ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมบทความการเมือง

    ลำดับตอนที่ #106 : วิพากษ์“พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์”:6เดือนระบอบไม่เอาทักษิณ โดยชาวฟ้าเดียวกันและประชาไท

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 452
      0
      19 ม.ค. 53

    ที่มา กระทู้บอร์ดฟ้าเดียวกัน

    อ.สมศักดิ์ เจียมธีรกุล

    ผม ดูรายการทีวี รายการหนึ่ง ที่ ดร.พิชญ์ ไปออก เมือ่วานหรือวานซืนนี้(1ส.ค.52) แล้วเสนอความไอเดีย เดียวกับที่ให้สัมภาษณ์ไทยโพสต์นี้ ("ระบอบไม่เอาทักษิณ" ฯลฯ)

    ข้อสรุปของผมคือ "clever rhetoric, bad analysis" (โวหารฉลาด, วิเคราะห์ห่วย")

    ยก ตัวอย่างดูส่วนเหล่านี้ (เวลาออกทีวี บางตอนแย่กว่านี้ ในส่วนที่พูดถึงอภิสิทธิ์ คือแก้ตัวให้อภิสิทธ์เลย ประเภท "โทษอภิสิทธิ์ไม่ได้ ไม่ใช่ความผิดอภิสิทธิ์" อะไรทำนองนี้ ในไทยโพสต์ การใช้คำยังไม่เห็นชัดทีวี แต่ก็ไปในทางเดียวกัน) โดยเฉพาะที่ผมทำตัวแดงไว้
    QUOTE
    ฉะนั้นการจะไปวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลเราต้องมีความระมัดระวัง เพราะถ้าวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลมันเป็นการทำให้รัฐบาลนี้ถูกใช้แล้วถูกเตะออกไป แต่ระบอบยังดี แล้วมีการเปลี่ยนหัว การวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลแบบนี้พูดในทางหนึ่งมันก็ไม่แฟร์กับรัฐบาลเหมือนกัน มันต้องวิพากษ์วิจารณ์ทุกส่วนด้วย มันเกี่ยวข้องกับสถาบันตุลาการด้วยหรือเปล่า เกี่ยวกับสถาบันทหารด้วยหรือเปล่า มันเกี่ยวข้องกับพันธมิตรประชาชนฯ ด้วยหรือเปล่า เพราะทั้งหมดก็คือกลุ่มที่แชร์อำนาจกัน เป็นกลุ่มที่ต่อต้านระบอบทักษิณและระบอบหลังทักษิณซึ่งมาจากนอมินีของทักษิณ การเมืองไทยต้องมองในระดับที่กว้างขึ้นไป ผมไม่คิดว่าเราจะประเมินนโยบายรัฐบาลได้ เพราะผมไม่รู้ว่ารัฐบาลคืออะไร ถ้าเราจะดูในภาพแคบ มันต้องตอบอย่างน้อย 2-3 ส่วน ถ้าจะประเมินจริงๆ ควรจะประเมินไปเลยคือประเมินการบริหารประเทศโดยพรรคประชาธิปัตย์ มันจะชัดกว่า"

    ตรงส่วนแรกที่ว่า "แต่ระบอบยังดี" ผมเข้าใจว่า ที่จริง พิชญ์ต้องการให้หมายถึง "ยังอยู่(ดี)" คือยังไม่ได้พังไปด้วย ไม่ใช่ "ดี" ในความหมาย "ดีชั่ว" ถ้า "ดี" ในความหมายหลังนี้ จะยิ่งแย่ใหญ่สำหรับพิชญ์ แต่ประเด็นจริงๆคือ ไอเดียที่ ดู clever เสนอให้ "แยก" รบ. หรือ แยก อภิสิทธิ์ ออกมาจาก "ระบอบ"(ไม่เอาทักษิณ) นี่มันมีความหมายในเชิงวิเคราะห์จริงๆอย่างไร? รัฐบาลอภิสิทธิ์ ไมใช่ส่วนหนึ่งของ "ระบอบ" นี้หรือ? ไมใช่ ตัวแทนสำคัญ หรือตัวจัดการสำคัญของ "ระบอบ" นี้ ไม่ใช่ การแสดงออกของ"ระบอบ"นี้หรือ?

    QUOTE
    "ประเด็นต่อมา สิ่งสำคัญของคุณอภิสิทธิ์คือคุณอภิสิทธ์บริหารประเทศผ่านสื่อ สิ่งนี้เกิดมาได้ไม่ใช่ความผิดคุณอภิสิทธิ์ แต่เป็นเพราะที่ผ่านมาสื่อบริหารประเทศจริงๆ คือสื่อมวลชนเป็นมาเฟียที่สามารถกำหนดประเด็นทุกอย่างได้ เอาทักษิณก็ได้ ฆ่าทักษิณก็ได้ ฉะนั้นวันนี้งานหลักของรัฐบาลคือการเอาอกเอาใจสื่อ การตอบคำถามสื่อ แต่มันมากเกินไป จนงานคือการตอบคำถามสื่อมากกว่าการแก้ปัญหาประชาชน ถ้าคุณทำให้สื่อพอใจ สื่อก็จะไม่ถามคุณว่าคุณแก้ปัญหาประชาชนหรือเปล่า สื่อก็จะทำหน้าที่รายงานว่ารัฐบาลพูดว่าอะไร ผมไม่ได้คิดว่าคุณอภิสิทธิ์เลวร้ายอะไรนะ แต่พัฒนาการของสังคมในช่วงที่ผ่านมาที่คุณมีสื่อจำนวนมาก มันก็ไม่แปลกที่สุดท้ายรัฐบาลจะต้องเอาอกเอาใจสื่อ"

    ฟัง ดูเหมือนจะ"ดี" ใช่ไหม? คือ ด่าสื่อ แต่ทำไมจึงต้องแก้ตัวให้อภิสิทธิ์ด้วย? เป็นเรื่องตลกที่ยังแก้ตัวให้อภิสิทธิ์ ทำไปเพียงเพราะจะต้องทำตัวเป็น "นักวิชาการ" ที่ "ดูไม่เข้าข้างไหน" แค่น้นเอง คือ เป็นพวกไม่มีกระดูกสักหลังเหมือนนักวิชา "เสรีนิยม-ซ้าย" ส่วนใหญ่นั่นเอง


    อ้า...

    พิชญ์ อาจไม่ทราบแนวความคิดหรือวิธีคิดของอภิสิทธิ์ จึงอาจมอง ตัวอภิสิทธิ์ ว่าไม่มีปัญหา มองเป็นนักากรเมืองรุ่นใหม่ที่ดูดี

    ผม เองก็ไม่ทราบแนวความคิดหรือวิธีคิดของอภิสิทธิ์ แต่มันมีข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจจากกระทู้วิจารณ์สื่อของคุณ "รักในหลวง ห่วงลูกหลาน" ในกระทู้นั้น ได้เล่าถึง ปริญญา เทวาฯ โดยเล่าเกี่ยวข้องไปถึง อภิสิทธิื ที่เป็นอาจารย์ขณะนั้นด้วย ผมอ่านแล้วผมคิดว่า ถ้าจะมีแนวคิดอะไรที่ผลักดัน อภิสิทธิ์ เข้าสู่การเมือง แนวคิดที่ว่าก็ประมาณแบบพวก ปริญญา เทวาฯ แบบพวกที่อ้างว่าเป็นภาคประชาชน หรือ แบบพวกพันธมิตรฯ หรือเก่าหน่อยก็แบบพวก ปชป.ที่มองตัวเองเป็นเทพฝ่ายตรงข้ามเป็นมาร

    ผมเชื่อว่า อภิสิทธิ์ ไม่ได้เล่นเกมการเมืองแบบนักการเมือง หากแต่เกมที่เล่นนั้นมาจาก การมีแนวคิดและวิธีคิดแบบพันธมิตรฯ ต่างหาก

    หากข้อสังเกตนี้เป็นจริง จะรู้สึกสยองมากไหมกับการที่ ตัวแทนความคิดพันธมิตรฯ ขึ้นเป็นนายกฯบริหารประเทศ ?


    Virus

    ใน ขณะที่รัฐบาลกำลังจะแถลงผลงานครบ 6 เดือน และถูกวิพากษ์วิจารณ์ในหลายด้าน พิชญ์กลับบอกว่าการวิพากษ์วิจารณ์เฉพาะรัฐบาลอภิสิทธิ์นั้นไม่ยุติธรรม เพราะหลังจากโค่น "ระบอบทักษิณ" แล้ว ผู้ที่กำลังมีอำนาจและใช้อำนาจอยู่ในขณะนี้คือ "ระบอบไม่เอาทักษิณ" ที่ไม่ใช่เฉพาะประชาธิปัตย์

    อ่านแล้วรู้สึกทะแม่งๆ สุะดุดยังงัยไม่รู้ คุณพิชญ์ทำเหมือนคนเข้าใจปัญหาแต่ตีโจทย์ไม่แตก

    รัฐบาลอธิสิทธิ์ไม่ได้เป็นตัวแทนของระบบไม่เอาทักษิณหรอกหรือ

    การขึ้นมามีอำนาจบริหารปท.ของปชป. ไม่ใชหรือที่ยิ่งทำให้ระบอบไม่เอาทักษิน ยิ่งมีอำนาจนำ

    ในกองทัพ หรือสายตุลาการ แม้กระทั่งนักวิชาการในมหาลัยก้อล้วนแต่มีแต่พวกที่กวักมือเรียกร้องรปห. ขึ้นมามีอำนาจ

    แล้วทำไมวิพากษ์วืจารณ์รบ.อภิสิทธิ์แล้วจะไม่ยุติธรรม เพราะงัยๆเราคงวิจารณ์พวก invisible hand ในทางเปิดไม่ได้อยู่แล้ว


    อ.สมศักดิ์ เจียมธีรกุล

    ถึงคุณอ้า.... กรณีการพูดถึงอภิสิทธิ์ในลักษณะแก้ตัวให้ของพิชญ์ บอกตรงๆว่า ผมไม่"เก็ต"เท่าไร คือไม่รู้สึกว่า make sense อะไร

    ผม มีข้อสังเกตอยู่นิดหนึงว่า กรณีอภิสิทธ์นี้ ดูเหมือน แม้แต่คนที่ critical ต่อพันธมิตร อย่างพวกที่เขียนแสดงความเห็นใน บล็อก Bangkok Pundit หรือแม้แต่อาจจะตัวคุณ Bangkok Pundit เอง มีน้ำเสียง ที่ออกจะดี จนผมออกจะแปลกใจ คืออกมาในทำนอง อภิสิทธิ์ อยู่ในท่ามกลางคนทีแย่ แล้วตัวเองทำอะไรไม่ได้มาก หรือ ถ้าจะวิจารณ์ก็วิจารณ์ว่า อภิสิทธิ์น่าจะกล้า ทำอะไรมากกว่านี้ (กรณีนิธิ นี่ไม่ต้องยกมาซ้ำแล้ว)

    ผม รู้สึกว่า การมองแบบนี้ เป็นเรือ่ง non-sense มากๆ ใครที่สามารถพูดเรื่องเขาพระวิหารแบบทีอภิสิทธิ์พูด (สมัย รบ.สมัคร) ใครที่สามารถเอาด้วยกับกระแสเล่นงานจักรภพ (กรณีปาฐกถา "ระบบอุปถัมภ์") ผมว่า เป็นคนไม่มียางอายเลย และอภิสิทธิ์นี่แหละ แบบฉบับของความไม่มียางอายเลย ผมไม่รู้สึกว่า อภิสิทธิ์เป็นคนที่ใครทีรักประชาธปไตย ควรจะมีความ"รู้สึกดี"ด้วยเลยแม้แต่กระผีกเดียว

    ...............

    ผม อยากเสริมกรณีพิชญ์ อีกเล็กน้อย ผมผิดหวังกับกรณีพิชญ์ จนเลิกผิดหวังไปนานแล้ว คือ โวหารดูเหมือนจะดี น่าสนใจ แต่เมือถึงการวิเคราะห์ที่มีลักษณะ เป็นเนื้อเป็นหนัง โดยเฉพาะเมื่อถึงประเด็นการเมืองสำคัญจริงๆ (เรื่องสถาบันกษัตริย์ และอำนาจที่ล้อมรอบทั้งหลาย) พิชญ์ห่วยแตก

    ให้ผมยกตัวอย่างเล็กๆเรืองนึง

    เมื่อ หลายสัปดาห์ก่อน พิชญ์ รับเชิญไปพูด "โรงเรียนการเมือง มูลนิธิ 111" (พี่จรัล เป็นคนจัด) มีถ่ายทอดทาง NewSky ผมได้ดูโดยบังเอิญ ความจริง ก็นับถือว่า พิชญ์กล้าดี ไปพูดในแวดวงเสื้อแดง ท้งๆที่ตัวเอง ก็ critical ต่อทักษิณ

    แต่มาถึงจุดนึง - นี่คือตัวอย่างที่ผมจะเล่า ถึงความไม่เอาไหนของนักวิชาการ "เสรีนิยม" พวกนี้ - พิชญ์ พูดถึง "กลไก หรือมาตรการ" ที่จะช่วยให้ระบอบประชาธิปไตย "ไม่เป็นที่เบื่อหน่าย" ของคนทั่วไป (เขาใช้คำทำนองนี้ ขออภัย ผมไม่มีคลิป หรือบันทึกยืนยัน) แล้วเขาก็ยกตัวอย่างนึง คือ เรื่อง การจำกัดเวลาอยู่ในอำนาจของผู้นำ คือ ถ้าผู้นำที่แม้จะได้รับการเลือกตั้งตามประชาธิปไตย ถ้าอยู่ในอำนาจนานไป ก็ทำให้คนไม่พอใจได้

    แล้วพิชญ์ ก็ยกตัวอย่างกรณีทักษิณ ...


    ผม ฟังแล้ว ส่ายหัวเลย ตอนนั้น ผมเขียนไปใน C-Box บอกให้คนที่กำลังฟังพิชญ์อยู่ ช่วย relay ข้อความจากผมไปด้วยว่า เป็นการพูดที่ห่วยแตกมากๆ (ไม่มีใครกล้าทำ แม้จะได้อ่านข้อความผม)

    คือ ทักษิณน่ะอยู่ในอำนาจแค่ 5 ปี

    สิ่ง ที่พิชญ์ ควรถาม กับสังคม หรือ ควรตอบตัวเองคือ ทำไม คนอย่างเขา (หรือ"คนชั้นกลาง" นักวิชาการดัดจริต จำนวนมาก) จึงรู้สึก "ทนไม่ได้" เสียเหลือเกินกับการอยู่ในอำนาจของทักษิณ 5 ปี

    แล้วที่อยู่นานกว่านั้น เป็นสิบๆปี ทำไมทนได้ ไม่ทราบ?

    (ผมหมายถึงคนอย่าง "เปรม" นะครับ อย่าหาเรื่องใสความผม)


    We vote No

    อ่านเต็มๆ แล้ว ก็เห็นได้ชัดถึงความห่วงใยที่ พิชญ์ มีต่อ อภิสิทธิ์

    เกรงจะต้องตกเป็น แพะรับบาป รับขี้ ที่ ระบอบไม่เอาทักษิณ

    ที่ใหญ่กว่าโยนให้

    เหตุผลก็พอเข้าใจ คือ คนพวกนั้นก็ร่วมกันกระทำมา ดังนั้นควรรับผิดชอบด้วย

    จะให้ ม้าก รับไปคนเดียวได้ไง

    ส่วนเหตุผลที่พิชญ์ เห็นใจอภิสิทธิ์มากนั้น พบในย่อหน้านี้

    QUOTE
    "... คือเป็นเรื่องน่าสงสาร คุณอภิสิทธิ์ไม่พร้อมแต่จำเป็นต้องขึ้น เพราะระบอบนี้เอาใครไม่ได้แล้ว เพราะคนก่อนหน้า ระดับองคมนตรียังเอาไม่อยู่ พอกลับมาหานักการเมือง คุณก็เจอนักการเมืองแบบนี้ เพราะคุณมี choice แค่ 2 แบบคือนักการเมืองที่ clean แต่แก้ปัญหาอะไรไม่ได้ กับนักการเมืองที่ corrupt แต่มีโปรเจ็คให้ประชาชน ได้รับความนิยม"

    ที่ไม่เข้าใจ หรือจะว่า ไม่เห็นด้วย กับ พิชญ์ ก็คือ

    การที่เห็นอภิสิทธิ์ "clean แต่ไร้ความสามารถ" นั้น

    ทำให้ถึงกับต้องไปเชียร์ และหวาดหวั่น แทนระบอบใหญ่ที่ว่า

    จะแพ้ ความสามารถในการเข้าถึงสื่อ และเข้าถึงประชาชน (ชั้นล่าง) ของทักษิณ

    (big surprise ทีวีผ่านดาวเทียม จากนอกประเทศ - ASshole TV ทำตัวอย่าง

    ไว้ดีเจงๆ - เรียกว่า ดาบนี้คืนสนอง)

    เชียวหรือ?

    กลัวว่าฝ่าย "เทพ" จะแพ้ "มาร"?

    แบบนี้มันไม่ใช่ "สองไม่เอา" แล้วมั้ง


    อ้า...

    ถึงคุณWe vote No พิชญ์ น่าจะทบทวนบุคคลและเหตุการณ์ปี 2549 อีกครั้ง

    หลัง การยุบสภาต้นปี 2549 ไม่ว่านักการเมืองจะเล่นเกมการเมืองอะไรในประเด็นการปฏิรูปการเมืองที่ดู วุ่นๆตอนนั้น ระบบมันก็ไปได้ มาร์ค ยังพูดว่าพร้อมต่อสู้ศึกเลือกตั้ง และผมจำได้ว่า มาร์ค บอกว่า พร้อมเป็นนายกฯ ด้วย

    ครั้น พันธมิตรฯ เสนอให้มาร์ค บอยคอต เลือกตั้ง มาร์คก็กลับคำในวันเดียว บอยคอตเลือกตั้งทันที

    ลองลำดับดูว่า การบอยคอตเลือกตั้งทำให้เกิดอะไรในเวลาต่อมาบ้าง ?

    การ บอยคอตเลือกตั้ง ทำให้ การเลือกตั้งไม่อาจเสร็จสมบูรณ์ เกิดเป็นปัญหากับทาง กกต. เกิดฎีกานายกฯพระราชทาน เกิด พรด.และการตีความพรด.เป็น ตุลาการภิวัฒน์

    เมื่อเกิดรัฐประหารปี 2549 นักประชาธิปไตยอย่างมาร์ค พูดอย่างไร (ผมขี้เกียจไปจำ เลยจำไม่ได้)


    จากประชาไท

    ความคิดเห็นของ doctor J (visitor) (127.0.0.1 58.8.83.227) .. Mon, 2009-08-03 10:51

    บทความนี้ของคุณพิชญ์จะมีคุณค่ามากกว่านี้ ถ้าคุณพิชญ์กล้าหาญพอจะบอกว่า กลุ่มไม่เอาทักษิณคือใครบ้าง

    ยังไงก็ต้องขอบคุณผู้เขียน ที่ดูจะแหลมคมในการวิเคราะห์มากขึ้นทุกวัน เริ่มชัดเจนมากขึ้นทุกวัน สะเปะสะปะน้อยลงทุกวัน

    ผม เห็นด้วยกับแนวคิดที่ว่าเป็นกลุ่ม"ไม่เอาทักษิณ" เป็นคำอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองในระยะนี้ได้ดีที่สุด เป็นการตั้งสมมติฐานที่อธิบายได้ดีที่สุด จนกว่าจะมีใครตั้งทฤษฎีที่อธิบายได้ดีกว่านี้ ผมจะยังยึดแนวคิดนี้เป็นแกนกลางในการมองการเมืองไทยในระยะนี้

    ปัญหา เดียวที่ผมเห็นได้จาก บทสัมภาษณ์คุณพิชญ์อันนี้ คือ คุณพิชญ์ยังไม่กล้าพอที่จะออกมาระบุว่า กลุ่มที่ไม่เอาทักษิณประกอบด้วยใครบ้าง

    อีกประเด็นที่ผมยังเคลือบ แคลงอยู่ในใจตลอดคือ ผมไม่มั่นใจว่า กลุ่มที่ใหญ่โตมโหฬารขนาดนี้ แต่ละพวกก็ล้วนแต่ใหญ่คับโลกคับฟ้าทั้งนั้น มารวมกันโดยไม่มีผู้นำได้อย่างไร ผมยัง"รู้สึก"ว่า กลุ่มนี้น่าจะมีผู้นำเหมือนกัน และบุคคลที่จะมาเป็นผู้นำกลุ่มนี้ได้ ต้องมี"บารมี" มากล้นพ้นเกินปัญญาอันน้อยนิดของผมจะจินตนาการได้ ต้องรบกวนคุณพิชญ์ช่วยตอบประเด็นนี้เหมือนกัน

    ผมเชื่ออีกอย่างว่า กลุ่มนี้ต้องการเพียงแค่"ถีบ"ทักษิณออกไปให้พ้นทางเท่านั้น ไม่ได้มีagendaอื่นใดอีก ส่วนแนวทางการเมืองของกลุ่มนี้ คือ manipulated democracy หรือที่ Hewison เรียกมันว่า Thai style democracy นั้นเอง ลองไปหาอ่านเอาเอง ขี้เกียจท้าวความ ความจริงบทความนั้นเขียนมาหลายสิบปีแล้ว แต่แปลกตรงที่มันยังอธิบายการเมืองไทยทุกวันนี้ได้ดี ไม่รู้ว่าควรยกย่องว่าคนเขียนวิเคราะห์สังคมไทยได้ลึกถึงแก่น หรือเป็นเพราะสังคมไทยไม่เคยพัฒนาเลยตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมากันแน่


    ความคิดเห็นของ เป็นใครไม่สำคัญ (visitor) (127.0.0.1 116.58.231.242) .. Wed, 2009-08-05 02:20

    ส่วน หนึ่งพิชญ์เองก็คงพูดอะไรยากหน่อย เพราะอยู่ในปีกลูกพี่ใหญ่อธิการเชียร์เสื้อเหลือง เลยพูดคลุมเครือๆ ไปบ้าง แต่สาระหลักก็คือ สมาชิกพรรค no takky มันมีหลากหลาย แกนนำก็ไม่แสดงตัวออกมาชัดเจน มีอย่างเดียวคือภาพพ่อรูปหล่อถูกเชิดออกมา ในภาพรัฐบาล ออกมาเป็นตัวหนังหน้าไฟแทน

    ดังนั้นถ้าจะด่า มันต้องด่าสมาชิกอีแอบ พวกนั้นด้วย เท่านั้นเอง

    แต่ พอพิชญ์ พูดไม่ชัด การจะร่วมสังฆกรรมด่าอีแอบด้วยเลย เป็นมึนๆ แบบคุณ "ไม่รู้ว่าใคร" นั่นแหละ ถ้าพยายามขุดค้นตามตรรกของ ลุงมาก (Karl Marx) ที่ชี้ว่า ปมความขัดแย้ง ระหว่าง ทักกี้ กับโนทักกี้ มันก็ไปอยู่ที่ปัจจัยการผลิต

    ในยุคนี้ปัจจัยการผลิตก็หมายถึงเรื่องผลประโยชน์นั่นแหละ

    ถ้า ว่ากันตามหลักการเคลื่อนไหวขบวนการทางสังคม องค์ประกอบที่ทำให้เคลื่อนขบวนสำเร็จ ได้ ยังไงมันก็ต้องมีความสามารถในการระดมทุน ซึ่งประกอบด้วย 1.แกนนำหรือหัวขบวน 2.ข้ออ้างเพื่อการระดมทุน 3.นายทุนขบวนการ 4.เครื่องมือในการแพร่กระจายข้อมูล 5.ผู้เข้าร่วม 6.การเคลื่อนขบวน 7.ข่าวร้ายเพื่อขยายวง และข่าวดี เพื่อการร่นถอย 8.หัวเชื้อสำหรับปลุกม็อบกลับมาใหม่

    ข้ออื่นๆ ช่างหัวมัน มาดูตรงข้อ 3 ว่า "นายทุนขบวนการ" นายทุนหลักของขบวนการมันมีอยู่ ทั้งปีกทักกี้ และโนทักกี้ คำถามคือ นายทุนพวกนี้ เป็นใคร มาจากไหน ในเมื่อเป็นนายทุนด้วยกันแล้วแยกปีก สนับสนุนคนละฝ่ายได้อย่างไร

    ถ้า มองแบบ "วัตถุนิยมประวัติศาสตร์วิภาษวิธี" เพื่อหาคำอธิบายต่อไป ก็พอจะบอกได้ว่า โดยธรรมชาติ นายทุนมันก็แข่งขันเพื่อชิงผลประโยชน์กันอยู่แล้ว ถ้าย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์นายทุนไทย ก็จะพบว่า "มันเป็นการเติบโตขึ้นภายใต้การถูกครอบงำ" ซึ่งก็คือรัฐนั่นแหละครอบ

    ใน ยุครัฐศักดินา กลุ่มนายทุนเชื้อสายจีน ที่เป็นเสรีชน ขณะคนไทยที่เป็นข้าราชการ ก็มีระบบคิด ไม่เอื้อให้ประกอบการค้า ส่วนคนไทยทั่วไปยังเป็นชนชั้นไพร่ หรือทาส ต้องสังกัด "มูลนาย" หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดย "คณะราษฎร" ทำให้ข้าราชการมีอำนาจมากขึ้น โดยกลุ่มเจ้าๆ ทั้งหลายถูกเขี่ยพ้นวังวนผลประโยชน์ นอกจากหากินกับพื้นดินเดิมที่ตัวเองเคยอยู่ พวกคนเชื้อสายจีน ก็หันมาเกาะข้าราชการ จนกระทั่ง ยุคทหารเรืองอำนาจในทางการเมือง

    ถ้า พิจารณาดูกลุ่มทหารที่ครองอำนาจกันยานนาน ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จะพบว่า มีตั้งแต่ จอมพล.ป.พิบูลสงคราม/ จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ เริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ปี2504) / จอมพลถนอม กิตติขจร /แล้วคั่นด้วยพวก นายกฯ ตัวประกอบอดทน/ แล้วมาถึง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์/คั่นด้วยรัฐบาลตัวประกอบอดทน /พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

    ยุค หลังสงครามโลก รัฐบาลยังไม่เก่งการใช้จ่ายมากนัก เมื่อถึงยุคจอมพลสฤษดิ์ นี่แหละรัฐบาลเริ่มผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า "ไอ้นโยบายห้ามเอกชนตั้งห้ามเอกชนขยาย เพราะรัฐจะทำรัฐวิสาหกิจเอง" ก็ตรงนี้แหละ ฟันรายได้เข้ากระเป๋ารัฐมนตรีดีนักแล กลุ่มนายทุนผูกขาดรุ่น เก่าๆ ทั้งหลาย ก็เติบโตมาตรงนี้แหละ เช่น

    1.กลุ่มนายทุนผูกก่อสร้าง (ได้งบรับเหมาก่อสร้าง)
    2. พวกโรงงานอุตสาหกรรม แปรรูปพืชผลการเกษตร (ฝ่าด่านนโยบายห้ามตั้งห้ามขยาย และต้องควบคุมพื้นที่การเกษตร และพวกคนงาน) ก่อนหน้านี้มีรายงานข่าวไร่นรก หลอกคนไปทำงานไร่ แล้วกักตัวไว้เป็นทาสกสิกรรม ก็คนพวกนี้แหละ
    3.นายทุนการเงิน (ยุคหนึ่งถูกเรียกว่าปลิงสูบเลือดคนจน)
    4.การค้าส่งออก (บริษัทผูกขาดการส่งออกโดยโควต้า)
    5. ทอผ้า (เพราะพวกนี้ผลิตด้วย) พวกนี้ต้องซบรัฐบาล เพราะเกี่ยวกับการผลิต ที่มีคนงานจำนวนมาก มีพลังเคลื่อนไหวนัดหยุดงาน และเพื่อโควต้าการส่งออกด้วย

    ในยุค พล.อ.เปรม นี่แหละ เศรษฐกิจตกต่ำรัฐมนตรีในรัฐบาล ได้เอานโยบายการลงทุนโดยรัฐ ที่เรียก "ระบบเคนส์" นั่นแหละมาใช้ ผลก็คือ เศรษฐกิจเติบโต โดยเฉพาะการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ ขุดคลองเป็นถนน ถมถนนให้เป็นคลองนี่แหละ ทำให้พ่อค้าก่อสร้างเติบโต เพราะได้รับสัมปทานจากรัฐ ก่อสร้าง ทำเอาธุรกิจอื่นพลอยเฟื่องฟูไปด้วย แม้กระทั่งกลุ่มปูนซีเมนต์ กลุ่มรับประกันสินค้า

    ยิ่งหลวงพ่อเปรมครองอำนาจยาวนานถึง 8 ปี ซึ่งมี "พรรคประชาธิปัตย์" เคียงข้างมาโดยตลอด ทำให้กลุ่มทุนเก่าสถาปนาอำนาจเหนือ กลุ่มทุนนอกอุปถัมภ์ประชาธิปัตย์และป๋า จนเติบโตและแข็งแรงเหนือกลุ่มอื่น

    แม้กระทั่งข่าวลือที่ทำเอา ธ.กรุงเทพ ยักษ์ใหญ่แบงก์ไทยยุคป๋า เกือบล้ม ที่ต่อให้หลวงพ่อคูณมาสวดสิบจบก็ยังอาจช่วยไม่ได้ แต่มนต์หลวงพ่อเปรมนี่แหละสุดยอดกว่า เสกเงินย้ายจากแบงก์ชาติ ไปวางหลังเคาน์เตอร์แบงก์กรุงเทพ ทำให้สถานการณ์พลิกฟื้นคืนตัวรอดตายไป มีข้อสังเกตว่า ม็อบเสื้อเหลืองมีชื่อแบงก์กรุงเทพสนับสนุน แถม คุณหญิงตาวิเศษ กัลยา ก็เป็นส.ส.ปชป. กลุ่มซิโนทัย ก็เติบโตมาตั้งแต่ยุคถนอมแต่รุ่งเรืองช่วงป๋าครองอำนาจ ได้เป็นผู้สร้าง อุโมงค์เชื่อมต่อดอนเมืองสุวรรณภูมิ โดยมีรัฐบาล คมช.หนุนเงินช่วย ตอนนี้ผู้นำกลุ่ม กลายเป็น รมต.มท.ในรัฐบาล ปชป.

    มาถึงยุครัฐบาลทัก กี้ โดยส่วนใหญ่กลุ่มทุนที่เติบโต มักเป็นพวกทำมาหากินกับการค้าขาย หรือกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดกลาง อาจมีเชื้อทรากกลุ่มทุนกลุ่มเก่าๆ คือ กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็นรายเล็กๆ เมื่อเทียบกับกลุ่มอิตัลไทย กลุ่ม ช.การช่าง ในยุคป๋า จนยุคทักกี้ ถูกกล่าวหามา ตลอดว่าแจกผลประโยชน์ให้กับพวกพ้อง มีผลประโยชน์ทับซ้อน

    จริงๆ มันก็หาแด๊กทับซ้อนทุกรัฐบาลนั่นแหละ ไม่เคยมีรัฐบาลไหนไม่ทับซ้อน แม้กระทั่งยุคหลวงพ่อเปรม ก็มีรายงานการทำมาหารับประทาน การคอรัปชั่นไม่ได้น้อยหน้าไปก่อนใคร แม้กระทั่ง การแต่งตั้ง "ลูกป๋าๆ" ทั้งหลาย "เหยียบหัวรุ่นพี่" ขึ้นไปนั่งแท่นอย่างสง่า รัฐบาลป๋าก็ทำมาแล้ว อาจเป็นเพราะประสบการณ์เส้นทางนายทหารของป๋า ก็เป็นทำนองเดียวกัน เลยไม่น้อยหน้าใครเพื่อน จนถูก "ลูกป๋า จปร.7" หมั่นไส้ พยายามจะยึดอำนาจขับไล่ สุดท้ายป๋าต้องหยุดให้สัมภาษณ์

    เนื่องจากป๋า เติบโตมาแบบนายทหารผู้น่ารักและกว้างขวาง รู้แต่เรื่องออกคำสั่งทหารซ้ายหันขวาหัน ไม่รู้เรื่องการเมือง ไม่รู้เรื่องทุน เขาสอนยังไงก็ทำตามหมด ทำให้นายทุนเติบโตและเข้มแข็งกับระบอบป๋า เลยทำให้ด้านหนึ่ง รัฐสามารถทำให้ "ทุนเติบโตภายใต้การกำหนด" แต่อีกด้าน "นายทุนเข้ามากำหนดรัฐบาลเพื่อเอาประโยชน์" เช่น กรณีพอกท่อ ที่เดิมรัฐสั่งติดตั้งท่อร้อยสายเคเบิลใต้น้ำ เส้นผ่าศูนย์กลาง 120 ซม.ใต้ทะเล นายทุนติดให้ 80 ซม. พอถูกซักฟอกป๋าเลยอนุมัติงบ ให้เอาไปพอกท่อให้เป็น 120 ซม. เพื่ออุ้มนายทุน ป๋าก็ทำมาแล้ว

    แต่พอ ยุคทักกี้ กลายเป็นทุนกลุ่มใหม่รุ่นใหม่ๆ ที่โตเอาๆ แถมอ้ายพวกเชื้อทรากกากเดนสังคมรับเหมาก่อสร้าง ยังเติบโตมากินหัวคิวจากสัมปทานรัฐ โครงการใหญ่ ให้พวกรุ่นเก่าหมั่นไส้ เมื่อประกอบกับการดำเนินนโยบายรัฐบาลทักกี้ นอกจากจะเบียดกลุ่มทุนเก่าออกนอกระบบอุปถัมภ์ตัวเอง ยังเปิดทางทำมาหากินไม่ให้ทุนเก่าฟันกำไรอีกต่างหาก

    จากงานวิจัย เรื่องการทำกำไรของแบงก์ ยุคทักกี้ของ ม.ธรรมศาสตร์ ที่เปิดเผยออกมาในปี 2550 พบว่าอัตราทำกำไร ต่ำที่สุด ก็จะทำกำไรได้ไง เมื่อรัฐบาลเปิดตัวกองทุนสารพัดกองทุน ที่กู้เงินง่ายกว่า ดอกเบี้ยต่ำกว่า ออกมา นี่ยังไม่พูดถึง OTOP ที่พวกคุณหญิงคุณนายอดทำกำไร จากเดิมเคยเดินสายกว๊านซื้อผลงานฝีมือชาวบ้านราคาถูก แล้วเอาไปอัพราคา ที่ตลาดต่างประเทศ แต่มารัฐบาลนี้ เจ้าตัวดันทำเองขายเองเป็นสินค้า OTOP ซะนี่

    นี่ขนาดยังอยู่ไม่นานเหมือน รัฐบาลหลวงพ่อเปรมนะ

    เมื่อ ประกอบกับพวกนายทุนเกเรอื่นๆ ที่หวังจะได้ประโยชน์แล้วไม่ได้ ตามใจฉัน เลยพาลพาโล ก็อย่างว่าแหละ "วาทกรรม" อื่นๆ เลยเกิดขึ้นสารพัด ตามมา ไม่ว่าจะเป็น วาทกรรมรุ่น "เตรียม10เหยียบรุ่นพี่บี้รุ่นน้อง" นี่แค่แซมเปิ้ล ที่เหลือคงรู้ๆ กันอยู่ว่าอะไรบ้าง โดยเฉพาะ 4 ข้อที่ คปค.อ้างมายึดอำนาจรัฐ แล้วผลก็อย่างที่รู้ๆ กัน

    คงพอจะเห็นภาพขึ้นมาแล้วนะ ว่ากลุ่มทุนนอกเหนือจากกลุ่มทุนทักกี้แล้วมีใครบ้าง เข้ามาเกี่ยวกับตรงนี้ได้ยังไง

    แต่ เมื่อพูดถึง "ผลประโยชน์ทับซ้อน" การตั้งศูนย์ความสนใจอยู่ที่รัฐบาลทักกี้ ดูจะไม่แฟร์ จะให้ดีควร เจาะทลวงการเปลี่ยนขั้ว กลุ่มทุนที่เกาะกินกับกระทรวง กรม กองต่างๆ น่ะ ไล่มาจากรัฐบาลหลวงพ่อเปรม กระโน้น...มาจนถึง ทักกี้เอย สุรยุทธ์เอย สมัคร สมชาย มาจนถึงอภิสิทธิ์ แปดแสนล้าน หรือเอาช่วงสั้นๆ จาก "ทักกี้ สุรยุทธ" ถึง "อภิสิทธิ์ แปดแสนล้าน" ก็ยังไม่เลว

    แบบนี้ค่อยแฟร์ ทำให้ชาวบ้านเห็นภาพชัดว่า ใครเป็นใคร เพราะคนพวกนั้น ตอนนี้ยังมีบทบาทในสังคมไทย และแน่นอนว่า นายกฯแบบทักกี้ ชาวบ้านยังเดินขบวนด่าได้ ไล่ได้ ยังไม่โดนตอบโต้ หรือตีกบาล อย่างมากแค่ขู่

    แต่กับรัฐบาลทุนเก่านี่ 8 เม.ย.52 แสดงให้เห็นแล้วว่าใครจะมาหือไม่ได้ เพราะเครือข่ายตัวช่วย ที่เติบโตมาในสังคมช่วงเดียวกันถึงไม่รู้ว่า ใครเป็นใคร แต่เส้นทางปมปัญหา ทำให้พวกนั้นเปิดตัวออกมาทีละคนสองคน แล้วในสิ่งที่รู้ๆ เห็นๆ กันอยู่นี่ จะให้พิชญ์ พูดอะไรต่อไปมากมายทำไมกัน


    ความคิดเห็นของ doctor J (visitor) (127.0.0.1 61.90.9.101) .. Tue, 2009-08-04 09:40

    ตอบคุณงานกร่อย

    การเชื่อว่า กลุ่มไม่เอาทักษิณต้องการเพียงแค่"ถีบ"ทักษิณออกไปให้พ้นทางเท่านั้น
    เป็นการเชื่อแบบที่ต้องสำรวจตนเองแล้วว่ามีสติปัญญาอยู่แค่ไหน
    กระแสไม่เอาทักษิณไม่ได้มีโดยข้ามคืน
    กระบวนการมันมีการพัฒนา


    เหตุผลที่ผมเชื่ออย่างนั้น เพราะ

    (๑) กลุ่มไม่เอาทักษิณ ไม่แสดงความตั้งใจเอาผิดทักษิณจริงๆ คตส.อำนาจล้นฟ้า แต่งมโข่งอยู่เป็นปีฟ้องร้องได้คดีเดียว แถมคดีเดียวที่ได้ ก็ต้องอาศัยการตัดสินชนิด นักกฏหมายส่ายหน้า อาจารย์กฏหมายอย่างวรเจตน์แทบจะตัองเผาตำราทิ้ง ไม่รู้จะอธิบายให้นศ.ฟังถึงหลักการเหตุผลพิลึกพิลั่นของคำตัดสินอย่างไร คดีอื่นๆที่คุยว่าเจ๋งๆ ไม่เห็นได้เรื่องสักคดี

    ที่เขียนเพราะอยาก ให้ทำให้เป็นเหตุเป็นผล ด้วยหลักฐานและกระบวนการที่"ยุติธรรม"จริง ผมจะยอมรับ สังคมจะยอมรับ ทักษิณก็จะแถต่อไปไม่ได้ด้วย

    (๒) การเขียนรธน.ใหม่ ที่จงใจจะกีดกันทักษิณมากกว่า หาได้พยายามแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างของระบบการเมืองไม่ ที่จริงยังไม่เคยวิเคราะห์ปัญหาทักษิณอย่างเป็นระบบ,เชิงโครงสร้างเลยด้วย ซ้ำไป รธน.ใหม่จึงสร้างความปันป่วนต่อทุกรัฐบาลรวมทั้งมาร์คด้วย เพราะมีศาจเจ้าพ่อเจ้าแม่เข้ามาmanipulate แถมอำนาจการตรวจสอบ ตกอยู่ในมืออรหันต์เจ็ดคนเท่านั้น ประเทศนี้ชี้ขาดโดยคนเจ็ดคนเท่านั้น เป็นปชต.จังเลยนะ

    กลุ่มไม่เอาทักษิณที่คุณว่ามีสติปัญญาทำไม เอานักกฏหมายเมื่อวานซืนมาเขียนรธน. ที่ยุ่งเหยิงกว่าเดิม หรือตั้งใจจะหมกเม็ด?

    ผมเขียนชัดออกอย่างนี้แล้วยังจะหาว่าผมไม่มองปัญหายุคทักษิณ? ปัญญาอ่อนเอามาก

    แต่ ทักษิณจะเอี้ยแค่ไหน ก็ไม่เป็นเหตุผลให้ใครนำไปอ้างล้มล้างการปกครองด้วยระบบปชต.ครับ มีแต่นักประชาธิปไตยจอมปลอมตอแหลอย่างที่สมศักดิ์ เจียมธีระสกุลชอบเรียกเท่านั้น ที่เพิกเฉยต่อการรัฐประหาร

    แต่ที่ แนนอนก็คือ ยังไม่มีคนไม่เอาทักษิณคนไหนกล้าจะออกมาบอกผมตรงๆเลยว่ากลุ่มไม่เอาทักษิณมี ใครบ้าง นอกจากแอบๆมาแถอยู่ในเรื่องคัดค้านการถวายฎีกา ถ้าเชื่อว่าตัวเองถูกต้องชอบธรรมจริงก็แสดงตัวซิครับ

    ขนาดคดีที่เห็นชัดๆง่ายๆอย่างที่ดินรัชดายังมีการอ้างด้านๆว่าทำไมเมียซื้อไม่ผิด แต่ผัวเซ็นต์ยินยอมผิด

    ประเด็น ที่นักกฏหมายอย่างวรเจตน์ ภาคีรัตน์แห่งภาควิชากฏหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ไม่เห็นด้วยคือการตีความว่า นายกฯเป็นผู้บังคับบัญชาของบบส.เจ้าของที่ดินผืนนั้น ที่ภรรยานายกฯไปประมูลซื้อ จึงเข้าข่ายความผิดตามกฏหมายปปช.

    การตี ความกฏหมายแบบนี้ ต่อไปนายกฯจะไปทำนิติกรรมสัญญาซื้อขายกับหน่วยงานราชการใดในประเทศไทยไม่ได้ เลย เพราะนายกฯเป็นหัวหน้าสูงสุดของหน่วยงานรัฐทุกแห่ง คิดว่าการสร้างมาตรฐานของกฏหมายฉบับนี้แบบนี้ถูกต้องและสมเหตุสมผลหรือไม่? ผู้สนใจลองไปหาอ่านดูในหนังสือ"จุดไฟในสายลม"ของอ.วรเจตน์ได้ครับ

    ส่วน ใครจะตีความว่าคนที่มีความเห็นอย่างวรเจตน์หรือผม เป็นขี้ข้าทักษิณก็ตามใจครับ แต่ถ้าคิดอย่างนั้นจริงๆ ช่วยไปทวงเช็คค่าเขียนเลียทักษิณมาให้ผมด้วย เขียนเลียมาเป็นปีแล้วยังไม่ได้ตังค์สักบาทเลย ช่วยสงเคราะห์หน่อย แฮะๆ

    พอเขาใช้เวลาเพิ่อพิจารณาคดีนานหน่อยก็กลายเป็นว่าเอาผิดไม่ได้

    ผมจะรอดูครับ ว่าข้อสังเกตของผมถูกหรือผิด เวลาเท่านั้นเป็นตัวตัดสิน ไม่วิจารณ์อะไรอีก

    ไอ้เรื่องนักประชาธิปไตยจะจอมปลอมหรือปล่าว อย่าไปสนใจเลย
    มันน่าสนใจมากกว่าว่า ทักษิณบริหารประเทศแบบไหนถึงทำให้นักประชาธิปไตย
    เหล่า นั้นไม่ปฎิเสธรัฐประหารครั้งนี้ ทั้งที่พวกเขาเคยผ่านการต่อสู้กับเผด็จการทหารมาอย่างโชกโชน ในขณะที่พวกชอบอ้างประชาธิปไตยตอนนี้ไม่รู้มุดหัวอยู่ที่ไหน


    ถ้า คนที่คุณเรียกว่านักประชาธิปไตย อ้างว่าเคยต่อสู้เผด็จการทหารมาโชกโชน แต่ไม่ปฏิเสธการรัฐประหารโดยทหาร ที่อ้างเหตุผลความผิดพลาดของทักษิณ อย่างนี้เรียกว่านักประชาธิปไตยด้วยหรือครับ ต่อสู้เผด็จการทหารแบบไหน จึงยอมรับการรัฐประหาร ต่อให้ทักษิณเลวแค่ไหน เป็นเผด็จการเสียงข้างมากอย่างที่คุณชอบกล่าวหา แต่ไม่เป็นเหตุผลให้แก้ด้วยการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเด็ดขาด คนแบบนี้ไม่ไช่นักประชาธิปไตยแน่ ผมรับรองได้ว่าผมไม่ได้เป็นคนเดียวที่คิดอย่างนี้แน่นอน


    ความคิดเห็นของ อะตอม (visitor) (127.0.0.1 192.168.1.202, 124.121.17.48) .. Wed, 2009-08-05 11:51

    ก่อน อื่นขอชมคุณพิชญ์ เป็นคนรุ่นใหม่ ที่เป็นอนาคตประเทศ ในนี้ผมเห็นหลายคนเช่น คุณศิโรฒแม้พี่ชายจะเป็นคนปชป.แต่วิธีคิดเขาไม่ได้ติดกรอบความคิด แค่นั้นเขาเป็นคนที่วิเคราะห์บ้านเมืองอย่างเป็นวิชาการน่าสนใจ และคุณพิชญ์เหมือนกัน แต่รายคุณพิชญ์น่าจะติดกรอบสถาบันฯ(ต้นสังกัด)มาค่อนข้างมาก มันมีผลอย่างไรกับกรอบวิธีคิด ก็ไปย้อนดูที่มาที่ไปของจุฬาฯต่อบทบาทปัญหาบ้านเมืองก็จะพอรู้ว่ากรอบแบบ พิชญ์มันอยู่ตรงไหน?

    แต่ภาพรวมแล้วสวยงามมีความหวังในตัวแทนคนรุ่นใหม่ครับ???

    มา ที่เนื้อหา ผมไปแบบตามน้ำตามบทวิเคราะห์คุณพิชญ์เป็นหลัก จะไม่พยายามไปสรุปเนื้อหาใหม่ หรือเพิ่มอะไรลงไป(แม้บางทีผมจะค่อนข้างเสริมหรือเพิ่มเติมส่วนของผมลงไปแบบ ลืมตัวเพราะมันไหลไม่รู้จะคุมได้แค่ไหน)

    เอาที่เรื่องโฆษกธิปไตยกับ โฟนอินธิปไตย และอนาธิปไตย(หรือปชต.ข้างถนน) ผมชอบสีสันในการสร้างคำ เพื่อกระชับความเข้าใจอย่างมีสีสันตรงนี้ครับ (หลายคนไปจับเรื่องเล่นคำ แบบอ.ธีรยุทธผมว่าไม่ใช่) แต่เป็นการสร้างสีสันในคำจำกัดความในการพยายามนำเสนอ ที่ครีเอท เป็นเมนูพิเศษก่อนเสิร์ฟให้น่าสนใจ ผมว่าคุณพิชญ์ค่อนข้างผ่าน เพราะมันค่อนข้างชัดกระชับเข้าประเด็น?

    เพราะการบริหารประเทศผ่าน น้ำลายนั้น มันจะฟุ้งฯจนกลายเป็นน้ำท่วมทุ่งจับต้องอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอันไม่ได้? โดยเฉพาะเทพไทฯโฆษกพรรค นี่เจตนามาผลิตวาทะกรรมตอบโต้แบบปชป.ชัดมาก คือมัดสาดโคลนหาความเป็นชิ้นเป็นอันอย่างคนมีวุฒิภาวะผู้นำไม่ได้หรือความ เป็นรบ.ที่ต้องมีวุฒิภาวะในการตอบโต้กว่านั้น?

    ส่วนสาแทะ ลงหนองเลย(สาทิตย์รมต.ที่คุมกระทรวงสื่อ) หลงหนองเลยจริงๆ? หลายเรื่อง?ที่ชัดคือวิธีคิดที่ใครมาก่อนไม่รู้?ในการบริหารกระทรวงนี้ แต่ไม่ใช่ปชช.ต้องมาก่อนแน่นอนตามสโลแกนพรรคที่เขียนไว้ประดับพรรคที่ไม่เคย เห็นรูปธรรมว่าจะเป็นตามนั้นอย่างจริงจัง เพราะบทบาททหารเอกในกรงลิงมันชัดกว่า???

    ส่วนที่คุณพิชญ์ให้คำจำกัด ความกับพวก"ระบอบไม่เอาทักษิณ" นั้น ผมจะนิยามให้ชัดกว่านั้น นั้นก็คือ"ระบอบประชาธิปไตยไม้ดัด" หรือ"ระบอบสวนสัตว์" คือมันค้านกับปชตที่มีปรัชญาไปทาง"นิเวสน์ประชาธรรม"หรือ"ป่าปกสรรพสัตว์" แต่แนวคิดกลุ่มไม่เอาทักษิณนี้คือ ปชต.ไม้ดัดหรือ"ระบอบสวนสัตว์"ครับชัดเจนมาก(มีเวลาจะมาขยาย)

    โดยมี รบ.มาร์คหนึ่งคือทหารเอกในกรงลิง และพธม.คือทหารราบในกรงลิง มันไปไม่รอดเพราะ มันจะเอาระบอบสวนสัตว์ที่สวนทางกับระบบ"นิเวสน์ประชาธรรม"ของปชต.และของโลก ยุคโลกาฯคือมันจะอยู่กับเขาอย่างขวางๆหรือไม่เป็นส่วนหนึ่งในระบบแบบที่ลง ตัวไปกับเขาได้

    อย่างที่หัวข้อที่คุณพิชญ์ว่าไว้ เรื่องระบอบที่ไร้ระบบนั้นล่ะ? คือมันกรงใครกรงมัน ถ้าปล่อยออกมาหากันเมื่อไหร่มันก็กัดกัน ? คือมันอยู่ด้วยกันตามหลักพึ่งพาทุกหนึ่งคือในนั้นอย่างเป็นธรรมชาติไม่ได้ เพราะปฎิสัมพันธุ์แบบปกติไม่มี? มันเป็นระบบแบบสหาบาท คือโครงสร้างที่ขามันเยอะ เหมือนมีระบบตรวจสอบเยอะ แต่ทำงานไปคนละทาง(เพราะเขาจับให้อยู่คนละกรงทำงานตาม"ธง"ที่ตั้งโดยพระยา อภิบาลเจ้าของสวนสัตว์เดียวกัน) แบบไม่สามัคคีกัน

    มันไม่โฟลล์ไม่ เป็นธรรมชาติ เพราะโครงสร้างมันคือปชตไม้ดัดหรือระบอบสวนสัตว์ และแนวคิดและโครงสร้างหลักๆที่มันขัดกันไปกันไม่ได้ก็คือเรือยนต์ปชตแต่กาง ใบสมบูรณ์ฯร่นเก่าเอาไว้ คือทั้งติดเครื่องยนต์ปชต และติดเบรคกางใบเอาไว้ กัปตันสองคนเหยียบเรือสองแคม ตะบี้ตะบันดันกันคนละทิศทางคนละเครื่องมือนำทาง

    พลวัฒน์มันจึงคือการหมุนเพราะแนวทางมันสวนทางกันไปในลักษณะดันกันไม่ใช่ดุลกัน

    ก็ อย่างที่พิชญ์บอกว่า เรื่อง ฝ่ายปชต.ไม้ดัด ต้องการสร้างความแข็งแกร่งจากภายใน(จริงๆไม่ใช่เป็นแค่วาทะกรรม) แต่ตัวตนคือสมถะพอเพียง(อนุรักษ์สุดโต่งลงทางแคบ) หรือ"แบบบ้านเสาเดียว"มันคนละอย่างกับ"สมดุล"หรือ"พอดี"ที่คือทางสายกลาง จริงๆ แต่สมถะพอเพียงนั้นคือแนวทางสมถะไม่ใช่สมดุล อย่างที่พยายามสร้างวาทะกรรมหลายอย่างมาประกอบให้เพี้ยนไปจากตัวตนของคำนี้ นั้นคือ"เศรษฐกิจพอเพียง"(คำนี้ผิดหลักภาษาในเจตนาที่อยากจะสื่อ แน่นอน)

    จะ ตั้งเวทีดีเบตที่ไหนก็ได้ว่าใช้คำผิดเจตนาแบบไหนอย่างไร? และ มันจะยิ่งไปไม่ได้ถ้าเอาแผนที่ผิดหลักภาษานี้มาเป็นแผนที่หลักในการนำทาง? เพราะเรื่องนี้คือความพอเพียงหรือความเป็นอยู่แบบพอเพียง ตรงนี้ใช่มันเป็นเรื่องปรัชญญาทางศาสนา แต่เศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่เศรษฐศาสตร์ และไม่ใช่ปรัชญา(เพราะยังเถียงกับอุปสงค์อุปทานของเศรษฐศาสตร์ในเสกลที่เป็น ศาสตร์ที่เล็กกว่าปรัชญญา) มันจึงเป็นปรัชญญาไม่ได้ แต่ความเป็นอยู่แบบพอเพียง เป็นปรัชญาได้ไม่ขัดหลักอะไรในเศรษฐศาสตร์

    พิชญ์ ต้องไปทำความเข้าใจใหม่เรื่องนี้? หรือจะดีเบตกับผมก็ได้ตรงไหนที่นี่ก็ได้ตั้งประเด็นมา แต่หลักคิดความพอเพียงนั้นคือพยายามจะนำเสนอในในทิศทางพึ่งตนเองหรือความ แข็งแกร่งจากภายในซึ่งตรงนี้เป็นทิศทางที่ดีและผมเคยเสนอไว้ในนี้ในบทวิ เคราะห์อ.พันศักดิ์แนวๆนี้ในนี้(ไหอ่านเอาว่าผมไม่ได้ค้านแนวทางนี้ แต่ที่ชี้คือกางแผนที่นำทางให้ถุกอย่ามั่วแบบนี้)

    ไม่ใช่เจตนาอคติ ใครแต่ต้องกางแผนที่ความพอเพียงจึงจะถูก ถ้าเศรษฐกิจพอเพียงเมื่อไหร่มั่ว?และงง?เมื่อนั้นเพราะมันขัดกันหลายเรื่อง มันจะไปในแนวทางแบบบ้านเสาเดียว(สมถะสุดโต่งไปตามตัวตนของคำไม่ใช่เจตนาของ คำนี้เนวิเกเช่อร์มาร์คจำไว้)

    ไม่ใช่นำทางแบบ""จากสนามหลวงไปผ่านฟ้า ผ่านพระบรมรูปทรงม้า แล้วหลังจากนั้นตะวันตกดินคำไหม?""

    เอ้า คนนำทางกางแผนที่กลับมาถามคนตามในลักษณะงึกๆงักๆมันเป็นงึกๆงักๆงงๆ แบบนี้ เอาลำสิตะวันตกดินนั้นมันคำอยู่แล้ว จะพูดไปไม ตกลงจะพอเพียงแค่นั้นใช่ไหม ไม่ไปต่อแล้วใช่ไหม เพราะตะวันมันตกดินใช่ไหม? แผนที่ว่าอะไรต่อล่ะ???

    เพราะ พอเพียงหรือสมถะนั้นคือเป็นแนวทางปัจเจกในคำว่า"พอ"ของระดับอัตตา แต่จะเอาระดับอัตตาหรือปัจเจก ไปออกแบบความพอของอัตตาที่มากกว่าหนึ่งให้เป็นพอเพียงแบบอัตตาไม่ได้ นั้นคือในสเกลระดับหพุฯ ต้องหาความพอดีของคำว่าพอที่มารวมกันที่มากกว่าหนึ่ง มันต้องพอดีกันไม่ใช่พอเพียงแบบฉัน? เอาแค่นี้คงพอเข้าใจนะพิชญ์(ผมเห็นคุณคุยเรื่องนี้ในทีวีที่เข้าใจผิดๆใน เรื่องนี้หลายอันผมจะแย้งคุณในนี้ล่ะ

    แต่อีกขั่วความคิดที่คุณไป บอกว่าคือขั่วความคิดแบบ กระโจนเข้าสู่ทุนนิยมโลกาภิวัฒน์(ในที่นี้คงโฟกัสไปที่ระบบอบทักษิณเดิม) นั้นคือแนวคิด"แบบบ้านติดล้อ" คือมันไร้รากไร้เสาเข็ม คือทั้งแบบบ้านเสาเดียว(แบบบ้านปัจเจกมันจึงตอบสนองแบบปัจเจกหรือยานลำเล็ก นั้นคือแบบบ้านศาลพระภูมิ เอาไว้ให้ระดับเทพอยู่เท่านั้นคนมุดเข้าไปอยู่ด้วยยาก)

    หรือ"แบบบ้าน ติดล้อ"นั้นคือทุนนิยมนักล่า ที่ติดล้อให้กิเลสมนุษย์ตามหาเส้นสุดขอบฟ้ามันไร้รากไร้เสาเข็มเกินไป มันหาความพอดีที่ลงตัวแบบไทยที่อยู่ได้กับโลกาภิฯ(สากล) ไม่ได้ไม่ลงตัว นั้นคือเรามีทางเลือกอยู่สองทางไฟ้ต์บังคับตอนนี้นั้นคือ จะอยู่บ้างหลังไหน?ระหว่างแบบบ้านเสาเดียวกับแบบบ้านติดล้อ มันไม่มีทางเลือกที่สามที่เป็นจริงและเป็นทางเลือกได้ขณะนี้(นี่คือข้องสัง เกตุในการติดกรอบแบบพิชญ์ที่มีอิทธิพลมาจากสถาบันฯ)

    เมื่อมันไม่มี ทางเลือกที่เหมาะสม มันจึงรื้อบ้านๆๆๆสร้างใหม่ๆๆๆๆๆ สร้างกันให้ตายก็หาความลงตัวไม่ได้ ที่สุดเราจะได้ข้อหา ลูกหลานคนบ้าสร้างบ้าน? ทุกวันนี้ก็ยังรื้อยังสร้างยังหาความลงตัวไม่ได้ ทั้งสถาปนึก, วิศวกวน, นักวิชาเกิน มันยังสหบาท และเลยเถิดบานปลายเป็น"สหบาทา"กันขณะนี้ กรณีเหลืองกระแทกปากแดง จนฟันแดงเลือดกลบปากขณะนี้ก็เรื่องหาความลงตัวของแบบบ้านนี้ล่ะ?

    พิชญ์ ล่ะ? จะเลือกแบบบ้านแบบไหนเสาเดียวกับติดล้อ? เรามีสิทธิจะสร้างทางเลือกที่สามที่เป็นจริงได้ไหม ? ถ้าได้ ?หลายอย่างในความคิดเราต้องสร้างทางเลือกได้จริง ไม่ใช่ไปติดกรอบอะไรหรือยอมอยู่ในคอกระบอบสวนสัตว์แบบนั้น เช่นละเลยมิติความยุติธรรม ที่คือต้นตอต้นน้ำของปัญหาขณะนี้ พิชญ์ยังละเลยมองข้าม? ไม่กล่าวถึงกับนักวิเคราะห์ระดับนี้ ? ถ้ามองข้ามเท่ากับไม่ให้ความสำคัญต้นน้ำของปัญหาที่ระดับหนึ่งในตัวแปรหลัก ของปัญหา?

    หรือระดับสามก้อนเส้าของปัญหา ถ้าคุณยกแค่สองยังเหลืออีกหนึ่ง มันจะเอียงจนล้มเทกระจาดไหม?พิชญ์ มันจะยกออกไปสู่การปลี่ยนแปลงได้ไหมพิชญ์? มิติความยุติธรรมที่พิชญ์มองข้ามแต่กล่าวถึงเหมือนสนับสสนุน ให้ใช้ตุลาการอภิบาลนุมัติ(วิสามัญฆาตรกรรมโดยศาล) นั้นคือมองว่างานวิสามัญฆาตรกรรมโดยศาลต่อการล้มระบอบทักษิณ มันคือความชอบธรรม หรือยุติธรรมอยู่แล้ว?(แต่หลายเรื่องหลายครั้งพิชญ์กล่าวไม่เห็นด้วยเรื่อง ศาลหรือตุลาการระบบยุติธรรมไทยแต่ทำไมเรื่องสำคัญในบทวิเคราะห์นี้จึงมอง ข้ามล่ะ?)

    การมองปัญหา แบบกระต่ายขาเดียวแบบนี้พิชญ์ จะไหวเหรอ?สามก้อนเส้า ถ้ายกออกไปแค่สองก้อน พิชญ์ถามพิชย์ว่ามันจะตั้งเตาปรุงอาหารให้ลูกหลานในอนาคตเราทานใหม่ได้ไหม พิชญ์ไปคิดดู???
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×