเป็นคนเห็นแก่ตัวและเอาแต่ได้อีกต่างหาก
    ....
    จากบทความข้างต้นนั้นผมขอเดาว่าผู้เขียนน่าจะเป็นคนชั้นกลางผู้เสียภาษีทั่วไป
    ที่ใจแคบไม่สามารถรับได้หากรัฐบาลใดเข้ามาแล้วเอาภาษีที่ตัวเองเสียไปพัฒนาคนอื่น
    ทั้งที่บทความที่ตัวเองเขียนอยู่นั้นก็เรียกร้องให้คนอื่นเสียสละ(คนรวย) แต่กับตัวเองแล้วกลับยอมไม่ได้
    หนำซ้ำยังมีการเสนอการเมืองใหม่แบบไร้รากซึ่งน่าจะใช้ชื่อว่าการเมืองใหม่ไร้ราคาเสียมากกว่า
    เพราะนอกจากจะเป็นการดูถูกคนจน กล่าวหาว่าคนจนเหล่านั้นไม่ทำงานหนักแล้วยังเป็นการเมืองใหม่ที่ไม่ใหม่จริงอีกต่างหาก
    คนอ่านคงจะสับสน ไม่ทราบว่าสวัสดิการที่ผู้เขียนหมายถึงนั้นคืออะไร
    เพราะรัฐบาลทุกรัฐบาลก็พยายามจัดสวัสดิการให้ประชาชนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้อยู่แล้ว
    หรือหากการเมืองใหม่อย่างที่ผู้เขียนเสนอมาดันเกิดขึ้นจริง
    ผู้เขียนก็อาจจะมาเขียนบทความกล่าวหาว่ารัฐบาลนำเงินภาษีของผู้เขียนไปหาเสียงอีกเป็นได้
    เพราะรัฐบาลจะนำเงินมาจากไหนมาจัดสวัสดิการให้ประชาชนหากไม่ใช่เงินภาษีจากทุกคน
    ......
    เพราะฉะนั้นทางออกจึงไม่ใช่การมาเปลี่ยนการเมืองใหม่ทุกครั้งที่มีความขัดแย้ง(หรือมีคนเสียประโยชน์เลยสร้างความขัดแย้ง)
    ทางออกที่แท้จริงคือการยึดกฏหมายเป็นหลัก
    ไม่นอกลู่นอกทาง วิกฤตความขัดแย้งก็ไม่เกิด

    จากคุณ : นายทุน นิยม - [ 6 พ.ย. 51 14:43:26 A:60.240.81.10 X:203.213.7.137 ]


    ถ้า พูดเฉพาะเจาะจงถึงแนวทางที่ผู้เขียนคอลัมน์นี้นำ เสนอ ผมยังไม่ได้เห็นด้วยกับทฤษฎี"รัฐสวัสดิการ"สักเท่าไหร่ แต่อย่างน้อยบทความแบบนี้ก็ยังแสดงให้เห็นว่ายังมีคนมองเห็นทางออกที่ไม่ ต้องอิงความคิดของเสื้อเหลืองหรือเสื้อแดงเป็นหลัก ถ้ามีการระดมความคิดทางสังคมให้มากกว่านี้ทางออกที่ตรงเป้าจริงๆอาจจะเกิด ขึ้นมาก็ได้

    ตลอดมาผมเห็นแต่การอ้างอิงทฤษฎีชี้ผิดชี้ถูกของพวก พันธมิตร แล้วด่าแต่ประชานิยมด้านเดียวในประชาชาติธุรกิจ นอกจากความเห็นของดร.วีระพงษ์แล้วก็ไม่มีบทความอะไรที่ชี้ทางใหม่ๆให้สังคม ขบคิดเลย

    ถ้าเครือมติชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชาติธุรกิจ พยายามเปิดช่องให้เกิดการระดมความคิดแนวทางอื่นๆบ้าง อย่างที่ผู้เขียนบทความนี้แสดงออก สังคมไทยก็อาจจะมีตัวเลือกที่ไม่ต้องลำบากใจที่จะแสดงความเห็นชอบสนับสนุน เพราะกลัวจะถูกต้อนไปเข้ากลุ่มเสื้อเหลืองหรือเสื้อแดงโดยที่ตนเองไม่เต็มใจ

    หมู่ นี้ผมได้อ่านอะไรๆที่ดีๆจากนสพ.ฉบับนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้จะยังมีบทความประเภทหลับหูหลับตาด่าคนต่อต้านพันธมิตรอยู่บ้าง อย่างเช่นบทความของ ทวี มีเงินเป็นต้น แต่ความเสียดายเงินที่ซื้ออ่านเริ่มลดลงแล้วครับ

    ด้านที่ผมเห็นด้วยกับแนวรัฐสวัสดิการ ก็คือการสร้างหลักประกันชีวิตให้กับคนส่วนใหญ่ในสังคมอย่างค่อนข้างทั่วถึงและได้ผล

    ด้าน ที่ผมไม่ค่อยเห็นด้วย คือหากผู้บริหารประเทศใช้นโยบายนี้โดยไม่ควบคู่ไปกับการกระตุ้นให้เกิดการ แข่งขันไปด้วย ประเทศไทยจะเป็นสังคมของการ"แบมือรอรับ"ครับ หลักประกันชีวิต-ความเป็นธรรมต้องเดินหน้าไปพร้อมกับการพัฒนาด้วย

    สิ่ง ที่น่าคิดมากกว่าในสายตาของผมคือ แล้วเรามีโอกาสจะเลือกคนที่มีฝีมือพอจะมาเดินนโยบายแบบนี้อย่างสมดุลได้หรือ ไม่ เพราะกำลังมีกลุ่มคนที่กำลังพยายามสถาปนาระบบการปกครองที่ใช้วิธีเชิดหุ่น กระบอกขึ้นมาเป็นผู้นำภายใต้"เปลือก"ที่ฉาบเอาไว้ว่า"การเลือกสรร"

    ผม มีความเห็นคล้ายๆกับหลายท่านว่าผู้ที่เขียนบทความ นี้อาจจะไม่ค่อยชัดเจนเรื่องรัฐสวัสดิการสักเท่าไหร่ เพราะถ้าอ่านอย่างพินิจพิเคราะห์ผู้เขียนก็ชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่าง นโยบายประชานิยมซื้อเสียงรากหญ้าของไทยรักไทยกับรัฐสวัสดิการที่เขายกขึ้นมา พูดไม่ได้เหมือนกัน เนื้อหาของบทความนี้จึงดูจะคลุมๆเครือๆ

    แต่ผมก็ ยังดีใจที่เขาพยายามจะแหวกกระแสเสื้อเหลือง-เสื้อแดงที่ครอบงำความรู้สึก สังคมจนดูเหมือนจะไร้ทางออก ผมพยายามอ่านบทความนี้หลายรอบแล้ว คิดว่าอย่างน้อยที่สุดเขาก็ไม่ได้มองว่าพันธมิตรดีกว่าอีกฝ่ายหนึ่งหรอกครับ

    เริ่ม จากบทความนี้ แล้วไปบวกกับบทความที่เปิดโปงปัญหาภาษีเงินบริจาคของกลุ่มพันธมิตรในฉบับ เดียวกัน ก็น่าจะเป็นสัญญาณได้ว่าต่อไปนี้พวกพันธมิตรในสายตาสื่อ"บางสำนัก" ไม่สามารถจะ"ชี้นกเป็นนกชี้ไม้เป็นไม้"ได้อีกต่อไป

    ยิ่งการเกิดแนว ความคิดที่แตกต่างเป็นขั้วใหม่มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเกิดทางเลือกทางความคิดครับ ถ้ากระแสการช่วยกันระดมความคิดโดยไม่เน้นไปที่ความขัดแย้งถูกจุดติดขึ้นมา ได้ ผมว่ายิ่งเป็นการละลายความแตกแยกให้เจือจางลงได้ครับ

    จากคุณ : สัมมาชน - [ 6 พ.ย. 51 15:04:23 A:124.120.7.230 X: ]
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×