ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมบทความการเมือง

    ลำดับตอนที่ #124 : สังคมไทยคงจะเจริญกว่านี้ ถ้าเราเลิกพร่ำเพ้อถึงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์กันได้ซะที

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.13K
      2
      28 ม.ค. 53

     ที่มา บอร์ดฟ้าเดียวกัน

    เมื่อ ช่วงต้นปีผมได้รับหนังสือเล่มหนึ่งเป็นของขวัญปีใหม่ นั่นคือวารสารศิลปศาสตร์ ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑ ในนั้นมีบทความเรื่อง "ความล่มสลายของการศึกษาไทย: จากรากหญ้าสู่รากฝอย" ของ วรินทร วูวงศ์ อาจารย์ภาคญี่ปุ่น คณะศิลปฯ ธรรมศาสตร์ เป็นบทความที่วิจารณ์ระบบการศึกษาไทยอย่างไม่ปรานีปราศรัย มีข้อความอยู่ตอนหนึ่งที่อ่านแล้วกระทบใจจนเป็นที่มาของบทความนี้ ดังว่า

    "เมื่อ ดูสิ่งที่ติดในห้องเรียนจะพบว่าโรงเรียนตะวันตกหล่อ หลอมเด็กด้วยสิทธิและหน้าที่ โรงเรียนญี่ปุ่นหล่อหลอมเด็กด้วยเป้าหมาย ทั้งสองโรงเรียนมีจุดร่วมกันคือ การหล่อหลอมเด็กอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อให้รู้จักการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นใน สังคม ในขณะที่โรงเรียนไทยหล่อหลอมเด็กด้วยรูปชาติ รูปศาสนา รูปพระมหากษัตริย์..."

    ไม่เพียงข้อเท็จจริงนี้จะกระทบใจอย่าง รุนแรงเท่านั้น หากเมื่อได้อ่านทบทวนดีๆ และคิดย้อนต้นไปพิจารณาความเป็นจริงของสังคมไทยแล้ว ก็จะพบความน่าสลดสังเวชน่าสิ้นหวังของสังคม ซึ่งทำให้ผมทั้งอึ้ง จุก โกรธแค้น "ความเป็นไป" ของสังคมนี้อย่างยิ่ง

    ผมอยากจะเรียกสภาพที่จะพูดถึงต่อไปนี้ว่าเป็น "ความว่างเปล่าใต้ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์" สามสิ่งนี้เป็นรูปลักษณ์ของวาทกรรม/อุดมการณ์บางอย่างที่ฝังตัวอยู่ในสังคม ไทย ซึ่งมันผูกมัดวิธีคิดวิถีปฏิบัติของคนไทยไว้อย่างไร้แก่นสารยิ่ง เราจะพบว่าสังคม (โดยเฉพาะในโรงเรียน) พยายามที่จะปลูกฝังสำนึกแห่งการเชิดชูเจ้าสามสิ่งนี้อย่างเข้มข้น ราวกับว่ามันคือจุดหมายสูงสุดของสังคม เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง ขาดไม่ได้ในสังคมไทย แต่เมื่อกระชากหน้ากากที่ปิดบังความว่างเปล่านั้นออก เราก็จะพบว่ามันกลวงโบ๋ ไม่เชื่อมโยงอะไรกับชีวิตทางสังคม และยิ่งไม่ให้อะไรเลยกับการพัฒนาประเทศ

    เพราะอะไรเล่าประเทศที่เชิด ชูชาติและสถาบันของชาติอย่างเกร่อล้นกลับไม่ พัฒนาไปไหนสักที ก็เพราะเราพูดถึงชาติ ความรักชาติ ในบริบทของความล้าหลัง เมื่อพูดถึงชาติจะพบชุดปริจเฉท (Discourse) ที่ซ้ำซากคาดเดาได้ เช่น ตายเพื่อชาติ ไปเป็นทหาร บรรพบุรุษของเราแต่โบราณ และภาพลักษณ์ที่นึกถึงก็คือพระนเรศวร พระเจ้าตาก สุริโยไท พม่า ขี่ช้างไปรบ บลาๆ นี่คืออุดมการณ์ที่สร้างให้ชาติเป็น Imagined Community อันแสนศักดิ์สิทธิ์ แต่ช่างเลื่อนลอย กลวงโบ๋ ไม่เชื่อมโยงอะไรกับสังคมและการกระทำในสังคมได้เลย เราพร่ำพูดเรื่องชาติ แต่สังคมที่ดีงามกลับไม่มีตัวตน เราพูดเรื่องตายเพื่อชาติ แต่ไม่พูดถึงการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ การเคารพสิทธิกันและกัน การรู้จักหน้าที่พลเมือง ตายเพื่อชาติได้ แต่ทิ้งขยะลงถังไม่ได้ เคารพกฎหมายไม่เป็น เราพูดถึงชาติเพื่อสร้างความเป็นหนึ่งเดียว แต่ความเป็นหนึ่งเดียวจะเกิดไม่ได้ถ้าไม่มีพม่า มีสิงคโปร์ มีเวียดนาม มีฝรั่งมาเป็นคู่แย้ง พออยู่ร่วมกันในสังคมก็แบ่งแยก กดขี่ เอาเปรียบกันในทุกชนชั้น เคารพกันที่อำนาจ มองอำนาจเป็น Absolute Right ถ้ามีอำนาจสูงกว่าจะทำเลวทรามต่อคนที่ด้อยกว่าอย่างไรก็ได้โดยไม่ผิด

    เมื่อ พูดถึงศาสนาอันเป็นหนึ่งในตรีเอกานุภาพแห่งความว่างเปล่านี้ เราจะพบว่ามันถูกทำให้เป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ เน้นพิธีการ และมีลักษณะที่เชิดชูพุทธศาสนาในเชิงการสร้างเอกลักษณ์ แต่ศักยภาพของศาสนาที่เป็นเครื่องมือในการประสานสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่าง สงบสุขกลับถูกปลูกฝังอย่างแกนๆ ศาสนากลับเป็นเรื่องของรูปพระพุทธรูป พระพุทธเจ้าเดินได้ ๗ ก้าวตอนเกิด มาฆบูชา วิสาขบูชา อาสาฬหบูชา สังคมไทยภูมิใจในศาสนาพุทธมาก แต่เราก็แกล้งขยิบตาให้กันเสมอๆ เมื่อต้องการทำเรื่องผิดศีลธรรม มโนธรรม ศาสนากลายเป็นเครื่องมือในการเอาตัวรอดของปัจเจกในระบบทุน เช่น ไปวัดขอพรให้รวย ทำบุญเพื่อจะได้ไม่ตกยาก ฯลฯ ผมนึกประหลาดใจอยู่เหมือนกัน ว่าทำไมสถาบันศาสนาที่ปลูกฝังกันตั้งแต่โรงเรียน แต่กลับมีอิทธิพลในเชิงวิถีชีวิตน้อยมาก ศีลธรรมกลายเป็นเครื่องมือของพวกผู้ปกครองและศักดินา เกิดความลักลั่นในเชิงคุณค่าเต็มไปหมด และในสังคมที่อวดอ้างการเป็น "พุทธประเทศ" ใยจึงไม่ปรากฏการผูกโยงและจัดโครงสร้างทางสังคมที่ดีจริงด้วยศาสนาเลย หรือว่าสถาบันศาสนาของไทย เมื่อก้าวไปสู่การธำรงสังคมแล้ว มันก็ล้มเหลวไม่ต่างจากสถาบัน/อุดมการณ์เรื่องชาติเลยแม้แต่น้อย

    สุด ท้ายคือพระมหากษัตริย์ ในปัจจุบันเป็นวาทกรรม/อุดมการณ์ที่ถูกผลิตซ้ำอย่างมโหฬาร เข้มข้น ท่วมล้นไปทุกอณูของสังคม และก็อีกเช่นกัน สถาบันการศึกษาก็เป็นตัวจักรสำคัญในการปลูกฝังอุดมการณ์อันแสนจะจำเป็นต่อ การเป็นคนไทยนี้อย่างเข้มแข็งและแข็งขัน แต่หากเราพิจารณาให้ลึกซึ้งด้วยเป้าหมายและแก่นสารแล้วก็จะพบความว่างเปล่า ของอุดมการณ์นี้ สังคมไทยกำหนดให้สถานบันกษัตริย์เป็นเป้าหมายของสังคมโดยที่ไม่พินิจเลยว่า เป้าหมายนั้นไม่ได้ตอบสนองต่อการดำรงอยู่ของบุคคลในสังคมเลย ทำไมไม่ลองถามว่าเรา "บ้าคลั่ง" กับการเทิดทูนบูชาไปเพื่ออะไร มันสัมพันธ์กับความสงบสุข ความก้าวหน้าของสังคมอย่างไร ถ้าไม่มีความจงรักภักดีเราจะมีชีวิตอยู่ไม่ได้หรือ อุดมการณ์นี้ก็เช่นเดียวกับชาติ คือเป็นสิ่งที่ว่างเปล่า แต่ถูกทำให้เป็นเป้าหมายอันสูงสุด หากคุณเกิดมาแล้วได้เทิดทูนสถาบันกษัตริย์คุณก็ไม่เสียชาติเกิดและได้ทำ หน้าที่ที่ดีที่สุดแล้ว แต่ไม่มีใครถามว่าเมื่อเราบรรลุเป้าหมายนั้นแล้วจะเป็นอย่างไร ประเทศเราจะพัฒนาไปอย่างไร พวกเราทุกคนในฐานะของมนุษย์ ของประชาชนจะดำรงชีวิตอย่างไร จะอยู่ในสังคมเช่นไร ไม่มีใครถาม เพราะผลจากการปลูกฝัง-ชวนเชื่อ-ล้างสมองอย่างเข้มข้น จนมองไม่ออกถึงความเปล่ากลวงที่ซ่อนอยู่ภายใน ดังนั้นจงไปตายเพื่อพ่อเถิดแล้วสังคมจะเป็นสุข ประเทศจะเจริญก้าวหน้า

    ร้าย ยิ่งกว่านั้นอุดมการณ์เรื่องสถาบันกษัตริย์ยังได้สร้างสำนึกทางสังคมที่ สุดแสนจะอุบาทว์ขึ้น คือสำนึกที่ทำให้คนเรายอมลดคุณค่า การนับถือตัวเองลงอย่างน่าประหลาดใจ เรายอมจะเป็นก้อนดิน ถ้าไม่มี "พ่อ" เราไม่มีค่าอะไรเลย เรายอมจะเป็นฝุ่นใต้ฝ่าตีน เรายอมให้คนกลุ่มหนึ่งเอาเท้าเหยียบหัวเรา เอาเปรียบเราได้โดยเห็นเป็นปกติ วาทกรรม "เมืองไทยโชคดีที่มีพ่อ" ถูกผลิตซ้ำแล้วซ้ำเล่า สร้างสำนึกร่วมของพวกขี้แพ้ ทำให้ไม่มีใครกล้าลุกขึ้นบอกว่า "เพราะมีพวกเราทุกคนต่างหากจึงโชคดี" เราเป็นสังคมที่อยากเป็นเด็กทารกให้พ่ออุ้มเสมอ ไม่ยอมเป็นสังคมที่เจริญวุฒิภาวะ และแทนที่การศึกษา-สำนึกสาธารณะจะหล่อหลอมให้คนมีคุณค่า มีความเชื่อมั่น มีเป้าหมาย มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างตัวเองให้ดี จรรโลงสังคมให้เจริญ กลับตอกย้ำว่าทุกคนไร้ค่า เป็นดิน เป็นฝุ่นใต้ตีน เราโชคดีแล้ว พอดีแล้ว ไม่ต้องไขว่คว้าอะไรอีกแล้ว เพราะเรามีพ่อแล้ว นี่เป็นสำนึกที่น่าอดสูใจที่สุด ผมรู้สึกโกรธแค้นทั้งผู้ที่ผลิตวาทกรรมนี้ขึ้นมา และโกรธแค้นสังคม-คนในสังคมบัดซบนี้ที่กล้ายอมรับอย่างหน้าชื่นว่าตัวเอง เป็นขยะ สำนึกนี้หล่อหลอมให้สังคมเราเป็นสังคมที่ล้มเหลว ง่อยเปลี้ย สังคมที่พร่ำสอนปลูกฝังให้คนไม่เห็นค่าของตน ไม่นับถือตัวเองจะมีพลังที่ไหนมาขับเคลื่อนสังคม ถ้าเทียบกับประเทศอื่นที่ไม่พร่ำเพ้อแบบสังคมไทย เน้นศักยภาพและความเท่าเทียม เราจะไปแข่งขันกับเขาได้อย่างไรเล่า

    อย่าง ไรก็ตามหากจะพูดอย่างตีขลุมว่าวาทกรรมสามสิ่งนี้มันทำให้ประเทศไม่ เจริญเลยก็คงไม่ยุติธรรมนัก คนไทยก็ยังอยู่กันได้ เด็กที่ผ่านการหล่อหลอมของการศึกษาในสังคมก็ยังเติบโตเอาตัวรอดได้ เป็นเทคโนแครตได้ เป็นนายทุนได้ แต่ประเด็นอยู่ที่วาทกรรมนี้มันได้สร้าง Mentality (ซึ่งผมขอแปลว่าจิตสำนึกทางสังคม) ที่ไม่ก่อประโยชน์ และอาจจะขัดขวางการพัฒนาด้วยซ้ำ เพราะมันไปเบียดบังจิตสำนึกทางสังคมแบบอื่นที่จำเป็นกว่าในสังคมสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นหลักประชาธิปไตยที่จะใช้ในการอยู่ร่วมกัน ความเท่าเทียม การรู้จักสิทธิและหน้าที่ มนุษยธรรม การมุ่งผลเลิศในเป้าหมาย ฯลฯ ทั้งหมดล้วนถูกทำให้อ่อนแอ ไม่มีที่ยืนในจิตใจของคนไทย เนื่องจากการเน้นย้ำพร่ำสอนเพ้อพกอยู่กับเรื่องของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์อย่างล้นเกินได้สถาปนาตนอย่างยิ่งใหญ่จนไม่เหลือที่แก่สำนึก อื่นแล้วนั่นเอง ผลลัพธ์ที่ได้จากสำนึกทางสังคมแบบนี้เห็นตัวอย่างได้ชัดเจน เช่น การไล่ล่า "พวกไม่จงรักภักดี" การจ้องจับผิดหาคน "หมิ่น" ไม่ต่างอะไรจากพวกหมกมุ่น และจะยิ่งตลกร้ายถ้าได้รู้ว่ารัฐบาลไทยจ่ายเงินไปกับเรื่องหมกมุ่นเหล่านี้ มากแค่ไหน

    แล้วเราควรจะทำยังไง ผมว่าสังคมไทย ณ ตอนนี้ก้าวมาใกล้ถึงจุดเปลี่ยนแล้ว เป็นการเปลี่ยนด้วยสภาพบังคับซึ่งก็ไม่ทราบว่าจะทำให้สังคมนี้ซวดเซไปขนาด ไหน และจะใช้เวลาเท่าใดเราจึงจะก้าวข้าม "ความว่างเปล่า" เหล่านี้ไปได้ ในฐานะปัจเจกบุคคล (ที่เชื่อมั่นในคุณค่าของตัวเอง) เราต้องผลิต/ผลิตซ้ำวาทกรรม/อุดมการณ์ที่มีแก่นสารอันพึงปรารถนาแก่สังคม ร่วมสมัยให้มากๆ ขึ้นไป สร้างคุณค่าให้กับตนเอง มองสังคมอย่างสัมพันธ์กับความเป็นจริง เน้นความสำคัญของสิทธิ หน้าที่ การเคารพกันอย่างเสมอภาค ประชาธิปไตย การยอมรับความแตกต่าง ความมุ่งมั่นในเป้าหมาย เหล่านี้เป็นสำนึกของสังคมที่สังคมไทยควรจะฟูมฟักและปลูกฝังแก่สมาชิกให้ มากๆ เพื่อรองรับสังคมร่วมสมัย ถึงเวลาแล้วที่จะเอาสังคมมาแทนชาติซึ่งเป็นชุมชนอันไร้ตัวตน ปรับเปลี่ยนบทบาทของศาสนาจากเจว็ดบูชาให้กลายเป็นวิถีชีวิตอันเหมาะสม และสร้างสำนึกความมีคุณค่าเท่าเทียมของคนขึ้นแทนการเทิดทูนบูชาพระมหา กษัตริย์อย่างบ้าคลั่ง

    สังคมไทยไม่อาจหยุดอยู่ในโลกยูโทเปียโบราณของพวกศักดินาได้ตลอดไปหรอก

    โดยคุณ มาใหม่ แห่งบอร์ดฟ้าเดียวกัน
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×