ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมบทความการเมือง

    ลำดับตอนที่ #119 : ไม่เกรงใจตุลาการ-ทหารภิวัตน์ ในคัมภีร์ "นิติรัฐ" รัฐบาล-ประชาธิปไตยในคำพิพากษาสือ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 238
      0
      19 ม.ค. 53

    "ประชาชาติธุรกิจ" ฉบับนี้เปิดศักราชใหม่ด้วยบทวิพากษ์สังคมการเมืองไทยอันเผ็ดร้อนอีกครั้ง หนึ่งของ "ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์" อดีตหัวหน้าภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมถึงบทวิพากษ์สื่อมวลชน พ.ศ.นี้ อย่างตรงไปตรงมา !

    - ในฐานะที่อาจารย์สอนกฎหมายมหาชน พอใจกับการบังคับใช้กฎหมายภายใต้หลักนิติรัฐ ของรัฐบาลชุดนี้มากน้อยแค่ไหน

    1 ปีสำหรับรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ (เวชชาชีวะ) ถ้าพูดกันตรงไปตรงมาแบบ ไม่เกรงใจกัน ผมคิดว่ารัฐบาลมัวแต่ไปเอาใจใส่กับเรื่องคุณทักษิณ (ชินวัตร)มากเกินไป ทำให้รัฐบาลไม่ได้ทำงานอย่างที่ควรจะเป็นหลายเรื่อง

    ฉะนั้น ถามว่า นิติรัฐในรัฐบาลชุดนี้เป็นอย่างไร ผมมองว่าจริง ๆ ไม่เฉพาะรัฐบาลนี้ แต่ประเด็นเรื่องนิติรัฐในช่วงหลายปี ที่ผ่านมา โดยเฉพาะหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ผมคิดว่ายังไม่เข้าสู่ระดับที่ควรจะเป็นหลายเรื่อง อย่างที่บอก (ครับ) รัฐบาลอภิสิทธิ์ไปมุ่งในประเด็นการเมืองเกี่ยวกับการต่อสู้ของขั้วทางการ เมืองมาก สำหรับผม ผมจึงมอง ไม่เห็นผลงานที่เป็นรูปธรรมของรัฐบาลในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ในการผลักดันให้หลัก นิติรัฐหยั่งรากลงลึกในสังคมไทย

    - รัฐบาลบอกว่าจะเร่งผลักดันภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้ได้ภายในปีนี้ อาจารย์คิดว่ารัฐบาลจะทำได้จริงหรือไม่

    คำ ถามนี้ผมอาจจะตอบโดยตรงไม่ได้ (นะ) แต่ผมมองในแง่วิธีคิดทางประชาธิปไตยว่า เรามีปัญหาเรื่องนี้ คือ ทุกวันนี้เวลาเรามองเรื่องประชาธิปไตย เราไม่ได้มองว่าประชาธิปไตยมันคือเรื่องการจัดสรรแบ่งปันตัวผลประโยชน์ของ กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ในทางการเมือง

    อย่างที่ผมเคยเน้นเสมอว่า ทุกคนมีผลประโยชน์ในทางการเมืองทั้งสิ้น ขณะที่ตัวเกณฑ์ในรัฐธรรมนูญหรือตัวกฎหมาย ต้องพยายามจัดสรรตัวกติกา กติกาที่ทำขึ้นต้องเป็นกติกาที่วางอยู่บนความยุติธรรม แล้วให้กระบวนการในการเจรจา การต่อรองในทางผลประโยชน์กันเป็นไปโดยหลักการในทางประชาธิปไตย ที่มีการ ตัดสินใจโดยเสียงข้างมาก โดยเคารพ เสียงข้างน้อย เพราะนโยบายบางอย่างทำให้บางกลุ่ม บางชนชั้น เสียผลประโยชน์อยู่เหมือนกันในบางเรื่อง

    แต่ในระบอบประชาธิปไตย ในที่สุด มันผ่านกระบวนการตัดสินใจแบบนั้นมันก็ต้องยุติและเคารพกัน แต่ปัญหาคือประเทศเรายังไม่ได้มีสภาพที่เป็นประชาธิปไตย เราก็เจอแบบนี้ร่ำไป

    ถามว่าเราเป็นประชาธิปไตยมั้ย ผมว่าในทางคุณค่า เรามีปัญหามากว่าเป็นหรือเปล่า ยกตัวอย่างว่าในสมัยกลาง ศาสนจักรสอนว่าประชาชนหรือคน มีบาปติดตัวมาแต่กำเนิด มนุษย์สูญเสียธรรมชาติที่ดี มนุษย์จึงไม่สามารถเข้าถึงพระเจ้าได้ หนทางที่จะรอดพ้นจากบาปก็คือ การปฏิบัติตามพระคัมภีร์ไบเบิล เชื่อในพระเจ้า และเชื่อในคำสั่งสอนของโบสถ์ โดยอาศัยวิธีการกล่อมเกลา ลดทอนตัวคุณค่าของคนลงในลักษณะแบบนี้ โบสถ์ในยุคกลางก็สามารถกระทำการหลายอย่างได้ โดยอาศัยความเชื่อถือศรัทธาเป็นตัวนำ

    ภายใต้ลักษณะแบบนี้ โบสถ์ก็มีผลประโยชน์อันมหาศาล ในสมัยกลาง โบสถ์สามารถขายใบบุญไถ่บาปได้ เอาเงินมาได้ แล้วเงินที่ได้มาส่วนหนึ่ง โบสถ์ก็นำไปใช้ในการทำสงคราม แต่ภายใต้วิธีคิดที่บอกว่ามนุษย์มีบาป มีแต่บรรดานักบวชเท่านั้นที่ปลดเปลื้องจากบาปแล้ว เป็นตัวแทน ของพระเจ้าบนพื้นพิภพ แล้วก็เกิดสภาพแบบกดคน

    จนยุโรปผ่านยุคกลางมาได้ เข้าสู่ยุค แสงสว่างในทางปัญญา เขาจึงรู้สึกถึงความเป็นมนุษย์ขึ้นมา การแสดงความคิดในเรื่องต่าง ๆ ก็ตามมา

    ซึ่ง ผมรู้สึกว่าคุณค่าอันหนึ่งของบ้านเรา บางทีอาจจะเทียบเคียงได้เหมือนกับสมัยกลาง บ้านเราทุกวันนี้กำลังจะบอกว่า ประชาชนเรายังไร้การศึกษา ตัดสินใจทาง การเมืองไม่ได้ ฉะนั้นจะต้องมีคนที่มีการศึกษา คนชนชั้นนำ เป็นคนตัดสินใจแทน

    ถ้า เกิดมีการเลือกตั้ง ก็บอกว่าประชาชนถูกซื้อ เมื่อประชาชนถูกซื้อ ก็ไม่ต้องเคารพการเลือกตั้งกัน เพราะซื้อเสียงกันเข้ามา ก็บอกว่าอย่าเลือกตั้งเลย ให้ผมแล้วกัน เป็นคนจัดการเอง ถ้าเรามีการถูกปลูกฝังความคิดแบบนี้ ความคิดดูถูกคน มันคือการทำลายคุณค่ารากฐานทางประชาธิปไตย

    ในทางวิชาการ ผมพูดหลายครั้งแล้วว่า เราไม่ได้มีการศึกษากันอย่างจริงจังเลย ถึงการเลือกตั้งในช่วงหลังว่าพฤติกรรมของคนในการเลือกตั้ง มีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร การซื้อเสียงยังเป็นแบบเดิมหรือยังมีการซื้อเสียงอยู่ แต่ว่า ผลกระทบที่มีผลต่อการตัดสินใจเปลี่ยนแปลงไปแล้ว

    ผมเชื่อว่าการซื้อ เสียงแม้หากจะยังมีอยู่ แต่มันอาจจะไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้งอีกต่อไปแล้ว เพราะผลการเลือกตั้ง 2-3 ครั้งหลัง ไปในทิศทางเดียวกัน ภายใต้บริบททางการเมืองที่ แตกต่างกัน การเลือกตั้งครั้งล่าสุดเป็นการเลือกตั้งตามกติกาอันใหม่ ซึ่งถูกทำขึ้นโดย ส.ส.ร. ที่เชื่อมโยงหรือมีที่มากับ คมช. ซึ่งเป็นคนเข้ายึดอำนาจการปกครองล้มรัฐบาลที่มีที่มาจากการเลือกตั้ง ภายใต้รัฐบาลของ คมช. ภายใต้ กกต. ซึ่งเป็น กกต.อีกชุดหนึ่งแทน กกต.ชุดเดิม แต่เรา ก็เห็นว่าเสียงข้างมากยังไม่เปลี่ยน

    เราจะ อธิบายเรื่องนี้ว่าอย่างไร อธิบายว่าคนส่วนใหญ่ของประเทศนี้ยังโง่อยู่ โง่อยู่เพียงเพราะว่าไม่ได้เลือกพรรคการเมืองอย่างที่คนชั้นกลางหรือ คนชั้นสูงส่วนหนึ่งต้องการให้เป็นเสียงข้างมากในสภากระนั้นหรือ

    ผม ถึงบอกว่า ปัญหาเรื่องทุจริตมีอยู่ ทุก ๆ แห่ง ก็แก้กันไปในทางระบบ แต่ของเราแก้กันโดยพยายามบอกว่า อันนั้นทุจริต (นะ ) ฉะนั้นคุณเลิกเลย คุณล้ม ฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง เอาคณะทหารเข้ามายึดอำนาจ แล้วก็บอกว่าเอาคนดี คนทรงคุณธรรมต่าง ๆ เข้ามาจัดการ แล้วคิดว่าจะแก้ปัญหาได้ แล้วแก้ได้ที่ไหน (ครับ) ก็อย่างที่เห็น

    เพราะคนที่เข้ามาก็ผูกพันไปด้วย ผลประโยชน์เหมือนกันในทางการเมือง ผมถึงบอกว่าทุกคนมีผลประโยชน์ในทางการเมืองเหมือนกัน ฉะนั้นจึงต้องเอาเรื่องนี้มาพูดกันบนโต๊ะ

    - พูดกันว่าหากรัฐบาลยุบสภาเลือกตั้งใหม่ พรรคเพื่อไทยอาจชนะเลือกตั้งอยู่ดี ถึงตอนนั้นเสื้อเหลืองก็อาจจะออกมาคัดค้านอีกก็เป็นได้ สังคมไทยยังมีทางออกจากวิกฤตอยู่หรือเปล่า

    ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงก็ ไม่มีทางออก (ครับ) ตราบเท่าที่เรายังไม่กลับไปสู่คุณค่าพื้นฐานในทางประชาธิปไตย ก็มีคนบอกว่าเวลากลับไปสู่พื้นฐานประชาธิปไตย ในเวลานี้คุณทักษิณชนะ ก็เลยไม่กลับ คือยังไงก็มองไม่พ้นคุณทักษิณอยู่ดี

    ถ้าไปมองเรื่อง เฉพาะหน้าก็ไม่จบครับ ก็เป็นเรื่องยาก เพราะยังไม่ได้กลับเข้าสู่หลักการ คือมีการมองว่าหลักการพื้นฐานยังไม่ต้องเอามาใช้ แช่ไว้ชั่วคราวก่อน แต่ผมถามว่าแล้วคุณมีความชอบธรรมยังไง คุณเป็นเทวดามาจากไหนในการที่คุณจะเบรกหลักการที่จะต้องใช้ทั่วไปกับคน ทุกกลุ่มอย่างเสมอภาคกัน

    ผมมองว่าความขัดแย้งที่ผ่านมา ใช้กันมากี่วิธีแล้ว (ล่ะ) ทั้งตุลาการภิวัตน์ ทหารภิวัตน์ ออกมายึดอำนาจก็แล้ว ถามว่าทำไมความขัดแย้งมันยังอยู่ นอกจากยังอยู่แล้ว มันยังกัดเซาะสถาบันสำคัญ ๆ อีกด้วย วิกฤตศรัทธาที่เกิดขึ้นหนักขึ้นไปกว่าเดิม (นะ) นั่นแปลว่าวิธีที่ใช้กันอยู่ผิดใช่มั้ย แต่ว่าไม่ยอมรับกันว่ามันผิด เพราะกลัวว่าถ้าใช้วิธีการที่มันถูกต้อง จะมีคนได้ ผลประโยชน์แล้วก็รับกันไม่ได้

    - แต่รัฐบาลบอกว่าจะเดินหน้าสู่รัฐสวัสดิการอย่างเต็มตัว เพื่อความเสมอภาคเท่าเทียมกันของประชาชน

    จริง ๆ รัฐสวัสดิการที่ประสบความสำเร็จมีฐานมาจากประชาธิปไตย แต่เมื่อคุณยังไม่เป็นประชาธิปไตย คุณเลิกฝันเถอะ (ครับ) ว่าจะเป็นรัฐสวัสดิการมันไม่ได้ เพราะพัฒนาการในทางระบบที่เกิดขึ้น ถ้าเราไม่พูดถึงการหักเหไปเป็น รัฐคอมมิวนิสต์ มันก็คือจากรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นรัฐที่จำกัดอำนาจพระมหากษัตริย์ แล้วมาสู่รัฐที่เป็นประชาธิปไตย ก็คือ พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ไม่มีอำนาจในทางกฎหมาย หรือไม่ก็เป็นสาธารณรัฐไปเลย 2 รูปแบบ

    พอ เป็นประชาธิปไตย ก็อาจจะมีปัญหาในเรื่องการแข่งขันกันโดยพลังเศรษฐกิจที่มันไม่เท่ากัน เกิดการเอารัดเอาเปรียบกัน รัฐก็จะต้องเข้ามาดูการแข่งขันของเอกชน การทำกฎหมายแรงงานสวัสดิการสังคม มันจะเข้ามา แต่มาบนพื้นฐานของพัฒนาการที่ต่อไปจากเรื่องของประชาธิปไตย ก็เป็นรัฐประชาธิปไตย แล้วก็สวัสดิการสังคม มันจะเชื่อมต่อกัน

    แต่ คำถามคือเราเป็นประชาธิปไตยแล้วหรือเปล่า เรารับคุณค่าตรงนี้แล้วหรือยังในสังคมนี้ เราเชื่อว่าประชาชนของไทยมีสภาพของความเป็นพลเมือง มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์แล้วหรือเปล่า แต่ถ้าเรายังไม่คิดอย่างนั้น ยังคิดว่าคะแนนเสียงของ คนขับรถแท็กซี่ คนขายก๋วยเตี๋ยว มีคุณค่าน้อยกว่ามหาบัณฑิต ก็จบครับ

    นี่ไม่ได้พูดในทางอุดมการณ์ (นะ) แต่พูดในทางความเป็นจริง เพราะผมมองว่าประชาธิปไตยคือเรื่องของผลประโยชน์ มีคนบอกว่าการเลือกนักการเมืองก็ต้องเลือกคนดีมีคุณธรรมต่าง ๆ ถามว่าคุณจะดูยังไง ดูจากว่าคนคนหนึ่งปรากฏตัวในสื่อบ่อย พูดจาดูดีหน่อย ถือว่าคนนี้มีคุณธรรมเหรอ ดูแค่นี้เหรอ

    หรือเป็นคนมีชื่อเสียงของ สังคม ขยันออกสื่อ พูดจาเรื่องคุณธรรม ทำตัวเทศนาสั่งสอนคนบ้าง แล้วเป็นคนดี มีคุณธรรม ชาวบ้านอาจจะไม่ได้ดูแบบนั้นนะครับ แต่เขาดูว่าคุณเสนออะไร ซึ่งเป็นเรื่องง่ายที่สุดในทางประชาธิปไตย (นะ) คุณมี นโยบายยังไงที่จะมาจัดการกับชีวิตของเขา คุณทำอะไร เขาก็เลือก ถ้าคุณทำได้เขาก็เลือกคุณต่อ คุณทำไม่ได้เขาก็เลิกเลือกไปเลือกคนอื่นแทน

    ใน ขณะเดียวกันก็มีการวิพากษ์วิจารณ์ แสดงเสรีภาพในทางความคิดเห็น โดยที่ ไม่บอกว่าใครเห็นต่างจากคุณเป็นคนเลว หรือไปสนับสนุนคนเลว เหมือนกับที่ทำ ๆ กันอยู่ในสังคมไทยในเวลานี้ แล้วขอโทษ (นะ) ก็ปรากฏในสื่อกระแสหลักด้วย

    - ทุกวันนี้สื่อมวลชนได้ทำหน้าที่อย่างที่ควรจะเป็นแล้วหรือยัง

    ยัง (ครับ) ผมเห็นว่าไม่เลย ขอโทษนะ ที่ผมพูดตรงไปตรงมา คือเดี๋ยวนี้เวลาเสนอข่าว ข้อเท็จจริง หรือ fact ปะปนกับความเห็นไปหมดแล้วในสื่อ วิธีการเขียนข่าวหรือการรายงานข่าว ลองสังเกตดูให้ดีสิครับไม่ได้พูด fact อย่างเดียว แต่ใส่ทัศนคติของตัวลงไปในเนื้อข่าว ซึ่งทำอย่างนั้นไม่ได้ ผมบอกว่ามันผิดแล้วที่บอกว่าสื่อต้องเลือกข้าง ผิดตั้งแต่ต้น

    ผม แปลกใจมากว่าในวงการวารสารศาสตร์ นิเทศศาสตร์ อยู่กันได้ยังไง (ครับ) อาจจะมีคนบอกว่า วงการกฎหมายก็เหมือนกันนั่นแหละ (หัวเราะ) แต่ถามว่า เฮ้ย ! มีเหรอประเภทสื่อเลือกข้าง ไม่ใช่ว่าสื่อเสนอข้อเท็จจริงหรือครับ ส่วนที่เป็นข้อคิดเห็นก็แยกไป แต่ fact คือ fact บิด fact ไม่ได้ สื่อเลือกข้าง เท่าที่ผมเห็นชัดก็คือ สื่อของรัฐบาลในยุคนาซีเรืองอำนาจในเยอรมันนะ

    โอเค ถ้าบอกว่าคุณเป็นสื่อเลือกข้าง ของคุณถูกต้อง แต่อีกคนบอกของคุณไม่ถูก (อ่ะ) ทำยังไงล่ะ ถามว่าอย่างนี้ก็เป็น สื่อไม่ได้แล้วสิ เพราะว่าคุณเป็นผู้พิพากษาไปแล้วว่าอะไรถูก อะไรมันผิด แทนที่คุณจะนำเสนอ fact ทุกวันนี้ จึงมีสื่อ ที่ไม่ใช่สื่ออยู่มากมาย แล้วก็ indoctrinate คน

    ขอ โทษด้วย ถ้าผมไม่ได้ไปตามกระแสของสื่อ เพราะไม่จำเป็นที่ผมต้องเห็นด้วย โอเค ถ้าคุณเป็นคอลัมนิสต์ คุณเขียน ความเห็นของคุณ เขียนไปได้เลย แต่ข่าวคุณต้องเป็น fact คุณกั๊กไม่ได้

    แต่แน่นอน โทนในการนำเสนอพอถึง จุดหนึ่ง ก็ต้องมีใจที่เป็นธรรมอยู่ (นะ) แต่ปัญหาคือใจที่เป็นธรรมเกิดขึ้นไม่ได้ เมื่อคุณกระโดดลงไปตะลุมบอนเป็นฝ่ายทางการเมือง กระโดดลงไปเพื่อจะจัดการบางเรื่องให้มันสิ้นซากไป มันเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะคุณได้กลายไปเป็นคู่ต่อสู้ คุณลงไปเป็นผู้ร่วมต่อสู้

    สื่อบาง ท่านอย่าให้ผมเอ่ยเลย ผิดเพี้ยนไปถึงขั้นละเมิดจรรยาบรรณของตัว เขียนอะไรที่รุนแรง แม้กระทั่งเรียกร้องให้คนฆ่ากันได้ ทำได้ยังไง แล้วไม่มีการพูดประณามอะไรกันเลย ก็ยังทำ

    ทุกวันนี้สื่อเลยกลาย เป็นเครื่องมือ ใช้ถ้อยคำที่รุนแรงขึ้นทุกที ๆ เพราะคิดว่าตัวเองคือผู้ผูกขาดความดีงาม เป็นผู้พิทักษ์ความถูกต้อง ไม่ได้มองว่าบริบททางการเมืองมันมีมุมมอง มีข้อเท็จจริงจำนวนมาก เอาความคิดของตัวเองเป็นใหญ่

    แล้วผมถามว่าถ้าคุณเป็นอย่างนี้จะมา เรียกร้องให้สังคมกลับสู่ความสมานฉันท์อะไร ประชาธิปไตยไม่ต้องการความสมานฉันท์หรอก แต่ต้องการ ความเห็นที่สามารถแสดงได้โดยเสรี และเคารพความคิดความเห็นซึ่งกันและกัน ไม่ประณามคนที่เห็นต่างว่าเป็นคนเลว เป็นคนทรยศ เป็นคนขายชาติ นี่คือหน้าที่สื่อที่ต้องทำ

    ถามว่าสื่อทำหน้าที่ตรงนี้แล้วหรือยัง ผมว่าสื่อมวลชนรู้ดีกว่าผม แต่ผมประเมินว่า ในช่วงที่ผ่านมาสื่อลงไปเล่น แล้วไม่ต้องพูดหรอกว่า กระบวนการพวกนี้ก็มีการเอื้อผลประโยชน์กัน

    หน้า 31

    ที่มา ประชาชาติธุรกิจ
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×