ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมบทความการเมือง

    ลำดับตอนที่ #130 : คนไทยไม่ไว้ใจผู้ไร้การศึกษาอย่างชนิดฝังหัว

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 486
      0
      12 มี.ค. 53

     Thais’ Distrust of the Uneducated Runs Deep
    March 2, 2010
    ที่มา – TumblerBlog
    แปลและเรียบเรียง – แชพเตอร์ ๑๑

    คุณคิดหรือว่า ความแตกแยกทางการเมืองระหว่างชนชั้นกลางชาวเมืองหลวง และชาวบ้านนอกในประเทศไทยนี้จะเป็นแค่ปรากฏการณ์ธรรมดาๆ คุณยังคิดหรือว่าข้อเสนอของฝ่ายพันธมิตรที่ถอยสูตรดัง ๗๐-๓๐ เป็นกระบวนการชั้นปราบเซียนของชาวเมืองหลวง ที่จะปฏิเสธ ”ผู้ไร้การศึกษา” ซึ่งชื่นชอบทักษิณ ลองคิดใหม่ได้นะ

    หนังสือชื่อเรื่องว่า “ชาวเอเชียตะวันออกมองประชาธิปไตยเป็นอย่างไร” วางแผงในปี ๒๕๕๑ เขียนโดย ชู และคนอื่นๆ ฝ่ายบรรณาธิการได้รวบรวมผลการสำรวจขั้นพื้นฐานจากหลายประเทศในแถบเอเชีย ในหัวข้อเกี่ยวกับท่าทีของคนที่มีต่อคุณค่าของประชาธิปไตย ผลจากการสำรวจทั้งหมดแสดงในหนังสือเล่มนี้ แต่เรื่องเตะตาผมเป็นพิเศษคือคำตอบของคำถามในข้อนี้

    “คุณเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย: ผู้มีการศึกษาน้อย หรือไร้การศึกษา ควรมีสิทธิออกเสียงในทางการเมืองเทียบเท่ากับผู้มีการศึกษาสูง”

    คำตอบได้รวบรวมและแยกเป็นแต่ละประเทศ ตามตารางข้างล่างนี้ ตัวเลขแสดงให้เห็นจำนวนความเห็นด้วยกับคำถามข้างบนนี้

    ญี่ปุ่น เห็นด้วยร้อยละ ๙๐.๓

    ฮ่องกง เห็นด้วยร้อยละ ๙๐.๑

    เกาหลี เห็นด้วยร้อยละ ๗๒.๒

    ไต้หวัน เห็นด้วยร้อยละ ๙๐.๒

    จีน เห็นด้วยร้อยละ ๙๑.๖

    ฟิลิปปินส์ เห็นด้วยร้อยละ ๕๕.๔

    มองโกเลีย เห็นด้วยร้อยละ ๘๓.๐

    ไทย เห็นด้วยร้อยละ ๑๕.๐


    ใช่แล้ว คุณอ่านไม่ผิดหรอก คนไทยเพียงร้อยละ ๑๕ ที่เห็นด้วยกับคำถามที่ว่า ผู้มีการศึกษาน้อย หรือไร้การศึกษา ควรมีสิทธิออกเสียงในทางการเมืองเทียบเท่ากับผู้มีการศึกษาสูง นับเป็นเรื่องที่น่าสนใจคือ ตัวเลขไม่เพียงแต่ออกมาต่ำจนน่าใจหาย แต่เป็นการแสดงให้เห็นถึงความจริงที่ว่า นี่เป็นคำตอบที่ได้มาจากการใช้วิธีสุ่มตัวอย่าง โดยเลือกผู้ตอบคำถามที่หลากหลายพอที่จะไม่สร้างความลำเอียงให้กับทั้งกับชาวเมืองหลวง และชาวชนบท ที่สำคัญที่สุด ในส่วนที่เกี่ยวกับประเทศไทยนั้น เป็นการสำรวจย้อนหลังไปในปี ๒๕๔๔ ในช่วงที่ทักษิณเป็นวีรบุรุษอย่างแท้จริงสำหรับคนกรุงเทพที่เป็นชนชั้นกลาง และกำลังหมดความอดทนกับรัฐบาลประชาธิปัตย์ในสมัยนั้น เวลานั้นยังไม่มีใครออกมาร้องแรกแหกกระเชอว่า ชาวชนบทนั่นงี่เง่าแต่อย่างไร

    ดังนั้น ความหมายที่แท้จริงคืออะไรล่ะ ผมกล่าวได้ว่า หนึ่งในข้อสรุปอย่างมีเหตุผลของผลการสำรวจนี้คือ คนไทยไม่ว่าจะมาจากเมืองหลวง หรือจากชนบท มีแนวโน้มที่จะให้ราคาการศึกษามากเกินไป โดยเชื่อว่า คนที่มีปริญญานั้นมีความสามารถสูงส่งที่จะแก้ไขปัญหาทางการเมือง ผู้อ่านอาจจะยังจำได้ถึงมาตราที่อื้อฉาวในกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๔๐ ซึ่งกำหนดคุณสมบัติของ ส.ส. ว่า ต้องจบการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็นอย่างต่ำ ผลการสำรวจยังแสดงให้เห็นอีกว่า ความไม่ไว้ใจผู้ไร้การศึกษานั้น เป็นส่วนหนึ่งของกรอบความคิดของคนไทยซึ่งฝังหัวมานานก่อนยุคทักษิณเสียด้วยซ้ำ แม้จะมีการถกเถียงกันว่าเพราะทักษิณที่ผงาดขึ้นมามีอำนาจต่างหาก ที่ทำให้เห็นชัดเจนขึ้น

    แน่ล่ะ ปัญหาอาจจะมาจากวิธีการตั้งคำถามก็ได้ อย่างคำว่า “มีสิทธิออกเสียงในทางการเมืองเทียบเท่า” อาจจะทำให้ผู้ตอบตีความไปว่า “มีสิทธิที่จะป้อนความเห็นอย่างเท่าเทียม” หรือ ”มีความสำคัญในการออกนโยบายต่างๆอย่างเท่าเทียม” มากกว่าที่จะมีความหมายเป็นรูปธรรมอย่าง “มีสิทธิเท่าเทียมในทางการเมือง” (ซึ่งการเสนอสูตร ๗๐-๓๐ ของพันธมิตรแสดงอย่างชัดว่า มีเป้าหมายเพื่อทำลายสิทธินี้) แต่นั่นก็ไม่ได้เปลี่ยนความจริงที่ว่า การศึกษา (หรือพูดอย่างชัดๆลงไปว่า ปริญญาบัตร) มีส่วนสำคัญโดยใช่เหตุในการตัดสินความเป็นคนคนหนึ่งของคนไทยโดยส่วนใหญ่

    เมื่อคุณจบปริญญาเอกมาจากเมืองนอก เชื่อขนมกินได้เลยว่า ชีวิตนี้ทั้งชีวิตของคุณใน “ดินแดนแห่งรอยยิ้ม” นี้ จะได้รับแต่ความเบิกบาน และความสมหวัง

    ที่มา liberalthai.wordpress.com
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×