ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมบทความการเมือง

    ลำดับตอนที่ #166 : แค่ฟ้องรัฐบริหารจัดการน้ำผิดพลาดไม่เพียงพอ ต้องเก็บภาษี “ผู้ไม่ยอมเปียก”

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 127
      0
      6 พ.ย. 55

    ประชา แม่จัน, pracha_meachun@yahoo.com

    การเรียกร้องให้ฟ้องรัฐบริหารจัดการน้ำผิดพลาดของ ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ โดยตั้งประเด็นฟ้องร้องรัฐไว้ 5 กรณี 1.กรณีความเสียหายทางปกครอง 2.กรณีประมาทเลินเล่อ 3.กรณีไม่ปฏิบัติหน้าที่ที่ควรปฏิบัติ 4.กรณีความเสียโอกาส อาทิ ทำให้ผู้มีรายได้แต่ต้องเสียโอกาสทางรายได้และ 5.กรณีความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน นี่เป็นเรื่องที่ดี แต่ทว่าจะครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากผลของน้ำท่วมทั้งหมดหรือไม่

    เนื่องจากน้ำท่วมที่เกิดขึ้นนั้นมีการปกป้องพื้นที่ไม่ให้น้ำท่วม หรือลดผลกระทบของน้ำท่วม เช่น ปกป้องพื้นที่กรุงเทพมหานคร การเร่งฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรมในอยุธยาและปทุมธานี โดยลดการระบายน้ำฝั่งตะวันออกเจ้าพระยา เช่น ระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำมโนรมย์เพียง 3.5 ล้าน ลบ.ม. ปิดประตูเขื่อนพระรามหก ขณะที่น้ำในอยุธยาตอนล่างลดลง จนใกล้จะฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรมที่ถูกน้ำท่วมได้ แต่ระบายน้ำมาฝั่งตะวันตกเจ้าพระยามากขึ้น ทั้งจากแม่น้ำน้อยและอยุธยาตะวันตก ทำให้นนทบุรีฝั่งตะวันตกมีระดับน้ำสูง คาดว่าไม่น้อยกว่า 1 เดือนจึงจะมีโอกาสลดระดับลง ถึงแม้จะมีการลดการระบายน้ำลงแม่น้ำท่าจีนจากประตูระบายน้ำพลเทพและคลองมะขามเฒ่า จาก 60 ล้าน ลบ.ม. ลงหรือ 15 ล้าน ลบ.ม.ก็ตาม

    ในส่วนกรุงเทพฯ มีการเร่งซ่อมแซมประตูระบายน้ำ พนังกั้นน้ำ ของคลองระพีพัฒน์ตะวันตก คลองรังสิต รวมถึงการวางบิ๊กแบกด้านคลองรังสิต จนทำให้สามารถควบคุมน้ำไม่ให้ไหลเข้ากรุงเทพฯ เพิ่มเติม กรุงเทพมหานครสามารถระบายน้ำออกได้ จนทำให้ระดับในหลายพื้นลดลง

    เราจะเห็นได้ว่าการปฏิบัติมีการจำแนก ระหว่างทั้งการปกป้องกันน้ำท่วมบางพื้นที่ การเลือกพื้นที่ในการระบาย จึงมีความไม่เป็นธรรม ซึ่งข้อเรียกร้อง ณรงค์ ไม่ได้ครอบคลุมความไม่เป็นธรรมนี้ ขณะเดียวกันได้ละเลยต่อผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการป้องกันน้ำ

    เราควรจะถือหลัก “ผู้ได้ประโยชน์จากการป้องกันท่วม ต้องจ่ายให้กับผู้เสียประโยชน์จากน้ำท่วม” เพราะการเรียกร้องภาครัฐเป็นผู้จ่าย แน่นอนการจ่ายย่อมมาจากภาษี ซึ่งมาจากผู้ได้ประโยชน์ ผู้เสียประโยชน์จากน้ำท่วม และผู้ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียจากน้ำท่วม ดังนั้น ผู้ได้ประโยชน์ไม่ได้จ่ายเต็มที่ แต่ผลักภาระให้ผู้อื่นด้วย สิ่งที่ควรจะดำเนินการคือ การเก็บภาษีปกป้องน้ำท่วม เพื่อนำมาใช้จ่ายในการรับมือน้ำท่วม ชดเชยผู้เสียหาย เพื่อไม่ได้ทำให้เกิดสภาพ “free rider”

    การเรียกร้องให้เก็บภาษีป้องกันน้ำท่วมนั้นเคยเกิดขึ้น เมื่อ พลตรีจำลอง ศรีเมือง ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แต่ถูกคัดค้านจนเรื่องตกไป อย่างไรก็ตาม แนวคิดนี้ยังไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดว่าจะชดเชยให้กับผู้เสียหายอย่างไร เรื่องนี้นำมากลับพิจารณาใหม่

    การจัดภาษีสำหรับ “ผู้ไม่ยอมเปียก” สามารถพิจารณาได้จากมูลค่าสินทรัพย์ ประโยชน์ใช้สอย ความเสี่ยงต่อน้ำท่วม และระดับการป้องกัน เช่น สยามพารากอน อาจจะจัดเก็บตารางเมตรละ 1,000 บาทต่อปี แต่แฟชัน ไอร์แลนด์ อาจจะจัดเก็บตารางเมตรละ 300 บาทต่อปี ส่วนอาคารสูงที่อยู่อาศัยก็จัดเก็บลดหลั่นลงไปจนบ้านอยู่อาศัยทั่วไป

    ภาษีนี้สามารถใช้ในการชดเชยเมื่อเกิดน้ำท่วม ใช้ปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้ผู้อยู่นอกพื้นที่ปรับปรุงให้สามารถลดกระทบจากน้ำท่วม ใช้เป็นค่าบ้านเช่าเมื่อเกิดน้ำท่วมและไม่สามารถใช้ชีวิตปกติได้ เป็นต้น

    การจัดเก็บภาษีนี้ ควรจะให้ความเป็นธรรมกับผู้มีส่วนได้เสียกับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม มากกว่าข้อเสนอให้เรียกให้ฟ้องรัฐ เพราะค่าชดเชยที่ผู้เสียได้รับก็มาจากภาษีของตัวเองและผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย

    การเก็บภาษี “ผู้ไม่ยอมเปียก” ควรจะเป็นทางออกที่ดี เพราะการป้องกันน้ำท่วมยังคงต้องมีต่อไป มีผู้ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ รวมทั้ง มีความเป็นธรรมกับผู้เสียภาษีทั้งหมดด้วย

    ที่มา : ประชาไท


    นิคมอุตสาหกรรมและผู้ไม่เปียกควรเป็นผู้จ่ายภาษีน้ำท่วม

    โดย RedSurat
    17 พฤศจิกายน 2554

    โรงงานเหล่านี้บริโภคน้ำมากกว่าชาวบ้านในยามน้ำน้อย แต่เวลาน้ำมามากกลับไม่ยอมรับน้ำเลย ปิดกั้นสารพัดวิธี

    การยินยอมให้น้ำท่วมแผ่ไพศาล เพียงเพื่อปกป้องนิคมอุตสาหกรรม ควรออกกฎหมายให้นิคมอุตสาหกรรม เหตุเกิดความเสียหายให้กับชาวบ้านที่ไม่ได้ก่อ เป็นผู้จ่ายภาษีน้ำท่วมแทนรัฐ

    สาเหตุที่น้ำท่วมแผ่ไพศาลไปทั่วภาคกลางและ กทม. เพียงเพราะต้องการปกป้องนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของทุนต่างชาติ มาตั้งฐานผลิตที่ได้รับสิทธิพิเศษมากมาย โดยมีนักการเมืองไม่น้อย ทั้งรัฐมนตรี ส.ส. ส.ท. ส.จ. ทั้งฝ่ายรัฐบาลฝ่ายค้าน ถือหุ้นอยู่ด้วย

    ยินยอมปิด กัก กั้น ทางเดินน้ำธรรมชาติ ด้วยสารพัดถุงยาง ถุงกระสอบ หิน ดิน ทราย ไม่ให้น้ำลงที่ต่ำกว่า ที่ต้องการกลับบ้าน กลับลงทะเล โดยทางกลับบ้านของน้ำถูกปิดกั้น ถูกถมสร้างนิคมอุตสาหกรรมต่างๆมากมาย รวมทั้งสนามบิน หมู่บ้าน เคหะสถานที่ทับถมรางน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำหรือแก้มลิง

    ไทยเป็นเพียงฐานผลิตของทุนต่างชาติ โดยมีทิ้งมลภาวะไว้มากมาย หลังน้ำลดครั้งนี้จะมีผู้ป่วยเรื้อรังมากมายในโรงพยาบาลต่างๆ

    ทั้งรัฐบาล กทม. กรมชลฯ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ต่างโป้ปดมดเท็จข้อมูลที่แท้จริงของตนเอง

    อย่าง ผอ.เขื่อนบางแห่งบอกว่า น้ำในเขื่อนมีมากเกินกว่า 100 % ของการเก็บ จำเป็นต้องปล่อยน้ำลงท้ายเขื่อน แต่การปล่อยน้ำจะไม่กระทบพื้นที่ด้านล่าง ฟังดูแล้ว กังขาเป็นยิ่งนัก การบริหารจัดการน้ำที่ขาดประสิทธิภาพ พยากรณ์คาดเคลื่อนก็เป็นต้นเหตุให้น้ำท่วมใหญ่แล

    ในสามก๊ก และตำราพิชัยสงครามซุนวู การใช้น้ำขับไล่ศัตรู ขับไล่รัฐบาล เป็นศาสตร์อมตะที่น่าสนใจ

    ส่วนใน กทม. ก็มีแต่ประตูระบายน้ำทุกคูคลอง ไม่รู้สร้างทำพระแสงอะไรมากมาย น้ำทุกพื้นทุกคลอง ต้องสูบเข้า ต้องสูบออก เทกันไปเทกันมา เวียนอยู่ปริมณฑลนานนับเดือน

    การสร้างคลองขุด ที่มีระดับสองปลายน้ำต่างระดับ ฝืนธรรมชาติคนละลุ่มน้ำต่างระดับน้ำข้ามไม่ได้ จึงต้องใช้วิธีสูบออก คลองขุดกลายเป็นตัวเชื่อมให้มวลน้ำแผ่กระจายกว้างขึ้น 

    ที่รังสิต ปทุมธานี และที่ อ. หาดใหญ่ สงขลา เป็นตัวอย่างได้ดี ยิ่งมีคลองขุดมาก น้ำยิ่งท่วมแผ่พื้นที่กว้างมากขึ้นในฤดูน้ำหลาก

    น้ำ มันมีอณูเล็ก แต่ยิ่งใหญ่ เมื่อรวมตัวกัน มันมีน้ำหนัก มันมีมวลพลังมหาศาล ที่จะเล็ดลอด แทรกซึม ทะลวง ทั้งบนดิน ใต้ดิน คูเมือง ไปได้ทั่ว ควบคุมยากหากการจัดการพลังน้ำไม่ดี ตั้งแต่เขื่อนที่ปิดต้นน้ำจนถึงปากน้ำปลายทะเล

    การลงทุนทำบิ๊กแบ็กกระสอบยักษ์หลายร้อยล้านบาท ยาวหลายสิบกิโลเมตร เมื่อดูภาพจากที่สูงจะเห็นว่า น้ำทั้งสองข้างมีความสูงเท่ากัน บางจุดต่างระดับกันเพียงเล็กน้อย ภาพมันฟ้อง แต่พวกได้งบนี้บอกว่า ได้ผล? มันผลาญงบกันได้ขนาดนี้ และยังฝืนธรรมชาติและชลอการกลับบ้านของน้ำ

    ทั้งนายกฯและรัฐมนตรีมีแต่วาทะร้อนรน ตั้งงบประมาณสูงมหาศาลจะเร่งกอบกู้ และฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรม โดยเฉพาะของทุนต่างชาติอย่างกะเป็นไข่แดงเป็นสมบัติของครอบครัวตนเอง

    ทั้งๆที่ประเทศไทยไม่มีรถยนต์ รถมอเตอร์ไซด์ ทีวี เมนบอร์ด ซีพียู เครื่องจักรกลหนัก ที่เป็นแบรนด์แนมของคนไทยเองสักยี่ห้อในนิคมอุตสาหกรรมทุกแห่งในประเทศไทย ที่ตั้งบนพื้นที่แก้มลิง บนทางน้ำผ่าน ทางน้ำไหลกลับบ้านของน้ำ

    มวลชนมหาศาล วันนี้บอบซ้ำมากที่สุด ถูกทอดทิ้ง ถูกทรยศ ไม่มีใครพูดถึง และการฟื้นฟูพื้นที่เกษตรอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน มีแต่การพูดให้เสียสละให้ยอมถูกน้ำท่วมยาวนาน เพื่อเพียงปกป้องนิคมอุตสาหกรรม

    ผืนนาพัง ข้าวแพงทุกครัวเรือนได้รับผลกระทบวันละ 3 เวลา แต่รถยนต์ ฮาร์ดดิสก์ไม่ได้ส่งออกสักพัก ทุนต่างชาติไม่ถึงกับเจ๊งหรอก

    ประเทศที่อยากเป็นนิกส์ แต่ผลิตเองไม่ได้ แม้แต่ฮาร์ดดิสก์สักลูก ล้วนพิมพ์เขียว ล้วนเทคโนโลยีของทุนต่างชาติที่โกยกำไรมหาศาลในแต่ละปี กำไรกลับสู่บริษัทแม่ รัฐบาลดันทะลึ่งเอารายได้เหล่านี้เป็น จีดีพี ของชาติด้วย

    คนไทย.....ขายแรงงานราคาถูก ถ้าเอาเวลาที่อยู่ในโรงงานวันละ 10 ชั่วโมง ไปทำไร่ทำนาทำสวน ขยันทำแบบอยู่ในโรงงาน หยุดเฉพาะพักเที่ยงวันละ 1 ชั่วโมง อยู่ในท้องถิ่นตนเอง รายได้ก็คงไม่น้อยกว่าการขายแรงในโรงงาน

    การมีโรงงานมากไม่ใช่สิ่งผิด แต่เกาหลีใต้ ไต้หวัน จีน อินเดีย ให้ทุนต่างชาติมาตั้งฐานผลิต แล้วซึมซับเทคโนโลยีเหล่านั้นมาผลิตได้เองเป็นเจ้าของสินค้าเองร้อยเปอร์เซ็นต์ได้มากมายหลายยี่ห้อ

    แต่เมืองไทยไม่ใช่ ไม่เป็นเช่นนั้น

    เมืองไทยซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงนำเข้ามีมูลค่าสูงกว่ารายได้ของการส่งออกทั้ง ข้าว ปาล์ม ยางพารา มันสำปะหลังรวมกัน รัฐไม่มีมาตรการการควบคุมปริมาณรถยนต์บนท้องถนน กลับมีมาตรการส่งเสริมให้มีมากขึ้น มาตรการลดการใช้ทรัพยากรฟุ่มเฟืออย เช่น ภาชนะที่ใส่ในการบริโภคอาหารก็มีเพียงงานประชาสัมพันธ์เท่านั้น

    ทุนนิยมสามานย์และอำมาตย์ล้าหลัง เป็นคนละเรื่องเดียวกัน

    หน่วยงานหลักไม่มีประสิทธิภาพ มีหน่วยงานซ้ำซ้อนเปลืองงบประมาณมากมาย

    สถาบันครอบครัวล้มเหลว ยาเสพติด อาวุธสงคราม โจรลักเล็กขโมยน้อย บ่อนการพนันฟุตบอล ตั้งเปิดเผยเต็มบ้านเต็มเมือง

    เมืองไทยเป็นเมืองเดียวในโลกที่มีการรณรงค์ให้คนรักชาติวันละ 2 เวลา

    เรื่องเขตแดนกับเพื่อนบ้านเป็นเรื่องสมมุติของชาติใหม่เมื่อสองร้อยปีมานี้เอง โดยทั้งสองฝั่งแดนล้วนเป็นคนชาติพันธุ์เดียวกันทั้งด้านวัฒนธรรม ภาษา อักษร เวลาเพียงสองร้อยกว่าปีหลอมให้เกิดความรู้สึกชาตินิยมขึ้นมาภายในเขตแดนตน

    คนไทยที่ภูมิใจที่ไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใครดูถูกชาติที่เคยเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติ แต่ปัจจุบันชาติเหล่านั้นมาซื้อกิจการของคนไทย ตั้งแต่ ที่ดิน ธนาคาร สถาบันการเงิน บริษัทประกัน การค้าปลีกถูกครองงำเกือบหมดแล้ว

    เอกราชบนความภูมิใจของทาส!

    ที่มา : Thai E-News
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×