ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมบทความการเมือง

    ลำดับตอนที่ #110 : ธนาธิปไตย (Plutocracy)

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.18K
      1
      19 ม.ค. 53

    Thu, 2009-10-08 23:06

    ชำนาญ จันทร์เรือง

    อริ สโตเติลนักปราชญ์ชาวกรีกหากมีชีวิตอยู่จนถึงทุกวันนี้คงกลุ้มใจจนแทบ คลั่งเป็นแน่ เพราะตามทฤษฎีที่เขาได้ตั้งไว้ ที่บรรดานักรัฐศาสตร์ทั้งหลายพากันยกย่องว่าเป็นบิดาของวิชารัฐศาสตร์นั้น แทบจะต้องเผาตำรากันทิ้งไปเลยเมื่อเห็นรูปแบบการปกครองของไทยเรา เพราะแต่เดิมนั้นอริสโตเติลได้แบ่งรูปแบบการปกครองทั้งที่ดีและไม่ดีเอาไว้ ๖ ประเภท คือ

    ระบอบที่ดี
    ผู้ปกครองคนเดียว monarchy = ระบบกษัตริย์หรือราชาธิปไตย
    กลุ่มผู้ปกครอง aristocracy = ระบบขุนนางหรืออภิชนาธิปไตย
    คนหมู่มาก polity = ระบบโพลิตี หรือ ระบบที่ปกครองโดยชนชั้นกลาง

    ระบอบที่ไม่ดี
    ผู้ปกครองคนเดียว tyranny = ระบบทรราชย์
    กลุ่มผู้ปกครอง oligarchy = ระบบพวกพ้องหรือคณาธิปไตย
    คนหมู่มาก democracy = ระบบประชาธิปไตย

    ทาง ฝ่ายระบอบที่ดีนั้น อริสโตเติลถือว่าราชาธิปไตยดีที่สุด เพราะถ้าคนคนหนึ่งดีและมีความสามารถแล้ว ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ราษฎรในรัฐได้มาก ส่วนอภิชนาธิปไตยรองลงมา เพราะการปกครองรัฐระบอบนี้ ต้องมีจำนวนชนชั้นปกครองมากขึ้น ย่อมจะให้ดีทีเดียวเลยไม่ได้ แต่ก็อาจรักษาคุณธรรมของคณะคนกลุ่มน้อยได้ง่ายกว่าระบอบโพลิตีหรือชนชั้น กลาง

    ทางฝ่ายที่ไม่ดีนั้น ระบอบทรราชย์หรือทรราชาธิปไตยเลวที่สุด เพราะเมื่อคนสูงสุดเลวร้ายเสียแล้ว ย่อมเลวร้ายถึงที่สุด ส่วนคณาธิปไตยเลวร้ายน้อยลงไป เพราะพวกเศรษฐีเป็นเพียงพวกกลางๆ และมีจำนวนหลายคน ถึงจะรวมหัวกันทำความชั่ว ก็ไม่เลวร้ายเท่าคนๆ เดียวที่วางแผนและ บงการอยู่อย่างมีอำนาจสิทธิ์ขาดเป็นเอกเทศ โดยที่ประชาธิปไตยย่อมเลวร้ายน้อยที่สุด เพราะอย่างน้อยก็ทำความเลวเพื่อพวกตน ซึ่งเป็นคนหมู่มาก เท่ากับว่าคนหมู่มากย่อมได้ผลประโยชน์พลอยได้อยู่ด้วย

    จะเห็นได้ว่า อริสโตเติลมีทัศนะเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยที่ไม่ดีเท่าใด นัก เพราะเขามองว่าประชาธิปไตย (ในรูปแบบของสภา) เป็นระบอบการปกครองที่ไม่คำนึงถึงประชาชน ปล่อยให้อำนาจทางการเมืองขึ้นอยู่กับกรรมการหรือสภา ซึ่งชอบใช้อำนาจอย่างฟุ่มเฟือย หากแต่การปกครองแบบโพลิตี (polity) นั้น คือการปกครองโดยชนชั้นกลาง โดยอาศัยรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครอง จะเป็นการปกครองที่ดีกว่าหากจะต้องใช้รูปแบบการปกครองโดยคนหมู่มาก

    สาเหตุที่เขานิยมชมชอบในชนชั้นกลางเนื่องจากเขาพบว่า รัฐทั่วๆ ไปมักจะประกอบไปด้วยคน ๓ ชั้น คือ พวกร่ำรวย ซึ่งมักจะมีจำนวนไม่มาก เห็นแก่ตัวและขาดความเห็นอกเห็นใจและไม่มีเหตุผล พวกยากจน ซึ่งมีจำนวนมาก แต่มีความต้องการที่ไม่สิ้นสุดและมีความละโมบ จึงเป็นกลุ่มที่ขาดเหตุผลเช่นเดียวกัน ถ้าให้คนสองกลุ่มอยู่ร่วมกันในรัฐจะเกิดการปะทะระหว่างสองกลุ่ม ดังนั้น ชนชั้นกลางจึงเป็นกลุ่มคนที่มีเหตุผลมากกว่าเพื่อน เพราะไม่เห็นแก่ตัวแบบคนมั่งมีและไม่ละโมบแบบพวกยากจน

    เมื่อ เราหันกลับมามองการเมืองในปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งของไทยเรานั้น เรียกได้ว่าอยู่นอกเหนือตำราหรือทฤษฎีของอริสโตเติลที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เพราะเป็นประสมปนเปกันเกือบทุกระบบดังกล่าวข้างต้น เป็นอย่างละนิดละหน่อย เช่น เป็นระบอบประชาธิปไตย (เสี้ยวเดียว) อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขโดยมีรัฐบาลที่เกิดจากการหนุนหลังของขุนศึก และอำมาตยาเสนาธิปไตย ฯลฯ แต่ที่เป็นมากๆ นอกเหนือจากตำราหรือทฤษฎีที่อริสโตเติลกล่าวถึงก็คือการเมืองในระบอบธนาธิปไตย (plutocracy) ซึ่งหมายถึงการปกครองโดยคนมีเงินหรือวิธีปกครองให้คนมีเงินมีอำนาจ หรือในศัพท์รัฐศาสตร์สมัยใหม่เรียกว่า money politics นั่นเอง

    ใน ยุคปัจจุบันที่เกือบทุกประเทศในโลกตกอยู่ภายใต้กระแสทุนนิยม ทำให้นายทุนเข้ามาผูกขาดอำนาจทางการเมือง เมื่อนายทุนหันมาเล่นการเมืองจึงกลายเป็นว่าอำนาจทางธุรกิจจะผูกยึดตัวอยู่ กับโครงสร้างของอำนาจทางการเมือง นักธุรกิจจึงเข้ามากุมชะตากรรมของบ้านเมืองและใช้เงินเป็นปัจจัยในการเข้า สู่อำนาจรัฐ และใช้อำนาจหาเงิน การเมืองไทยจึงเป็นประชาธิปไตยแต่เพียงรูปแบบแต่เนื้อแท้ก็คือ ธนาธิปไตย ซึ่งเป็นการเมืองเพื่ออำนาจ ผลประโยชน์ และอภิสิทธิ์ของกลุ่มคนที่มีอำนาจในทางการเมือง

    ธนาธิปไตยส่งผลทำให้ เกิดปัญหาใหญ่ทางการเมืองรวม 3 ปัญหา คือ การทุจริตเชิงนโยบาย การทุจริตเลือกตั้ง และการขาดจริยธรรม ธนาธิปไตยทำให้เกิดการคอร์รัปชั่น นักการเมืองส่วนใหญ่จึงร่ำรวยอย่างรวดเร็วและเริ่มยึดติดกับตำแหน่งทางการ เมือง มีการใช้เงินในการซื้อเสียงเลือกตั้ง เมื่อชนะการเลือกตั้งแล้วก็ถอนทุนในภายหลัง การเลือกตั้งครั้งต่อๆ มาจึงมีการชื้อขายเสียงที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาที่ตามมา คือ นักการเมืองที่เข้าสภามาส่วนใหญ่ก็จะเป็นบุคคลที่ไม่มีคุณภาพและขาดจริยธรรม

    วิวัฒนาการ ของการเมืองไทยเป็นการต่อสู้ของกลุ่มอำนาจสามกลุ่มใหญ่โดย เริ่มจากการเปลี่ยนอำนาจจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (absolute monarchy) มาสู่ระบอบอำมาตยาธิปไตย (aristocracy) และธนาธิปไตย(plutocracy) ในที่สุด ซึ่งกลุ่มแรกและกลุ่มที่สองต่างพยายามยื้อยุดอำนาจไว้ให้อยู่กับตัวเองให้ ได้มากที่สุด แต่ก็ทานกระแสทุนนิยมที่เชี่ยวกรากนี้ไม่ไหว ตัวอย่างล่าสุดก็คือผลการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ที่มีการ สาดกระสุนสีเทากันปลิวว่อนจนในที่สุดตำแหน่งทั้งนายกเล็ก นายกใหญ่ (อบจ.) ต่างก็ตกอยู่ในอุ้งมือของคนตระกูลเดียวที่มั่งคั่งของเมืองเชียงใหม่

    ถึง เวลาแล้วที่เราจะหันมาหาวิธีกันอย่างจริงจังที่จะต่อสู้กับระบอบธนา ธิปไตยอันเลวร้ายนี้ ลำพังเพียงแค่การแก้ไขหรือยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่นั้นยังไม่เพียงพอต่อ การต่อสู้ระบอบธนาธิปไตยนี้ หากเรายังปล่อยปละละเลยอยู่เช่นนี้ เราไม่มีทางได้เห็นนักการเมืองที่มาจากคนชั้นล่างที่ถูกดูถูกเหยียดหยาม เช่น โอบามาได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งเป็นแน่

    การปฏิวัติรัฐ ประหารหรือการหวังพึ่งระบอบอำมาตยาธิปไตยมิใช่หน ทางที่จะทำลายระบอบธนาธิปไตยลงได้เพราะต่างก็มีความเลวร้ายเช่นเดียวกัน เราต้องช่วยกันสร้างจิตสำนึกว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของคนทุกคนไม่ว่าจะยากดีมี จน มิใช่ตกอยู่ในมือของเศรษฐีที่มั่งคั่งเท่านั้น เราต้องให้บทเรียนต่อผู้ที่ใช้อำนาจเงินเข้าสู่อำนาจด้วยการออกมาใช้สิทธิ ใช้เสียงเพื่อให้ระบอบธนาธิปไตยถูกทำลายลง มิใช่เป็นแต่เพียงพลังเงียบที่ไม่มีประโยชน์รังแต่จะเป็นภาระของโลกที่ต้อง แบกรับน้ำหนักของคนที่ไร้สำนึกเช่นนี้


    หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๒

    ที่มา ประชาไท


    ความคิดเห็นของ doctor J (visitor) (127.0.0.1 58.8.93.207) .. Fri, 2009-10-09 10:59

    ผม เบื่อหน่ายวลีประเภท"ใช้เงินซื้ออำนาจ" "ทุนสามานย์" ถ้าเงินอย่างเดียวซื่ออำนาจได้ อเมริกาคงมีประธานาธิบดีชื่อ Bill Gates มาหลายปีแล้ว

    คุณชำนาญคิดว่ามีใครรวยพอจะซื้อเสียงได้สิบ ยี่สิบล้านเสียงพร้อมๆกันทีเดียวบ้าง ถ้ามันง่ายขนาดนั้น คุณเฉลียว อยู่วิทยาไม่เป็นนายกรัฐมนตรีประเทศไทยไปแล้วหรือ? ผมไม่งี่เง่าพอจะปฏิเสธว่าไม่มีการซื้อ ขายเสียง แต่การเมืองระดับประเทศไม่มีทางชนะด้วยการซื้อเสียงด้วยเงินอย่างเดียว แต่ต้องชนะด้วยการซื้อใจคนด้วย"นโยบาย"ตางหาก การเสนอนโยบายต่อสาธารณะ ก็คื่อการ"ซื้อ"อย่างหนึ่ง แต่ไม่ไช่เงิน แต่เป็นการเสนอผลประโยชน์ต่อวงกว้าง ไม่ระบุเป็นตัวบุคคล การเมืองเป็นการต่อรองผลประโยชน์ทั้งนั้น ถ้าคุณจะกล้ารับความจริง คนเขาไม่ได้เลือกทักษิณ เพราะเขารักนายคนนี้ หรือคิดว่านายคนนี้เป็นคนดี แต่เพราะเขาเสนอผลประโยชน์ที่คนส่วนใหญ่อยากได้ เห็นด้วย

    แน่นอน ประเทศเรา มีข้อจำกัดในการระดมทุนเพื่อหาเสียงเลือกตั้งเหมือนอเมริกา คนรวยจึงได้เปรียบ แต่เขาไม่มีวันชนะด้วยการซื้อด้วยเงินอย่างเดียวเด็ดขาด ปัญหาจริงๆ ของบ้านเราคือการขาดการปฏิบัติตามกฏหมายออย่างเข้มงวด เลือกปฏิบัติ ขาดขบวนการตรวจสอบและถ่วงดุลย์อำนาจที่เป็นจริง ไม่อย่างนั้น ทักษิณควรจะหลุดจากตำแหน่งตั้งแต่คดีซุกหุ้นภาคแรกแล้ว แต่เขาอาจกลับมาใหม่ได้ ถ้าประชาชนยังชอบนโยบายเขา ถ้าระบบตรวจสอบเข้มแข็งน่าเชื่อถือ ก็คงไม่มีใครปลุกม๊อบได้เป็นแสนๆ เราก็ต้องยอมรับกลไกการตรวจสอบ แต่บ้านเราเป็นอย่างนั้นหรือ?

    โดย ส่วนตัวผมเลิกสนใจเรื่องซื้อเสียงแล้วด้วยซ้ำไป ถ้าคนไทยฉล่าดขึ้น เขาก็จะมองผลประโยชน์ไกลไปกว่าเงินไม่กี่ร้อยบาทเอง แต่ที่สำคัญและยังไม่มีคือ

    การบังคับใช้กฏหมายที่เข้มงวดและยุติธรรมจริง

    การตรวจสอบและถ่วงดุลย์ที่เป็นจริง

    การใช้เหตุผลตัดสินแทนอารมณ์ เวลาชอบทำผิดก็บอกว่าถูก เวลาไม่ชอบทำถูกก็บอกว่าผิด

    บ้าน เมืองต้องปราศจากอภิสิทธิ์ชน ไม่มีใครอยู่เหนือกฏหมาย เหนือคนอื่น ทุกคนต้องเท่ากันจริงๆ ไม่มีการบังคับให้กราบไหว้ ไม่มีการบังคับห้ามวิจารณ์

    ทำได้อย่างนี้ บ้านเมืองจึงจะเดินไปได้ ถึงไม่สมานฉันท์ แต่จะไม่มีการทะเลาะนองเลือด แบบนี้จึงจะเป็นสังคมที่น่าอยู่ ไม่ไช่สังคมตอแหลอย่างทุกวันนี้ เบื่อหว่ะ เมืองตอแหล
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×